1 / 29

ปฏิกิริยาระหว่างปูซีเมนต์กับน้ำ

ปฏิกิริยาระหว่างปูซีเมนต์กับน้ำ. โดย นาย ไพโรจน์ หนูกุล รหัส 5210110425 นาย เอกชัย หีตแก้ว รหัส 5210110796.

stella
Download Presentation

ปฏิกิริยาระหว่างปูซีเมนต์กับน้ำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปฏิกิริยาระหว่างปูซีเมนต์กับน้ำปฏิกิริยาระหว่างปูซีเมนต์กับน้ำ โดย นาย ไพโรจน์ หนูกุล รหัส5210110425 นาย เอกชัย หีตแก้ว รหัส 5210110796

  2. ปูนซีเมนต์ มีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด สามารถเกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้โดยการทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า “ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น”( HydrationReaction ) ทำให้มีคุณสมบัติในการรับแรงได้ ปฏิกิริยาHydration

  3. ปฏิกิริยา Hydration(ต่อ) • ปูนซีเมนต์เมื่อผสมกับน้ำ จะก่อให้เกิดซีเมนต์เพสต์ที่อยู่ในสภาพ เหลวและสามารถลื่นไถลได้ช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะเรียกช่วงเวลาที่ คุณสมบัติ ของซีเมนต์เพสต์ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ เรียกว่า “Domant Period”หลังจากนั้นซีเมนต์เพสต์จะเริ่มจับตัว (Stiff)

  4. ปฏิกิริยา Hydration(ต่อ) ถึงแม้ว่าจะนิ่มอยู่ แต่ก็ไม่สามารถไหลตัวได้อีกแล้ว (Unworkable) จุดนี้จะเป็นจุดที่ เรียกว่า “จุดแข็งตัวเริ่มต้น (Initial Set)”และระยะเวลาตั้งแต่ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำจนถึง จุดนี้ เรียกว่า “เวลาก่อตัวเริ่มต้น (Initial SettingTime)”

  5. ปฏิกิริยา Hydration(ต่อ) การก่อตัวของซีเมนต์เพสต์จะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนถึงจุดที่เป็นของแข็งคงสภาพ(Rigid Solid) ซึ่งจะเรียกว่าจุดแข็งตัวสุดท้าย (Final Set) และเวลาที่ใช้ถึงจุดดังกล่าวเรียกว่า เวลาการก่อตัวสุดท้าย (FinalSettingTime)ซีเมนต์เพสต์จะยังคงแข็งตัวต่อไปจนกระทั่งสามารถรับน้ำหนักได้ กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า การก่อตัวและการแข็งตัว (Setting and Hardening)

  6. ปฏิกิริยา Hydration(ต่อ) การก่อตัวและการแข็งตัวของปูนซีเมนต์ เกิดจาก ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ขององค์ประกอบของปูนซีเมนต์โดยปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ 1. อาศัยสารละลาย ปูนซีมนต์จะละลายในน้ำ ก่อให้เกิดionsในสารละลาย ionsนี้จะผสมกันทำให้เกิดสารประกอบใหม่ขึ้น 2.การเกิดปฏิกิริยาระหว่างของแข็ง ปฏิกิริยาเกิดขึ้นโดยตรงที่ผิว ของของแข็งโดยไม่จำเป็นต้องใช้สารละลายปฏิกิริยาประเภทนี้ เรียกว่า (Solid State Reaction)

  7. ปฏิกิริยา Hydration(ต่อ) ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ของปูนซีเมนต์จะเกิดขึ้นทั้งสองลักษณะ โดยช่วงแรกจะอาศัยสารละลาย และในช่วงต่อไปจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างของแข็ง ปูนซีเมนต์ประกอบด้วยสารประกอบหลายชนิด เมื่อเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจเกิดปฏิกิริยาต่อไปทำให้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ครั้งแรก ดังนั้นในที่นี้เราจะแยกพิจารณา ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของสารประกอบหลักแต่ละชนิดของปูนซีเมนต์

  8. การเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นการเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่น

  9. แคลเซียมซิลิเกต (C3S, C2S) แคลเซียมซิลิเกตจะทำปฏิกิริยากับน้ำก่อให้เกิดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2)ประมาณ 15 - 25 % และสารประกอบแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต Calcium Silicate Hydrate (CSH) ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานและให้ความแข็งแรง ดังสมการ สมกาการของ C3S 2(3CaO.SiO2) + 6H2O 3CaO.2SiO2.2H2O + 3Ca(OH)2 หรือ 2C3S + 6H2OC3S2H + 3 Ca(OH)2

  10. แคลเซียมซิลิเกต (C3S, C2S)(ต่อ) ในทันทีที่เกิดปฏิกิริยา (CSH)ที่ได้จะมีลักษณะเป็นวุ้น(gel)ยังไม่แข็งตัวแต่จะค่อยๆแข็งตัวและมีการพัฒนากำลังเชื่อมประสานเพิ่มขึ้น ผลึก C3Sในเม็ดปูนซีเมนต์ โดยใช้เครื่อง Scanning Electron Microscope ขยาย 3,000 เท่า

  11. แคลเซียมซิลิเกต (C3S, C2S)(ต่อ) Ca(OH)2ที่ได้จากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ทำให้ซีเมนต์เพสต์มีคุณสมบัติเป็นด่างอย่างมาก คือมีค่า pH ประมาณ 12.5 ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดสนิมของเหล็กเสริมได้อย่างดี ซีเมนต์เพสต์ที่แข็งตัวแล้ว

  12. แคลเซียมอลูมิเนต (C3A) ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ C3Aจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและได้แคลเซียมอลูมิเนตไฮเดรต และก่อให้เกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็วของซีเมนต์เพสต์ ดังสมการ ต่อไปนี้ 3CaO.Al2O2 + 6H2O 3CaO.Al2O2.H2O หรือC3A + 6H2O 3C3AH6

  13. แคลเซียมอลูมิเนต (C3A) (ต่อ) ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ จะมีการใส่ยิปซัมเข้าไป เพื่อหน่วงการเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ (C3A) ไม่ให้เกิดเร็วเกินไป เพราะเมื่อ (C3A) ทำปฏิกิริยากับไอออนของซัลเฟต จะได้แคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตไฮเดรต หรือ เอททริงไกต์(Ettringite)จะทำให้ปฏิกิริยาเกิดยากขึ้นนั่นเอง

  14. แคลเซียมอลูมิโนเฟอร์ไรท์ (C4AF) ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ (C4AF)นี้จะเกิดในช่วงต้นโดย (C4AF) จะทำปฏิกิริยากับยิปซัม และ Ca(OH) 2 ก่อให้เกิดอนุภาคเหมือนเข็มของเอททริงไกต์ (Ettringite)

  15. การเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นการเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่น

  16. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ 1.แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต(CSH) CSHมีปริมาณมากที่สุดในส่วนประกอบของซีเมนต์เพส ถึงร้อยละ 50-70โดยปริมาตรและอยู่ในรูปอนุภาคเล็กๆ มีขนาดประมาณเล็กกว่า 1ไมโครเมตรทุกมิติ และมีลักษณะ เป็นผลึกที่หยาบมาก อัตราส่วนของแคลเซียมต่อซิลิเกตใน CSH ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับอายุ อุณหภูมิ และปริมาณน้ำที่ใช้ทำปฏิกิริยา

  17. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) 2.แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซีเมนต์เพสประกอบด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (CH) ปริมาณร้อยละ 20-25 โดยปริมาตรเป็นผลึกรูปร่างหลายแบบ มีทั้งผลึกเล็กที่มีด้านเท่า ผลึกใหญ่ที่ลักษณะเป็นแผ่น ผลึกแบบยาว (CH) นี้เป็นสารประกอบที่ทำให้ซีเมนต์เพสต์มีความคงทนลดลง และการให้กำลังของ (CH) ยังต่ำกว่า แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH) อีกด้วย

  18. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) 3.แคลเซียมซัลโฟอลูมิเนต แคลเซียมซัลโฟอลูมิเนต มีอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 โดย ที่แคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตหรือเอททริงไกต์เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มผสม ปูนกับน้ำมีลักษณะเป็นเข็มยาวเกิดขึ้นรอบเม็ดปูนและขยายตัว เข้าในช่องว่างเอททริงไกต์จะพยายามดันส่วนที่ล้อมรอบอยู่ออก ถ้าเกิดเอททริงไกต์ตอนที่ซีเมนต์เพสต์ยังเหลวก็จะไม่มีปํญหา แต่ถ้าเกิดตอนซีเมนต์เพสต์แข็งแล้วก็จะเกิดรอยร้าวได้

  19. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) 4.เม็ดปูนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยา โดยทั่วไปแล้วเม็ดปูนจะมีขนาดตั้งแต่1 ถึง50ไมโครเมตร และเป็นส่วนน้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า50ไมโครเมตรขึ้นไป เม็ดปูนซีเมนต์ขนาดเล็กสามารถทำปฏิกิริยาได้ดีและทำปฏิกิริยาได้หมด ขณะ ที่เม็ดปูนขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาในการทำปฏิกิริยาถึงแม้ว่าปฏิกิริยาจะยังคงมีต่อไปและผลิตผลไฮเดรชั่นที่เกิดขึ้นจะขยายเข้าสู่ช่องว่างที่เหลืออยู่แต่เนื่องจากช่องว่างระหว่างอนุภาคมีจำกัดดั้งนั้นเม็ดปูนที่ทำปฏิกิริยาไม่หมดก็ยังคงมีอยู่ในซีเมนต์เพสต์

  20. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) 5.ความพรุนของซีเมนต์เจล ซีเมนต์เจลมีความพรุน(Porosity)และประกอบด้วยโพรงเล็กๆตั้งแต่เล็กกว่า0.0005ไมโครเมตรถึง10ไมโครเมตรขึ้นไปและความกว้างของโพรงจะกำหนดพฤติกรรมของน้ำที่อยู่ภายในโพรง โดยทั่วไปสามารถแบ่งโพรงออกเป็น2พวก คือ โพรงของเจล(Gel Pore)และโพรงคาปิลาริ(Capillary Pore)

  21. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) • โพรงของเจลมีขนาดเล็กมากขนาด0.0005ถึง0.01ไมโครเมตร ส่วนโพรงคาปิลาริมีขนาดใหญ่กว่าคือประมาณ0.01ถึง10ไมโครเมตร และเป็นส่วนของช่องว่างของน้ำที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของปูนซีเมนต์

  22. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ)

  23. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) • 6.น้ำในซีเมนต์เพสต์ แบ่งออกได้สองจำพวก คือ 1.น้ำที่ระเหยได้ เป็นน้ำส่วนที่ถูกขจัดออกเมื่อนำซีเมนต์เพสต์ไปอบแห้งที่อุณหภูมิ105องศาเซลเซียสรวมถึงน้ำในโพรงคาปิลารี น้ำในโพรงของเจล และน้ำบางส่วนของแคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตไฮเดรต

  24. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) • 2.น้ำที่ระเหยไม่ได้ เป็นน้ำที่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับปูนซีเมนต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของเจล และขจัดออกไปเมื่อ นำซีเมนต์เพสต์ไปเผาที่อุณหภูมิ 1,000องศาเซลเซียส

  25. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) • 7.ความถ่วงจำเพาะของเนื้อซีเมนต์เพสต์ น้ำที่ระเหยออกไม่ได้จะทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์และกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของเจล ดังนั้นเนื้อซีเมนต์เจลจึงหมายถึง ซีเมนต์เจลที่มีน้ำระเหยออกไม่ได้ จากการทดลองหาน้ำหนักและปริมาตรของเนื้อเจล พบว่าเนื้อซีเมนต์เจลมีความถ่วงจำเพาะ ประมาณ 2.34-2.59

  26. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) 8.การยึดเหนี่ยวทางเคมี ซีเมนต์เพสต์ที่แข็งตัวแล้ว มีคุณสมบัติคล้ายวัสดุเซรามิซึ่งมีการยึดเหนี่ยวแบบ ไอออนิกโควาเลนต์เป็นหลัก การยึดเหนี่ยวแบบ แวนเดอร์วาลส์ มีประมาณ หนึ่งในสามเท่านั้น

  27. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) 9.ปริมาตรของผลิตผลของไฮเดรชัน ผลิตผลของไฮเดรชั่นประกอบด้วย CSH,CHและเอททริงไกต์เป็นหลัก ซึ่งจะเข้าไปครอบครองช่องว่างที่มีอยู่ เมื่อไม่มีที่ว่างเหลืออยู่การทำปฏิกิริยาไฮเดรชั่นจึงหยุดลง ยกเว้นการเกิดเอททริงไกต์ซึ่งถ้ามีต่อไปจะทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสต์

  28. โครงสร้างของซีเมนต์เพสต์ (ต่อ) แต่โดยทั่วไปซีเมนต์เพสต์มีไอออนของซัลเฟตอยู่จำนวนจำกัดจึงทำให้เอททริงไกต์ไม่เกิดขึ้นเมื่อซีเมนต์เพสต์แข็งตัวแล้ว ดังนั้น ปริมาตรของผลผลิตไฮเดรชั่นจะเท่ากับปริมาตรเดิมของปูนซีเมนต์และน้ำ อนุภาคของปูนซีเมนต์

  29. Thank You ! THE END

More Related