340 likes | 463 Views
ศ. 401 เศรษฐศาสตร์การเมือง. เศรษฐศาสตร์การเมือง อาดัม สมิธ ( 1). การปฏิวัติทางความคิดและการเมือง. การเกิดนิกายโปรเตสแตนท์ ศ. 16-17 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ศ. 17 ยุคสว่างทางปัญญา ( The Enlightenment) ศ. 17-18 ลัทธิเสรีนิยมทางการเมือง ศ. 17-18
E N D
ศ.401 เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์การเมือง อาดัม สมิธ (1)
การปฏิวัติทางความคิดและการเมืองการปฏิวัติทางความคิดและการเมือง • การเกิดนิกายโปรเตสแตนท์ ศ.16-17 • การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ศ.17 • ยุคสว่างทางปัญญา(The Enlightenment) ศ.17-18 • ลัทธิเสรีนิยมทางการเมือง ศ.17-18 • การปฏิวัติประชาธิปไตยในอังกฤษ (1648, 1688) สหรัฐอเมริกา (1776) ฝรั่งเศส (1789)
การเกิดนิกายโปรเตสแตนท์ ศ.16-17 • ลัทธิปัจเจกชนนิยมในทางศาสนา • ศรัทธาเป็นเรื่องส่วนบุคคล • ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างพระเจ้ากับปัจเจกบุคคล • ปฏิเสธพิธีกรรมที่ซับซ้อนและฟุ่มเฟือย • เน้นการทำงานหนัก ประหยัดมัธยัสถ์ การออม • การทำกำไรและการสะสมทรัพย์เป็นผลจากการทำงานที่ดีแก่พระเจ้า
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ศ.17 • คอเปอนิคัสกับทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลใหม่ • วิทยาศาสตร์ใหม่ของกาลิเลโอ • วิทยาศาสตร์บนฐานของเหตุผลและการทดลอง • จักรวาลถูกควบคุมโดยกฎธรรมชาติ (natural law) • นิวตัน กฎทางฟิสิกซ์ และกฎทางกลศาสตร์ • ทัศนะกลไกในการมองโลก (การวิเคราะห์ดุลยภาพ) • ความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าทางปัญญาของมนุษย์
ยุคสว่างทางปัญญา (The Enlightenment)ในยุโรป ศ.17-18 • เชื่อมั่นใน “เหตุผล” (Reason) เป็นหลักชี้นำในการเข้าใจมนุษย์ สังคม และโลก • ปฏิเสธความเชื่อเดิมทางศาสนา ประเพณีและการเมือง • ยึดเอา “มนุษย์” เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่พระเจ้าหรือรัฐ • “เหตุผล” ใช้วิทยาศาสตร์ใหม่ไปอธิบายสังคมและโลก • เสรีภาพของปัจเจกชนที่ปลอดพ้นจากการกดขี่ทั้งทางโลกและทางความคิด
ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ศ.17-18 • ทฤษฎีการเมืองมุ่งปฏิเสธลัทธิเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ • รัฐเกิดจาก “ความยินยอม” (consent) ของปัจเจกชนเพื่อประโยชน์ตนในการอยู่เป็นสังคม • รัฐต้องคุ้มครองสิทธิธรรมชาติ (natural rights) ของปัจเจกชน (สิทธิในชีวิตร่างกายเสรีภาพ ทรัพย์สิน Life, Liberty, Property) • เสรีภาพของปัจเจกชนภายในอำนาจรัฐที่ถูกจำกัด • “สัญญาประชาคม” Social Contract (Hobbe, Locke)
การปฏิวัติประชาธิปไตยอังกฤษ 1648, 1688 • 1642 ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับกษัตริย์ชาร์ลสที่หนึ่ง • 1642-48 สงครามกลางเมืองการปฏิวัติของ Oliver Cromwell • 1649-60 ระบอบ Commonwealth • 1661 รื้อฟื้นกษัตริย์ชาร์ลสที่สอง • 1688 Glorious Revolution รัฐสภาปลดกษัตริย์เจมส์ที่สอง สถานปนากษัตริย์วิลเลียมที่สามภายใต้รัฐธรรมนูญ • 1689 The Bill of Rights ยืนยันในอำนาจรัฐสภา
การผ่านไปสู่ทุนนิยม • การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอังกฤษ • ความเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมทอผ้า • อังกฤษเป็นผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก • ระบบ Manufactories • รวมศูนย์วัสดุ เครื่องมือ คนงาน ไว้ในที่เดียวกัน • เครื่องมือช่างฝีมือ (ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม) • การแบ่งงานกันทำ (division of labour) เพิ่มผลิตภาพ
เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ • การค้าเสรี อัตราภาษีต่ำ • ระบบการเงินมาตรฐานทองคำ • ไม่มีการแทรกแซงอุปทานเงินตราไม่มีนโยบายการเงิน • งบประมาณรัฐบาลสมดุล • ไม่มีการใช้นโยบายการคลังแทรกแซงเศรษฐกิจ • อำนาจของรัฐสภาและประชาธิปไตยกฎุมพี • ข้อจำกัดในการให้สิทธิผูกขาดแก่เอกชน
ลัทธิเกษตรนิยม (Physiocrats) • ต่อต้านลัทธิพาณิชย์นิยมของฝรั่งเศสยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ • เกษตรกรรมเป็นบ่อเกิดของความมั่งคั่ง อุตสาหกรรมและพาณิชย์เพียงแค่เปลี่ยนรูปและย้ายสถานที่สิ่งของ • เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ Laissez-faire, laissez-passer: ‘ Let people do as they please without government interference.’ • François Quesnay (1694-1774) “ตารางเศรษฐกิจ” (Tableau Economique) แบบจำลองระบบเศรษฐกิจแรกสุด
นโยบายเศรษฐกิจ: • ส่งเสริมให้ภาคเกษตรเติบโต --- เพิ่มความมั่งคั่งของชาติ • การค้าเสรีสินค้าเกษตรและธัญพืชสร้างเสถียรภาพราคาและการเติบโตของเศรษฐกิจ • ยกเลิกภาษีที่ดินและภาษีรายได้เกษตร • จัดเก็บภาษีค่าเช่าจากชนชั้นเจ้าที่ดิน
Anne Robert Jacques Turgot (1727-81) • เกิดในตระกูลขุนนางแคว้นนอร์มังดี • 1774 เป็นรัฐมนตรีคลังในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 • ลงมือปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวทางเกษตรนิยม • ให้ค้าเสรีธัญพืชในประเทศ • ยกเลิกอภิสิทธิ์ผูกขาดของบรรษัทและสมาคมช่างฝีมือ • ยกเลิกแรงงานเกณฑ์ จัดเก็บภาษีค่าเช่าจากเจ้าที่ดิน • ตัดรายจ่ายของรัฐบาล
อนุญาตให้รัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศแทนแหล่งในประเทศอนุญาตให้รัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศแทนแหล่งในประเทศ • ให้เสรีภาพในการเลือกอาชีพ การศึกษา และเสรีภาพในศาสนา • ถูกต่อต้านจากทั่วทุกกลุ่มสังคม • ผู้ดี พระ นายธนาคาร สมาคมช่าง บรรษัทผูกขาด นายภาษี ข้าราชสำนัก • 1776 ถูกปลดจากตำแหน่ง ยกเลิกการปฏิรูปทั้งหมด • ความขัดแย้งระหว่างฐานันดรที่สาม (สามัญชน) กับกษัตริย์ • 1789 การปฏิวัติใหญ่ กำเนิดสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ยุคสว่างทางปัญญาในสก๊อตแลนด์ยุคสว่างทางปัญญาในสก๊อตแลนด์ • Francis Hutcheson(1694-1746) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ • ความเชื่อในความก้าวหน้าของมนุษย์และสังคม • ธรรมชาติของมนุษย์นั้นคงที่ • มนุษย์เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลับมามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์เองในยุคสมัยที่แตกต่างกัน • วิวัฒนาการสังคมที่ก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
อาดัม สมิธ (Adam Smith 1723-90) • เกิดที่ Kircaldy สก๊อตแลนด์บิดาเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร เสียชีวิตไม่กี่เดือนก่อนอาดัมเกิด • มารดา Margaret Douglas Smith เสียชีวิต 1784 • 1737 ศึกษาที่ Glasgow College เป็นศิษย์ Hutcheson • 1740-46 ศึกษาปรัชญา การเมือง และภาษาที่ Balliol College, อ๊อกซฟอร์ด • อ่าน ‘Treatise on Human Nature’ ของฮูม
กลับ Kircaldy และบรรยายวาทศิลป์ นิติปรัชญาและปรัชญาศีลธรรมที่ Edinburgh • 1751Professor of Logic, Glasgow College. • 1759‘The Theory of Moral Sentiments’ เริ่มมีชื่อเสียง • 1764 ลาออกจากงานสอน เป็นครูพิเศษให้กับ Duke of Buccleuth เดินทางไปฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ • พบ Voltaire, Franklin, Quesnay, Turgot ในกรุงปารีส • ศึกษางานของพวกเกษตรนิยม • เริ่มเขียน ‘The Wealth of Nations’
1766 กลับมา Kircaldy และลอนดอน คลุกคลีอยู่กับนักคิดมีชื่อเสียงในยุคเดียวกัน • 1776‘An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations’ • แพร่หลายเป็นที่นิยม แปลเป็นภาษาต่าง ๆ ในยุโรป • 1778 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรแห่ง Edinburgh • 1787 อธิการบดี Glasgow University • เป็นโสดตลอดชีวิต
Theory of Moral Sentiments • กฎธรรมชาติ (natural law) ควบคุมสังคมมนุษย์ • กฎนี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ศึกษาและใช้ประโยชน์ได้ • Positive law คือกฎหมายที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ • เปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยม ความเชื่อของยุคสมัย • แต่ต้องสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ • สิทธิธรรมชาติ (natural rights) ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และสิทธิในดอกผลแห่งทรัพย์สิน
ปัจเจกชนมีประโยชน์ส่วนตน (self interest) • สิ่งใกล้ตัวสำคัญกว่าสิ่งไกลตัว • ต้องการสถานะที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา • ปัจจัยอะไรที่กำกับควบคุมประโยชน์ส่วนตัว? • เราตัดสินใจทางศีลธรรมที่เป็นผลดีต่อคนอื่นได้อย่างไร? • ความเห็นใจ (sympathy) คือความสามารถที่จะวางตัวเป็น ‘impartial inspector’ • ปัจเจกชนมีศีลธรรมบนพื้นฐานของความเห็นใจ ซึ่งกำกับการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน
The Wealth of Nations • ‘ความมั่งคั่ง’คือมูลค่าของบรรดาผลผลิตที่ผลิตขึ้นในสังคม • การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคือ การเพิ่มความมั่งคั่ง • ความโน้มเอียง (propensities) ของมนุษย์ • ประโยชน์ส่วนตน ความต้องการที่จะปรับปรุงสถานะตนให้ดีขึ้น • ความโน้มเอียงที่จะขนย้าย ต่อรองและแลกเปลี่ยน (propensity to truck, barter and exchange) • อะไรทำให้ปัจเจกบุคคลประพฤติตนในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเพิ่มความมั่งคั่ง?
ระบบเสรีภาพตามธรรมชาติ(The system of natural liberty) • เสรีภาพทางเศรษฐกิจ • เสรีภาพในการแสวงหาประโยชน์ตน • กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สิทธิในการผลิตและแลกเปลี่ยน • การแบ่งงานกันทำ • การผลิต การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน การเจริญเติบโต • การแข่งขันในตลาด • ราคา ต้นทุนการผลิต รายได้แก่ปัจจัยการผลิต
การแบ่งงานกันทำ • การแบ่งงานกันทำในอุตสาหกรรม • คนงานแต่ละคนทำงานคนละอย่าง แต่ร่วมกันผลิตภายในโรงงาน • สมิธบทที่ 1 โรงงานทำเข็ม แบ่งงานเป็น 18 อย่าง มีผลผลิตเข็ม 48,000 เล่มต่อวันต่อคนงาน 10 คน • ประโยชน์ของการแบ่งงานกันทำ • เพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน • ประหยัดเวลาจากการเปลี่ยนหน้าที่ • เอื้อต่อการประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่
การแบ่งงานกันทำในสังคมการแบ่งงานกันทำในสังคม • สาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ผลิตสิ่งของที่แตกต่างกัน • การค้าระหว่างเมืองและประเทศ • การแบ่งงานกันทำเพิ่มผลิตภาพของแรงงานและเร่งรัดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี • การแบ่งงานกันทำถูกจำกัดด้วยขนาดของตลาด • ตลาดใหญ่ขึ้น อุปสงค์มากขึ้น จำนวนคนงานมากขึ้น แบ่งงานกันทำมากขึ้น • การขนส่งทางไกลช่วยขยายขอบเขตของตลาดและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ
แบบจำลองการเติบโตของสมิธแบบจำลองการเติบโตของสมิธ ประโยชน์ส่วนตน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน การแบ่งงานกันทำ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ขั้นตอนการพัฒนาสังคมมนุษย์ขั้นตอนการพัฒนาสังคมมนุษย์ • มนุษย์มีธรรมชาติที่ไม่เปลี่ยนแปลง (self interest) • สังคมมนุษย์พัฒนาผ่านสี่ขั้นตอน • แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยระดับผลิตภาพและระดับการแบ่งงานกันทำที่ต่างกัน • มีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างกัน • เป็นพื้นฐานของรูปแบบสังคมและรัฐในอดีต
(1) ยุคล่าสัตว์ (Hunting) • วิถีชีวิตล่าสัตว์และเก็บของป่า • ชีวิตย้ายถิ่นเร่ร่อน • ประชากรจำนวนน้อย อยู่เป็นครอบครัวและเผ่า • ผลิตภาพแรงงานต่ำสุด แบ่งงานกันทำน้อยที่สุด • ฐานะสังคมเท่ากัน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน • ไม่มีรัฐ
(2) สังคมเลี้ยงสัตว์ (Pastoral) • วิถีชีวิตแบบเลี้ยงสัตว์และย้ายถิ่น • ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นเผ่าขนาดใหญ่ • การแบ่งงานกันทำตามกายภาพ (เพศ อายุ ประสบการณ์) • เริ่มมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (วัว ควาย ม้า แกะ) • เริ่มมีการสะสมทรัพย์ ความแตกต่างรวย-จน • รูปแบบเริ่มต้นของรัฐเพื่อปกป้องทรัพย์สินของคนรวยจากคนจน
(3) สังคมเกษตร (Farming) • การผลิตทางเกษตรกรรม • การตั้งถิ่นฐานถาวร • อุปทานอาหารเพิ่มขึ้น ประชากรมากขึ้น • กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นฐานอำนาจสำคัญ • มีการแบ่งงานกันทำและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น • แบ่งงานกันทำทางสังคมระหว่างสาขาการผลิตและอาชีพ • ระหว่างเกษตรกรรมและงานช่างฝีมือ • ระหว่างช่างฝีมือสาขาต่าง ๆ
ระบบ manor ในยุคศักดินายุโรป • สังคมหมู่บ้าน เมืองเป็นแหล่งค้าขายระหว่างชุมชน • การปกครองทางการเมืองผ่านอำนาจเหนือที่ดินและควบคุมแรงงานโดยเจ้านาย • ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ผลิตผลและผลิตภัณฑ์หลากหลายขึ้น • มี “ส่วนเกิน” เหลือไปจุนเจือกิจกรรมที่ “ไม่ผลิต” (รัฐบาล กองทหาร โบสถ์ ศาสนา)
(4) สังคมพาณิชย์ (Commerce) • มีการสะสมทุนและการแบ่งงานกันทำซับซ้อน • กรรมสิทธิ์ในทุนและการสะสมทุน (เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ) • การแบ่งงานกันทำในอุตสาหกรรม • ประชากรมากขึ้น แบ่งงานกันทำได้ซับซ้อนขึ้น • เมืองและโรงงานที่ขยายตัว • ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงิน การค้าเจริญรุ่งเรือง
การเสื่อมสลายของ manors และระบบศักดินา • การเกิดขึ้นของเกษตรกรรมแบบทุนนิยม • เมืองเป็นที่รวมของพ่อค้าและนายทุน • เสรีภาพในทางการค้า • การเกิดระบบอุตสาหกรรม • ความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น มาตรฐานชีวิตสูงขึ้น
การเจริญเติบโตในยุคพาณิชย์การเจริญเติบโตในยุคพาณิชย์ • การแบ่งงานกันทำคือหัวรถจักรของการเจริญเติบโต • เพิ่มผลิตภาพแรงงาน เพิ่มผลผลิต • การแบ่งงานกันทำต้องอาศัยการสะสมทุน (เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งจำเป็นยังชีพของคนงาน) • การสะสมทุนขึ้นอยู่กับกำไรและการออมของนายทุน เพื่อมาจ้างแรงงานผลิต
แรงงานผลิต (productive labour) ผลิตผลผลิตเพิ่มและเป็นปัจจัยเจริญเติบโต • แรงงานไม่ผลิต (unproductive labour) บริโภคผลผลิตที่ผลิตโดยแรงงานผลิต • แรงงานบริการ (ข้าราชการ ทหาร พระ ศิลปิน แพทย์ ทนาย ครู) • ไม่เพิ่มความมั่งคั่ง แต่บั่นทอนความมั่งคั่งถ้ามีมากเกินไป • การสะสมทุนเป็นปัจจัยเพิ่มการจ้างงานและเพิ่มระดับค่าจ้าง • ขีดจำกัดของการสะสมทุนคือ ความยากลำบากในการหาช่องทางการลงทุนใหม่ ๆ ที่ได้กำไรมากขึ้น
การสะสมทุน การแบ่งงานกันทำ การเพิ่มการจ้างงาน การเพิ่มผลิตภาพ การเพิ่มระดับค่าจ้าง การเพิ่มผลผลิต การเพิมการบริโภค ความมั่งคั่ง และการออมของนายทุน