1 / 6

หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์

นำเสนอโดย กลุ่มสัตว์ปีก. หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์. หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์. ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้า แฝก ( Vetiveria spp.) 

shawna
Download Presentation

หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นำเสนอโดย กลุ่มสัตว์ปีก หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์

  2. หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ ลักษณะของหญ้าแฝก • หญ้าแฝก (Vetiveria spp.)  เป็นพืชตระกูลหญ้าที่พบอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ทนต่อสภาพความแห้งแล้ง ความเปียกแฉะและสภาพน้ำท่วมขังได้ดี เพราะมีระบบรากลึกและใบแคบ หญ้าแฝกขึ้นเป็นกอใหญ่ ขนาดของกอประมาณ 5-20 เซนติเมตรมีความสูงของลำต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ใบแคบยาว มีรากเป็นกระจุกเหมือนใยฟองน้ำ สามารถดูดซับน้ำได้ดีถ้านำมาปลูกเป็นแถวจะช่วยในการดักตะกอนดินและป้องกันการพังทลายของดินได้ดี

  3. ชนิดของหญ้าแฝกหญ้าแฝกที่พบในประเทศไทยจำแนกตามลักษณะภายนอกได้เป็น 2 ชนิดคือ 1. หญ้าแฝกลุ่ม 2. หญ้าแฝกดอน หญ้าแฝกดอน หรือ หญ้าแฝก หรือ หญ้าแฝกป่า พบทั่วไปในที่ค่อนข้างแห้งแล้งสามารถขึ้นได้ในที่แดดจัดและที่ร่มรำไร กอจะเตี้ยกว่าหญ้าแฝกลุ่ม ใบหยาบมีไขเคลือบน้อยทำให้ดูกร้าน ใบเมื่อยาวเต็มที่จะโค้งลงคล้ายตะไคร้ หลังปลูกเมื่อตั้งตัวได้แล้วต้องการการดูแลน้อยกว่าหญ้าแฝกลุ่ม • หญ้าแฝกลุ่ม หรือ หญ้าแฝกหอม หรือหญ้าแฝกบ้าน มีใบและรากยาวกว่าหญ้าแฝกดอนเนื้อใบค่อนข้างเนียน มีไขเคลือบมากทำให้มักเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีความชื้นสูงและในน้ำแช่ขัง ใบชี้ตรง เมื่อยาวเต็มที่จะหักพับเป็นมุมแหลม ไม่ชอบที่ร่มรำไร เจริญเติบโตและขยายกอได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องมีการตัดใบจึงจะมีอายุยืนยาว

  4. ลักษณะพื้นที่ในการปลูกหญ้าแฝกลักษณะพื้นที่ในการปลูกหญ้าแฝก พื้นที่ที่จะปลูกหญ้าแฝก • พื้นที่ลาดชันสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันที่ไม่ใช่เป็นป่าต้นน้ำ เป็นที่ซึ่งมีการทำการเกษตร หรือมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตร เช่น พื้นที่เกษตรที่สูงและไร่เลื่อนลอย • พื้นที่ราบการปลูกหญ้าแฝกในสภาพพื้นที่ราบ โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อการตัดใบหญ้าแฝกคลุมดิน ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์น้ำในดินที่ได้จากน้ำฝน ตลอดจนฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารที่มีดินชั้นล่างขึ้นมาสู่ดินชั้นบน ซึ่งอาจปลูกตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบร่วมกันก็ได้ • พื้นที่วิกฤติการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลาย ได้แก่ ขอบบ่อน้ำหรือสระน้ำที่ขุดใหม่ ไหล่ถนน รอยต่อของผิวน้ำกับแนว ป่าที่อยู่เหนือเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ แนวร่องน้ำข้างถนน พื้นที่ภูเขาและพื้นที่ที่ถูกน้ำกัดเซาะเป็นร่องลึก เป็นต้น

  5. ประโยชน์ของการปลูกหญ้าแฝก 1.) ด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ 2.) ด้านฟื้นฟูและปรับปรุงดิน - เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน - รักษาความชื้นในดิน - ช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น - ทำให้ดินโปร่งและระบายอากาศของดินดี - เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน - ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน - แถวหญ้าแฝกช่วยกักเก็บตะกอนดิน - ลดความแรงของน้ำที่ไหลบ่า - ช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินและพื้นที่ตอนบน - ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ 3.) ด้านรักษาสภาพแวดล้อม - ช่วยรักษาคุณภาพน้ำและแหล่งน้ำ - ดูดซับโลหะหนักจากสภาพแวดล้อม - ช่วยในการบำบัดและกรองน้ำเสีย - ป้องกันการพังทลายของไหล่ถนน

  6. แหล่งที่มา • http://www.dnp.go.th/watershed/vetiver.htm • http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G3/G3_18.pdf • http://www.doae.go.th/library/html/detail/vertiver/vertg2.html • http://www.chainat.go.th/sub1/ldd/Report/vetiver/vetiver05.htm • http://www.haii.or.th/wiki84/index.php/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C • http://www.dnp.go.th/watershed/web%20%CB%AD%E9%D2%E1%BD%A1/page4.htm • http://www.chaoprayanews.com/2012/01/26/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-84-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2/

More Related