380 likes | 606 Views
บทที่ 3 ระบบอินเทอร์เน็ต. ระบบอินเทอร์เน็ต คืออะไร. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งเกิดจากการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน
E N D
บทที่ 3 ระบบอินเทอร์เน็ต
ระบบอินเทอร์เน็ต คืออะไร • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด • ซึ่งเกิดจากการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน • ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นชนิดใดหรือขนาดใด ก็ตาม สามารถส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ • โดยใช้โปรโตคอลเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเหมือนเส้นใยแมงมุม
ระบบอินเทอร์เน็ต คืออะไร • ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากกับการเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจขององค์กรทำให้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ลูกค้าของธนาคารต่าง ๆ สามารถทำรายการทางการเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ • ระบบงานต่าง ๆ ที่ ติดตั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะสามารถช่วยลดปัญหาด้านระยะทาง โดยที่ผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นต้องทำงานอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งตลอดเวลา • นอกจากอินเทอร์เน็ตจะถูกใช้เพื่อการ ติดตั้ง ระบบงานขององค์กรใด ๆ แล้ว อินเทอร์เน็ตยังถูกใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจอีกด้วย โดยการสร้างระบบการซื้อขายสิ่งของและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต (E-commerce) สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) เป็นต้น
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (Internet History) • อินเทอร์เน็ตเป็นการรวมกันของเครือข่ายสากลทั่วโลก ที่ติดต่อกันโดยผ่านโปรโตคอลมาตรฐาน TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นจากการจัดตั้งหน่วยงานร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาและฝ่ายวิจัยพัฒนาทางทหารภายใต้ชื่อโครงการว่า Advanced Research Project Agency โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ARPANETจนกระทั่งกลางทศวรรษที่ 1970 ARPANET ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย สถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 30 สถาบัน ฝ่ายวิจัยพัฒนาทางทหาร และองค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Connections) • ผู้ใช้งานควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น WWW, HTTP หรือ FTP เป็นต้น • เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ไว้สำหรับค้นหาหรือเรียกข้อมูลต่าง ๆ บนเว็บเพจ รวมไปถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ให้บริการประเภทอื่น ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Telnet, Gopher, Usenet News, FTP เป็นต้น ตัวอย่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ได้แก่ Netscaps Navigator, Internet Exporter (IE) และ Mozilla เป็นต้น
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Connections) • ผู้ใช้จะต้องเตรียมเอดีเอสแอลโมเด็มไว้สำหรับเชื่อมต่อกับเครือข่าย • การเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรือพกพาทั่ว ๆ ไป จะต้องมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) เช่น CS Interner, A-Net Internet, Internet KSC เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Connections) • หากผู้ใช้มีความประสงค์ที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถทำได้โดยการสมัครเป็นสมาชิกกับ ISP เหล่านี้ได้ และเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทาง ISP ก็จะให้เบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งชื่อผู้ใช้ (User Account) และรหัสผ่าน (Password) ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) • ชื่อโดเมน (IP Address) IP Address หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IP เปรียบเสมือนกับเลขที่บ้านของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายการส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์คก็จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องซึ่งเป็นหมายเลขที่กำหนดเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดยที่ไม่ซ้ำกันเลย • โดยสามารถแบ่ง IP ออกได้เป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 8Bits ดังนั้น รวมแล้วจึงมีขนาดเท่ากับ 32 Bits และเนื่องจากเป็นเลขฐานสอง • การเขียนหมายเลข IP จะใช้ตัวเลขฐานสิบเพื่อให้ทำความเข้าใจง่าย และใช้จุด (.) คั่นระหว่างแต่ละฟิลด์
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) • ตัวอย่างเช่น IP Address • เลขฐาน 10 = 172.16.0.167 • เลขฐาน 2 (32 Bit) = 1010 1100. 0001 01000 . 0000 0000 . 1010 0111
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) • IP ที่ใช้ในปัจจุบันคือ Internet Protocol Version 4 หรือ IPv4 ปัญหาหลักที่พบในปัจจุบันก็คือ หมายเลข IP ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนา IPv6 ขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการให้เพียงพอ • ดังนั้น IPv6 จึงเขียนเป็นเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนมีขนาด 16 Bit (เท่ากับเลขฐานสิบหก 4 หลัก) โดยที่ Address หนึ่งจะมีได้ทั้งหมด 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะคั่นด้วยเครื่องหมาย colon (:) ดังตัวอย่างต่อไปนี้ FEDC:BA98:7654:3210:FEDC:BA98:7654:3210 1080:00AA:0045:0000:0000:0800:200C:417A
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) • ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System : DNS) • ระบบชื่อโดเมน เป็นการใช้ชื่อเฉพาะเพื่ออ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ เช่น www.ktpbok.com, www.nectec.or.th, www.matisse.net, www.yahoo.com, www.sanook.com • การอ้างอิงชื่อโดเมนดังกล่าวจะต้องมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับ IP ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยระบบนี้จะจับคู่ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ชื่อเว็บไซต์) กับ IP ของเครื่องนั้น เมื่อต้องการเข้าชมชื่อเว็บไซต์ใด ก็พิมพ์ชื่อของลงบนเว็บบราวเซอร์ DNS ก็จะทำการแปลงชื่อเว็บไซต์ไปเป็น IP เพื่อเข้าไปขอข้อมูลที่เครื่องนั้น ๆ • หมายเลข IP เหล่านี้จะถูกกำหนดและควบคุมโดยหน่วยงานที่ให้บริการชื่อโดเมนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) จากภาพแสดงโครงสร้างหลักของระบบชื่อโดเมนตามลำดับชั้น ซึ่งประกอบไปด้วย1) จุดเริ่มต้น (Root) 2) ชื่อโดเมน (Domain) และ 3) สับโดเมน (Subdomain)
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) ความสัมพันธ์ระหว่าง IP Address, Domain และ Subdomain จากภาพแสดงshopping.sanook.com ชื่อโดเมนหลัก คือ sanook.com ชื่อสับโดเมนคือ shopping
cmru.ac.th 10.1.5.20 Domain Name IP Address อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) การอ้างอิงอ้างถึงตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล โดเมนเนม และ ยูอาร์แอล (Internet Protocol Address, Domain Name and URL) • รูปแบบ Domain Name แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ - แบบ 2 ระดับ รูปแบบ ชื่อองค์กร.ประเภทขององค์กรเช่น Sanook.com, Hunsa.com, Kapook.com, tttonline.net เป็นต้น - แบบ 3 ระดับ รูปแบบ ชื่อองค์กร.ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร.ส่วนขยายประเทศ เช่น cmru.ac.th, Manager.co.th, Nectec.or.th
ส่วนขยายประเภทขององค์กรส่วนขยายประเภทขององค์กร
การบริการทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารการบริการทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสาร • ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมาย เนื่องจากในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งส่วนบุคคลและองค์กร บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตจึงมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างการให้บริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น E-Mail, Telnet, Archie, Instant Messaging, Chat Room, Internet Telephony, NewsgroupUSENET, FTP และ WWW เป็นต้น
ยูอาร์เอล (Uniform Resource Locator : URL) • คือ รูปแบบของการเรียกใช้บริการในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ้างอิงเว็บไซต์ต่าง ๆ • ตัวอย่าง http://www.cmru.ac.th/science/index.html • http ชนิดของโปรโตคอลที่ใช้ในการถ่ายโอน • www บริการที่เรียกใช้ • cmru องค์กร • ac ประเภทขององค์กร • th ประเทศ • science ไดเรกทอรี่ • index.html ไฟล์เอกสารที่ระบุถึงเว็บเพจหนึ่ง ๆ ที่คุณกำลังร้องขอ ถ้าไม่มีการกำหนดชื่อไฟล์บราวเซอร์จะถือว่าไม่ใช้เพจตัวดีฟอล์ต์ ซึ่งปกติจะมีชื่อว่า index.html
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ E-Mail (Electronic Mail) • E-mail หรือที่เรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นจดหมายที่ส่งผ่านกันภายทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทั้งผู้รับและผู้ส่งสามารถอยู่ที่ใดในโลกก็ได้ แม้ว่าจะห่างไกลกันแต่ไหนก็ตาม
อินสแตนซ์ แมสเสจ (Instant Messaging (IM)) • เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ (Real Time) โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน และอาจส่งไฟล์ถึงกันได้ทั้งไฟล์รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ เหมือนกับการใช้อีเมล์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Instant Messaging เป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์นั่นเอง ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้เทคโนโลยี Instant Messaging เช่น โปรแกรม MSN Messenger, ICQ เป็นต้น
ห้องสนทนา (Chat Room) • Chat Room หรือห้องสนทนา เป็นเทคโนโลยีที่มีรูปแบบการสื่อสารคล้ายกับ Instant Messaging กล่าวคือ เป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์ และสนทนากันด้วยการพิมพ์ข้อความเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ผู้ร่วมสนทนาทั้งหมด จะเห็นข้อความเกือบจะพร้อมกัน ซึ่งเปรียบได้กับการร่วมสนทนาอยู่ในห้องเดียวกันนั่นเอง ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น โปรแกรม mIRC โปรแกรม Pirch เป็นต้น
การโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Telephony) • Internet Telephony หรือบางครั้งเรียกว่า VoIP (Voice over IP) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้สามารถโทรศัพท์คุยกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ • แต่ทั้งนี้จะต้องมีอุปกรณ์สนับสนุนการใช้งานอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ ซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับควบคุมการสนทนาผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internet Telephone Software) ไมโครโฟน ลำโพง และภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะต้องติดตั้งการ์ดเสียง (Sound Card) หรืออาจจะเป็น Sound on Board ก็ได้ • การทำงานของระบบจะแปลงเสียงพูดเป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านอินเทอร์เน็ตไปสู่ปลายทางที่ต้องการ แล้วแสดงผลผ่านลำโพงของปลายทาง ทำให้สามารถสนทนากันได้คล้ายกับการใช้งานเครื่องโทรศัพท์
การโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Telephony)
บริการรับ ส่งข้อมูล FTP (File Transfer Protocol) • FTP คือ บริการการรับ - ส่งแฟ้มไปยังเครื่องที่ให้บริการ ปัจจุบันมีโปรแกรม WS_FTP (www.ipswitch.com) หรือ CUTE_FTP (www.globalscape.com) ที่ทำให้ส่งแฟ้มหลายแฟ้มไปยังเครื่องบริการได้สะดวก ต่างกับการ Upload หรือ Download แฟ้มที่จำกัดจำนวนแฟ้มในการส่งต่อครั้ง ผ่าน Browser เหมือนบริการของ thai.net หรือ geocities.com แม้ไม่มีโปรแกรม WS_FTP หรือ CUTE_FTP แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง TCP/IP จะมีโปรแกรม c:\windows\ftp.exe ติดมาด้วย ทำให้สามารถ Download หรือ Upload ในแบบ Text mode ซึ่งมีฟังก์ชันที่จำเป็นครบ การใช้ FTP ได้ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับบริการของเครื่องบริการที่เปิดให้บริการ Web hosting และเปิดให้ใช้ FTP
บริการรับ ส่งข้อมูล FTP (File Transfer Protocol) ตัวอย่าง การใช้บริการ FTP
เวิลด์ไวด์เว็บ World Wide Web (WWW) • จัดเป็นส่วนหนึ่งของบริการอินเทอร์เน็ต บริการ WWW นับว่าได้รับความนิยมสูงสุด มาถึงยุคปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปจากเดิมมาก จากที่ต้องจดจำคำสั่งมากมายก็ไม่ต้องจดจำแล้ว เพียงแค่ใช้ Mouse คลิกบนภาพคำสั่ง Icon ก็สามารถสั่งการเชื่อมต่อและใช้อินเทอร์เน็ตได้เลยที่เราเรียกว่า Graphic User Interface : GUI และบริการอินเทอร์เน็ตที่หลักการของ GUI นี้ก็คือบริการ WWW นั้นเอง • นอกจากนั้นแล้ว WWW ยังสามารถนำเสนอ ภาพ Graphic Animation Movie Sound Multimedia เป็นต้น ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความนิยมสูงมากจนเข้ามามีบทบาทในชีวิต
การใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บการใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ตัวอย่าง การใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ
เทคโนโลยีของเว็บไซต์ • Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว (Read-only) เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถแก้ไขข้อมูลหน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) เป็นเว็บไซต์ที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ภาษา html เป็นภาษาสำหรับการพัฒนา • Web 2.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ (Read-Write)เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก Web1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก (Weblog) วิกีพีเดีย (Wikipedia) เป็นต้น ซึ่ง Web 2.0 จะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้ด้วย
เทคโนโลยีของเว็บไซต์ • Web 3.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่าน เขียนและจัดการ(Read-Write-Execute) เทคโนโลยีเว็บ 3.0 คือจากที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านและเพิ่มข้อมูล ผู้ใช้ก็จะสามารถปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งในส่วนของเว็บ 3.0 นั้นในเมืองไทยกำลังจะนำมาใช้งานในอนาคต เทคโนโลยีบางอย่างที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ใน Web 3.0 ได้แก่ • Artificial Intelligence (AI) แปลตามพจนานุกรมมันคือ ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกกันว่า สมองกล เป็นสมองกลแบบเดียวกันในหุ่นยนตร์นี่เอง มันจะเป็นจุดเด่นที่จะทำให้เว็บเราตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด หรือถึงขั้นที่ว่ารู้ความต้องการของผู้ใช้ และแสดงข้อมูลออกมาได้อย่างตรงใจ ตัวอย่างที่มีการนำมาใช้งาน เช่น Search Engine Google เมื่อเราต้องการค้นหาข้อมูลด้วยคำว่า Thailand แล้วสะกดผิด Google สามารถรู้ได้ว่าคำที่เราต้องการค้นหาคือคำว่า Thailand เป็นต้น
เทคโนโลยีของเว็บไซต์ • Semantic Web and SOA (Service-oriented architecture) SOA เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบที่ต่างกัน เช่น เว็บ TOSDN ทำให้เกิดฐานข้อมูลของโลกขึ้นมาโดยข้อมูลทั้งหมดจะเข้าถึงกัน ไม่เฉพาะแค่ตัวอักษรเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงข้อมูลรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่เราสามารถค้นหาได้โดยไม่ต้องพึ่งการค้นหาโดยพิมพ์ Keyword แบบเก่าๆ เช่น อยากค้นหาคนที่หน้าเหมือนผู้ใช้งาน ก็เอารูปผู้ใช้งานไป ค้นหา จากนั้นมันจะไปเทียบหน้า แล้วแสดงหน้าคนเหมือนผู้ใช้ออกมาหรือต้องการเพลงที่มีทำนองแบบไหน ก็เอาเพลงไปค้นหา แล้วมันก็จะแสดงเพลงที่มีทำนองเดียวกัน หรือลักษณ์ใกล้กันออกมา
เทคโนโลยีของเว็บไซต์ • 3D หรือ Web3D Consortium ปกติเราเห็นเว็บเป็นหน้าเรียบ ๆ แบบ 2 มิติ (2D) แต่ใน Web 3.0 อาจจะได้เห็น 3 มิติ (3D) เช่น ต้องการซื้อของในเว็บไซต์ ผู้ใช้ก็ให้ตัวเราในเว็บที่เป็น 3D เดินเข้าร้านไปซื้อของในร้านค้าโลกออนไลน์ โดยระหว่างซื้อก็สามารถสนทนาถึงเรื่องสินค้าและร้านนั้นได้ เช่น Dzzd.net • Composite Applications เป็นการผสมบริการระหว่างกัน เช่น การดึงบริการจากเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาใช้งานในเว็บไซต์อื่นๆ ได้ด้วยเสมือนเป็นเว็บไซต์เดียวกัน
เทคโนโลยีของเว็บไซต์ • Scalable Vector Graphics (SVG) ข้อนี้ Tim Berners-Lee เป็นผู้แนะนำเองว่ามันน่าจะมี ซึ่งมันจะสร้างภาพขึ้นมาด้วย XML ทำให้การค้นหาเป็นไปได้ง่าย ประกอบกับมีความสามารถมากขึ้น เพราะเป็นภาพแบบ Vector กล่าวคือ ภาพแบบนี้ จะย่อหรือขยาย ก็ไม่แตกเป็นเม็ดๆ เหมือนภาพที่ใช้ในปัจจุบัน (Bitmap) • Semantic Wiki นึกภาพของเว็บ Wikipedia เวลาอ่านข้อมูลใดๆ แล้วเจอ Keyword ในหน้านั้น แทนที่เราจะเอา Keyword ตัวนั้นไปค้นหา มันก็จะแสดงข้อมูลให้เราโดยที่ข้อมูลนั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังอ่านอยู่
เทคโนโลยีของเว็บไซต์ • Metadata (Data About Data) คือ การอธิบายข้อมูลด้วยข้อมูล โดยมันจะทำการคำนวณว่าข้อมูลที่ใช้งานอยู่มีข้อมูลใดสัมพันธ์กันบ้างที่สามารถอธิบายข้อมูลตัวมันเองได้ เช่น ดูข้อมูลของ Tosdn มันก็จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันคือ Php, Asp, Perl
อินทราเน็ต (Intranet) และเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) • ผลจากพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบระบบเครือข่ายอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเครือข่ายที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ • เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเฉพาะภายในองค์กรหรือหน่วยงานเท่านั้น • เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับผู้ใช้ที่ปลายทาง ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้ปลายทางนั้นอาจจะเป็นลูกค้า ซัพพลายเออร์ (Supplier) หรือพันธมิตรทางธุรกิจก็ได้
อินทราเน็ต (Intranet) และเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) • อินทราเน็ต (Intranet) ปัจจุบันบางองค์กรได้จำลองลักษณะอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายใน เพื่อให้บุคลากรภายในบริษัททำการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อองค์กรในเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในองค์กร ที่มีลักษณะคล้ายกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคโนโลยีเดียวกัน คือ อินทราเน็ตจะมีการเชื่อมต่อสื่อสารและใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น • เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อการติดต่อระหว่างผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่ายและลูกค้า เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ
สรุป • เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์เราอย่างยิ่ง ทำให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แม้อยู่คนละซีกโลกก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามภัยที่มาจากอินเตอร์เน็ตก็มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงต้องรู้จัก และ ใช้งานอินเตอร์เน็ตให้เป็นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเราเองให้มากที่สุด