1 / 15

การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ. แหล่งที่มาของข้อมูล. คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมีสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ( คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานกลางทางห้องปฏิบัติการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ คณะ แพทยศาสตร์ศิ ริราชพยาบาล)

shepry
Download Presentation

การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

  2. แหล่งที่มาของข้อมูล • คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมีสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานกลางทางห้องปฏิบัติการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) • คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ(Laboratory safety manual) กรมประมง

  3. รายละเอียด • 1. มาตรการทั่วไป • 1.1 ความรับผิดชอบต่อการป้องกันอันตรายจากสารเคมี • 1.2 กฎทั่วไปในการปฏิบัติงานกับสารเคมี • 2. มาตรการส่วนบุคคล • 3. มาตรการระดับห้องปฏิบัติการ • 3.1 การฝึกอบรมบุคลากร • 3.2 การจัดซื้อและตรวจรับสารเคมี • 3.3 การเก็บรักษาสารเคมี • 3.4 ฉลากบนภาชนะบรรจุสารเคมี • 3.5 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี 6

  4. รายละเอียด • 3.6 การเขียนวิธีปฏิบัติงานของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี • 3.7 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล • 3.8 การจัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็นในห้องปฏิบัติการ • 4. การทิ้งและการกำจัดสารเคมี • 4.1 การทิ้งสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ • 4.2 การกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ • 5. การปฏิบัติเมื่อเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย • 5.1 แนวปฏิบัติทั่วไปเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมี • 5.2 แนวปฏิบัติในการทำความสะอาดสารเคมีที่หกหรือปนเปื้อน • 6. การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้จากสารเคมี

  5. MSDS คืออะไร? • MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet หมายถึงข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ผลิตสารเคมี ให้มาพร้อมกับสารเคมี เพื่อที่ผู้ซื้อสามารถศึกษารายละเอียดของสารเคมีที่ใช้ปฏิบัติงาน

  6. MSDS คืออะไร? • ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารความปลอดภัยประกอบด้วย 16 หัวข้อได้แก่1 - ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย2 - องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม3 - ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย4 - มาตรการปฐมพยาบาล 5 - มาตรการการผจญเพลิง6 - มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารหกรั่วไหล7 - ข้อปฏิบัติการใช้สารและการเก็บรักษา8 - การควบคุมการสัมผัสสาร/ การป้องกันส่วนบุคคล9 - สมบัติทางเคมีและกายภาพ

  7. MSDS คืออะไร? • 10 - ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา11 - ข้อมูลทางพิษวิทยา12 - ข้อมูลเชิงนิเวศน์13 - มาตรการการกำจัด14 - ข้อมูลการขนส่ง15 - ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนด16 - ข้อมูลอื่นๆ

  8. การทิ้งสารเคมี • การทิ้งสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ หลักปฏิบัติเมื่อจะทิ้งสารเคมีที่ใช้แล้วหรือของเสียสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้ • 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำใน MSDS และ SG ของสารเคมีแต่ละชนิด หรืออาจหาข้อมูลได้จากแหล่งอื่น เช่น website http://www.epa.gov/sbo/labguide.htm • 2. สารเคมีที่ทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้เลย ได้แก่ • สารละลายที่เป็นกลาง และสารระคายเคือง เช่น sodium chloride • สารละลายบัฟเฟอร์ • สีย้อมเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งล้างออกจากแผ่นสไลด์

  9. การทิ้งสารเคมี • 3. สารเคมีที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้ แต่ต้องทำให้เจือจางก่อน ได้แก่ • สารกัดกร่อน เช่น hydrochloric acid, sodium hydroxide เป็นต้น สารเคมีที่เป็นกรดหรือด่างนี้ ต้องเจือจางให้ต่ำกว่า 1 M (1 Molar หรือ 1 โมล/ลิตร) ก่อนเททิ้งลงอ่างน้ำ และเมื่อเทลงอ่างแล้วให้เปิดน้ำล้างตามมากๆ • สารกลุ่ม volatile organic เช่น formaldehyde ต้องเจือจางด้วยน้ำให้เป็น 0.1% ก่อนทิ้ง ส่วนglutaraldehydeต้องเจือจางด้วยน้ำให้เป็น 1% ก่อนทิ้ง

  10. การทิ้งสารเคมี • 4. สารเคมีหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารต่อไปนี้ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งเด็ดขาด ได้แก่ • สารไวไฟสูง และ solvent ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ethyl ether, hexane, acetone เป็นต้น solventปริมาณไม่มาก และไม่ใช่สารพิษหรือสารก่อมะเร็ง อาจตั้งทิ้งไว้ในตู้ดูดไอสารเคมีจนระเหยหมด แล้วกำจัดตะกอนหรือสารเคมีที่เหลือตามวิธีที่เหมาะสมต่อไป • สารพิษ และสารก่อมะเร็ง เช่น acrylamide, mercury, ethidium bromide เป็นต้น • สารไวปฏิกิริยากับน้ำ เช่น โลหะโซเดียม เป็นต้น

  11. การทิ้งสารเคมี • 5. การรวบรวมของเสียสารเคมีเพื่อรอกำจัด ให้หน่วยงานปฏิบัติดังนี้ • รวบรวมสารเคมีที่ต้องทิ้งใส่ภาชนะที่ทนการกัดกร่อน เช่น ขวดแก้ว หากมีปริมาณมากให้ใช้ safety can (ถ้ามี) โดยแยกประเภทของแข็งหรือของเหลว และแยกตามประเภทสารเคมี ระวังไม่รวมสารเคมีที่ไม่เข้ากันไว้ด้วยกัน (ภาคผนวก 5 และ 7) • ติดฉลากชนิดของสารเคมีและปริมาณที่อยู่ในแต่ละภาชนะ รวมทั้งวันที่ทิ้ง • จัดเก็บตามข้อควรระวังของสารเคมีแต่ละประเภท แต่ควรแยกจากสารเคมีที่ยังเก็บไว้ใช้ • แจ้งสำนักผู้อำนวยการ แล้วรอส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  12. Safety Can

  13. การทิ้งสารเคมี • 6. ภาชนะในห้องปฏิบัติการที่ใช้แล้วและเปื้อนสารเคมี ให้ผู้ใช้สารเคมีล้างสารเคมีจากภาชนะจนเจือจางก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ล้างนำไปล้างต่อ • 7. ขวดที่เคยใส่สารเคมีแล้วจะทิ้ง ต้องนำสารเคมีออกให้หมดก่อน เช่น ขวดใส่ solvent ให้เปิดไล่ไอระเหยของ solvent ในตู้ดูดไอสารเคมีให้หมด เป็นต้น • 8. ขยะที่ปนเปื้อนสารเคมีให้ทิ้งลงในถังขยะสารเคมี (ถุงรองรับสีขาว) เท่านั้น ห้ามทิ้งในถังขยะทั่วไป (ถุงรองรับสีเหลือง) หรือถังขยะติดเชื้อ (ถุงรองรับสีแดง)

  14. การกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการการกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ สารเคมีที่เหลือใช้และไม่ต้องการเก็บไว้อีกต่อไป ให้แยกประเภทแล้วกำจัดให้ถูกต้อง (ภาคผนวก 7) หากกำจัดเองไม่ได้ ต้องจัดเก็บให้ถูกต้องเพื่อรอส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไปกำจัดต่อไป • ภาคผนวก 7 การแยกประเภทของเสีย เป็นวิธีการในการจัดการของเสียภายในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระเบียบและปลอดภัยช่วยให้การขนย้ายสะดวกยิ่งขึ้น และสะดวกในการเลือกใช้วิธีกำจัดได้อย่างเหมาะสม การแยกของเสียจากห้องปฏิบัติการ อาจแยกได้ตามคุณลักษณะของสารอันตรายตาม ความสามารถติดไฟได้การกัดกร่อนความไวต่อปฏิกิริยาการแผ่รังสีและความเป็นพิษ ของสารเคมีที่เป็นของเสีย

  15. การกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการการกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ การกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการควรใช้วิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก แต่การเลือกวิธีที่เหมาะสมควรคำนึงถึงคุณลักษณะของของเสียแต่ละประเภทและปริมาณของเสียที่ต้องการกำจัด โดยทั่วไปของเสียที่มีปริมาณน้อยกว่า 100กรัม สำหรับของแข็ง และน้อยกว่า 1 ลิตร สำหรับของเหลว สามารถดำเนินการได้เองภายในห้องปฏิบัติการ แต่มีข้อเสียบางประเภทที่ไม่สามารถกำจัดเองได้ ได้แก่ ของเสียประเภท halide และสารพิษร้ายแรง เนื่องจากต้องใช้เตาเผา (furnace) ชนิดพิเศษ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิธีกำจัดของเสียประเภทต่างๆ ได้แสดงไว้ในตารางต่อไป

More Related