1 / 143

ความรู้ รองศาสตร์ ดร.เชาว์ โรจนแสง

ความรู้ รองศาสตร์ ดร.เชาว์ โรจนแสง. ความรู้ . ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่อธิบายหรือพรรณนาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อทำความเข้าใจและทำนายปรากฏการณ์ นั้นๆ ความรู้ที่มีการจัดระบบแก้ว เรียกว่า องค์ความรู้ การแสวงหา

sheba
Download Presentation

ความรู้ รองศาสตร์ ดร.เชาว์ โรจนแสง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้รองศาสตร์ ดร.เชาว์ โรจนแสง

  2. ความรู้ ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่อธิบายหรือพรรณนาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อทำความเข้าใจและทำนายปรากฏการณ์ นั้นๆ ความรู้ที่มีการจัดระบบแก้ว เรียกว่า องค์ความรู้ การแสวงหา ความรู้จากอดีตถึงปัจจุบันจำแนกเป็น 4 ยุค คือ ยุคโบราณ ยุคอริ สโตเติล ยุคเบคอน และยุคปัจจุบัน องค์ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ ต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาและถ่ายทอดจนกลายเป็นศาสตร์ต่าง ๆ ศาสตร์ทางการจัดการ เป็นองค์ความรู้ที่อธิบายความพยายามในการ ดำเนินการร่วมกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

  3. มนุษย์โดยธรรมชาติปรารถนาที่จะพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ มนุษย์แสวงหาความรู้ การแสวงหาความรู้มนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจำแนกเป็น 4 ยุค ยุคที่ 1 ยุคโบราณ ได้ความรู้โดยการพบโดยบังเอิญ ปทัสถานของสังคมที่ถือปฏิบัติจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี การสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ การยกย่องผู้มีชื่อเสียง หรืออำนาจเป็นปราชญ์แล้วสมัครเป็นสาวก การแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวและการลองผิดลองถูก

  4. ยุคที่ 2 ยุคอริสโตเติล (Aristotle) ได้รับการย่องย่องเป็นบิดาของวิชา ตรรกศาสตร์ เป็นผู้ค้นคิดแสวงหาความรู้โดยใช้เหตุผล ที่เรียกว่า Syllogistic Reasoning หรืออุปมาน (Deductive Reasoning) องค์ประกอบหรือขั้นตอนการแสวงหาความรู้วิธีนี้มี 3 ประการ 1. เหตุใหญ่ (Major premise) เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้น 2. เหตุย่อย (Minor premise) เป็นเหตุผลเฉพาะกรณีที่ต้องการ ทราบความจริง 3. ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการลงความเห็นจากการ พิจารณาความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่และเหตุย่อย

  5. แบบของการหาเหตุของอริสโตเติล แบ่งเป็น 4 แบบ 1. การหาเหตุผลเฉพาะกลุ่ม (Categorical syllogism)เป็นวิธีการหาเหตุผลที่ สามารถลงสรุปในตัวเองได้ เช่น เหตุใหญ่ : ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย เหตุย่อย : นายสมานเกิดเป็นคน ข้อสรุป : นายสมานต้องตาย 2. การหาเหตุผลตามสมมุติฐาน (Hypothetical Syllogism)เป็นวิธีการหา เหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ขึ้น มักมีคำว่า “ถ้า....แล้วละก็......” การหาเหตุผลชนิดนี้ ข้อสรุปจะเป็นจริงหรือไม่แล้วแต่สภาพการณ์ เพียงแต่เป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามหลัก ตรรกศาสตร์เท่านั้น เช่น

  6. เหตุใหญ่ : ถ้าอุณหภูมิ 100 องสาเซลเซียสน้ำจะเดือด เหตุย่อย : อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ข้อสรุป : น้ำเดือด 3. การหาเหตุผลที่มีทางเลือก (Alternative Syllogism)เป็นวิธีการหา เหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ที่เป็นทางเลือก “ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง” หรือ อยู่ในรูปที่เป็น “อาจจะ” อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น เหตุใหญ่: ข้าราชการที่รับราชการอาจจะได้รับความพอใจจากเงินเดือน หรือเกียรติยศเป็นสิ่งตอบแทนการทำงาน

  7. เหตุย่อย : ข้าราชการที่รับราชการไม่ได้รับความพอใจจากเงินเดือนเป็น สิ่งตอบแทนการทำงาน ข้อสรุป : ข้าราชการที่รับราชการอาจจะได้รับความพอใจจากเกียรติยศ เป็นสิ่งตอบแทนการทำงาน 4. การหาเหตุผลที่ต่างออกไป (Disjunctive Syllogism)เป็นวิธีการหา เหตุผลที่อาศัยการเชื่อมโยงกัน โดยเหตุย่อยเป็นตัวบอกกรณีบางส่วนใน เหตุใหญ่ เช่น เหตุใหญ่ : อุบัติเหตุทางการจราจรส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับขี่มึนเมา เหตุย่อย : นายประเสริฐดื่มสุราก่อนขับรถ ข้อสรุป : นายประเสริฐอาจไม่ประสบอุบัติเหตุทางจราจร

  8. การหาความรู้ตามวิธีของอริสโตเติลได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ โดยฟรานซิน เบคอน ว่ามีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องไม่ช่วยให้ค้นพบความรู้ใหม่ เพราะ ข้อสรุปที่ได้จำกัดอยู่ในขอบเขตของเหตุใหญ่ ข้อสรุปจะมีความเที่ยงตรง เพียงใดขึ้นอยู่กับความเท็จจริงของเหตุใหญ่และเหตุย่อย ถ้าข้อเท็จจริงทั้ง สองนี้ขาดความเที่ยงตรง ก็อาจทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรงได้

  9. 3. ยุคฟรานซิส เบคอน ฟรานซิส เบคอน(Francis Bacon) ได้เสนอวิธีการหาความรู้ เรียกว่าวิธี อนุมาน (Inductive Reasoning) ซึ่งเป็นวิธีที่อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนแล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุย่อย ๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลเหล่านั้นในอันที่จะสรุปเหตุหรือผล องค์ประกอบหรือขั้นตอนในการอนุมานแบ่งได้เป็น 3 ขั้น 1.การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเป็นรายละเอียดย่อย ๆ ก่อน 2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงย่อยเหล่านั้น 3. สรุปผล

  10. การแสวงหาความรู้โดยวิธีของเบคอนมี 3 แบบ 1. การอนุมานอย่างสมบูรณ์ (Perfect Induction)เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกๆ หน่วยในหมู่ประชากร เพื่อดูรายละเอียดของหน่วยย่อยทั้งหมดแล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูล ตีความและสรุปผล วิธีการี้จะทำให้ได้ความรู้ความจริงที่เชื่อถือได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติอาจทำไม่ได้เพราะสิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายสูง 2. การอนุมานที่ไม่สมบูรณ์ (Imperfect Induction)การอนุมานแบบนี้จะเลือกตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรแล้วจึงสรุปหรืออนุมานว่าประชากรทั้งหมดมีลักษณะเช่นไร

  11. วิธีนี้สะดวกในการปฏิบัติการเพราะประหยัดแรงงาน เวลา และ ค่าใช้จ่าย 3. การอนุมานแบบเบคอนเนียน (Baconian Induction)เป็นการอนุมานที่ไม่ สมบูรณ์วิธีหนึ่งซึ่งเบคอนเสนอว่า ในการตรวจสอบข้อมูลควรแจงนับหรือ ศึกษารายละเอียดของข้อมูลเป็น 3 กรณีคือ 1) พิจารณาส่วนที่มีลักษณะเหมือนกัน 2) พิจารณาส่วนที่มีลักษณะแตกต่างกัน 3) พิจารณาส่วนที่มีความเปลี่ยนแปรไป

  12. 4. ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้ เสนอวิธีการค้นหาความรู้ผสมผสานวิธีการของอริสโตเติล และเบคอนเข้า ด้วยกันเรียกว่า วิธีอุปมานและอนุมาน (Deductive Inductive Method) ซึ่งต่อมา จอห์น ดิวอี (John Duwey) ได้แก้ไขให้ชื่อใหม่ว่า Reflective Thinking เพราะกระบวนการหาความรู้แบบนี้ใช้วิธีคิดใคร่คราญอย่าง รอบคอบซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ “How We Think” เมื่อปี ค.ศ.1910 ได้ แบ่งขั้นในกระบวนการแสวงหาความรู้ไว้เป็น 5 ขั้นคือ

  13. 1) ปรากฏความยุ่งยากเป็นปัญหาเกิดขึ้น 2) ขั้นจำกัดขอบเขตและนิยามความยุ่งยากเพื่อให้ปัญหากระจ่างชัดขึ้น 3) ขั้นเสนอแนะการแก้ปัญหาหรือตั้งสมมุติฐาน 4) ขั้นอุปมานเหตุผลของสมมติฐานที่ตั้งขึ้น 5) ขั้นการทดสอบสมมติฐาน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเดียวกับวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ คือเริ่มต้นจากการระบุปัญหาแล้วจึงอุปมานเพื่อหาคำตอบ หรือตั้งสมมติฐานขึ้น ต่อมาก็ทำการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และ สรุปผล

  14. ความรู้ (Knowledge) - ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่พรรณนาหรืออธิบายเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อความเข้าใจ และทำนาย ปรากฏการณ์ - ความรู้ที่มีการจัดระเบียบแล้ว เรียกว่าองค์ความรู้ (Body of Knowledge) - การจัดระบบองค์ความรู้ที่สำคัญ คือการสร้างทฤษฎี

  15. ในปัจจุบันองค์ความรู้ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 1. องค์ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เรียกว่าวิทยาศาสตร์ (Pure Science) 2.องค์ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคมเรียกว่า วิทยาศาสตร์ สังคม (Social Science) 3.การจัดการธุรกิจ เป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สังคมสาขาวิชา หนึ่ง เนื่องจากธุรกิจเป็นหน่วยทางสังคมที่ทำหน้าที่ผลิตสินค้า และบริการ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต มนุษย์ให้ดีขึ้น

  16. ศาสตร์โดยทั่วไปมีความมุ่งหมายที่จะทำความเข้าใจสภาพของโลกรอบๆ ตัวโดยมีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1. การพรรณนา หรืออธิบายปรากฏการณ์ 2. การค้นคว้าหากฎเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ 3. การรวบรวมกำหนดทฤษฎีและกฎขึ้นเป็นหลักยึดศาสตร์ทางการจัดการ มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) ศาสตร์ทางการจัดการจะสังเกตและอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการบริหารองค์การ โดยเฉพาะภาครัฐบาลตามเกณฑ์ที่กำหนด ขึ้น เช่น การเข้าออกจากงาน การขาดงาน

  17. 2) ศาสตร์ทางการจัดการจะค้นคว้าถึงระเบียบกฎเกณฑ์จาก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นประจำ เพื่อดูพฤติกรรมแห่งความสัมพันธ์ของ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ว่าเกิดขึ้นเป็นระเบียบหรือระบบอย่างใด บ้างหรือไม่ เช่นการศึกษาว่าสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินมีความสัมพันธ์กับ อัตราการขาดงานหรือไม่ 3) ศาสตร์ทางการจัดการจะพยายามรวบรวมกฎเกณฑ์และ ระเบียบของความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดแจ่มชัด และเชื่อมั่น ได้ตั้งกฎหรือทฤษฎีต่างๆ ขึ้น เช่น ทฤษฎีการจูงใจ ทฤษฎี ภาวะผู้นำ

  18. แสวงหาความรู้หรือกระบวนการวิจัยทางการจัดการเป็นในลักษณะเช่นเดียวกับลักษณะของศาสตร์ทั่วไป คือ 1. ศาสตร์มีลักษณะที่เป็นหลักความจริงตามเหตุผลหรือเรียกว่า ตรรกวิทยาศาสตร์ จะต้องมีลักษณะของการกระทำที่มีเหตุผล (Rational)มีคำอธิบายต่างๆ จะต้องเห็นจริง หรือมีความรู้สึกว่าเป็นจริง (Make sense) ค้นคว้าและแสวงหาความจริงด้วยเหตุผลมี 2 วิธีคือ เหตุผลเชิงอุปทาน (Deduction logic) และเหตุผลเชิงอนุมาน (Inductive logic) 1) การให้เหตุผลเชิงอุปมาน เป็นการค้นคว้าแสวงหาความจริงโดยเริ่มต้น จากการศึกษากฎหรือทฤษฎีที่มีผู้ค้นพบอยู่ก่อนแล้ว แล้วนำเอากฎหรือทฤษฎีนั้นไปใช้ อธิบายเหตุการณ์เฉพาะอย่างที่เกิดขึ้นหรือสังเกตพบ 2) การให้เหตุผลเชิงอนุมาน เป็นการค้นคว้าแสวงหาความจริงที่เริ่มต้นจาก การสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน แล้วรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งเป็นกฎ หรือทฤษฎีทั่วไปแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่สังเกตพบ ขึ้น

  19. 2. ศาสตร์มีลักษณะเชื่อว่าเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะต้องมีเหตุเป็น ตัวกำหนด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุสามารถทดลอง ศึกษา และอธิบายให้เป็น ที่เข้าใจอย่างมีเหตุผลได้ วิธีการศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลเรียกว่า Causal Inferences หรือ Causal Relationship มุ่งศึกษาให้รู้แจ้งว่าอะไรเป็นต้นเหตุให้ เกิดผลหรือปรากฏหารแต่ละอย่างขึ้น 3. ศาสตร์คำนึงถึงกฎเกณฑ์ที่นำไปใช้ได้กับเหตุการณ์ทั่วไป ศาสตร์หนึ่งๆ พยายามที่จะแสวงหาความรู้เพื่ออธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นการทั่วไป ไม่จำกัดกาลเทสะ จึงทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหากฎเกณฑ์ที่จะใช้กับพฤติกรรมจำนวน มากหรือใช้เป็นการทั่วไปได้

  20. 4.ศาสตร์มักคำนึงถึงความสะดวกและง่ายต่อการเข้าใจได้ ในการอธิบาย ปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง ถ้าใช้องค์ประกอบหรือปัจจัย (Factors) น้อยตัว ที่สุดที่จะสามารถอธิบายสะดวกและง่ายต่อการเข้าใจได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วการใช้ ปัจจัยมากตัวยิ่งทำให้การอธิบายมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น การวิจัยจะต้อง ตัดสินใจตั้งแต่เริ่มต้นว่าจะเลือกอะไรระหว่างความสะดวกง่ายกับความถูกต้อง แม่นยำที่จะได้รับโดยทั่วไปเน้นทั้งสองอย่าง วิธีการวิเคราะห์ปัจจัย (factor Analysis) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ ข้อมูลที่นิยมใช้ในการศึกษาวิจัยเหตุการณ์ที่มีตัวแปรหลายตัว

  21. 5. ศาสตร์จะต้องจำกัดขอบเขตเหตุการณ์ที่จะศึกษาอย่างแจ่มชัด การศึกษาวิจัย แต่ละครั้ง จะต้องจำกัดขอบเขตเรื่องที่จะศึกษาให้รัดกุมกะทัดรัดโดยขอบเขตและความ พยายามของเรื่องที่จะศึกษาโดยเฉพาะเจาะจง การกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนจะช่วยให้การทดสอบและการวัดความสัมพันธ์ ของตัวแปรหรือปัจจัยต่างๆ ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น 6. ศาสตร์ต้องสำรวจตรวจสอบโดยการสังเกตได้ กฎหรือทฤษฎีที่กำหนดขึ้น จะหาประโยชน์ไม่ได้ถ้าไม่สามารถจะยืนยันโดยข้อมูลที่รวบรวมและสิ่งที่สังเกตได้ การตรวจสอบจากการสังเกตและการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical verification) ผู้ทำการวิจัยจะต้องสามารถกำหนดสภาวะการณ์ที่สามารถแย้งว่ากฎหรือ ทฤษฎีนั้น ๆ ไม่ถูกต้องได้

  22. 7. ศาสตร์สามารถนำความคิดเห็นที่แตกต่างกันแต่ละบุคคลไปสู่ความเป็นจริง ร่วมกัน - ความแตกต่างในความเชื่อหรือความคิดเห็นของบุคคลมักจะเกิดขึ้นจากปัญหา เกี่ยวกับกรอบทฤษฎีและการนิยามที่แตกต่างกัน - การกำหนดตัวแปรและมาตรวัดที่จะใช้ในการวิจัย หากมีการใช้กรอบทฤษฎี และการนิยาม ตลอดจนกำหนดตัวแปรและมาตรวัดที่ใช้เหมือนกันทุกประการแม้ผู้วิจัยจะ มีความเชื่อหรือความคิดเห็นส่วนตัวครั้งแรกที่แตกต่างกัน การวิจัยต้องพบผลที่เหมือนกัน 8. ศาสตร์เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ -กฎหรือทฤษฎีต่าง ๆ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมที่จะใช้กับ ภาวะการณ์แวดล้อมอยู่เสมอ -ศาสตร์ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่จะแสดวงหาความจริงเพื่อความจริง แต่ค้นหาความ จริงที่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติในสังคมเป็นสำคัญ

  23. คำว่า “ทฤษฎี” ได้มีการกำหนดนิยามแบ่งได้เป็น 2 นัย คือ 1. ทฤษฎีในความหมายกว้าง - Reynolds (1971:11) ทฤษฎี หมายถึง จ้อความนามธรรมซึ่งพิจารณาเป็นส่วนหนึ่ง ขององค์ความรู้ ซึ่งจัดในรูปของกลุ่มแห่งกฎในลักษณะความเป็นจริงไม่ต้องพิสูจน์หรือ ลักษณะกระบวนการสาเหตุและผล - Gibbs (1972:5) ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อความที่มีความสัมพันธ์ต่อกันเชิงตรรกะ ใน ลักษณะของการสนับสนุนเชิงประจักษ์นิยมเกี่ยวกับคุณสมบัติของเหตุการณ์ของสิ่งต่างๆ ที่ไม่รู้จัก ทฤษฎี คือ กรอบความคิดเกี่ยวกับการจัดองค์ความรู้ในลักษณะตัวแบบต่างๆ โดยมุ่ง เน้นความสำคัญความสอดคล้องของเนื้อหาสาระภายในทฤษฎีเป็นสำคัญ

  24. 2.ทฤษฎีในความหมายเฉพาะเจาะจง2.ทฤษฎีในความหมายเฉพาะเจาะจง - ทฤษฎีในความหมายเฉพาะเจาะจง หมายถึงกลุ่มของข้อทฤษฎี ซึ่ง เกี่ยวข้องสัมพันธ์สอดคล้องอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อ อธิบายปรากฏการณ์ในรูปลักษณะความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุและผล ระหว่าง แนวคิด สำคัญเกี่ยวข้องกันทั้งหมด และอาจมีเป้าประสงค์ เพื่อการพรรณนา หรือพยากรณ์ปรากฏการณ์นั้นๆ - แนวคิด หมายถึง สัญลักษณ์ในลักษณะนามธรรมที่ทำหน้าที่จัดระบบ ความคิดและประสบการณ์ให้มีลักษณะที่สามารถสื่อความหมายได้ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม

  25. แนวคิดทางการจัดการ เช่น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเป็นเลิศ ความสามารถทางการแข่งขัน ความรับผิดชอบต่อสังคม การกำหนดนิยามของแนวคิดสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะคือ 1. การกำหนดนิยามตามพจนานุกรม เป็นการให้คำจำกัดความของ แนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง โดยการใช้แนวคิดอื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพื่อขยายความซึ่งกันและกัน 2. การกำหนดนิยามปฏิบัติการ เป็นการให้คำจำกัดความเพื่อเปลี่ยนแปลง แนวคิด ให้มีสถานภาพเป็นตัวแปรซึ่งกำหนดค่าหรือวัดค่าได้

  26. หลักการ(Principle)หมายถึง กลุ่มของข้อทฤษฎี ซึ่งได้ผ่านการทดสอบ เชิงประจักษ์มาแล้วไม่จำกัดครั้งและต่างๆ ได้รับการสนับสนุนข้อมูลอย่าง กว้างขวางจนก่อให้เกิดการยอมรับร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์จากนักวิชาการ ในสาขานั้นๆ การทดสอบเชิงประจักษ์หมายถึง การทดสอบทฤษฎีด้วยข้อมูลที่ได้รับการ เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ ตลอดจนการตีความข้อมูล และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ มุ่งศึกษา

  27. ทฤษฎี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ 1. กรอบอ้างอิง (frame f reference)หมายถึง กรอบที่กำหนดสำหรับ การศึกษาปรากฏการณ์หรือกรอบที่จำกัดมิติของการศึกษาค้นคว้า 2. ฐานคติ (assumptions)หมายถึง พื้นฐานของแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ ปรากฏการณ์ที่มุ่งศึกษา 3. แนวคิด (Concepts)หมายถึง สัญลักษณ์ในลักษณะนามธรรมที่ทำ หน้าที่จัดระบบความคิดและประสบการณ์ให้มีขอบข่ายที่สามารถสื่อ ความหมายได้ 4. ข้อทฤษฎี (theoretical propositions)หมายถึง ข้อความที่แสดงความ สัมพันธ์ระหว่างแนวคิดตั้งแต่สองแนวขึ้นไป

  28. การบริหารธุรกิจเป็นศาสตร์ทางสังคม (Social Science) ที่ เป็นศาสตร์เฉพาะวิชาชีพโดยทั่วไปนิยมจำแนกตามหน้าที่ทางการ บริหารธุรกิจ (Business Function) จำแนกเป็น 4 ด้าน 1.ทฤษฎีการจัดการทั่วไปและการจัดการดำเนินงาน 2.ทฤษฎีการจัดการการเงิน 3. ทฤษฎีการจัดการการตลาด 4.ทฤษฎีการจัดการทรัพยากรมนุษย์

  29. ปัจจุบันสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ ของประเทศสหรัฐ อเมริกาได้จำแนกองค์ความรู้ทางบริหารธุรกิจ เป็น 12 ด้านคือ 1. การบัญชี 7. สารสนเทศเทศทางการจัดการ 2.การจัดการ 8. การจัดการเชิงปฏิบัติการ 3. การประกอบ 9. โลจิสติกส์และการขนส่ง 4. การเงิน 10. ธุรกิจระหว่างประเทศ 5. การตลาด 11. การจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6.การจัดการธุรกิจที่ไม่มุ่งผลกำไร 12. ประกันภัย

  30. กลุ่มแนวคิดและทฤษฎีแบบคลาสิกกลุ่มแนวคิดและทฤษฎีแบบคลาสิก ในสมัย 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระกรีกแห่งวิหารซูมิเรียน (Sumerian Temple) ได้บันทึกระบบภาษีที่จัดเก็บสำหรับการถือครองที่ดินและเงิน ชาวอียิปต์โบราณได้สร้างพีระมิดโดยอาศัยหน้าที่ทางการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ และการควบคุมในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เพื่อก่อสร้าง มหาพีระมิด ต่อมาในสมัยกษัตริย์ฮามูราบี (Hammurabi) แห่งราชอาณาจักรบาบิโลเนียได้บัญญัติ กฎ 282 ข้อที่เรียกว่า Code of Hammurabi เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองของประเทศ โบสถ์โรมันคาทอลิกก็มีแนวปฏิบัติทางการจัดการสืบต่อมายาวนาน ตั้งแต่สมัย ประวัติศาสตร์

  31. แนวปฏิบัติและกฏเกณฑ์ในอดีตได้รับการศึกษาค้นคว้าและพัฒนามาจนกลายเป็นแนวปฏิบัติและกฏเกณฑ์ในอดีตได้รับการศึกษาค้นคว้าและพัฒนามาจนกลายเป็น แนวคิดทางการจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุคต่อมา หลังการปฏิบัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 การผลิตมีขนาดใหญ่ขึ้น เจ้าของกิจการไม่อาจควบคุมการได้ลำพัง การขยายตัวและความ เจริญเติบโตของอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการจัดการ จนทำให้ เกิดการปฏิวัติทางการจัดการ

  32. นักคิดรุ่นแรกที่ได้บุกเบิกองค์ความรู้ทางการจัดการ ได้แก่ นักอุตสาหกรรม ชาวอังกฤษ โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen ค.ศ.1771-1858) นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ชาร์ลส์ แบ็บเบจ (Charles Babbage ค.ศ.1798-1871) และวิศวกร ชาวอเมริกัน เฮนรี่ ทาวน์ (Henry Towne ค.ศ. 1844-1924) ผลงานของนักคิด เหล่านี้ได้มีบทบาทต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางการจัดการ ในปลายศตวรรษที่ 19 การขยายตัวของอุตสาหกรรมและการจัดการเป็นไป อย่างรวดเร็ว มีการใช้จ่ายเงินทุนและเวลาอย่างมากในการฝึกอบรม และพัฒนา พนักงานให้มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร และงาน

  33. นักวิชาการและนักปฏิบัติในอุตสาหกรรมจึงศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพนักวิชาการและนักปฏิบัติในอุตสาหกรรมจึงศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานในองค์การโดยรวม การศึกษาค้นคว้าได้พัฒนาจนกลายเป็น แนวคิดและทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิค (Classical management perspective) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มแนวคิด และทฤษฎีทางการจัดการกลุ่มแรก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สาขาย่อยคือ 1. ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Theory) 2.ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)

  34. การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Theory) เป็นแนวคิดทางการจัดการที่มุ่งเน้นการศึกษางานโดยใช้หลักเหตุผลด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์การ นักคิดที่สำคัญในสำนักนี้ได้แก่ เฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ (Frederick W. Taylor) แฟรงค์ และลิเลียน กิลเบร์ท (Frank and Lilian Gilbreth) เฮนรี แกนท์ (Henry Gantt) และฮาร์ริงตันอิเมอร์สัน (Harrington Emerson)

  35. 1.เฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ (Frederick W. Taylor)และการจัด การเชิงวิทยาศาสตร์ เฟรดเดริค ดับบลิว เทเลอร์ (Frederick W. Taylor ค.ศ. 1856-1915) ได้ศึกษาเพื่อหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด (One Best Way) ด้านวิธีการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงาน (Time and Motion Study) ด้วยการทดลองที่โรงงานมิดเวล โรงงานที่ เบทเลแฮมและที่อื่นๆ จน ค้นพบและกำหนดมาตรฐานของการทำงานในงานเฉพาะอย่างหลายงาน ของกระบวนการผลิตในโรงงานผลิตเหล็ก ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้

  36. เทเลอร์ได้เสนอบทบาทที่ชัดเจนของฝ่ายจัดการ และพนักงานใน กระบวนการทางการจัดการได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การควบคุม และวิธีการทำงานเฉพาะอย่างได้ค้นพบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดคุณ สมบัติเฉพาะของวัตถุดิน ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือที่ใช้ในการประสาน และควบคุมการจัดการในองค์การ เสนอระบบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น (Price Rate Pay System) ผลงานของเทเลอร์ได้รับการเผยแพร่ ตีพิมพ์ผลงาน “Principles of Scientific Management” ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นบิดา ของการจัดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

  37. หลักการสำคัญของแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์หลักการสำคัญของแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ สรุปได้ ดังนี้ 1.ใช้หลักวิธีวิทยาศาสตร์เพื่อแสวงหาการทำงานที่ดีที่สุด 2. ยอมรับความกลมกลืนในกิจกรรมกลุ่มมากกว่าความไม่ปลอดภัย 3. มุ่งสู่ความร่วมมือของมนุษย์ในการทำงาน 4. ทำงานเพื่อผลผลิตสูงสุด 5. พัฒนาพนักงานทุกคนให้ใช้ความสามารถสูงสุด และสร้างความมั่นคง สูงสุดให้บริษัท

  38. 2. แฟรงค์ และลิเลียน กิลเบร์ท (Frank and Lilian Gilbreth) แนวคิดเรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวในการทำงาน แฟรงค์ และลิเลียน กิลเบร์ท (Frank and Lilian Gilbreth ค.ศ. 1886-1924) และลิเลียน กิลเบร์ท (Lilian Gilbreth ค.ศ. 1878-1972) แฟรงค์ และลิเลียน ได้ร่วมกันศึกษาการเคลื่อนไหวในการทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรมและหลักการเคลื่อนไหวในการทำงานศึกษาเวลาและการเคลื่อน ไหว (Time and Motion Study) ด้วยการใช้กล้องโทรทัศน์จับภาพการเคลื่อน ไหวในการทำงานแล้วมาศึกษาวิเคราะห์การเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด

  39. สองสามีภรรยาสกุล Gilbreth ได้ประยุกต์แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ของ Taylor มาใช้และผนวกกับความเข้าใจในลักษณะบุคลิกภาพและความต้องการของ บุคคลในการทำงาน 3. เฮนรี แกนท์ (Henry Gantt)แนวคิดเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนแบบจูงใจ เฮนรี แกนท์ (Henry Gantt ค.ศ.1961-1919) เป็นวิศวกรเครื่องกลที่ร่วมงานกับ Taylor สร้างผลงาน ต่าง ๆ มากมาย เขาเชื่อมั่นในแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับเทเลอร์ แกนท์ ได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ มากมาย ในการคัดเลือกพนักงาน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการจ่ายค่าตอบแทนแบบจูงใจ (Pay Incentive) ด้วย โบนัส (Bonus)

  40. แกนท์ เน้นความต้องการและความสนใจทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายพนักงานการ ร่วมมือกันอย่างกลมกลืนและการเห็นคุณค่าในทุกปัญหาของการจัดการซึ่งมนุษย์เป็น ส่วนสำคัญที่สุด ผลงานของแกนท์ คือ กราฟการควบคุมทรัพยากรทางการจัดการที่เรียกว่า Gantt Chart ซึ่งเป็นเทคนิคทางการควบคุมที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน 4. ฮาร์ริงตัน อิเมอร์สัน (Harrington Emerson)และแนวคิดเรื่องประสิทธิภาพ ขององค์การ ฮาร์ริงตัน อิเมอร์สัน (Harrington Emerson ค.ศ.1853-1931) เป็นที่ ปรึกษาทางการจัดการที่มีจุดเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรและขจัดการสูญเปล่า โดยอาศัย หลักการเชิงวิทยาศาสตร์ และให้ความสำคัญกับโครงสร้างและเป้าหมายขององค์การ เขาได้พัฒนาหลักประสิทธิภาพ 12 ประการได้แก่

  41. หลักประสิทธิภาพ 12 ประการ ของ Emerson ได้แก่ 1. การกำหนดจุดหมายที่ชัดเจน (Clearly Defined Ideal) 2.การใช้สามัญสำนึก (Common Sense) 3. คำปรึกษาแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ดี (Competent Counsel) 4. วินัย (Discipline) 5. ความยุติธรรม (Fair Deal) 6. ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ฉับไว ถูกต้อง และแน่นอน (Reliable Immediate Accurate and Permanent Records)

  42. 7. แผนแสดงรายละเอียดในการปฏิบัติการ (Dispatching) 8. มาตรฐานและตารางเวลา (Standards and Schedules) 9.สภาพมาตรฐาน (Standard Conditions) 10. การปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน (Standards and Operations) 11. คำชี้แนะการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Standard Practice Instructions) 12. รางวัลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency Reward)

  43. ทฤษฎีองค์การแบบคลาสสิกทฤษฎีองค์การแบบคลาสสิก แนวคิดและทฤษฎีองค์การ เป็นสาขาแนวคิดที่สองในกลุ่มแนวคิดและ ทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก มีจุดเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลขององค์การโดยส่วนร่วม นักวิชาการคนสำคัญได้แก่ 1. อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol)และการจัดการเชิงบริหาร อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol ค.ศ.1841-1925) เป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งพยายามพัฒนา วิธีการจัดการเชิงระบบ การศึกษาของฟาโยล์ เมื่อเปรียบเทียบกับเทเลอร์แตกต่างกันที่จุด สนใจ

  44. การจัดการของฟาโยล์อยู่ที่นักบริหารระดับสูง ขณะที่เทเลอร์สนใจ การบริหารในระดับโรงงาน (Shop Level) ฟาโยล์ตรวจสอบองค์การจากบน ลงล่าง และเสนอหน้าที่ทางการจัดการที่สามารถใช้ได้เป็นสากลสำหรับ องค์การทุกประเภท หน้าที่ทางการจัดการประกอบด้วยหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1. การวางแผน(Planning) 2.การจัดการองค์การ (Organizing) 3. การบังคับบัญชา (Commanding) 4. การประสานงาน (Coordinating) 5 .การควบคุม (Controlling)

  45. ฟาโยล์ยังได้เสนอหลักทั่วไปของการจัดการ (General Principles of Management) 14 ข้อ สำหรับการจัดการที่มีประสิทธิผล ได้แก่ 1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Work) 2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 3. วินัย (Discipline) 4. เอกในการบังคับบัญชา (Unity of Command) 5. เอกภาพในการกำหนดทิศทางภารกิจ (Unity of Direction) 6.ผลประโยชน์ส่วนตัวมีความสำคัญเป็นรองผลประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual to the General Interest)

  46. 7.ค่าตอบแทนและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน (Remuneration and Methods) 8.การรวมอำนาจ (Centralization) 9.สายการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น (Scalar Chain) 10.คำสั่งที่เป็นระเบียบ (Order) 11.หลักความเสมอภาค (Equity) 12. ความมั่นคงในงาน (Stability of Tenure) 13. ความคิดริเริ่ม (Initiative) 14. ความสามัคคี (Esprit de Corps)

  47. ผลงานของฟาโยล์เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายและทำให้เขาได้ผลงานของฟาโยล์เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายและทำให้เขาได้ รับยกย่องเป็นบิดาของแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร (The Administrative Management) 2. แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber)และทฤษฎีระบบราชการ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber ค.ศ.1864-1920) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันทำ การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การอย่างเป็นระบบในตอนต้นศตวรรษ ที่ 20

  48. จากการศึกษาการทำงานภายในองค์การและโครงสร้างของสังคมโดย จากการศึกษาการทำงานภายในองค์การและโครงสร้างของสังคมโดย ส่วนรวมพบว่าองค์การขนาดใหญ่ที่มีมากขึ้นในสังคม ได้แก่ องค์การ ธุรกิจ ทหาร รัฐบาล การเมือง ซึ่งการดำเนินงานขององค์การขนาดใหญ่แตกต่าง จากองค์การขนาดเล็ก เวเบอร์ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) การศึกษาการทำงานในโครงสร้างขององค์การ เวเบอร์พบว่าแห่งที่มาของ อำนาจมี 3 แหล่งคือ 1. อำนาจที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณี 2. อำนาจบารมีที่เกิดจากลักษณะพิเศษส่วนตัวของผู้นำ หรือผู้บริหาร 3. อำนาจตามกฎหมาย

  49. เวเบอร์มีความเห็นว่า อำนาจทางการจัดการที่ได้รับการยอมรับ และมีความชอบธรรม คืออำนาจตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใน องค์การ ส่วนในด้านที่เกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างที่เหมาะสมกับองค์การ ขนาดใหญ่ เวเบอร์ได้เสนอทฤษฎีระบบราชการ ซึ่งหมายถึงลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. เป็นการบริหารงานที่ดียึดหลักการจัดสายการบังคับบัญชาตาม ระดับชั้น 2. มีการแบ่งงานกันทำตามกฎเกณฑ์ 3. กฎเกณฑ์ต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร 4. การปฏิบัติงานไม่คำนึงถึงตัวบุคคล

  50. 5. ผู้ปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงความมีเหตุผล 6. ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความมั่นคงในการทำงาน 7. ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งรัด 8. มีการยึดหลักคุณธรรมและความรู้ทางเทคนิคเป็นกฎเกณฑ์ 3. เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester Barnard)กับทฤษฎีระบบการจัดการเชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester Barnard ค.ศ. 1886-1961) เขียนหนังสือชื่อ The Function of Executive (ค.ศ. 1938) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการระบบ ความร่วมมือต่าง ของการติดต่อสื่อสารการจัดหา การจัดการทรัพยากร และความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนด ไว้ แนวความคิดของบาร์นาร์ด เรียกว่า ระบบการบริหาร (Administrative Systems)

More Related