1.11k likes | 1.44k Views
765 203 หลักการมัคคุเทศก์. สัปดาห์ที่ 6. บทบาทของมัคคุเทศก์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. อ.มนัสสินี บุญทำดี. 6. บทบาทของมัคคุเทศก์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. 6.1 ธุรกิจนำเที่ยว 6.2 ธุรกิจขนส่ง 6.3 ธุรกิจที่พักแรม 6.4 ธุรกิจบริการอาหารและบันเทิง
E N D
765 203 หลักการมัคคุเทศก์ สัปดาห์ที่ 6 บทบาทของมัคคุเทศก์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อ.มนัสสินี บุญทำดี
6. บทบาทของมัคคุเทศก์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว • 6.1 ธุรกิจนำเที่ยว • 6.2 ธุรกิจขนส่ง • 6.3 ธุรกิจที่พักแรม • 6.4 ธุรกิจบริการอาหารและบันเทิง • 6.5 ธุรกิจสินค้าที่ระลึก • 6.6 ร้านค้าปลอดภาษี • 6.7 ธุรกิจบริการด้านการเงิน
วัตถุประสงค์ • เมื่อศึกษาสัปดาห์ที่ 6 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ • 1. อธิบายบทบาทของมัคคุเทศก์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านต่างๆ ได้
ธุรกิจนำเที่ยว ตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ปี พ.ศ.2535 ได้ให้ความหมายของธุรกิจนำเที่ยวไว้ว่า คือ “การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว” ทั้งนี้ธุรกิจนำเที่ยวจะมุ่งเน้นการนำเที่ยวในเชิงธุรกิจ มีการดำเนินการเป็นกิจการโดยมีผลตอบแทนในการดำเนินงาน
1. ประเภทของบริษัทนำเที่ยว ในกฎกระทรวง พ.ศ.2536 ได้แบ่งธุรกิจนำเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ • 1.1 ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ • 1.2 ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ • 1.3 ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
นอกจากประเภทของบริษัทนำเที่ยวในกฎกระทรวงปี พ.ศ. 2536 แล้ว ยังสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจบริษัทนำเที่ยว ที่พบอยู่มากในลักษณะต่างๆ ดังนี้ • 1. บริษัทนำเที่ยวที่เน้นบริการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package Tours) • 2. บริษัทนำเที่ยวที่มีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน • 3. บริษัทนำเที่ยวภายในประเทศ • 4. บริษัทนำเที่ยวที่ให้บริการเฉพาะชาวต่างประเทศ
2. ประเภทของการจัดนำเที่ยว การแบ่งประเภทของการจัดนำเที่ยว อาจจัดแบ่งได้ดังนี้ (กุลวรา สุวรรณพิมล 2542 : 104-108) • 2.1 จัดแบ่งโดยทั่วๆ ไป (Generic Categories) ที่นิยมจัดกันมี 4 ประเภท คือ • 2.1.1 ทัวร์นำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (A Package Tour) • 2.1.1.1 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายอิสระ (Independent Package Tour) • 2.1.1.2 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายพร้อมบริการ (A Hosted Tour) • 2.1.1.3 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายพร้อม “มีเพื่อนเดินทาง” • (An Escorted Tour)
2.1.2 ทัวร์นำเที่ยวเฉพาะกลุ่ม หรือสมาชิกของหน่วยงาน องค์การ (An Affinity Tour) • 2.1.3 ทัวร์นำเที่ยวแบบเช่าเหมาเป็นกลุ่ม (A Charter Group) • 2.1.4 ทัวร์นำเที่ยวเป็นกลุ่ม (A Group Tour)
2.2 จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยว (By Purpose Categories) ได้แก่ (Reilling 1991 :1-8) • - 2.2.1 ท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา (Education Tour) • - 2.2.2 ท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation Tour) • - 2.2.3 ท่องเที่ยวเพื่อศาสนา (Religious Tour) • - 2.2.4 ท่องเที่ยวเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Tour) • - 2.2.5 ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพอนามัย (Health Tour) • - 2.2.6 ท่องเที่ยวเพื่อเล่นหรือชมการแข่งขันกีฬา (Spot Tour) • - 2.2.7 ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)
2.3 จัดแบ่งตามจุดหมายปลายทาง (Destination Categories) แบ่งได้ 4 ประเภท(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 1993 : 1-5) คือ • - 2.3.1 ทัวร์นำเที่ยวชมเมือง (City Tour) • - 2.3.2 ทัวร์นำเที่ยวชมภูมิทัศน์ (Sight-Seeing Tour) • - 2.3.3 ทัวร์นำเที่ยวชมเมืองและชมภูมิทัศน์ • (City-Sight-Seeing Tour) • - 2.3.4 ทัวร์นำเที่ยวแหล่งบันเทิงยามราตรี (Night Tour)
2.4 จัดแบบตามรูปแบบการท่องเที่ยว (Mode of Travel Categories) มีหลายประเภทตามพัฒนาการในรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว เช่น - 2.4.1 ทัวร์นำเที่ยวเดินป่า (Trecking) - 2.4.2 ทัวร์นำเที่ยวล่องเรือ (Boat trip) - 2.4.3 ทัวร์นำเที่ยวล่องเรือแคนู (Sea Canoe) - 2.4.4 ทัวร์นำเที่ยวดำน้ำ (Diving) - 2.4.5 ทัวร์นำเที่ยวล่องเรือสำราญ (Cruise) - 2.4.6 ทัวร์นำเที่ยวล่องแพ (Jungle Raft) - 2.4.7 ทัวร์นำเที่ยวล่องไพร (Safari)
2.5 จัดแบ่งตามระยะ (Timing Categories) จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ • - 2.5.1 ทัวร์นำเที่ยวครึ่งวัน (Half-Day Tour) • - 2.5.2 ทัวร์นำเที่ยวเต็มวัน (All Day Tour) • - 2.5.3 ทัวร์นำเที่ยวมากกว่าหนึ่งวัน (Tour Around) • 2.6 จัดแบ่งตามระยะเวลา (Timing Categories) จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ • - 2.6.1 ทัวร์นำเที่ยวระยะสั้น (Short-Haul Tour) • - 2.6.2 ทัวร์นำเที่ยวระยะยาว (Long-Haul Tour)
2.7 จัดแบ่งตามลักษณะการจัดรายการ (Tour Design Categories) มีอยู่ 2 ประเภท คือ • - 2.7.1 ทัวร์นำเที่ยวแบบสำเร็จรูป (Ready-Made Tour) • - 2.7.2 รายการนำเที่ยวตามประสงค์ (Tailor-Made Tour) • 2.8 จัดแบ่งตามลักษณะพฤติกรรมการซื้อ (Buying Behavior Categories) ปกติจะจัดแบ่งได้ 2 ประเภท คือ • - 2.8.1 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่าย (Package Tour) • - 2.8.2 ทัวร์นำเที่ยวเสริมพิเศษ (Optional Tour)
3. การบริการของบริษัทนำเที่ยว • บริษัทนำเที่ยวอาจมีการจัดบริการหลัก ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวในเรื่องต่อไปนี้ • - บริการนำเที่ยว • - จัดรายการนำเที่ยว • - บริการจองตั๋วเดินทาง • - บริการรับจองโรงแรมหรือที่พักให้กับนักท่องเที่ยว • - บริการด้านการขนส่ง • บริการจองร้านอาหาร และบัตรเข้าชมการแสดง • บริการแลกเปลี่ยนเงิน • บริการติดต่อหาสถานศึกษาในต่างประเทศ • บริการจัดทำหนังสือเดินทางและวีซ่า • - บริการให้คำปรึกษา แนะนำการเดินทางท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว
ธุรกิจขนส่ง • ตามสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของการขนส่งไว้ว่า “ขน” หมายถึง การนำเอาของมากๆ จากที่หนึ่งไปไว้อีกที่หนึ่ง ส่วน “ส่ง” หมายถึง การยื่นให้ถึงมือ พาไปให้ถึงที่เมื่อรวมเป็นคำว่า “ขนส่ง” หมายถึง การนำไปและนำมาซึ่งขนมากๆ จากที่หนึ่งไปไว้อีกที่หนึ่ง หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การใช้ยานพาหนะทางคมนาคมบรรทุกสิ่งของหรือสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
การขนส่งผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ • การขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์ • การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ • การขนส่งผู้โดยสารทางเรือ • การขนส่งผู้โดยสารทางเครื่องบิน
1. การขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์ • 1.1 เส้นทางถนน • 1) ทางหลวงหมายเลข 1 เป็นเส้นทางหลวงสายเหนือ ชื่อถนนพหลโยธิน • 2) ทางหลวงหมายเลข 2 เป็นเส้นทางหลวงสายตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อถนนมิตรภาพ • 3) ทางหลวงหมายเลข 3 เป็นเส้นทางหลวงสายตะวันออก ชื่อถนนสุขุมวิท • 4) ทางหลวงหมายเลข 4 เป็นเส้นทางหลวงสายใต้ ชื่อ ถนนเพชรเกษม
ส่วนทางหลวงสายรองซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับทางหลวงแผ่นดินนั้น กรมทางหลวงได้ใช้ตัวเลข 3 ตัวดังนี้ คือ • 1) ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 เป็นทางหลวงสารรองอยู่ภาคเหนือ • 2) ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • 3) ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ภาคกลาง, ตะวันตก, ตะวันออก • 4) ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ภาคใต้
นอกจากนี้ยังมีทางหลวงจังหวัดซึ่งเป็นทางหลวงเชื่อมจังหวัดกับอำเภอ เชื่อมอำเภอกับอำเภอ เชื่อมอำเภอกับตำบล เพื่อให้สามารถเชื่อมติดต่อกับทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสายรองโดยกรมทางหลวงกำหนดใช้ตัวเลข 4 ตัว ดังต่อไปนี้ คือ • 1) สายเหนือ ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 • 2) สายอีสาน ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 • 3) สายตะวันตก, กลาง, ตะวันออก ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 • 4) สายใต้ ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4
1.2 สถานีขนส่งผู้โดยสาร • สายเหนือและอีสาน จะอยู่ที่หลับสวนจตุจักรบริเวณ กม. 11 เรียกว่า สถานีขนส่งหมอชิต (ใหม่) • สถานีขนส่งผู้โดยสารภาคกลาง (ฝั่งตะวันออก) และภาคตะวันออกจะอยู่ที่ถนนสุขุมวิท เรียกว่าสถานีขนส่งเอกมัย • สถานีขนส่งผู้โดยสารภาคกลาง (ฝั่งตะวันตก) ภาคตะวันตกและภาคใต้ อยู่บริเวณถนนบรมราชชนนี จะเรียกว่าสถานีขนส่งสายใต้ (ใหม่)
เส้นทางหลวงสายเอเชียที่ผ่านประเทศไทยมีดังนี้เส้นทางหลวงสายเอเชียที่ผ่านประเทศไทยมีดังนี้ • 1) เส้นทางหลวงสายเอเชีย A-1 จากพม่าเข้ามาทางอำเภอแม่สอด สู่จังหวัดตาก, กำแพงเพชรไปอยุธยา นครนายกไปเชื่อมต่อกับทางหลวงในประเทศกัมพูชาที่อรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว ต่อไปสิ้นสุดที่โฮจิมินห์ซิตี้ (ไซง่อน) • 2) เส้นทางหลวงสายเอเชีย A-2 จากพม่าเข้ามาสู่ประเทศไทยทางอำเภอแม่สาย ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่จังหวัดตาก ต่อจากนั้นก็เข้าสู่กรุงเทพฯ ลงใต้ไปเชื่อต่อกับทางหลวงในประเทศมาเลเซียที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ต่อไปยังสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ข้อดีของการเดินทางท่องเที่ยว โดยรถยนต์มีดังนี้ • 1. มีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วมีให้เลือกเดินทางได้มากมายหลากหลายเที่ยวหลากหลายผู้ประกอบการ • 2. เข้าถึงจุดหมายปลายทางในแหล่งท่องเที่ยวได้มากกว่า • 3. เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่มาก • 4. ได้เรียนรู้เส้นทางระหว่างเดินทางผ่าน • 5. มีเวลาเป็นอิสระมากกว่า • 6. สามารถให้บริการถึงที่ • 7. การขยายงานการดำเนินงานทำได้ง่าย • 8. การเลิกกิจการ เลิกเดินทางทำได้ง่ายและเสียหายน้อย • 9. ต้นทุนการขนส่งระยะสั้นต่ำ เนื่องจากมีต้นทุนคงที่ต่ำ
ข้อเสียของการเดินทางท่องเที่ยว โดยรถยนต์มีดังนี้ • 1. ถ้าไปรถยนต์ส่วนตัว แบบไปคนเดียวอาจไม่คุ้มค่าน้ำมัน • 2. อาจต้องมีการเปลี่ยนคนขับถ้าเดินทางไกลๆ • 3. เกิดอุบัติเหตุง่ายเพราะมีผู้เดินทางแบบนี้เยอะ ความปลอดภัยยังควรต้องระวังโดยเฉพาะการเดินทางไปในที่ไม่คุ้นเคย • 4. สามารถขนส่งได้ปริมาณน้อย • 5. ต้นทุนระยะไกลสูง เนื่องจากมีต้นทุนแปรผันมาก ยิ่งขนส่งไกลค่าใช้จ่ายแปรผันก็จะเพิ่มขึ้น
2. การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ แบ่งขบวนรถไฟจากการให้บริการออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1) ขบวนรถธรรมดา เป็นขบวนรถไฟโดยสารที่จอดทุกสถานี • 2) ขบวนรถเร็ว เป็นขบวนรถไฟโดยสารที่จอดเฉพาะบางสถานี • 3) ขบวนรถด่วน เป็นขบวนรถไฟโดยสารที่จอดน้อยสถานี กว่าขบวนรถเร็ว
ในขบวนรถไฟโดยสารทั้ง 3 ประเภท มีระดับชั้นในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารอยู่หลายระดับชั้น เช่น บริการชั้นหนึ่ง ชั้นหนึ่งนั่งปรับอากาศ ชั้นหนึ่งนอนปรับอากาศ ชั้น 2 นั่ง ชั้น 2 นั่งปรับอากาศ ชั้น 2 นอนธรรมดา ชั้น 2 นอนปรับอากาศ และชั้น 3 เป็นต้น
2.1 เส้นทางรถไฟ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ • 1) เส้นทางรถไฟระบบทางเดียว (Single Line) เป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างให้ขบวนรถไฟวิ่งได้ขบวนเดียว • 2) เส้นทางรถไฟระบบทางคู่ (Double Line) เป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างคู่กันไปให้ขบวนรถไฟโดยสารวิ่งสวนทางกันได้ตลอดเวลา
2.2 สถานีรถไฟ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1) สถานีรถไฟต้นทางปลายทาง เป็นสถานีรถไฟต้นทาง หรือปลายทางของเส้นทางบริการที่กำหนดให้ • 2) สถานีรถไฟชุมทาง เป็นสถานีรถไฟที่มีเส้นทางรถไฟจากหลายเส้นทางมาบรรจบกัน เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถต่อรถไฟอีกขบวนหนึ่ง ไปยังเส้นทางที่ต้องการได้ • 3) สถานีรถไฟรายทาง เป็นสถานีรถไฟระหว่างทางของเส้นทางที่ให้บริการ
ข้อดีของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟคือข้อดีของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟคือ • 1. มีความปลอดภัยสูงเพราะมีทางวิ่งของตนเองเฉพาะ • 2. ได้สัมผัสบรรยากาศระหว่างทางได้มากกว่า • 3. เหมาะสมกับการขนส่งระยะปานกลาง-ระยะไกลเพราะต้นทุนเชื้อเพลิงขับเคลื่อนต่ำ • 4. สามารถปรับตัวตามปริมาณขนส่งได้ง่าย สามารถเพิ่มหรือลดตู้รถพ่วงได้ตามความต้องการสามารถให้บริการขนส่งได้คราวละมากๆ
ข้อเสียของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟข้อเสียของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ • 1. อาจล่าช้ามีความคล่องตัวน้อย • 2. เข้าถึงจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้น้อย • 3. มีข้อจำกัดในเรื่องขบวน จำนวนที่นั่งต้องจองล่วงหน้าหลายวัน • 4. การบริการขนส่งระยะใกล้ต้องเสียค่าต้นทุนสูง • 5. เป็นกิจการที่ต้องลงทุนมา • 6. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางในการให้บริการได้ • 7. หากเลิกกิจการจะเสียหายมากเนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือมี คุณสมบัติเฉพาะ เมื่อเลิกกิจการเครื่องมือเหล่านั้นจะขายได้ ในราคาต่ำมาก
3. การขนส่งผู้โดยสารทางเรือ • 3.1 เรือโดยสาร แบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) เรือกลไฟ 2) เรือสำราญ 3) เรือความเร็วสูง
3.2 เส้นทางเดินเรือ แบ่งเส้นทางเดินเรือออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1) เส้นทางเดินเรือน่านน้ำภายในประเทศ • 2) เส้นทางเดินเรือทะเลชายฝั่ง • 3) เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ
3.3 ท่าเรือ หน้าที่สำคัญมี 2 ประการ คือ • 1) หน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ได้แก่ การให้บริการด้านที่พักผู้โดยสาร การตรวจคนเข้าเมือง และงานด้านศุลกากร เป็นต้น • 2) หน้าที่ในการให้บริการแก่เรือโดยสาร ได้แก่ การให้บริการนำร่องและเรือลากจูงเสบียงอาหาร น้ำมันเชื้อเพลิงและซ่อมเรือ เป็นต้น
ท่าเรือที่ดีควรประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้ • - ท่าเทียบเรือโดยสาร • - อาณาเขตทอดจอดเรือโดยสาร • - บริการนำร่องและเรือลากจูง • - บริการน้ำจืดและน้ำมันเชื้อเพลิง • - บริการซ่อมและบำรุงรักษาเรือ • - อาคารผู้โดยสาร • - การศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง • - มีทางถนนหรือทางรถไฟที่จะนำผู้โดยสารเข้าออกท่าเรือ • - บริการด้านอื่นๆ เช่น สโมสร ที่พักแรมในราคาถูก เป็นต้น
ข้อดีของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวทางเรือข้อดีของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวทางเรือ • 1. ได้รับความแปลกใหม่สัมผัสธรรมชาติทางทะเลอย่างใกล้ชิด • 2. ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ เนื่องจากรัฐเป็นผู้จ่ายค่าบำรุงรักษาปรับปรุงเส้นทางให้ • 3. ประหยัดน้ำมันเพราะการขนส่งทางเรือจะมีกระแสน้ำช่วยพัดพาเรือไปด้วย • 4. อัตราค่าขนส่งถูกเนื่องจากเหตุผลในข้อ 2-3 • 5. จะขนส่งได้ปริมาณมากๆ ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่
ข้อเสียของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวทางเรือ • 1. มีข้อจำกัด และข้อปฏิบัติมากกว่าการเดินทางโดยวิธีอื่นๆ • 2. ไม่สามารถเดินทางได้ถ้าคลื่นลมแปรปรวนฝนตก หรือน้ำแห้ง • 3. มีความล่าช้ากว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ ทำให้เสียเวลาเดินทางมาก • 4. การบริการมีลักษณะเป็นฤดูกาล เช่น ทางยุโรปที่ให้บริการได้ในเดือนที่น้ำไม่แข็งตัว • 5. การขนส่งทางเรือมักต้องมาจากการขนส่งทางอื่นก่อน
4. การขนส่งผู้โดยสารทางเครื่องบิน • 4.1 เครื่องบินโดยสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องบินโดยสารใบพัด 2) เครื่องบินโดยสารไอพ่น 3) เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง
4.2 เส้นทางบิน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • 1) เส้นทางบินภายในประเทศ เป็นเส้นทางบินติดต่อระหว่างเมืองต่างๆ ภายในประเทศนั้นๆ • 2) เส้นทางบินระหว่างประเทศ เป็นเส้นทางบินติดต่อระหว่างเมืองต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีเส้นทางบินระหว่างประเทศที่สำคัญของโลกอยู่ 5 เส้นทาง คือ เส้นทางแอตแลนติคเหนือ เส้นทางตะวันออกไกล เส้นทางตะวันออกไกล เส้นทางอาฟริกา เส้นทางแปซิฟิกใต้ และเส้นทางภายในทวีปยุโรป
4.3 ท่าอากาศยาน มีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ • 1) หน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร • 2) หน้าที่ในการให้บริการแก่เครื่องบินโดยสาร
ท่าอากาศยานจึงต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ คือ • ทางวิ่งและทางขับ ซึ่งเป็นทางที่ให้เครื่องบินขึ้นลงอย่างปลอดภัย • อาคารสถานี เป็นพื้นที่ที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร • ลานจอดเครื่องบิน เป็นบริเวณที่ให้เครื่องบินจอดเพื่อรอรับบริการ • ทางเข้าออกระหว่างท่าอากาศยานกับตัวเมือง เป็นเส้นทางในการเข้าออกระหว่างท่าอากาศยานกับตัวเมือง
4.4 สนามบินในประเทศไทย • ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศไทยมีสนามบินรวมทั้งหมด 34 แห่ง จำแนกเป็นสนามบินนานาชาติ 5 แห่ง สนามบินพาณิชย์กระจายตามจังหวัดสำคัญต่างๆ อีก 29 แห่ง ดังนี้ • สนามบินนานาชาติ 5 แห่ง คือ สนามบินกรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ และอู่ตะเภา
สนามบินพาณิชย์ 29 แห่ง แบ่งตามภูมิภาคดังนี้ • ภาคเหนือ 10 แห่ง ประกอบด้วย สนามบินเชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน พิษณุโลก แพร่ ตาก แม่สอด สุโขทัย และเพชรบูรณ์ • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 แห่ง ประกอบด้วย สนามบินขอนแก่น สกลนคร เลย นครพนม อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด • ภาคใต้ 10 แห่ง ประกอบด้วย สนามบินหัวหิน ระนอง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ตรัง เกาะสมุย กระบี่ และชุมพร
ข้อดีของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวทางเครื่องบินข้อดีของการประกอบการและการเดินทางท่องเที่ยวทางเครื่องบิน • 1. มีความเร็วสูง เป็นลักษณะเด่นสุดของการขนส่งทางเครื่องบินทำให้ถึงที่หมายรวดเร็ว ลดเวลาในการเดินทาง • 2. สามารถเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินได้ง่าย หากมีผู้โดยสารที่จะใช้บริการมากเพียงพอก็สามารถเพิ่มเที่ยวบินโดยใช้ความเร็วของเครื่องบินเข้าช่วย ทำให้ผู้โดยสารสามารถเลือกเวลาในการเดินทางได้มากขึ้น
ข้อเสียของการเดินทางท่องเที่ยวของเครื่องบิน • 1. ต้องลงทุนไม่รู้จักจบสิ้นเป็นเงินจำนวนมาก จากการมีการเปลี่ยนแปลงแบบของอากาศยาน และการควบคุมการจราจรทางอากาศ • 2. เทคนิคด้านการบินยุ่งยากซับซ้อนมาก • 3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง • 4. อัตราค่าโดยสารสูงเนื่องจาก เหตุผลข้อ 1-3 • 5. การบินต้องขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ • 6. ความปลอดภัยมีน้อยหากเครื่องยนต์ขัดข้อง • 7. การเข้าสู่วงการธุรกิจการบินทำได้ยาก เพราะมีอุปสรรคทางการเมืองระหว่างประเทศและการควบคุมของรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง
5. การขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง ในประเทศไทยในแต่ละประเภทดังนี้ • 5.1 การขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์ระหว่างเมือง แบ่งตามลักษณะของตัวรถได้ 4 ประเภท คือ • รถโดยสารมาตรฐาน 3 เป็นรถยนต์โดยสารธรรมดาติดพัดลม • รถโดยสารมาตรฐาน 2 เป็นรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่ไม่มีห้องสุขภัณฑ์ ไม่มีพนักงานต้อนรับบนรถ • รถโดยสารมาตรฐาน 1 เป็นรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่มีห้องสุขภัณฑ์ พร้อมพนักงานต้อนรับบนรถ อีกทั้งมีบริการอาหาร • รถโดยสารมาตรฐานพิเศษ เป็นรถยนต์โดยสารมาตรฐาน 1 ที่ลดจำนวนที่นั่งลงเหลือเพียงคันละ 24-32 ที่นั่ง เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถปรับเอนนอนได้เต็มที่
5.2 การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟระหว่างเมือง จำแนกตามลักษณะเป็นภาคได้ดังนี้ • 1) สายเหนือ • 2) สายตะวันออกเฉียงเหนือ • 3) สายตะวันออก • 4) สายใต้ • 5) สายตะวันตก • 6) สายแม่กลอง
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดขบวนรถโดยสารบริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองไว้ 4 ประเภท คือ • ประเภทที่ 1 ขบวนรถด่วน (Express Trains) สำหรับให้บริการผู้โดยสารชั้นที่ 1 และ 2 • ประเภทที่ 2 ขบวนรถเร็ว (Rapid Trains) ปัจจุบันจะให้บริการผู้โดยสารชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เท่านั้น • ประเภทที่ 3 ขบวนรถธรรมดา (Ord inary Trains) โดยทั่วไปจะบริการผู้โดยสารชั้นที่ 3 เท่านั้น • ประเภทที่ 4 ขบวนรถดีเซลราง ซึ่งเป็นขบวนรถที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไม่ต้องมีหัวรถจักรลากจูง
5.3 การขนส่งผู้โดยสารทางเรือระหว่างเมือง รูปแบบต่างๆ ให้การบริการดังต่อไปนี้ • 1) การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือสำราญ • 2) การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือเฟอร์รี่ • 3) การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือความเร็วสูงมาก
5.4 การขนส่งผู้โดยสารทางเครื่องบินระหว่างเมืองการขนส่งผู้โดยสารทางเครื่องบินระหว่างเมืองตกอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาด โดยมีบริษัทการบินไทย จำกัด (บกท.) ให้บริการเป็นประจำมี 3 เส้นทาง คือ • 1. สายเหนือทำการบินระหว่างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด-แพร่-น่าน-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย-แม่ฮ่องสอน • 2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการบินระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-อุบลราชธานี-สกลนคร-เลย • 3. สายใต้ ทำการบินระหว่างกรุงเทพฯ-ภูเก็ต-หาดใหญ่-สุราษฎร์ธานี-ตรัง-ปัตตานี-นราธิวาส-นครศรีธรรมราช
6. การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ • 6.1 การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศทางเรือ • 6.2 การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศทางเครื่องบิน 1) เส้นทางการบินภูมิภาค แบ่งออกเป็น 3 สาย คือ • สายเหนือ บริการบินไปยังฮ่องกง มะลิลา ไทเป โอซากา นาโกย่า คุนหมิง เบญจิมินจ์ เวียดนาม ฮานอย โซล และปักกิ่ง - สายใต้ บริการบินไปยังปีนัง กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ จาการ์ตา บันดาสารีเบกาวัน โกตาคินาบาลู และบรูไน • สายตะวันออกกลางหรือสายตะวันตก บริการบินไปยังร่างกุ้ง ดัคคา กัลกาตา กาฎมัณฑุ เดลฮีโคลัมโบ การาจี ดาร์ราน ริยาด คูเวต แบกแดด มัสแกต และ ไคโร
2) เส้นทางบินข้ามทวีป แบ่งออกเป็น 3 สาย คือ - สายยุโรป บริการบินไปยังเอเธนส์ โรม เมดริด ปารีส ลอนดอน บรัสเซล อัมสเตอร์ดัม ซูริค มิวนิค เวียนนา แฟรงเฟิร์ต โคเปนเฮเกน มอสโคว์ และสต็อกโฮล์ม - สายออสเตรเลีย บริการบินไปยังเมลเบอร์น บริสเบน ซิดนีย์ เพิร์ธ และโอ๊คแลนด์ - สายอเมริกา บริการบินไปยังซีแอตเติล ดัลลัส ลอสเองเจลลิส และโตรอนโต