1 / 46

แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ใบโบก ใบบัว จำนวน ๑๘ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ อ่าน คิด เขียน เรียนดี เวลา ๓ ชั่วโมง

stan
Download Presentation

แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ใบโบก ใบบัว จำนวน ๑๘ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ อ่าน คิด เขียน เรียนดี เวลา ๓ ชั่วโมง สอนวันที่...............เดือน...........................พ.ศ...................จากเวลา...............ถึงเวลา.............. ชื่อครูผู้ออกแบบกิจกรรม นายสำลี รักสุทธี มาตรฐาน ท๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ๑. อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ ๒. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ๓. เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน

  2. มาตรฐาน ท ๒.๑ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ๑.คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด ๑.ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆ และปฏิบัติตาม ๒.ตอบคำถามและเล่าเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง ๓.พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู

  3. มาตรฐาน ท ๔.๑เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ๑.บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย ๒.เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ มาตรฐาน ท ๕.๑เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็น คุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ๑. บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก

  4. สาระการเรียนรู้หลัก ( Concepts)แผนฯที่ ๒ “อ่าน คิด เขียน เรียนดี” เวลา ๓ ชั่วโมง ๑.อ่านออกเสียง เรื่อง ใบโบก ใบบัว ๒. -อ่านคล่อง ร้องเพลง -อ่านคำที่มีสระ อี ๖.ทายปริศนาคำทายเกี่ยวกับช้าง ๓. คัดลายมือ เขียนแจกลูกสะกดคำที่มีสระ อี อ่าน คิด เขียน เรียนดี ๕. พูดแสดงความคิดเห็น -เขียนตามคำบอก ๔. ฟังคำแนะนำจากครู -ฟังคำสนทนากับเพื่อน

  5. เป้าหมายการเรียนรู้ ๑. ความรู้ที่คงทน ๑.๑ อ่านพยัญชนะและสระที่กำหนด ๑.๒ อ่านและเขียนพยัญชนะอักษรกลาง ข ห ง มและสระ อี ๑.๓ อ่านและเขียนคำที่ประสมสระ อี ๑.๔ อ่านและเขียนแจกลูกสะกดคำ คำที่มีสระ อี ๒. ความรู้ทักษะเฉพาะวิชา ๒.๑ อ่านและเขียนพยัญชนะอักษรกลาง ข ห ง มและสระ อี ๒.๒ อ่านและเขียนคำที่ประสมสระ อี ๒.๓ อ่านและเขียนแจกลูกสะกดคำ คำที่มีสระ อี ทักษะคร่อมวิชา ๓.๑ เล่นปริศนาคำทาย ๓.๒ ร้องเพลงสระ อี ๓.๓ กระบวนการทำงาน/ปฏิบัติกิจกรรม

  6. ๔. คุณลักษณะ ๔.๑ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ๔.๒ ความรับผิดชอบ ๔.๓ ขยัน ประหยัดซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ และกตัญญู ๔.๔ มีนิสัยรักการอ่าน ภาระงาน/วิธีการประเมิน

  7. สื่อสร้างสรรค์เสริมการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์เสริมการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ ๑.หนังสือสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาษาพาที ๒.บทเรียนที่ ๑ เรื่อง “ใบโบก ใบบัว” ๓.แบบฝึกทักษะการอ่านคำที่มีสระ อี ๔.แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีสระ อี ๕.แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนแจกลูกสะกดคำ คำที่มี สระ อี ๖.แบบทดสอบการอ่านและเขียนอักษรกลาง และคำที่มีสระ อี ๗.ชุดคำที่ใช้สำหรับให้เขียนตามคำบอก ๘.เครื่องเล่นแผ่นเพลง MP3 ๙.เพลงสระ อี

  8. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมง ที่ ๑ เวลา ๑ ชั่วโมง

  9. ชั่วโมงที่ ๒ เวลา ๑ ชั่วโมง

  10. ชั่วโมงที่ ๓เวลา ๑ ชั่วโมง

  11. การจัดบรรยากาศห้องเรียนเชิงบวกการจัดบรรยากาศห้องเรียนเชิงบวก ๑. จัดให้มีสื่อวีดิทัศน์ที่สามารถใช้ให้นักเรียนดูได้ทั่วถึง ๒. จัดแผ่นVCD.(วีซีดี) MP3. (เอ็มพี 3) ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ๓. จัดสถานที่เรียนให้สะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย และสวยงาม ๔. จัดบอร์ดแสดงผลงานของนักเรียน

  12. ภาคผนวก หู ตา กา ขา งา ขา อา หา

  13. เพลงสระ - อี (เพลงที่ ๑) คำร้อง สำลี รักสุทธี ทำนอง เพลงช้าง อี อี อี สระ อี นั้นอยู่ข้างบน จำไว้ จำไว้ทุกคน อย่าสับสน อยู่ข้างบนสระ อี อ่านเขียนสะกดให้ดี เขียนทุกทีให้ถูกนะเออ ตอ อี ตี ดอ อี ดี มอ อี มี ชอ อี ชี ตามี ดี ปี มี ดี ผี หนี ชี สี ตี ดี(ซ้ำ) คำเหล่านี้มีสระ อี หนูจำได้ดีคุณครู

  14. เพลงสระ - อี (เพลงที่ ๒) คำร้อง ทำนอง สำลี รักสุทธี อี อี้ อี อี้ อี อี๊ อี ตามี ตาสี ทำ วาที แม่ชี เจอผี คำเหล่านี้มีสระ อี(ซ้ำ) หนู หนู จำไว้ให้ดี สระ อี นั้นอยู่ข้างบน(ซ้ำ)

  15. คำที่นำมาเขียนตามคำบอกคำที่นำมาเขียนตามคำบอก ตา อา กา งา ขาอา มาหา ขา หา มา จา มีตา งาดี ตี ปี มี ดี ตาดี มีงา ขากา อาปา ขี จี บี ขี

  16. แบบฝึกการอ่านแจกลูกสะกดคำ คำที่มีสระ - อี แบบฝึกอ่านที่ ๑ จุดประสงค์ อ่านแจกลูก จากคำที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง คำชี้แจง อ่านแจกลูก คำที่มีสระ - อี ตามตัวอย่าง มี ม ต ตี ด ดี ช ชี ป ปี ท ที ผี ผ ฝี ฝ อ อี ถี ถ

  17. แบบฝึกอ่านที่ ๒ จุดประสงค์ อ่านสะกดคำ จากคำที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง คำชี้แจง อ่านสะกดคำ คำที่มีสระ - อี ตามตัวอย่าง

  18. แบบฝึกอ่านที่ ๓ คำชี้แจง ดูแผนภูมิแล้วอ่านแจกลูกสะกดคำ โดยเริ่มอ่านจากพยัญชนะ ไปสระ แล้วเป็นคำ ป ช ต ม -อี ท ด ผ ตัวอย่าง ตี อ่านว่า ตอ อี ตี เขียนว่า ตี

  19. แบบฝึกการเขียนแจกลูกสะกดคำ คำที่มีสระ - อี แบบฝึกที่ ๑ คำชี้แจง ให้เขียนแจกลูก สะกดคำ จากคำที่กำหนดให้ ตามตัวอย่างข้างล่าง ดี ด - อี - ดี มี.......................................................................... ตี.......................................................................... กี.......................................................................... ปี.......................................................................... จี.......................................................................... งี.......................................................................... บี..........................................................................

  20. แบบฝึกที่ ๒ คำชี้แจงให้เขียนประสมพยัญชนะและสระเป็นคำ แล้วแจกลูก สะกดคำ ให้ถูกต้อง ป ช ต ม อี ท ด ผ ตัวอย่าง ถี ถ - อี - ถี ........................................................................................ ........................................................................................

  21. แบบฝึกอ่านคำ และประโยคมีสระ อี อ่านคำที่มีสระ - ี ทีวี ดีดี รีรี ตีคี มีดี มีสี ชีวี มีผี กีวี ทีดี ดีปลี มีฝี อารี ฝาชี มีนา อีกา นารี ทาสี กีฬา นาที พาที ลีลา ตาดี นาดี มียา สูสี ดูดี ชะนี ตาสี ชีวา คาวี อ่านประโยคที่มีสระ - ี ตาสี มี นา ดี วาที พา นารี ดู อีกา

  22. เรื่องสั้นที่มีสระ - ี เรื่องที่ ๑ ตาดี มี สี ตาดี มี สี ตาดี มี สี ดี ดี ตาดี มี ทีวี ตาดี มี ทีวีสี ดี ดี

  23. เรื่องที่ ๒ ชี มี ยาดี ตาสี มา หา วาที ตาสี พา วาที มา หา ชี ชี มี ยา ดี ดี ตาสี และ วาที มา หา ยาดี จาก ชี

  24. เรื่องที่ ๓ ตามี ทา สี อีกา ตามี ทาสี ฝาชี ตาดี ทาสี ทีวี อีกา ตี สี ตามี ตามี ทา สี อีกา

  25. เรื่องที่ ๔ ตาสี มี ยา ดี คำชี้แจง อ่านเรื่องแล้ววาดภาพประกอบตามจินตนาการของนักเรียน ตาสี มี ยา ดี ชี หา ยา ตา สี ชี มา หา ยา ตา สี ตาสี ทา ยา ชี ชี มี ยา ดี ดี ที่ ทีวี ผลงานของนักเรียน ผลงานนักเรียน

  26. แบบทดสอบหลังเรียน ชื่อ...........................................................เลขที่......................................ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ วันที่.........................เดือน.............................................พ.ศ...................................................... คำชี้แจง๑. เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วกากบาท ( ) ลงในช่องกระดาษคำตอบ ข้อสอบมีทั้งหมด ๕ข้อ ๕ คะแนน เวลา ๑๐ ชั่วโมง ๑. ข้อใดอ่านแจกลูกสะกดคำถูกต้อง ๒. “สอ - อี .........” ควรเติมคำใดลงช่องว่าง ก. มี - มอ – อี – มี ก. สา ข. ดี - ดอ – ดี – ดา ข. สี ค. สี - สี -อี -สี ค. สู

  27. ๓. ข้อใดอ่านออกเสียงสระ เหมือนคำว่า มีนา ทั้งหมด ก. นาดี ข. มีงู ค. ตีขา ๔. ข้อใดมีคำที่ประสมด้วยสระ อี มากที่สุด ก. ตาสี ไป นาดี ข. ชี มี ยาดี ค. ชี ไป หา ตามี ๕.ข้อใด เขียนสะกดคำถูกต้อง ก. ป + -อี = ปา ข. สี + -อา= สู ค. ผ + -อี= ผี

  28. แนวการเขียนแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS แผนการจัดการเรียนรู้ที่……… สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 1 ชั่วโมง ……………………………………………………………………………………………… 1.สาระสำคัญ อาหารที่เข้าสู่ร้างกายต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่มีขนาดเล็กจนสามารถลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ กากอาหารที่เหลือจากกระบวนการย่อยจะถูกขับออกนอกร่างกาย 2. เป้าหมายการเรียนรู้(จุดประสงค์) 2.1 ด้านความรู้ความคิด อธิบายการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารแต่ละอวัยวะได้ 2.2 ด้านกระบวนการ เขียน concept mapping แสดงกระบวนการย่อยอาหารได้

  29. 3 .ร่องรอยการเรียนรู้/ผลงานที่แสดงการเรียนรู้ 3.1 ข้อสรุปเรื่องหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหารแต่ละอวัยวะ 3.2 concept mapping แสดงกระบวนการย่อยอาหาร 4. การวัดผลประเมินผล 4.1 ประเมินคุณภาพของการสรุปหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร 4.2 ประเมินคุณภาพของ concept mapping แสดงกระบวนการย่อยอาหาร 5. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ 5.1 แผนภาพแสดงระบบย่อยอาหารของคน 5.2 หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้น ป.6 สสวท. หน้า 2-5

  30. 6. กิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-5 คน แล้วทำกิจกรรมต่อไปนี้ 6.1 นักเรียนศึกษาแผนภาพแสดงระบบย่อยอาหารของคน เพื่อตอบคำถามที่ครูเขียนบนกระดานดำ ดังนี้ - ระบบย่อยอาหารของคนประกอบด้วยอวัยวะใดบ้าง (G-การรวบรวมข้อมูล) - เรียงลำดับอวัยวะในระบบย่อยอาหารได้อย่างไร (P-การจัดกระทำข้อมูล) 6.2 นักเรียนศึกษาเรื่อง ระบบย่อยอาหารจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ชั้น ป.6 ของ สสวท. หน้า 2-5 เพื่อตอบคำถามที่ครูเขียนบนกระดานดำ ดังนี้ - อวัยวะในระบบย่อยอาหารแต่ละอวัยวะทำหน้าที่อย่างไร (G-การรวบรวมข้อมูล) 6.3 แต่ละกลุ่มออกแบบตารางบันทึกสรุปหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร แล้วเสนอหน้าชั้นเพื่อให้สมาชิกในห้องแสดงความคิดเห็นและเลือกใช้รูปแบบตารางที่เหมาะสม (A-การประเมินทางเลือก)

  31. 6.4 นักเรียนแต่ละคนบันทึกสรุปหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหารลงในตาราง (P-การจัดกระทำข้อมูล) 6.5 ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการคิด ดังนี้ - นักเรียนคิดว่าเราควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารในเรื่องใดบ้าง (S- การสร้างค่านิยมการคิด) - ถ้าจะศึกษาเรื่องโรคของระบบย่อยอาหารควรออกแบบตารางบันทึกอย่างไร (A-การเลือกทางเลือก) 6.6 นักเรียนเขียน concept mapping แสดงระบบย่อยอาหาร (P-การจัดกระทำข้อมูล) 6.7 นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงาน concept mapping กับเพื่อนต่างกลุ่มเพื่อช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน (P-การตรวจสอบ)

  32. เกณฑ์การประเมิน 1. เกณฑ์การประเมินการสรุปหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร

  33. 2. เกณฑ์การประเมิน concept mapping แสดงระบบย่อยอาหาร

  34. การเขียนเอกสารฉบับนี้ผู้บรรยายได้ศึกษาทฤษฏีจาก เอกสารประกอบ การประชุมเรื่องการพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPASของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 3 : กันยายน 2551 …………………………………………………

  35. (ตัวอย่างแผนประกอบนวัตกรรม)(ตัวอย่างแผนประกอบนวัตกรรม) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการแต่งบทร้อยกรอง ประกอบหนังสือประกอบการเรียนเพื่อพัฒนาการแต่งบทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๒ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) บทที่ ๔ กลอนสี่ จำนวน ๕ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑เรื่อง อ่านเรื่องและตอบคำถาม เวลา ๑ชั่วโมง สอนวันที่............เดือน..........................พ.ศ................... สาระสำคัญ กลอนสี่คือกลอนที่มีลักษณะเหมือนกลอนทั่วไป คือมีการสัมผัสคำ ทั้งสัมผัสในและนอก การฝึกอ่านและแต่งกลอนช่วยให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการสัมผัสและทำให้เกิดความรักและเห็นคุณค่าของภาษาไทย

  36. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑.ทำแบบทดสอบก่อนเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ ๘๐(K) ๒.อ่านเรื่อง “สานตามครองกลอนสี่”ตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ (P) ๓. มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) สาระการเรียนรู้ ๑. การทำแบบทดสอยก่อนเรียน ๒. การอ่านเรื่อง “สานตามครองกลอนสี่” ตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน กระบวนการจัดการเรียนรู้ (ใช้เทคนิค Jigsaw) ๑. นักเรียนกล่าวคำทักทายครู ครูทักทายนักเรียน ครูยกกลอนสี่ “กลอนสี่” ให้นักเรียนดูและอ่านออกเสียงดัง ๆ พร้อมกัน เช่น “นักเรียนมอสามช่างงามน้ำใจ ไม่ว่าใครใครน้ำใจงดงาม ช่วยเหลือกันดีไม่มีมองข้าม งานใดก็ตามมอสามช่วยกัน”

  37. นักเรียนถาม-ตอบกันเอง จากนั้นทำแบบทดสอบก่อนเรียน เสร็จแล้วส่งครูตรวจ ๒. ครูแจ้งให้นักเรียนได้ทราบถึงสิ่งต่อไปนี้ ๑) สิ่งที่จะเรียน คือหนังสือประกอบการเรียน เรื่อง “สานตามครองกลอนสี่” เป็นความรู้เกี่ยวกับกลอนสี่และการแต่งกลอนสี่ ๒) ขั้นตอนการเรียน วิธีการศึกษา การปฏิบัติตามเทคนิคของจิกซอร์ ๓) รูปแบบการเรียนแบบจิกซอร์ (Jigsaw) ที่เรียนเคยเรียนมาแล้ว เพื่อนักเรียนจะได้เรียนวิธีการนี้อย่างต่อเนื่องไปจนจบ จะได้เกิดทักษะ ความชำนาญตามมา ๓. ครูแจ้งให้ทราบถึงการนำหลักธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนครั้งนี้ โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับความขยัน ตั้งใจ สนใจเรียน และความอดทนอดกลั้น ๔. สมาชิกแต่ละกลุ่ม (กลุ่มร่วมมือเดิม) นับเพื่อให้มีหลายเลขประจำตัว๑-๔ และเลือก หัวหน้ากลุ่ม ๑ คน เลขานุการกลุ่ม ๑ คน ตั้งชื่อกลุ่มของตนเองตามมติกลุ่มเรียกว่า “กลุ่มบ้าน” (Home Groups) แต่ละกลุ่มเลือกประธาน กรรมการและเลขานุการ แล้วมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนศึกษาตอนที่ต่างกัน

  38. ๕. ครูแบ่งเนื้อหาจากเรื่อง “สานตามครองกลอนสี่” ที่จะต้องศึกษาออกเป็น ๔ ตอน ดังนี้ ตอนที่ ๑ จากหน้า ๑–๖ ตอนที่ ๒ จากหน้า ๗–๑๒ ตอนที่ ๓ จากหน้า ๑๓–๑๘ ตอนที่ ๔ จากหน้า ๑๖–๒๕ ๖. ครูชี้แจงการปฏิบัติกิจกรรมของสมาชิกกลุ่มบ้าน โดยอ่าน/ศึกษาเนื้อหาด้วยการปฏิบัติ ตามขั้นตอนดังนี้ ๑) นักเรียนในกลุ่มบ้านคนที่ ๑ อ่านตอนที่ ๑ ๒) นักเรียนในกลุ่มบ้านคนที่ ๒ อ่านตอนที่ ๒ ๓) นักเรียนในกลุ่มบ้านคนที่ ๓ อ่านตอนที่ ๓ ๔) นักเรียนในกลุ่มบ้านคนที่ ๔ อ่านตอนที่ ๔

  39. ๗.สมาชิกทุกคนออกจากกลุ่มบ้าน (Home group) ไปอยู่กลุ่มใหม่ เรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ(Expert Group) ซึ่งจะประกอบไปด้วยสมาชิกแต่ละคนของกลุ่ม บ้าน คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ ๑ จะประกอบไปด้วยสมาชิก คนที่ ๑ ของแต่ละกลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ ๒ จะประกอบไปด้วยสมาชิก คนที่ ๒ ของแต่ละกลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ ๓ จะประกอบไปด้วยสมาชิก คนที่ ๓ ของแต่ละกลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ ๔ จะประกอบไปด้วยสมาชิก คนที่ ๔ ของแต่ละกลุ่ม ๘.สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ รับบัตรคำสั่งการปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติตามคำชี้แจงในบัตรคำสั่ง จากนั้นร่วมกันอภิปราย สรุปความ แสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่ตนรับผิดชอบ ๙.สมาชิกในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แยกตัวกลับไปยังกลุ่มบ้าน นำเสนอความรู้ในกิจกรรมหรือตอนที่ตนรับผิดชอบศึกษา ให้สมาชิกในกลุ่มบ้านทั้ง ๔ คน ฟัง จากนั้นช่วยกันสรุปความแสดงความคิดเห็น บอกประโยชน์หรือข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน เลขานุการกลุ่มจดบันทึก

  40. ๑๐. ตัวแทนกลุ่มทุกคนจับฉลากเพื่อนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนให้ทราบว่า กลุ่มใดนำเสนอก่อน เรียงตามลำดับ ครูและนักเรียนประเมินการนำเสนอผลงาน ครูเสนอแนะและอธิบายเพิ่มเติม ๑๑. สมาชิกทุกคนทำแบบฝึกหัดตอนที่ ๑ แบบฝึกทักษะที่ ๑-๖ เสร็จแล้วส่งครูตรวจ ๑๒. ครูแนะนำให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ ๑ เป็นการบ้าน ๑๓. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด ให้โอกาสนักเรียนซักถามกันเอง ครูคอยเสริมเท่าที่จำเป็น สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ๑. กลอนสี่ ๒. บัตรคำสั่งสำหรับสมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ๓. แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑ แบบฝึกทักษะที่ ๑-๖ ๔. ใบกิจกรรมที่ ๑ ๕. หนังสือประกอบการเรียน เรื่อง “สานตามครองกลอนสี่”

  41. กระบวนการวัดผลและประเมินผลกระบวนการวัดผลและประเมินผล ๑.วิธีการ ๑.๑ สังเกต การทำกิจกรรมกลุ่ม ๑.๒ ตรวจ ๑.๒.๑ ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน ๑.๒.๒ ตรวจการทำแบบฝึกทักษะชุดที่ ๑ แบบฝึกทักษะที่ ๑–๖ ๑.๒.๓ ตรวจใบกิจกรรมที่ ๑ เกณฑ์การประเมิน ๑. แบบประเมินกิจกรรมกลุ่ม ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ๒. การตรวจแบบทดสอบ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ เครื่องมือประเมินผล ๑. แบบทดสอบก่อนเรียน ๒. แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑ แบบฝึกทักษะที่ ๑-๖ ๓. ใบกิจกรรมที่ ๑

More Related