310 likes | 466 Views
ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย. ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551. ที่มาของเรื่องร้องเรียน/กล่าวหา. 1.จากบุคคลที่ร้องเรียน/กล่าวหา 1.1 บัตรสนเท่ห์ 1.2 หนังสือร้องเรียน 1.3 สื่อสารมวลชน เช่น นสพ./วิทยุ/โทรทัศน์ 2. จากหน่วยงานอื่น เช่น
E N D
ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
ที่มาของเรื่องร้องเรียน/กล่าวหาที่มาของเรื่องร้องเรียน/กล่าวหา 1.จากบุคคลที่ร้องเรียน/กล่าวหา 1.1 บัตรสนเท่ห์ 1.2 หนังสือร้องเรียน 1.3 สื่อสารมวลชน เช่น นสพ./วิทยุ/โทรทัศน์ 2. จากหน่วยงานอื่น เช่น 1.1 สตง./ปปช./ปปท./รัฐสภา/สำนักงาน ก.พ. 1.2 สำนักนายกรัฐมนตรี/ 1.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน 1.4 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/หน่วยงานต้นสังกัด 1.5 ตู้รับเรื่องร้องเรียน/โทรศัพท์สายตรง
การสืบสวน คือ การสืบหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในเบื้องต้น - ผบ.ดำเนินการสืบสวนเอง - มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสืบสวน - แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน การสอบสวน คือ การรวบรวมพยานหลักฐาน/การดำเนินการ เพื่อ... - จะทราบข้อเท็จจริง/พฤติการณ์ - พิสูจน์ความผิดว่า กระทำผิด หรือไม่
มาตรา 90 (กรณีสงสัย/กล่าวหา ว่าทำผิดวินัย) 1. เมื่อมีการกล่าวหา/มีกรณีเป็นที่สงสัย ว่าข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใด กระทำผิดวินัย ให้ ผบ. รายงาน ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ทราบโดยเร็ว 2. ให้ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ดำเนินการ ตาม พรบ.นี้ โดยเร็ว ด้วยความยุติธรรมและ โดยปราศจากอคติ 3. อำนาจการดำเนินการทางวินัยของ ผบ.ซึ่งมีอำนาจ สั่งบรรจุตาม ม.57 จะมอบหมายให้ ผบ.ระดับต่ำ ลงไปปฏิบัติแทนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.กำหนด
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 ตำแหน่ง/ประเภทผู้สั่งบรรจุ 1. ปลัดกระทรวง รัฐมนตรี 2. ตป.วิชาการระดับทรงคุณวุฒิ รัฐมนตรี 3. รองปลัดฯ/อธิบดี/บส.ที่ กพ.กำหนด ปลัดกระทรวง 4. ตป.บริหารระดับต้น/อำนวยการระดับสูง ปลัดกระทรวง 5. ตป.วิชาการระดับเชี่ยวชาญ ปลัดกระทรวง 6. ตป.อำนวยการระดับต้น อธิบดี 7. ตป.วิชาการระดับชำนาญการพิเศษ อธิบดี 8. ตป.ทั่วไปทักษะระดับพิเศษ อธิบดี 9. ตป.วิชาการระดับปฏิบัติการ/ชำนาญการ อธิบดี 10. ตป.ทั่วไประดับปฏิบัติงาน/ชำนาญงาน/อาวุโส อธิบดี 11. ตำแหน่งตาม 7,9,10 ในราชการส่วนภูมิภาค ผวจ. (ตป.หมายถึงตำแหน่งประเภท)
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 วิชาการ ทั่วไป อำนวยการ บริหาร
มาตรา 91-93,96-97 (การสอบสวนพิจารณา) 1. เมื่อ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ได้รับรายงาน ให้รีบดำเนินการ สืบสวน/พิจารณาในเบื้องต้น ว่ากรณีมีมูลที่ควร กล่าวหาว่ากระทำผิด หรือไม่ - กรณีไม่มีมูล ให้ยุติเรื่องได้ - กรณีมีมูล โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการ ตาม 2 และ 3 2. กรณีมีมูลความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และได้มีการ - แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ทราบ - รับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 เห็นว่า - ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งลงโทษตามควรแก่กรณี โดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ - ไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง
3. กรณีมีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จให้รายงานผล การสอบสวนและความเห็น ต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯและได้ พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหา (1) ไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง (2) ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งลงโทษ - ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์/ ตัดเงินเดือน/ลดเงินเดือน หรืองดโทษ - ผิดวินัยร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออก ทั้งนี้ ก่อนการสั่งลงโทษ ถ้าคณะกรรมการสอบสวน หรือ ผู้สั่งแต่งตั้งฯ เห็นว่าผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ./จังหวัด/กรม/กระทรวง พิจารณา แล้วสั่ง ตามมติ ของ อ.ก.พ. (ลงโทษร้ายแรง/ไม่ร้ายแรง)ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด
มีการกล่าวหา/สงสัย ว่าข้าราชการกระทำผิดวินัย -สืบเอง -มอบหมาย ให้จนท.สืบ -ตั้ง คกก. สืบสวน ผบ.ผู้สั่งบรรจุ ม.57 ผบ. ดำเนินการ/สั่ง สืบสวน ม.91ว.1 พิจารณาเบื้องต้น ม.91ว.1 ผบ.ผู้สั่งบรรจุ ม.57 พิจารณาเห็นว่า กรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย ม.91ว.1 กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย + มีพยานหลักฐานเบื้องต้น ม.91ว.2 ยุติ เรื่อง มูลไม่ร้ายแรง มูลร้ายแรง ผบ.ม.57 ดำเนินการ/สั่งให้ แจ้งข้อกล่าวหา/สรุปพยานฯ ให้ทราบ-รับฟังคำชี้แจง ม.92 (แจ้งเอง/มอบ จนท./มอบ คกก.สืบฯ) ตั้งสอบไม่ร้ายแรง ม.92 (สอบสวนตาม ว.19/2547) ตั้งสอบร้ายแรง ม.93 (สอบสวนตาม กฎ 18) พิจารณา/ลงโทษ
มาตรา 94 (การแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน กรณีตำแหน่งต่างกัน/ต่างกรมหรือกระทรวง ถูกกล่าวหาร่วมกัน ผู้ถูกกล่าวหาร่วมกัน ผู้สั่งแต่งตั้งฯ 1. กรมเดียวกันที่อธิบดีร่วมกับผู้ใต้ ผบ. ปลัดฯ กรมเดียวกันที่ปลัดฯร่วมกับผู้ใต้ ผบ. รมว. 2. ต่างกรมในกระทรวงเดียวกัน ปลัดฯ 3. ต่างกระทรวงกันผู้กล่าวหาร่วมกัน ผู้สั่งบรรจุร่วมกันตั้ง ต่างกระทรวงกันและ ตป.บริหารระดับสูง ร่วมด้วย นายกฯ 4. กรณีอื่นๆ ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.
มาตรา 98 วรรคสอง (การกันผู้ร่วมทำผิดไว้เป็นพยาน) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้ใดที่อยู่ในฐานะที่อาจ จะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ให้ข้อมูลต่อ ผบ.หรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือ คณะบุคคล (ผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน ตรวจสอบ ตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ) เกี่ยวกับ การกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา จนเป็นเหตุให้มีการ สอบสวนพิจารณาวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการ กระทำผิด ผบ.อาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือ พิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้
การดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ว19 ลว 14 ก.ค.2547 หลักประกันความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกกล่าวหา 1. แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ (เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ) 2. ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา (เพื่อให้โอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
สอบสวนโดยอนุโลมขั้นตอนตามกฎ ก.พ.ฉบับที่ 18 1. เรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้ง/อธิบายข้อกล่าวหา (สว.2) 2. ถามว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา หรือไม่/อย่างไร 3. ถ้ารับสารภาพ 3.1 ให้แจ้งให้ทราบว่าเป็นความผิดวินัย กรณีใด/อย่างไร 3.2 หากยังยืนยันคำสารภาพ ให้บันทึก (สว.4 ) - ถ้อยคำรับสารภาพ - เหตุผลที่รับสารภาพ - สาเหตุแห่งการกระทำผิด
4. ถ้าไม่รับสารภาพ 4.1 ให้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน -พยานบุคคล (สว.5) -พยานเอกสาร/พยานวัตถุ 4.2 พิจารณาพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา -ข้อกล่าวหา(ทำอะไร/ที่ไหน/อย่างไร/วันและเวลาใด) -พยานหลักฐานที่สนับสนุน/ผิดวินัย มาตราใด 4.3 แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหา ให้ทราบ (สว.3) 5. ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหา - ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา (เป็นหนังสือ/ให้ถ้อยคำ) - นำสืบแก้ข้อกล่าวหา (นำมาเอง/อ้างให้สอบ)
6. พิจารณาเปรียบเทียบพยานหลักฐาน ที่สนับสนุน ข้อกล่าวหา/ที่หักล้างข้อกล่าวหา และวินิจฉัย ว่า....ไม่ผิด/ผิดกรณีใด มาตราใด ควรได้รับโทษ สถานใด 7. พิจารณารายงานผลการสอบสวน/เสนอความเห็น - ไม่ผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง - ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษ - ผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ ให้งดโทษ โดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่ากล่าวตักเตือน
การสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง 1. กรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 2. ผู้แต่งตั้งและสั่งลงโทษ คือ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตาม ม.57 พรบ.ฯ2551 3. ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนและวิธีการ ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา
กฎ ก.พ.ฉบับที่ 13 กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผบ.จะดำเนินการฯ โดยไม่สอบสวน/งดการสอบสวนก็ได้ 1. กรณีกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง (1) กระทำผิดอาญาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดผู้นั้นกระทำผิด และ ผบ.เห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาประจักษ์ชัด (2)ทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และ - รับสารภาพเป็นหนังสือต่อ ผบ. - ให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน/คกก.สอบสวน และมีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
2. กรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก/หนักกว่า โดย คำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ประมาท/ลหุโทษ (2)ละทิ้งฯ ติดต่อกันเกิน 15 วัน และ ผบ.สืบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร/จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ (3) ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และ - รับสารภาพเป็นหนังสือต่อ ผบ. - ให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน/คกก.สอบสวน และมีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ - ให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน/คกก.สอบสวน และมีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
การออกคำสั่งและวันที่ได้รับโทษการออกคำสั่งและวันที่ได้รับโทษ 1. ภาคทัณฑ์ (ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป) 2. ตัด งด. (ตั้งแต่เดือน....) 3. ลดเงินเดือน (ยังไม่ออกหลักเกณฑ์) 4. ปลด/ไล่ ออก (ตั้งแต่บัดนี้/ตั้งแต่วัน ละทิ้งฯ/ตั้งแต่วันพักราชการหรือสั่งให้ออกฯ/ ตั้งแต่วันลาออก)
การแจ้งสิทธิอุทธรณ์/โต้แย้ง ให้ทราบ คำสั่งทางปกครอง ที่อาจอุทธรณ์/โต้แย้ง ต่อไปได้ให้ระบุ - กรณีที่อุทธรณ์/โต้แย้ง - การยื่นคำอุทธรณ์/โต้แย้ง - ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์/โต้แย้ง (อุทธรณ์ต่อใคร ภายในกี่วัน ถ้าไม่แจ้ง เวลาจะขยาย 1 ปี) กม./ระเบียบ เกี่ยวกับการอุทธรณ์ ข้าราชการ : พรบ.พลเรือนฯ2551 ม.114-121/กฎ ก.พ.ค. ลูกจ้างประจำ : หนังสือ กค 0527.6/ว 50 ลว.26 พค.41
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ข้อควรระวังเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย 1. ลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ ว.19 2. รายงานการสอบสวน - สรุปข้อเท็จจริงที่รับฟังได้จากการสอบสวนให้ชัดเจน - ปรับบทความผิดให้ถูกต้องกับข้อเท็จจริง - ระบุฐานความผิดและมาตรา ให้ถูกต้อง/ครบถ้วน 3. คำสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง - ข้อความต้องครบถ้วนตามแบบของ ก.พ. - ต้องแจ้งสิทธิอุทธรณ์/แจ้งให้ถูกต้อง - ระบุกรณีกระทำผิดวินัยในคำสั่งให้ถูกต้อง
ขั้นตอนและเอกสารในรายงานการดำเนินการทางวินัย 1. รายงานผ่าน ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผ่านอธิบดี 2. เอกสารที่ต้องส่งพร้อมกับการรายงานฯ 2.1 สำเนาคำสั่งลงโทษ จำนวน 10 ฉบับ 2.2 หลักฐานการรับทราบคำสั่งลงโทษ 2.3 สำนวนการสอบสวน - สำเนาคำสั่งแต่งตั้ง คกก./การแจ้งคำสั่ง - รายงานการสืบสวน/สอบสวน - บันทึกปากคำพยาน/ผู้ถูกกล่าวหา - พยานเอกสาร/พยานวัตถุ - เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2.4 สำเนา ก.พ.7/สมุดประวัติข้าราชการ
บทเฉพาะกาล ม. 132 ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาหรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งใช้อยู่เดิม มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.นี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้ว มาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการ ประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
ม.133 เมื่อลักษณะ 4 ใช้บังคับ (11 ธค.51) 1.ให้ ผบ.ตาม พรบ.2551 สั่งลงโทษ/สั่งให้ออก ตาม พรบ. ที่ใช้ในอยู่ขณะนั้น (เช่น พรบ.2535) วันที่ ก.พ. ประกาศ 11 ธค.51 ทำผิดวินัย/มี กรณีสมควร ให้ออก...อยู่ก่อน 11 ธค.51 2.สอบสวน/พิจารณา/ ดำเนินการ เพื่อลงโทษ หรือให้ออก ให้ดำเนินการ ตาม พรบ.2551 เว้นแต่
2.1 ผบ.สั่งสอบสวน ถูกต้องตาม พรบ. 2535 ก่อน 11 ธค.51 แต่ยังสอบสวน ไม่แล้วเสร็จ 2.1 ให้สอบสวน ตาม พรบ.2535 จนกว่าจะแล้วเสร็จ วันที่ ก.พ. ประกาศ 11 ธค 51 2.2 มีการสอบสวน/ พิจารณา ถูกต้อง ตาม พรบ.2535 เสร็จก่อน 11 ธค.51 2.2 ให้การสอบ สวน/พิจารณา เป็นอันใช้ได้
2.3 มีการรายงาน/ ส่งเรื่อง/ นำสำนวนเสนอ หรือส่งเรื่อง ให้ อ.ก.พ.สามัญ พิจารณา ถูกต้อง ตาม พรบ.2535 แต่ อกพ. พิจารณา ยังไม่เสร็จ วันที่ ก.พ. ประกาศ 11 ธค.51 2.3 ให้ อ.ก.พ. สามัญ พิจารณา ตาม พรบ.2535 จนเสร็จ
การส่งเรื่อง ให้ อ.ก.พ.พิจารณากรณี คกก.สอบสวน/ผู้สั่งฯเห็นว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ม. 97 -กรณีมีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตาม ม.57 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จให้รายงาน ผลการสอบสวนและความเห็น ต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯและได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งลงโทษ กรณีผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออก -ทั้งนี้ ก่อนการสั่งลงโทษ ถ้าคณะกรรมการสอบสวน หรือ ผู้สั่ง แต่งตั้งฯ เห็นว่าผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ./จังหวัด/กรม/กระทรวง ที่ผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่ กรณี พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. มีมติประการใดแล้วให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งตามมติ ของ อ.ก.พ. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด
หนังสือ ที่ นร 1011/ว 13 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 การดำเนินการเพื่อลงโทษ/ให้ออกจากราชการ ในกรณีที่จะต้องส่งให้ อกพ.สามัญ พิจารณา ตาม ม.104 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ผู้แต่งตั้ง คกก.สอบสวนให้ส่ง อกพ.พิจารณา 1. ผวจ. อกพ.จังหวัด 2. อธิบดี อกพ.กรม 3. ปลัดฯ(อธิบดี สป.) อกพ.สป. 4. ปลัดฯ/รมว./นายกฯ อกพ.กระทรวง
การลงโทษภาคทัณฑ์ พรบ.2535 ม.103 ....แต่สำหรับโทษภาคทัณฑ์ ให้ใช้เฉพาะ กรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือ มีเหตุ อันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้อง ถูกลงโทษตัดเงินเดือน... พรบ.2551 ม.96 ....ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำ มาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะ กรณีที่กระทำผิดวินัยเล็กน้อย...