1 / 45

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมทักษะ ในการปฏิบัติงานด้านการจำแนก

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมทักษะ ในการปฏิบัติงานด้านการจำแนก.

sidney
Download Presentation

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมทักษะ ในการปฏิบัติงานด้านการจำแนก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมทักษะการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมทักษะ ในการปฏิบัติงานด้านการจำแนก เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับครอบครัว สิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคมและการสื่อสาร : ทักษะและเทคนิคการหาสาเหตุการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน โดย รองศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม วันที่ 18 กรกฏาคม 2557 เวลา 09.00-14.00 น. ณ โรงแรมโฟร์วิง สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

  2. ประเด็น 1. สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน2. ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน3.แนวคิด/ทฤษฎีการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน 4.กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน5.การฝึกปฏิบัติการหาสาเหตุการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน

  3. 1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1.มุมมองนักกฎหมายนักกฎหมายมองว่า การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนนั้น เกิดจากความเยาว์วัย  รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือถูกหลอกใช้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในทางอาญา  แต่ถือว่าเป็นเพียงพฤติกรรมเบี่ยงเบนเท่านั้น 

  4. 1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน 2)มุมมองด้านสังคมวิทยา นักสังคมวิทยามองว่า เด็กและเยาวชนกระทำความผิด เพราะขาดตัวแบบของครอบครัว การได้รับแบบอย่างความประพฤติที่ไม่ดีจากบุคคลรอบข้าง เมื่อเด็กและเยาวชนยังขาดความหนักแน่นทางจิตใจ  จึงอาจถูกครอบงำ   ชักจูงได้ง่าย ทำให้พฤติกรรมเด็กและเยาวชนประพฤติผิดไปจากบรรทัดฐานของสังคมและกลายเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมาย-การมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม ฐานคิดนักสังคมวิทยา-สถาบันทางสังคมทำหน้าที่การควบคุมทางสังคม เพื่อป้องกันการก่อเหตุในสังคม การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

  5. 3) ด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยาเห็นการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจาก • ความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้อารมณ์ของบุคคลแปรปรวน  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้  มีพฤติกรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมและคนรอบข้าง และกระทำความผิดได้ง่าย จนนำไปสู่การกระทำที่รุนแรงได้ • ฐานคิดการทำงานกับเด็กและเยาวชน ความผิดปกติทางจิตใจที่นำไปสู่การก่อเหตุในคดีต่างๆ การเยียวยา การบำบัด 1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

  6. 3) ด้านสังคมสงเคราะห์นักสังคมสงเคราะห์เชื่อว่าการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจาก • ความยากจน • การเลี้ยงดูของครอบครัวที่ไม่เหมาะสม • การไม่ทำหน้าที่ของครอบครัวในสังคม • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม • โครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม ฐานคิดการทำงานกับเด็กและเยาวชน มนุษยนิยมเชื่อว่า คนเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้โอกาสทางสังคม 1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

  7. 3) ด้านอาชญาวิทยา นักอาชญาวิทยาเชื่อว่าการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ฐานคิดการทำงานกับเด็กและเยาวชน • การลงโทษ • การกักขัง • การควบคุม 1.สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

  8. เกิดเหตุสลดหญิงสาววัย 16 ปี ฆ่าตัวตาย เนื่องจากต้องแต่งงานกับชายข่มขืนเธอ • อมีนา ฟิลาลี เด็กสาววัย 16 ปี จากเมืองแทนเจียของโมรอคโค ได้ตัดสินใจกินสารหนูฆ่าตัวตาย เพราะบอบช้ำและทุกข์ใจอย่างหนัก หลังจากเธอถูกชายวัย 26 ปี ล่วงละเมิดทางเพศและข่มขืนเธออย่างเลือดเย็นเมื่อปีก่อน แต่เมื่อเรื่องขึ้นสู่ชั้นศาลแล้ว ศาลกลับไม่ดำเนินคดีใด ๆ กับคนร้ายรายนี้ แต่กลับยื่นข้อเสนอให้เขารับผิดชอบความผิดดังกล่าวด้วยการแต่งงานกับเธออย่างถูกต้องตามประเพณีและคนร้ายเองก็ยอมทำตามเงื่อนไขนี้ เพื่อหนีความผิด ทำให้อมีนาทุกข์ใจมากที่จะต้องแต่งงานกับคนร้ายที่ข่มขืนตัวเอง

  9. เกิดเหตุสลดหญิงสาววัย 16 ปี ฆ่าตัวตาย เนื่องจากต้องแต่งงานกับชายข่มขืนเธอ • เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ รายงานว่า เกิดเหตุสุดสลดขึ้นในโมร็อคโค เมื่อเด็กสาววัย 16 ปีรายหนึ่งได้กินสารหนูฆ่าตัวตายหลังศาลโมร็อคโคตัดสินให้เธอแต่งงานกับคนร้ายที่ก่อคดีข่มขืนเธอ • จากสถิติเมื่อเร็วๆ  นี้ ระบุว่า การโจมตีต่อสตรีเพศ 50 เปอรเซนต์ ได้เกิดขึ้นกับคู่สามีภรรยา • กระทรวงยุติธรรมโต้แย้งว่า เด็กหญิงดังกล่าวไม่ได้ถูกข่มขืน โดยเซ็กส์ของเธอกับผู้ถูกกล่าวหาที่เกิดขึ้นขณะที่เธออายุ 15 ปี เป็นความสัมพันธ์ในเชิงสามีภรรยา แต่ผุู้นำโมร๊อกโคประกาศว่า การบังคับใช้กฎแต่งงานดังกล่าวแทบไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะมีการดำเนินคดีกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ โมร๊อกโคมีกฎหมายกำหนดอายุการแต่งงานว่าจะต้องมากกว่า 18 ปี แต่สำหรับผู้พิพากษาก็มักจะตัดสินให้เหยื่อวัย 15 ปี สามารถแต่งงานได้

  10. เกิดเหตุสลดหญิงสาววัย 16 ปี ฆ่าตัวตาย เนื่องจากต้องแต่งงานกับชายข่มขืนเธอ • กฎหมายของโมรอคโคนั้น ผู้ร้ายก่อคดีข่มขืนจะถูกละเว้นโทษถ้าหากผู้ร้ายยินยอมที่จะแต่งงานกับเหยื่อให้ถูกต้องตามประเพณี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วครอบครัวของเหยื่อก็มักจะยอมให้ลูกสาวแต่งงานกับคนร้ายแต่โดยดี เพราะมีความคิดว่าหญิงสาวที่ถูกข่มขืนนั้นมีประวัติด่างพร้อย คงไม่มีผู้ชายคนไหนอยากแต่งงานด้วยอีกต่อไป ซึ่งความไม่เป็นธรรมนี้ได้ทำให้หญิงสาวต้องทุกข์ทรมานมาแล้วหลายราย

  11. 2.ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน2.ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน ผศ.ดร.ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี /ดร.อุนิสา เลิศโตมรสกุลคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(มกราคม 2553)ศึกษาเรื่อง การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย : แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยาพบว่าปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนมี 2 ระดับคือ1.1 ระดับบุคคล( Micro) 1) ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง (Self-control) หรือหมายความว่า เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเหล่านี้จะมีระดับในการควบคุมตนเองที่ต่ำ คือ มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ impulsive, ชอบเสี่ยง, มักจะใช้ภาษากายมากกว่าภาษาพูด, มักจะยึดถือตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง และโกรธฉุนเฉียวง่าย

  12. 2.ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน2.ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน ผศ.ดร.ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี /ดร.อุนิสา เลิศโตมรสกุลคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(มกราคม 2553)ศึกษาเรื่อง การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย : แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยาพบว่าปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนมี 2 ระดับคือ 2) ปัจจัยทางด้านการมีพันธะต่อสังคม (Social bond) 3) ปัจจัยทางด้านการคบหากับเพื่อนที่กระทำความผิด (Differential Association)

  13. 2.ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน2.ปัจจัยที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน 1.2 ระดับ Macro หรือระดับปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนฯ นอกเหนือจากปัจจัยส่วนบุคคลดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัยคือ 1.2.1 ปัจจัยทางด้านละแวกบ้านที่อยู่อาศัย (Community context) หรือปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบข้างของเด็กและเยาวชน 1.2.2 ปัจจัยทางด้านโอกาสในการกระทำผิด (Rational choice) หรือปัจจัยที่เกิดจากการตัดสินใจที่จะกระทำผิดของเด็กและเยาวชน คือ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ จะมีช่องโอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์และมีทักษะความสามารถในการหาโอกาส และวิธีในการกระทำผิดได้ในระดับสูง

  14. 3.แนวคิด/ทฤษฎีการกระทำผิด3.แนวคิด/ทฤษฎีการกระทำผิด ของเด็กและเยาวชน

  15. 3.1 ทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างกันของเอ็ดวิน ซัทเธอร์แลนด์( Sutherland ’s Differential Associations Theory) • Sutherland ได้เสนอว่าพฤติกรรมอาชญากรรมไม่ได้มีสาเหตุโดยตรงมาจากพันธุกรรม หรือสภาพแวดล้อมทางสังคม หากแต่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากรรมจากบุคคลใกล้ชิด โดยการติดต่อสื่อสารกันไม่ว่าจะเป็นทางวาจา หรือลักษณะท่าทาง • อธิบายว่า ทำไมคนถึงกระทำผิด โดยในทฤษฏีได้กล่าวถึงการเรียนรู้ซึ่งเกิดมาจากการที่มนุษย์มาคบหาสมาคมกัน มีการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ที่เราคบหาด้วย และมีการรับเอาแบบพฤติกรรมของบุคคลอื่นมาปฏิบัติตาม ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี อยู่ที่ผู้นั้นจะเลือกรับหรือมีโอกาสรับเอาพฤติกรรมใดมามากกว่ากัน

  16. 3.1ทฤษฏีการเรียนรู้ของSutherland3.1ทฤษฏีการเรียนรู้ของSutherland มีลักษณะสำคัญ 9 ข้อ 1. พฤติกรรมอาชญากรรมเกิดจากการเรียนรู้ 2.พฤติกรรมอาชญากรรม เกิดจากการเรียนรู้ในการคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น ตามกระบวนการติดต่อสื่อสาร 3. หลักการสำคัญในส่วนของการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากรรมนั้น เกิดขึ้นในกลุ่มบุคคลที่สนิทสนมใกล้ชิดกัน 4. เมื่อพฤติกรรมอาชญากรรมได้รับการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้นี้จะรวมถึง (1) เทคนิคในการกระทำความผิด ซึ่งบางครั้งก็ง่ายบางครั้งก็ซับซ้อน (2) ทิศทางเฉพาะของแรงดลใจ แรงผลักดัน การใช้เหตุผล ตลอดทัศนะคติเกี่ยวกับการกระทำผิด

  17. ลักษณะสำคัญ ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Sutherland(ต่อ) 5. ทิศทางเฉพาะของแรงดลใจและแรงผลักดัน จะถูกเรียนรู้จากการทำให้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย ในบางสังคม บุคคลอยู่ในกลุ่มบุคคลที่เห็นด้วยกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ในขณะที่บุคคลอื่นอยู่ในกลุ่มบุคคลที่เห็นด้วยกับการละเมิดกฎหมาย 6. หลักการสำคัญของการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน คือ บุคคลจะกลายเป็นผู้กระทำผิดเพราะว่า ความเห็นด้วยกับการละเมิดกฎหมายมีมากกว่าความเห็นด้วยกับการไม่ละเมิดกฎหมาย 7. การคบหาสมาคมอาจจะแตกต่างกันในด้านความถี่ ระยะเวลา การให้ความสำคัญ และความเข้มข้น

  18. ลักษณะสำคัญ ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Sutherland(ต่อ) 8. กระบวนการของการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากรรมจะมีกลไกการทำงานที่เหมือนกับการเรียนรู้ทั่วไป 9. ในขณะที่พฤติกรรมอาชญากรรมเป็นการแสดงออกถึงความต้องการ และค่านิยมทั่วไปของคนในสังคมที่ไม่ใช่อาชญากรรมก็เป็นความต้องการเหมือนกัน ก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายโดยความต้องการหรือค่านิยมนั้น เนื่องจากพฤติกรรมต่อต้านอาชญากรรมก็มีความต้องการและค่านิยมเดียวกัน บุคคลลักทรัพย์ก็เพื่อต้องการความมั่นคงในการเงินเช่นเดียวกันกับ กรรมกรที่ทำงานหนักเพื่อความมั่นคงในการเงิน

  19. “การคบหาสมาคมกับเพื่อนที่เป็นอาชญากร”“การคบหาสมาคมกับเพื่อนที่เป็นอาชญากร” • ความผูกพันกับเพื่อนจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้และการส่งเสริมสนับสนุน ทั้งในด้านความพฤติกรรมและความเห็นด้วยกับพฤติกรรมดังกล่าว • เยาวชนที่มีความผูกพันกับกลุ่มเพื่อนที่เป็นคนดี มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ดี และความเห็นด้วยกับพฤติกรรมที่ถูกกฎหมาย • ในทางตรงกันข้ามเยาวชนที่มีความผูกพันกับกลุ่มเพื่อนที่เป็นอาชญากร จะมีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมอาชญากรรมและเห็นด้วยกับพฤติกรรมอาชญากรรม

  20. 3.2 ทฤษฎีพันธะทางสังคมของ ทราวิช เฮอร์ชิ ( Hirschi ’ s Social Bonding Theory) • บุคคลที่มีพันธะทางสังคมหรือมีความผูกพันทางสังคมน้อย จะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมอาชญากร • พันธะทางสังคม ประกอบด้วย • ความผูกพัน (Attachment) : ความผูกพัน รัก ต่อบุคคล • ข้อผูกมัด (Commitment) : การผูกมัดการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง • การเข้าร่วม (Involvement) : การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม • ความเชื่อ (Belief) : ความเชื่อถือต่อความผูกพันของสังคม • ผู้กระทำผิดเพราะไม่มีความผูกพัน ขาดข้อผูกมัด ไม่มีการเข้าร่วมกิจกรรม และมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง

  21. 3.3ทฤษฎีวัฒนธรรมรอง (Subcultural Theory) • Albert Cohen (1955) ได้เน้นถึงความสำคัญของค่านิยมทางสังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล ซึ่งชนชั้นในสังคมจะมีค่านิยมและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน เด็กหรือเยาวชนที่มาจากครอบครัวชนชั้นล่าง ซึ่งโคเฮน เรียกว่า ชนชั้นทำงานจะถูกอบรมเลี้ยงดูให้มีความเป็นอยู่ในลักษณะตามสัญชาติญาณและมีพฤติกรรมก้าวร้าว และถูกปลูกฝังให้มีค่านิยมที่มุ่งเน้นถึงการได้รับการตอบสนองต่อความพึงพอใจในระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาภายหลัง อีกทั้งเรียนรู้ถึงการปฏิบัติตามคำสั่ง ตามค่านิยมที่มีอยู่ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความรัก หรือความรู้สึกนึกคิดของบุคคลอื่นแต่อย่างใด • ในทางตรงกันข้าม เด็กหรือเยาวชนของครอบครัวชนชั้นกลาง จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและปลูกฝังค่านิยมและความเป็นอยู่ ที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับครอบครัวชนชั้นทำงาน

  22. 3.4 ทฤษฎีการประทับตรา(Labeling Theory) • กลุ่มสังคมเป็นผู้สร้างอาชญากร • การประณามและการปฎิเสธผู้กระทำผิด • ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรม • บุคคลที่ถูกตราหน้ามีพฤติกรรมโต้ตอบในทางลบ

  23. 4.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา4.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา สำหรับเด็กและเยาวชน

  24. แนวคิดหลัก • เด็กเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ • ทุกประเทศแสวงหาให้ความคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นเสาหลักแห่งสิทธิเด็ก • รัฐแสวงหายุติธรรมทางเลือกที่จะนำมาใช้กับเด็กและเยาวชน • รัฐมุ่งลดการกระทำผิด/นำตัวเด็กกลับคืนสู่สังคม • กระบวนการยุติธรรมของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ • กฎหมายหลัก ....พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ/อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก/พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯลฯ

  25. แนวคิดพื้นฐานกระบวนการยุติธรรมแนวคิดพื้นฐานกระบวนการยุติธรรม อาชญาวิทยาดั้งเดิม (Classical School) อาชญาวิทยากึ่งดั้งเดิม (Neo-Classical School) กระบวนการยุติธรรม อาชญาวิทยาปฎิฐานนิยม (Positive School)

  26. ปรัชญาในระบบงานยุติธรรมปรัชญาในระบบงานยุติธรรม • ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษ • ปรัชญาที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด • ปรัชญาที่มุ่งต่อการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม

  27. วัตถุประสงค์การลงโทษ • การแก้แค้นทดแทน • การข่มขู่ • การคุ้มครองสังคมให้พ้นจากภยันตรายในระหว่างที่ผู้กระทำผิดถูกตัดขาดจากสังคม • การปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำผิด

  28. กระบวนการยุติธรรม มาตรการในการลงโทษ การลงโทษพิจารณาถึงผลการกระทำ ดึงคดีเข้าสู่ ระบบศาล ชุมชนไม่มี ส่วนร่วม กระบวนการยุติธรรมเชิงแก้แค้น (Retributive Justice) ความแตกต่างบุคคล/สถานการณ์ ลงโทษเพื่อยับยั้ง ข่มขู่ บำบัด ฟื้นฟู คนล้นคุก

  29. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) สำหรับเด็กและเยาวชน

  30. ความหมาย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) หมายถึง การอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการทำให้ทุกฝ่าย ซึ่งได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้กลับคืนสู่สภาพดีเช่นเดิม * การเยียวยา / บรรเทาความเสียหาย /กลับคืนสู่สภาพเดิม * ร่วมจัดการกับความเสียหาย * กระบวนการไม่เป็นทางการ * เหยื่อ ผู้กระทำผิด ชุมชน ฯ. เป้าหมาย สมานฉันท์

  31. ยาเสพติด ล่วงละเมิด ทางเพศ ประกอบอาชญากรรม ค้าประเวณี ประพฤติตน ไม่เหมาะสม ค้ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท ฯลฯ สภาพปัญหาเด็กและเยาวชน

  32. ยาเสพติด

  33. กลุ่มเด็กและเยาวชน ....เป็นกลุ่มหลักที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กลุ่มเสี่ยง (เรียงตามลำดับ) คือ 1.กลุ่มเพื่อน 6.ว่างงาน 2.กลุ่มเสพสุรา/บุหรี่ประจำ 7.ติดพนัน 3.เด็กเร่ร่อน 8.มีความเครียด 4.เด็กแว้น 9.ครอบครัวใช้ยาเสพติด 5.เยาวชนพ้นโทษ 10.ฐานะเศรษฐกิจต่ำ

  34. เพิ่มขึ้น รุนแรง ซับซ้อน แนวโน้ม การกระทำผิดของเด็ก ไม่คำนึงผลเสียหาย ขยายวงกว้าง ก้าวร้าว ไม่เคารพเชื่อฟัง ห่างครอบครัว ฯลฯ

  35. โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก (2548- 2557) 1. ด้านคุณภาพชีวิตเด็กควรมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากเด็กขาดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะทำให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ตามมา 2. ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ 3. ด้านการปกป้องและคุ้มครองเด็ก 4. ด้านHIV/AIDS 5. เด็กกับครอบครัว (พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีบทบาทหน้าที่หลัก/อยู่คู่กัน) 6. การมีส่วนร่วมของเด็ก (การมีส่วนร่วมทางการเมืองฯ/สภาเยาวชน) 7. กีฬาและนันทนาการ 8. สื่อมวลชนกับการพัฒนาเด็ก (ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ/สร้างสรรค์) 9. เด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ (เช่นความเท่าเทียมในการศึกษา) 10. ศาสนาและวัฒนธรรม 11. ด้านกฎหมาย (การคุ้มครอง/การปกป้อง/การลงโทษเด็ก/การลงโทษผู้ละเลย/ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสิทธิเด็ก) 38

  36. “5 พฤติกรรม เยาวชนไทย” ที่สังคมไทยพึงตระหนัก • การใช้สินค้าฟุ่มเฟือย ยึดติดกับ วัตถุนิยม • การแต่งตัวที่โป๊เปลือย ไม่ถูกกาลเทศะ / ตามแฟชั่นต่างชาติ • การมั่วสุมอบายมุข เช่น สูบบุหรี่, ดื่มเหล้า,ติดยา,เที่ยวกลางคืน,ติดเกม • มีอิสระทางความคิด กล้าคิดกล้าแสดงออกมากเกินไปจนเกินงาม • ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ไม่มีความกตัญญู และ ขาดสัมมาคารวะ

  37. สรุปได้ว่ากระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนนั้น สมควรที่จะได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากผู้ใหญ่  ไม่เน้นการลงโทษ แต่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน มาใช้เพื่อแก้ไขความประพฤติ  ฟื้นฟู จิตใจ  เพื่อให้เขาอยู่ร่วมกับสังคมได้โดยปกติสุขต่อไป  สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

  38. กระบวนการทำงานต่อเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ(ที่มีสถานแรกรับ)กระบวนการทำงานต่อเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ(ที่มีสถานแรกรับ) 2.แนวคิดการทำงานกับเด็กและเยาวชน 3.ทฤษฎีอาชญาวิทยา 1.ปรัชญา กำหนดมาตรการคุ้มครองเด็กและเยาวชน 4.มุมมองสหวิชาชีพ รายงานผล การวางแผนแก้ไขและป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5.การปฏิบัติต่อเด้กและเยาวชน รายงานผล การประเมินค้นหาสาเหตุการกระทำผิด รายงานผล

  39. 5.การฝึกปฏิบัติการหาสาเหตุการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน 5.การฝึกปฏิบัติการหาสาเหตุการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน

  40. สถานการณ์ที่ 1 กรณี น.ส.แอน (นามสมมติ) น.ส.แอน อายุ 18 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี นางรำวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน ถูกคนร้ายข่มขืนและทำร้ายจนเสียชีวิต และต่อมาเมื่อบ่ายวานนี้ (25 ธ.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม นายเอ (นามสมมติ) อายุ 16 ปี ผู้ต้องหาได้ที่ไซต์งานก่อสร้าง ร้านขายรถจักรยานยนต์มือสอง ถนนชยางกูร ขาออก ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยผู้ต้องหาเป็นเพื่อนรุ่นน้องร่วมโรงเรียนกับ น.ส.แอน ที่ถูกไล่ออกจากโรงเรียนตั้งแต่ ม.2 มีนิสัยเกเรก้าวร้าว ชอบลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งมีผลตรวจดีเอ็นเอตรงกับคราบอสุจิในตัว น.ส.แอน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น นายเอ ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า เป็นคนก่อเหตุข่มขืนและทำร้ายร่างกาย น.ส.แอน จริง โดยลงมือก่อเหตุเพียงคนเดียว ซึ่งในวันก่อเหตุได้ไปชมการซ้อมวงโปงลางที่หอประชุมโรงเรียน และเห็น น.ส.แอน ซึ่งมีอาการป่วย ปลีกตัวไปนอนพักในห้องชุมนุมศิลปวัฒนธรรมอีสาน (โปงลาง) อาคารเรียน 1 ชั้น 2 ตนจึงตามไปหมายจะข่มขืน แต่ น.ส.แอน ตื่นขึ้นมาและขัดขืน ตนจึงจับหัวโขกกับพื้นห้องและฟาดกับผนังจนสลบ แล้วลงมือข่มขืน โดยไม่ทราบว่าเหยื่อเสียชีวิตหรือไม่

  41. สถานการณ์น้องแก้ม (นามสมมติ) กรณีน้องแก้มอายุ 13 ปีถูกข่มขืนบนรถไฟ และเสียชีวิต เป็นข่าวที่ทำให้คนในสังคมช็อค เนื่องจากผู้กระทำเป็นพนักงานรถไฟ และเคยกระทำผิดข่มขืนผู้โดยสารมาแล้ว 2 คน แต่คู่กรณีไม่ได้แจ้งความเอาผิด

  42. เอกสารอ้างอิง • สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์.(2554) การจัดการรายกรณี.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. • ดร.วิไลภรณ์ โคตรบึงแก. เอกสารการอบรมมาตรฐานการจัดบริการคนพิการและคนไร้ที่พึ่ง ปี 2555. • ร้อยตำรวจตรี บรรจง บุญเอื้อ.การปฎิบัติต่อเด็กและเยาวชน,รองสารวัตรป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจภูธรเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. • สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ,กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2554) รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจําปี 2554

More Related