1 / 36

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้. 1.อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ได้แก่ การเกิดภูเขา ภูเขาไฟ และแผ่นดินไหว 2.บอกความแตกต่างของกระบวนการเกิดภูเขาได้ 3.บอกความแตกต่างของกระบวนการเกิดภูเขาไฟและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้

skylar
Download Presentation

จุดประสงค์การเรียนรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ได้แก่ การเกิดภูเขา ภูเขาไฟ และแผ่นดินไหว 2.บอกความแตกต่างของกระบวนการเกิดภูเขาได้ 3.บอกความแตกต่างของกระบวนการเกิดภูเขาไฟและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ 4.อธิบายการเกิดแผ่นดินไหวพร้องทั้งระบุชนิดของเครื่องมือความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้

  2. สาระการเรียนรู้ 1.การเกิดภูเขา 2.การเกิดภูเขาไฟ 3.การเกิดแผ่นดินไหว

  3. ภูเขา ภูเขาเป็นธรณีสัณฐานลักษณะหนึ่งบนพื้นผิวโลกที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญแหล่งหนึ่ง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกอย่างช้า ๆ ในระยะเวลาที่ยาวนาน กระบวนการเกิดภูเขา พื้นทวีปยกตัวเมื่อได้รับแรงดันจากหินหนืดกระบวนการนี้ใช้เวลายาวนานมากและผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน

  4. ภูเขาไฟ เป็นภูเขาที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภูเขาทั่วไป คือ สามารถพ่นสารละลายร้อนหรือหินหนืดที่หลอมละลายอยู่ใต้โลก ที่เรียกว่า แมกมา และเถ้าถ่านจากภายในโลกออกสู่พื้นผิวโลก

  5. ประเภทของภูเขาไฟ นักธรณีวิทยาจำแนกชนิดของภูเขาไฟตามช่วงเวลาของการทำงานเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ภูเขาไฟที่มีพลังหรือภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น ปัจจุบันทั่วโลกมีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก และส่วนมากมีอยู่ในมลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ15 ของจำนวนภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย

  6. 2. ภูเขาไฟที่สงบหรือยังหลับ เป็นภูเขาไฟที่ครั้งหนึ่งเคยระเบิด แต่คาดว่าอาจมีการระเบิดอีกเมื่อใดก็ได้ เช่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน ในประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหรือภูเขาไฟสิ้นพลัง เป็นภูเขาไฟที่เคยระเบิดมาแล้วในอดีต หรือพ่นหินละลายออกมา แต่มีการผุพังไป เช่น ภูเขาไฟในประเทศไทย ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ภูเขาไฟวิซุเวียส ประเทศอิตาลี

  7. แนวการเกิดภูเขาไฟที่สำคัญมีอยู่ 4 แนว คือ 1. แนวรอบมหาสมุทรแปซิฟิกหรือวงแหวนแห่งไฟ 2. แนวเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย 3. แนวเทือกเขาแอฟริกาตะวันออกหรือเทือกเขาคิลิมันจาโร 4. แนวมหาสมุทรแอตแลนติก

  8. ลักษณะของภูเขาไฟออกเป็น 4 แบบ ดังนี้ 1. ภูเขาไฟรูปกรวย หรือกรวยภูเขาไฟสลับชั้น หรือภูเขาไฟแบบรูปผสม เป็นแบบที่เกิดขึ้นและรู้จักมากที่สุด เป็นรูปแบบภูเขาไฟที่สวยงามที่สุด เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามา ในประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟมายอน ประเทศฟิลิปปินส์ และภูเขาไฟวิซุเวียส ประเทศอิตาลี เป็นต้น ภูเขาไฟรูปกรวย ภูเขาไฟฟูจิยามาในประเทศญี่ปุ่น

  9. 2. ภูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟที่ก่อรูปจากลาวาหลากของ หินบะซอลต์ เช่น ภูเขาไฟมัวนาลัว ภูเขาไฟคีลูเอีย ในหมู่เกาะฮาวาย และภูเขาไฟลากี ประเทศไอซแลนด์ เป็นต้น ภูเขาไฟรูปโล่ ภูเขาไฟ มัวนาลัวในหมู่เกาะฮาวาย

  10. 3. ภูเขาไฟรูปกรวยกรวดภูเขาไฟ เป็นภูเขาไฟที่ก่อรูปจากการปะทุอย่างรุนแรง เช่น ภูเขาไฟคาฟูลิน ในมลรัฐเม็กซิโก ภูเขาไฟพีลี เป็นต้น ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด ประเทศชิลี

  11. 4. โดมภูเขาไฟ เป็นภูเขาไฟที่ก่อรูปจากหินไรโอไรต์ที่มีความหนืดมากหรือพวกหินหนืดที่ไหลช้ามากกว่าแอนดีไซต์ เช่น ภูเขาไฟเคลัด ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้การทรุดตัวของ ภูเขาไฟ การกัดเซาะผุพัง ทำให้ภูเขาไฟมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ภูเขาไฟซันเซต ประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟซันเซต สหรัฐอเมริกา

  12. ประโยชน์ของภูเขาไฟ 1. ช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล 2. ทำให้หินอัคนีและหินชั้นใต้ที่ลาวาไหลผ่านเกิดการแปรสภาพ เช่น หินแปรที่แข็งแกร่งขึ้น 3. ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญขึ้น เช่น เพชรเหล็ก และธาตุอื่น ๆ 4. แหล่งภูเขาไฟจะเป็นแหล่งดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก 5. แหล่งภูเขาไฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 6. ทำให้บรรยากาศโลกเย็นลง 7. เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล

  13. โทษของภูเขาไฟระเบิด 1. แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน 2. ลาวา ที่ไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ มนุษย์และสัตว์ถ้าหนีไม่ทันก็จะเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง 3. เกิดฝุ่นภูเขาไฟ เถ้ามูล บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟและลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร 4. เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ 5. หลังจากภูเขาไฟระเบิด มีฝุ่นเถ้าภูเขาไฟตกทับถมอยู่ใกล้ภูเขาไฟ เมื่อฝนตกหนัก อาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น

  14. แนวรอยเลื่อน ที่พบในประเทศไทย 1 3 2 4 5 1. รอยเลื่อนเชียงแสน 2. รอยเลื่อนแพร่ 3. รอยเลื่อนแม่ทา 4. รอยเลื่อนเถิน 5. รอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี 6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ 7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ 8. รอยเลื่อนระนอง 9. รอยเลื่อนคลองมะรุย 6 7 8 9

  15. รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนท่าแขก รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย DDPM

  16. DDPM แผนที่แสดงระดับ ความเสี่ยงต่อภัยจากแผ่นดินไหว

  17. DDPM รอยเลื่อนในภาคเหนือ ที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์

  18. 0 50 100 1 50 km Chao Praya Basin Fault Three Pagoda Fault Tavoy Fault Tenasserim Fault Bangkok Kungyaungale Fault รอยเลื่อนในภาคตะวันตก ที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ DDPM รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

  19. แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันและเป็นการปรับสมดุลของเปลือกโลก ให้เข้าที่ ภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหวเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น

  20. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว 1. แผ่นดินไหวที่เกิดตามธรรมชาติ 1.1 แผ่นดินไหวที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 1.2 แผ่นดินไหวที่เกิดจากกระบวนการระเบิดของภูเขาไฟ 2. แผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น 2.1 การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน 2.2 การระเบิดพื้นที่อย่างรุนแรงเพื่อการสำรวจ และสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน 2.3 การยุบตัวของแผ่นดิน เนื่องจากการทำเหมืองแร่ เป็นต้น

  21. แนวการเกิดแผ่นดินไหวของโลก 1. แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่า “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of fire)” 2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรป 3. แนวรอยต่อที่เหลืออีกร้อยละ 5 เกิดในบริเวณแนวสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก

  22. ผลกระทบจากแผ่นดินไหว 1. แผ่นดินสะเทือน ทำให้สิ่งปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน สะพาน และถนนพังทลาย 2. แผ่นดินเลื่อน ทำให้ถนน ทางรถไฟ เกิดการฉีกขาด ตามแนวการเลื่อนตัว 3. เกิดไฟไหม้อันเนื่องมาจากท่อแก๊สฉีกขาด 4. แผ่นดินถล่ม 5. ธรณีสูบ 6. เกิดคลื่นยักษ์หรือสึนามิ

  23. การตรวจวัดแผ่นดินไหว มาตราเมอร์แคลลี (Mercalli Scale)โดย เมอร์แคลลี ชาวอิตาลี ได้กำหนดขึ้นในปี ค.ศ.1902 จากความรู้สึกที่ รับรู้ได้จาก การเกิดแผ่นดินไหว และความกระทบกระเทือนต่ออาคาร สิ่งก่อสร้าง ซึ่งจะทำการตรวจวัดได้เฉพาะในบริเวณที่ผู้พักอาศัยอยู่ ในสถานที่เกิดเหตุ และยังขึ้นอยู่กับชนิดของอาคาร และสิ่งก่อสร้างที่ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนแบ่งเป็น 12 อันดับ

  24. การวัดระดับแผ่นดินไหวการวัดระดับแผ่นดินไหว เมอร์คัลลิ (Mercalili) ชาวอิตาเลียน ( 10 ระดับ ) Harry o. Wood , frank Neumanปรับ 12 ระดับ เกณฑ์วัดการสั่นสะเทือน เรียกว่า มาตราเมอร์คัลลิ Charles F. Richter

  25. ไซสโมกราฟ Charles F. Richter

  26. ไซสโมกราฟ

  27. ระยะของการเกิดแผ่นดินไหวระยะของการเกิดแผ่นดินไหว DDPM ระยะไหวเตือน (Foreshock) สั่นสะเทือนก่อนล่วงหน้าเบาๆ ช่วงเวลาสั้นๆ เป็นวินาที ไม่สามารถเตรียมตัวทัน ระยะไหวใหญ่ (Mainshock) มีการสั่นสะเทือนเต็มที่ มีความรุนแรงมากที่สุด ระยะไหวตาม (Aftershock) ระยะสั่นสะเทือนหลังจาก ระยะไหวใหญ่ เพื่อให้แนวแตกร้าวเข้าที่หรือหยุดนิ่ง เป็นการไหวเบาๆ ตามมาอีกหลายๆครั้ง ใช้เวลาหลายวันกว่าจะหยุดนิ่งเข้าที่

  28. DDPM

  29. Beam-column joint damage in a building in Taiwan By the 1999 Chi-Chi earthquake DDPM Beam-column joint damage in a building in the 1999 Izmit, Turkey earthquake

  30. ความเสียหายจากแผ่นดินไหว ขนาด 7.9RICHTER ประเทศปากีสถาน มกราคม 2544 มีผู้เสียชีวิต 70,000คน DDPM

  31. แผนปฏิบัติการในสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับผู้ใช้สอยอาคาร DDPM DDPM อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรงป้องกันสิ่งร่วงหล่น

  32. แผนปฏิบัติการในสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับผู้ใช้สอยอาคาร DDPM การอพยพหนีภัยจากแผ่นดินไหว

  33. แหล่งสืบค้นข้อมูล ได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้ http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science http://www.ednet.kku.ac.th http://www.school.obec.go.th/csw_som

More Related