1 / 5

2. ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการต่อต้านทุจริต คอร์รัป ชัน

สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ ครั้งที่ 1/2555.

Download Presentation

2. ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการต่อต้านทุจริต คอร์รัป ชัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ ครั้งที่ 1/2555 ตามที่นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมและนายไพโรจน์ งามจรัส นิติกรชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่ ได้เข้าประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ครั้งที่ 1/2555 วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี หลังใน ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ประธานแทนนายกรัฐมนตรี นั้น สรุปสาระของการประชุมฯ ดังนี้ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 มติ ครม. เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2555 เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธาน 1.2 โดยให้รับความเห็น ของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย ดังนี้ 1.2.1 ความเห็นของสำนักงบประมาณ งบประมาณที่ใช้จ่ายสนับสนุนการดำเนินการตามแผนมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐในงบประมาณ พ.ศ. 2555 เห็นสมควรให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานและแผนใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของหน่วยงานมาดำเนินงาน โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้รายงานให้คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ ด้วย 1.2.2 ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ควรเน้นส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นพลังร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในการต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันระหว่างภาครัฐเอกชน และประชาสังคมต่างๆ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้พัฒนายั่งยืน 2) เร่งพัฒนาช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การปฏิบัติงานภาครัฐ การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ การจัดสรรทรัพยากรและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบค่าใช้จ่ายภาครัฐในทุกระดับ 3) ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดใหม่ๆ ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ

  2. 2. ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นผลมาจากการศึกษารวบรวมแนวทางในการดำเนินการของต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล(International Best Practices) ได้แก่ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD),United Nations(UN) และ G20 Anti – Corruption Working Group และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการและการดำเนินการต่างๆของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตลอดจนการดำเนินงานของภาคเอกชนและกลุ่มเครือข่าย ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการยกระดับให้สามารถเทียบเคียงมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้

  3. 3. รายงานสถานการณ์การทุจริตภาครัฐต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ 3.1 จากรายงานฯที่ประชุมมีประเด็นสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นภาครัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงสถิติ โดยพบว่า 3.1.1 เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนว่า มีการกระทำการทุจริตในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยมี 5 จังหวัดที่ถูกร้องเรียนสูงสุดในรอบ 5 ปี คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครราชสีมา และปทุมธานี 3.1.2 เรื่องร้องเรียนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตเงินงบประมาณโครงการต่างๆ อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ของรัฐยักยอก/ฉ้อโกงทรัพย์ของทางราชการ อันดับ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับผลประโยชน์ 3.2 ข้อสังเกต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดเสริมสร้างจิตสำนึกค่านิยมที่สร้างสรรค์ กำหนดโครงสร้างและกระบวนการงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ชัดเจนมีมาตรฐานพัฒนากลไกการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ สร้างเครื่องมือการวัดระดับองค์กรเพื่อความโปร่งใสมีมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมในทางบวกและป้องกันไม่ให้เกิดช่องโอกาสที่จะกระทำความผิดในหน่วยงานทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับการสอดส่องเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการทุจริตคอร์รัปชั่นจากทุกชุมชนเครือข่าย เพื่อร่วมกันบูรณาการประสานพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3. รายงานสถานการณ์การทุจริตภาครัฐต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ 3.1 จากรายงานฯที่ประชุมมีประเด็นสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นภาครัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงสถิติ โดยพบว่า 3.1.1 เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนว่า มีการกระทำการทุจริตในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยมี 5 จังหวัดที่ถูกร้องเรียนสูงสุดในรอบ 5 ปี คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครราชสีมา และปทุมธานี 3.1.2 เรื่องร้องเรียนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนมากที่สุด 5 อันดับ  อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ  อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง  อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตเงินงบประมาณโครงการต่างๆ  อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ของรัฐยักยอก/ฉ้อโกงทรัพย์ของทางราชการ  อันดับ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับผลประโยชน์ 3.2 ข้อสังเกต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดเสริมสร้างจิตสำนึกค่านิยมที่สร้างสรรค์ กำหนดโครงสร้างและกระบวนการงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ชัดเจนมีมาตรฐานพัฒนากลไกการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ สร้างเครื่องมือการวัดระดับองค์กรเพื่อความโปร่งใสมีมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมในทางบวกและป้องกันไม่ให้เกิดช่องโอกาสที่จะกระทำความผิดในหน่วยงานทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับการสอดส่องเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการทุจริตคอร์รัปชั่นจากทุกชุมชนเครือข่าย เพื่อร่วมกันบูรณาการประสานพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

  4. 4. กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2555 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2555ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 2,3 และ 4 ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยในการประชุมฯกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประชุมประมาณ 650 คน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกระทรวง หรือรองอธิบดี หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเทียบเท่า ผู้ซึ่งทำหน้าที่บริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้แทนภาคท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนสื่อมวลชน คณะผู้แทนทางการทูต ในประเทศไทย 2) ประเด็นที่จะต้องเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินการตามแผนงานเชิงรุกของรัฐบาล ในช่วงเดือน มิ.ย. 2555 คือ ส่วนราชการนำเสนอแนวคิด/ผลการวิเคราะห์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในเบื้องต้น โดย ก.พ.ร. เป็นผู้รับผิดชอบ ตามปฏิทินการดำเนินการตามแผนงานเชิงรุกของรัฐบาล

  5. 5. ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบกำหนดให้มีแนวทางการดำเนินงาน เกี่ยวกับมาตรการเพื่อเอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่นตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. 2552 – 2555 1. แต่งตั้งอนุกรรมการ จำนวน 7 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อน 7 มาตรการ คือ 2. มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท. ดำเนินการยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 7 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนทั้ง 7 มาตรการ

More Related