770 likes | 2.82k Views
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร. ใช้บังคับเมื่อ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕ ๔ ) มีบทบัญญัติทั้งหมด ๕๒ มาตรา - ภาคบทบังคับทั่วไป ๑๒มาตรา - ภาคความผิด ๔๐ มาตรา. เหตุที่ต้องมี ประมวลกฎหมายอาญาทหาร. - เพื่อให้มีกฎหมายสำหรับใช้บังคับและลงโทษแก่ผู้กระทำการล่วง
E N D
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร • ใช้บังคับเมื่อ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕๔) • มีบทบัญญัติทั้งหมด ๕๒ มาตรา - ภาคบทบังคับทั่วไป ๑๒มาตรา - ภาคความผิด ๔๐ มาตรา
เหตุที่ต้องมีประมวลกฎหมายอาญาทหารเหตุที่ต้องมีประมวลกฎหมายอาญาทหาร • - เพื่อให้มีกฎหมายสำหรับใช้บังคับและลงโทษแก่ผู้กระทำการล่วง ละเมิดต่อกฎหมายและหน้าที่ฝ่ายทหาร • - กำหนดโทษสำหรับทหารซึ่งกระทำผิดไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก จากพลเรือนทั่วไป
ภาคบทบังคับทั่วไป มาตรา ๑ ชื่อ มาตรา ๒ วันบังคับใช้ ๑ เม.ย. ร.ศ.๑๓๑ มาตรา ๓ ยกเลิกกฎหมายเก่า มาตรา ๔ คำนิยาม มาตรา ๕ ทหารทำผิดกฎหมายอื่นต้องรับโทษตามกฎหมายนั้น ถ้าประมวลอาญาไม่กำหนด เป็นอย่างอื่น มาตรา ๕ ทวิ ทหารทำผิดนอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา ๖ ต้องโทษประหารชีวิตให้ยิงเสียให้ตาย มาตรา ๗ อำนาจลงทัณฑ์ทางวินัย มาตรา ๘ อำนาจลงทัณฑ์ในความผิดทางอาญาบางประเภท มาตรา ๙ อำนาจลงทัณฑ์ความผิดลหุโทษ มาตรา ๑๐ เปลี่ยนโทษจำคุกแทนค่าปรับ มาตรา ๑๑ เปลี่ยนโทษขัง มาตรา ๑๒ อ่านคำพิพากษาต่อหน้าทหาร
คำวิเคราะห์ศัพท์(ม.๔) • “ทหาร” หมายความว่า บุคคลที่ อยู่ ในอำนาจกฎหมายฝ่ายทหาร • “เจ้าพนักงาน” หมายความตลอดถึง บรรดานายทหารบก นายทหารเรือชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่ อยู่ ในกองประจำการนั้นด้วย • “ ราชศัตรู ” หมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแข็งต่ออำนาจผู้ใหญ่หรือที่เป็นกบถ หรือโจรสลัดหรือที่ก่อการจลาจล • “ต่อหน้าราชศัตรู ” หมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขตซึ่งกองทัพได้ทำสงครามนั้นด้วย
คำวิเคราะห์ศัพท์ (ม.๔)ต่อ • “คำสั่ง” บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรเป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ท่านว่าเมื่อผู้รับคำสั่งได้กระทำตามคำสั่งแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่ส่งนั้น • “ข้อบังคับ” บรรดาข้อบังคับและกฎต่าง ๆ ที่ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้บังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้ โดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย
ภาคความผิดมี ๔๐ มาตรา เช่น • ม.๑๙ ถอยเรือจากที่รบ • ม.๒๐ นายเรือจงใจทำให้เรือทหารชำรุด หรือับปาง • ม.๒๑ นายเรือทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๓ ผู้ใดทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๔ ความผิดที่กระทำแก่เรือที่ใช้เดินในลำน้ำ • ม.๒๗ ทหารทำลายหรือละทิ้งทรัพย์สินใช้ในการยุทธ • ม.๒๘ ผู้ใดสบประมาทธง • ม.๒๙ ทหารละทิ้งหน้าที่หรือไปเสียจากหน้าที่ ฯลฯ
ลักษณะพิเศษของกฎหมายอาญาทหารลักษณะพิเศษของกฎหมายอาญาทหาร • ๑. ทหารกระทำผิดทางอาญานอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษใน ราชอาณาจักร • ๒. ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาทหารสามารถลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดวินัยทหารได้ ไม่ว่าจะกระทำผิดในหรือนอกราชอาณาจักร • ๓. ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาทหาร สามารถลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดทางอาญาบางประเภทได้
มาตรา ๗ • “ ผู้บังคับบัญชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำผิดในหรือนอกราชอาณาจักร “
การลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดทางอาญาบางประเภทการลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดทางอาญาบางประเภท • “ มาตรา ๘ การกระทำผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้มาตรา ๒๑, ๒๓, ๒๔, ๒๗, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๙, ๔๑, ๔๒,๔๓, ๔๔, ๔๕, ๔๖ และ ๔๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหารและให้อำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลจะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนฯ ” • “ มาตรา ๙ ความในมาตรา ๘ ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิด ที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย”
หลักเกณฑ์ • ๑. ต้องเป็นความผิดอาญาใน ๒๑ มาตรา ตามที่ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๘ กำหนด หรือความผิดลหุโทษหรือความผิด ที่เปรียบเทียบได้ • ๒. ผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ • ๓. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการไม่ส่งตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีในศาลทหาร • ๔. ไม่ใช่คดีซึ่งต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ • ศาลทหารสูงสุด - พระมหากษัตริย์ • ศาลทหารกลาง - พระมหากษัตริย์ • ศาลทหารชั้นต้น • - ศาลทหารกรุงเทพ - รมว.กห. • - ศาลมณฑลทหาร - ผบ.มณฑล • - ศาลจังหวัดทหาร - ผบ.จังหวัดทหาร • - ศาลประจำหน่วยทหาร - ผบ.หน่วยนั้น
มาตรา ๑๖ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ • ๑. นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ • ๒. นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการเฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่ง หรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร • ๓. นายทหารประทวน และพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือ บุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร • ๔. นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด • ๕. ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้ เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร • ๖. พลเรือนที่ สังกัดอยู่ในราชการเมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือ กระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือ บริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหารที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร • ๗. บุคคลซึ่งต้องขัง หรืออยุ่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบ ด้วยกฎหมาย • ๘. เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
มาตรา ๑๔ คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ • ๑. คดีที่บุคคลที่ อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน • ๒. คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่ อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน • ๓. คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน • ๔. คดีที่ ศาลทหารเห็นว่าไม่ อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ความผิดใน ๒๑ มาตรา ตามที่ ม.๘ กำหนด • ม.๒๑ นายเรือทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๓ ผู้ใดทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๔ ความผิดที่กระทำแก่เรือที่ใช้เดินในลำน้ำ • ม.๒๗ ทหารทำลายหรือละทิ้งทรัพย์สินใช้ในการยุทธ • ม.๒๘ ผู้ใดสบประมาทธง • ม.๒๙ ทหารละทิ้งหน้าที่หรือไปเสียจากหน้าที่ • ม.๓๐ ทหารขัดขืนละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง • ม.๓๑ ทหารขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งอย่างองอาจ • ม.๓๒ ทหารขัดขืนละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับ • ม.๓๓ ทหารขัดขืนละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับอย่างองอาจ
ความผิดใน ๒๑ มาตรา ตามที่ ม.๘ กำหนด ต่อ • ม.๓๔ ทหารหลับยามหรือเมาสุราในหน้าที่ • ม.๓๕ ทหารไม่เอาใจใส่หรือประมาทในหน้าที่ • ม.๓๖ ผู้ใดทำร้ายทหารยาม • ม.๓๗ ผู้ใดหมิ่นประมาทหรือขู่เข็ญทหารยาม • ม.๓๙ ทหารทำร้ายทหารผู้ใหญ่เหนือตน • ม.๔๑ ทหารแสดงความอาฆาตหรือหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ เหนือตน • ม.๔๒ ทหารกระทำการกำเริบ • ม.๔๓ ทหารกระทำการกำเริบโดยมีศาสตราวุธ • ม.๔๔ ทหารกำเริบแล้วเลิกไปโดยดี • ม.๔๖ ความผิดฐานหนีราชการ • ม.๔๗ ทหารปลอมปนทรัพย์ของทหาร
ความผิดหนีราชการ(ม.๔๕) • องค์ประกอบ • ๑. เป็นทหาร • ๒. ไปเสียจากหน้าที่ราชการโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขาดราชการเมื่อพ้นกำหนดเวลา • ๓. เข้าเกณฑ์ดังนี้ • ๓.๑ มีเจตนาหลีกเลี่ยงคำสั่งเดินเรือจากที่เดินกองทหาร , หรือเรียกระดมพลเตรียมศึก • ๓.๒ ครบกำหนดังนี้ • - ๒๔ ชม. ต่อหน้าราชศัตรู • - ๓ วัน ในเขตและเวลาใช้กฎฯ • - ๑๕ วัน ในเวลาอื่น
การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน • อายุไม่เกิน ๗ ปี - ไม่ต้องรับโทษ • อายุ เกิน ๗ ปี แต่ไม่เกิน ๑๔ ปี - ศาลอาจวางข้อกำหนดให้บิดา ผู้ปกครองดำเนินการ - หากไม่สมควรลงโทษให้ดำเนิน การตามข้อ ๒. - หากสมควรลงโทษให้ลด มาตราโทษลง 1/2 • อายุ เกิน ๑๔ ปี แต่ไม่เกิน ๑๗ ปี - ศาลอาจลดมาตราโทษลง 1/2 ถึง 1/3 ได้ • อายุ เกิน ๑๗ ปี แต่ไม่เกิน ๒๐ ปี - ศาลอาจลดมาตราโทษลง 1/3ได้
วินัยทหาร • กฎหมายเกี่ยวกับ วินัยทหาร • พ.ร.บ. ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476ใช้บังคับเมื่อ 12ส.ค. 2476
ความหมาย • วินัยทหาร คือ การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหาร • 1.ดื้อ ขัดขืน หลีกเลียง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม • 2.ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย • 3.ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตาแบบธรรมเนียมของทหาร • 4.ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร • 5.เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ • 6.กล่าวคำเท็จ • 7.ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร • 8.ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ • 9.เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา
แบบธรรมเนียมของทหาร • “กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง คำชี้แจง คำแนะนำ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของทหาร”
ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดวินัยมี 5 สถาน • 1.ภาคทัณฑ์ • 2.ทัณฑ์กรรม • 3.กัก • 4.ขัง • 5.จำขัง • “ห้ามคิดทัณฑ์อย่างอื่นหรือลงทัณฑ์ผิดไปจากที่กำหนดนี้”
ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ • 1.ผู้บังคับบัญชา • 2.ผู้ได้รับมอบหมายอำนาจบังคับบัญชา
ชั้นของผู้ลงทัณฑ์/รับทัณฑ์ชั้นของผู้ลงทัณฑ์/รับทัณฑ์ • ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ แบ่งได้ 9 ชั้น • - รมว.กห. เป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นสูงสุด ชั้น 1 • - ผบ.หมวดเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นต่ำสุด ชั้น 9 • ผู้รับทัณฑ์ แบ่งได้ เป็น 9 ชั้น • -ผบ.กรม .ฯ เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นแรก ชั้น ก. • -ลูกแถว เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นต่ำสุด ชั้น ฌ • อำนาจลงทัณฑ์เป็นไปตามตารางทัณฑ์
วิธีการลงทัณฑ์ • 1.ต้องปรากฏความผิดชัดเจน • 2.ลงทัณฑ์เต็มที่ได้เพียงสถานเดียว • 3. ห้ามลงทัณฑ์พร้อมกันเกิน 2 สถานในความผิดครั้งหนึ่ง • 4. หากลงทัณฑ์พร้อมกัน 2 สถานต้องลดอัตรากำหนดลงทัณฑ์ ตามตารางลงกึ่งหนึ่ง • 5.ลงทัณฑ์สัญญาบัตรต้องรายงานถึง รมว.กห • 6.ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์พอกับทัณฑ์ที่จะลงเป็นผู้ลงทัณฑ์ • 7.ทัณฑ์ที่มีอัตรากำหนดทัณฑ์แน่นอนแล้วให้เสนอเพียง ผบ. หมวดเรือ • 8.ผู้บังคับบัญชาหารควบคุมทหารไปปฏิบัติหน้าที่ตามลำพังมี อำนาจลงทัณฑ์เพิ่มอีก 1 ชั้น
9.ระหว่างรับทัณฑ์ขัง ผู้รับทัณฑ์กระทำผิดซ้ำอีกหากเพิ่มทัณฑ์ต้องไม่เกินอำนาจผู้ลงทัณฑ์ • 10.ต้องลงทัณฑ์เสียภายใน 3 เดือนนับแต่ความผิดปรากฏ • 11.ผู้สั่งลงทัณฑ์หรือผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปมีอำนาจ เพิ่มทัณฑ์ลดทัณฑ์หรือยกทัณฑ์เสียก็ได้
ร้องทุกข์ • “คำชี้แจงของทหารว่าผู้บังคับบัญชากระทำต่อตนโดย ไม่ยุติธรรมผิด กม. หรือทำให้ตนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้โดยชอบ
วิธีร้องทุกข์ • 1.ร้องด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ • 2.รู้ตัวผู้กระทำให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้กระทำ • 3.ไม่รู้ตัวผู้กระทำให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ร้อง • 4.คำร้องทุกข์ต้องลงชื่อผู้ร้องหากไม่ลงชื่อผู้บังคับบัญชาไม่มี หน้าที่พิจารณา
ข้อห้ามในการร้องทุกข์ข้อห้ามในการร้องทุกข์ • 1.ห้ามร้องทุกข์แทนกัน • 2.ห้ามลงชื่อร่วมกันร้องทุกข์ • 3.ห้าเข้ามาร้องทุกข์พร้อมกันหลายคน • 4.ห้ามประชุมกันร้องทุกข์ • 5.ห้ามร้องทุกข์ขณะเข้าแถวหรือกำลังทำหน้าที่ราชการเช่นเวรยาม • 6.ห้ามร้องทุกข์ภายใน 24 ชม.นับแต่มีเหตุร้องทุกข์ได้ • 7.ห้ามร้องทุกข์ว่าผู้บังคับบัญชาลงทัณฑ์แรงเกินไปหากลงทัณฑ์ ไม่เกินอำนาจ
วิธีปฏิบัติหลังร้องทุกข์วิธีปฏิบัติหลังร้องทุกข์ • 1.ร้องทุกข์แล้วไม่ได้รับคำชี้แจงภายใน 15 วัน มีสิทธิ ร้องทุกข์ต่อ ผบ.ชั้นสูงขึ้นไปได้ • 2.หากรับคำชี้แจงแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการปลดเปลื้องทุกข์ ร้องทุกข์ใหม่ต่อ ผบ.ชั้นสูงขึ้นไปได้
หน้าที่ผู้บังคับบัญชาหน้าที่ผู้บังคับบัญชา • เมื่อรับคำร้องทุกข์แล้วต้องรีบดำเนินการในโอกาสแรก หากเพิกเฉยถือว่า “ผิดวินัย”
ร้องทุกข์ผิดระเบียบ • ร้องทุกข์เป็นเท็จหรือ ร้องทุกข์ผิดระเบียบ ผู้ร้องทุกข์ ผิดวินัย