180 likes | 280 Views
การจัดสรรน้ำภาพรวมของประเทศสำหรับภาคการใช้ต่างๆ. โดย ดร.อภิชาต อนุกูลอำไพ นายกสมาคมทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย. Aquifers 1 , 131 , 9 59 million m³. water data of Thailand. water vaporized into Atmosphere 416,863 million m³/year . Mean annual rainfall1,426 mm.
E N D
การจัดสรรน้ำภาพรวมของประเทศสำหรับภาคการใช้ต่างๆการจัดสรรน้ำภาพรวมของประเทศสำหรับภาคการใช้ต่างๆ โดย ดร.อภิชาต อนุกูลอำไพ นายกสมาคมทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย
Aquifers 1,131,959 million m³ water data of Thailand water vaporizedinto Atmosphere 416,863million m³/year Mean annual rainfall1,426mm พื้นที่รับน้ำรวมทั้งประเทศ 514,008km2 (321million Rais) water quantity from rainfall 732,975 million m³/year contained capacity 76,131 million m³/year Surface water 213,303million m³/year percolate into soils 102,809million m³/year irrigated area 37.8million (Rais) non irrigated area 95million (Rais) water quantity increased 102,809 million m³/year ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 3,413 ม.3/คน/ปี
ผลจากการจัดเสวนาเรื่อง “การจัดสรรน้ำเพื่อภาคการใช้น้ำต่างๆ” รวม 4 ครั้ง โดยมีผู้แทนภาคเอกชน สมาชิกวุฒิสภา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 18 หน่วยงาน
DISTRIBUTED WATER 2009 Agriculture Household industry ecology
industry ecology
การทบทวนนโยบายเรื่องน้ำของประเทศการทบทวนนโยบายเรื่องน้ำของประเทศ • สมควรกำหนดสัดส่วนในภาพรวมของการจัดสรรน้ำทั่วประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคตในสัดส่วน น้ำเพื่อการเกษตร 70% น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 8% น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม 6% และน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์และการขนส่งทางน้ำ 16%เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการพัฒนาในแต่ละด้าน • โดยที่แต่ละลุ่มน้ำมีศักยภาพน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำไม่เหมือนกัน การจัดสรรน้ำในแต่ละลุ่มน้ำ ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาสัดส่วนการจัดสรรน้ำของแต่ละภาคการใช้น้ำให้เหมาะสม และเสนอต่อกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อกำกับให้สอดคล้องกับกรอบภาพรวมของประเทศ
มาตรการสนับสนุนให้แต่ละภาคการใช้น้ำ ใช้น้ำตามสัดส่วน • น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและลดการสูญเสียน้ำในระบบท่อ • สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนประหยัดน้ำ พร้อมใช้มาตรการอัตราค่าน้ำ • ให้โครงการชลประทานสำรองน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคสำหรับชุมชนที่ ขาดแคลนแหล่งน้ำดิบ • ให้หน่วยงานเกี่ยวกับน้ำอุปโภคบริโภคเข้าดำเนินการจัดหาน้ำให้กับ ท้องถิ่นที่องค์กรปกครองท้องถิ่นไม่มีศักยภาพในการดำเนินการ
มาตรการสนับสนุนให้แต่ละภาคการใช้น้ำ ใช้น้ำตามสัดส่วน • น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์และการขนส่งทางน้ำ • ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำ พิจารณาจัดสรรปริมาณน้ำที่จะระบายลงสู่ท้ายน้ำเพื่อการรักษา ระบบนิเวศน์และการขนส่งทางน้ำ • ให้มีการศึกษาเพื่อกำหนดปริมาณน้ำและห้วงเวลาในการระบาย น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์และการขนส่งทางน้ำสำหรับแต่ละลุ่มน้ำ
มาตรการสนับสนุนให้แต่ละภาคการใช้น้ำ ใช้น้ำตามสัดส่วน • น้ำเพื่อการเกษตร • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการรวมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ • ทบทวนนโยบายด้านการเกษตร • ควบคุมการขยายตัวพื้นที่การเกษตรและลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยการทำ Zoning • ควรทบทวนนโยบายด้านชลประทาน หน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำ การเกษตร ทะเลและชายฝั่ง และการบูรณาการทิศทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้มีความสอดคล้องกัน • ควรทบทวนนโยบายด้านชลประทาน ทั้งนี้เพราะประชากรยึดอาชีพการเกษตรลดน้อยลง หากมีการขยายพื้นที่การเกษตร จำเป็นต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศ ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อการเกษตรและด้านอื่นด้วย ซึ่งหากจำนวนแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น จะนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงของชาติ
มาตรการสนับสนุนให้แต่ละภาคการใช้น้ำ ใช้น้ำตามสัดส่วน • น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม • ส่งเสริมให้มีการนำน้ำกลับมาใช้ Reuse โดยใช้มาตรการราคาและการ สนับสนุนสิ่งจูงใจ • ควบคุมการขยายเขตอุตสาหกรรมไปในพื้นที่วิกฤตน้ำ โดยการZoning • ผลักดันและเร่งรัดโครงการ Eco City
มาตรการสนับสนุนให้แต่ละภาคการใช้น้ำ ใช้น้ำตามสัดส่วน • น้ำเพื่อการท่องเที่ยว • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ • สนับสนุนผู้ประกอบการท่องเที่ยวให้มีมาตรการประหยัดน้ำ เช่น โรงแรมและสปา
นิยามของการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน (IWRM) การบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน คือ กระบวนการในการส่งเสริมการประสานการพัฒนาและจัดการน้ำ ดินและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ซึ่งประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมอย่างทัดเทียม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ที่สำคัญ