320 likes | 553 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำปิง ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ ปัญหาของลุ่มน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำปิง • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
6. ลุ่มน้ำปิง ที่ตั้ง ลุ่มน้ำปิง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ลักษณะของลุ่มน้ำนี้เรียวยาว วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยมีทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำสาละวินและลุ่มน้ำกก ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำสะแกกรังและลุ่มน้ำแม่กลอง และทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำวัง รูปที่ 6-1 แสดงที่ตั้งลุ่มน้ำปิง
ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำปิงเป็นเทือกเขาสลับ ซับซ้อน ต้นกำเนิดของต้นน้ำปิง เกิดจากทิวเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลผ่านหุบเขาลงมาสู่ที่ราบลุ่ม ผ่านจังหวัดลำพูน แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงทิศใต้ผ่านอำเภอฮอด ก่อนจะลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ส่วนแม่น้ำปิงตอนล่างใต้เขื่อนภูมิพล จะไหลผ่านที่ราบมาบรรจบแม่น้ำวัง และไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ก่อนไปบรรจบแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน รวมเป็นแม่น้ำจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ รูปที่ 6-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปิง
พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำปิง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 33,896 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 20 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 6-1 และรูปที่ 6-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 6-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย 6.02 6.04 6.03 6.06 6.08 6.12 6.05 6.07 6.10 6.11 6.09 รูปที่ 6-3 แสดงลุ่มน้ำย่อยพื้นที่ลุ่มน้ำปิง
พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำปิง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 33,896 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 20 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 6-1 และรูปที่ 6-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 6-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อ (ต่อ) 6.13 6.14 6.15 6.17 6.19 6.16 6.18 6.20 6.21 รูปที่ 6-3 แสดงลุ่มน้ำย่อยพื้นที่ลุ่มน้ำปิง
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ ได้แสดงไว้แล้วตามตารางที่ 6-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 6-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำปิงมีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 900 มิลลิเมตร จนถึง 1,900 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,124.6 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณน้ำฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ตาม ตารางที่ 6-3 และมีลักษณะการกระจายของ ปริมาณน้ำฝน ตามรูปที่ 6-4 ตารางที่ 6-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือน รูปที่ 6-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 6-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่า ลุ่มน้ำปิงมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 33,896 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งปีเฉลี่ย 8,725.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 6-3 หรือมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 8.16 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่6-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำปิงสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 6-6 และแต่ละประเภทจำนวนพื้นที่ตามตารางที่ 6-4 ตารางที่ 6-4 รูปที่ 6-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
● การใช้ประโยชน์จากที่ดินด้านการเกษตร 1) พื้นที่ทำการเกษตร....................... 23.66 % พืชไร่....................................... 50.81 % ไม้ผล–ไม้ยืนต้น.......................... 6.71 % ปลูกข้าว................................... 42.01 % อื่นๆ.......................................... 0.47 % รูปที่ 6-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้................................................ 71.46 % เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า.......................11.42 % อุทยานแห่งชาติ................................14.91 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์.................................73.66 % รูปที่ 6-8 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย........................................... 2.58 % 4) แหล่งน้ำ............................................. 1.21 % 5) อื่นๆ.................................................... 1.09 % รูปที่ 6-9 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
พื้นที่การเกษตรทั้งหมดมีประมาณ 8,021.48 ตารางกิโลเมตรและมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกเพียง 3,368.29 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 41.99 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 2,516.92 ตารางกิโลเมตร (74.72%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 20.28 ตารางกิโลเมตร ( 0.60.%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 696.40 ตารางกิโลเมตร (20.68.%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 134.68 ตารางกิโลเมตร ( 4.00%) รูปที่ 6-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกส่วนใหญ่ จะอยู่บริเวณตอนบนและตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบสองฝั่งลำน้ำ ซึ่งรวมกันแล้วประมาณ 9.94% ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตรพบว่า การใช้พื้นที่ปลูกพืชส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกพืชไร่ และไม้ผล-ไม้ยืนต้น บนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนข้าวและพืชผักได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มน้ำปิง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบสองสองฝั่งของแม่น้ำปิงทั้งตอนบนและตอนล่าง ประมาณ 2,016.90 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 59.88 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 25.14 ของพื้นที่การเกษตร ตารางที่ 6-5ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากร ทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำ สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544 -2564 สรุปได้ตามรูปที่ 6-11 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม อุปโภค - บริโภค รูปที่ 6-11 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักในบริเวณต้นน้ำ ทำให้น้ำป่าไหลหลากลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำตอนบนถูกทำลาย รวมทั้งขาดแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน เพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอสะเมิง อำเภอสันป่าตอง อำเภอหางดง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่แตง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดตาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถในการระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมลักษณะนี้เป็นประจำ ด้แก่ อำเภอไชยปราการ อำเภอสันทราย อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอแม่ทา อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำนี้ เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค- บริโภคและทำการเกษตร รวมทั้งการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ในลุ่มน้ำนี้มีหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 2,793 หมู่บ้าน พบว่ามีหมู่บ้านขาดแคลนน้ำทั้งหมด 1,910 หมู่บ้าน (ร้อยละ68.93) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร จำนวน 1,187 หมู่บ้าน (ร้อยละ42.50) และหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรจำนวน 723 หมู่บ้าน (ร้อยละ25.89) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ 1,056 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 55.29 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 6-11 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำปิง มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกึ๊ด น้ำแม่ขาน และน้ำแม่แจ่ม เพื่อเก็บกัก และชะลอปริมาณน้ำหลากในช่วงที่ฝนตกหนัก และปล่อยน้ำที่เก็บกักลงทางด้านท้ายน้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้พื้นที่สองฝั่งลำน้ำ