1 / 63

การเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของ

การเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วัตถุประสงค์. เพื่อให้ทราบถึงนโยบายและทิศทางการบริหารงบประมาณของรัฐบาล เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางในการปฏิบัติ ทางด้านการเงินการคลัง

sharne
Download Presentation

การเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  2. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ทราบถึงนโยบายและทิศทางการบริหารงบประมาณของรัฐบาล • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางในการปฏิบัติ ทางด้านการเงินการคลัง • ให้เข้าใจระบบงบประมาณเงินอุดหนุนที่ได้รับจัดสรรและแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

  3. การบริหารการเงิน การคลังและงบประมาณ หลักการและเหตุผล รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หมวด 8 ตั้งแต่มาตรา 166-170 ได้มีข้อกำหนดให้มีกฎหมายการเงิน การคลังขอรัฐ เพื่อกำหนดกรอบ วินัยการเงินการคลังซึ่งรวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน การจัดหารรายได้ แนวทางการจัดทำแผนงบประมาณและการกำหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงาน โครงการในแต่ละรายการของการใช้จ่ายเงิน เพื่อส่งเสริมให้เกิดวินัยทางการเงินการคลังแก่ส่วนราชการภาครัฐซึ่งจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเป็นธรรมในสังคม

  4. ความเป็นมาของการบริหารการเงินการคลังความเป็นมาของการบริหารการเงินการคลัง • ในการบริหารงานด้านการเงิน การคลัง สำหรับส่วนราชการ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เงื่อนไขการปฏิรูประบบราชการซึ่งมีความจำเป็นที่เปลี่ยนไปตามบริบททางการบริหาร ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองและนโยบายสำคัญๆของรัฐบาล และกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ส่วนราชการต้องปรับเปลี่ยน บทบาท ภารกิจเพื่อตอบสนองหรือรับรองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารงานด้านการเงินการคลังภาครัฐปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน

  5. การบริหารการเงินการคลังภาครัฐการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ • GFMIS หมายถึง การบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ • (Government Fiscal Management Information) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า GFMIS • ระบบ GFMIS ประกอบด้วยระบบใหญ่ 5 ระบบ คือ • 1. ระบบงบประมาณ • 2. ระบบจัดซื้อจัดจ้าง • 3. ระบบการเงินและบัญชี • 4. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล • 5. ระบบบัญชีต้นทุน

  6. ความหมายของการคลัง • การคลังเป็นการศึกษาถึงหลักการวิธีการ • การจัดหารายรับ • การใช้จ่ายของรัฐบาล • หนี้ของรัฐบาล หรือหนี้สาธารณะ • นโยบายการคลัง • การบริหารการคลัง

  7. นโยบายการคลัง • เป็นนโยบายทางด้านรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล • รายรับของรัฐบาลได้มาจากการเก็บภาษีอากร เงินกู้และ เงินคงคลัง • รายจ่ายได้แก่ การใช้จ่ายต่างๆของรัฐบาลแต่ละปี โดยจะดำเนินการประมาณการรายรับและรายจ่ายของปีต่อไป

  8. การบริหารงานคลังท้องถิ่นการบริหารงานคลังท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนา การบริหารรายได้ การจัดทำงบประมาณ การบริหารงานพัสดุ การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี การตรวจสอบการคลัง

  9. กรอบและมาตรการ เสริมสร้างวินัยการเงิน การคลังท้องถิ่น

  10. นิยาม วินัยการเงินการคลังของ อปท. หมายถึง กรอบแนวทางสำหรับการบริหารจัดการการเงินการคลังของ อปท. เกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย การคลัง การหารายได้ การใช้จ่ายเงิน การก่อหนี้ เงินสะสม และทรัพย์สิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

  11. กรอบวินัยทางการเงิน การคลัง เป้าหมาย ที่ 3 เป้าหมาย ที่ 2 เป้าหมาย ที่ 4 เป้าหมาย ที่ 1 การบริหารจัดการนโยบายการคลังและระบบงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่น การสนับสนุนความยั่งยืนทางการคลังและเศรษฐกิจ ในระยะยาว การบริหารการเงิน การคลังอย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาดุลรายได้ รายจ่าย

  12. แนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท.ของ กกถ. • ลดช่องว่าง • สร้างความเท่าเทียม • เสริมสร้างความมีประสิทธิภาพทางการคลัง • อปท.สามารถวางแผนทางการเงิน การคลังได้ • จัดบริการสาธารณะได้ตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด • แก้ไขปัญหาส่วนเกินระหว่าง อปท. • ชดเชยความต้องการและความสามารถที่แตกต่างกันระหว่าง อปท. • แก้ไขปัญหาที่เกินความสามารถทางการคลังของ อปท. • สร้างความสมานฉันท์ทางการคลัง ของ อปท. • มอบอำนาจให้ อปท.หารายได้เพิ่ม เพื่อส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลด้านต่างๆที่ดำเนินการใน อปท. • เพื่อเป็นการกระจายความเจริญด้านต่างๆไปทุกพื้นที่

  13. แนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท.ของ กกถ. • สร้าง แรงจูงใจ ให้ อปท.เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินการคลังและมีความรับผิดชอบทางการคลัง • ให้ อปท.จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ • ให้ อปท.จัดทำงบประมาณตามแผนพัฒนาท้องถิ่น และสามารถกำหนดการใช้จ่ายทั้งขนาดและประเภทได้ด้วยตัวเองเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นสำคัญและเป็นการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจทางการคลังแก่ท้องถิ่นอย่างอิสระตามกรอบที่กำหนด • การจัดสรรรายได้ควรกำหนดสูตรการจัดสรรให้ตอบสนองตามแนวทางดังกล่าวได้

  14. แนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. • ให้ อปท.มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด ร้อยละ 35 • ให้ อปท. มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอิสระมากขึ้น • กำหนดให้เงินอุดหนุนทั่วไปมากกว่าเงินอุดหนุนเฉพาะกิจหรือไม่นำเงินอุดหนุนเฉพาะกิจมานับรวมอยู่ในสัดส่วนรายได้ของ อปท.

  15. แนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท.ของ กกถ. • ใช้ภาษีบางประเภทในการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ โดยใช้เกณฑ์ประชากร แบ่งเท่ากัน หรือจัดสรรโดยวิธีผกผันกับรายได้ก่อนรวมเงินอุดหนุนโดยกำหนดรายได้ตามขนาดของ อปท.เล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่ง อปท. ขนาดเล็กบางแห่งอาจมีรายได้มากขึ้นจนอาจเกินกว่าความจำเป็นพื้นฐาน และ อปท.ขนาดใหญ่อาจได้รับรายได้น้อยลงจนมีผลกระทบกับการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานได้ • เกณฑ์ ประชากร ต้องคำนึงถึง อปท.ที่มีประชากรแฝงจำนวนมากต้องแบกรับภาระ

  16. เงินอุดหนุนที่จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ผ่านวาระ 3) เงินอุดหนุน 236,500.00 หน่วย : ล้านบาท กทม. 14,419.83 อบจ. เทศบาล และ อบต. 220,606.75 เมืองพัทยา 1,473.42 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อบจ. เทศบาล และ อบต. 219,519.74 กระทรวงทรัพยากรและธรรมชาติฯ 567.01 สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 520.00 1.ประสิทธิภาพการบริหาร อปท.500.00 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูล 20.00 โครงการแผนปฏิบัติ การสิ่งแวดล้อม 567.01 เงินอุดหนุนทั่วไป 104,444.85 เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 115,074.89 รายการกำหนดวัตถุประสงค์เดิม 5 รายการ 42,809.69 1. บริการสาธารณสุข 934.50 2. อาหารเสริม (นม) 10,722.36 3. อาหารกลางวัน 16,143.57 4. การบริหารสนามกีฬา 111.07 5. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 410.38 6. ส่งเสริมศักยภาพจัดการศึกษา 575.45 7. การจัดการศึกษาเด็กด้อยโอกาส 13.57 8. เงินเดือนครูและค่าจ้าง 13,898.79 ประจำการศึกษา 1. ครุภัณฑ์การศึกษา 265.46 2. ครุภัณฑ์ศูนย์เด็กเล็ก 520.00 3. บำรุงรักษาถนน 1,800.00 4. ก่อสร้างอาคารเรียน 537.37 5. ก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 224.14 6. พัฒนา อปท. กรณีเร่งด่วน 18,506.09 7. การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษ 299.31 8. สนับสนุนถ่ายโอนบุคลากร 1,156.48 9. สถานสงเคราะห์คนชรา 109.68 10. การศึกษาภาคบังคับ (ค่ารักษาพยาบาล) 714.44 11. การศึกษาภาคบังคับ (ค่าเช่าบ้าน) 120.00 12. การศึกษาภาคบังคับ (บำเหน็จ บำนาญ) 2,253.79 13. ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานชายแดนภาคใต้ 333.00 14. สนับสนุนศูนย์เด็กเล็ก 9,709.87 15. ศักยภาพการศึกษา นักเรียนยา 137.39 16. สนับสนุนบริการทางสังคม 3.70 17. สาธารณสุขสถานีอนามัย 78.00 18. โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด 2,642.54 19. การจัดการน้ำสนับสนุนงานฎีกา 200.00 20. การแก้ไขน้ำอุปโภคบริโภค 600.00 21. สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 1,143.90 22. ชดเชยรายได้ จ. ชายแดนภาคใต้ 979.64 23. การศึกษา อปท. จ. ชายแดนภาคใต้ 103.93 24. โครงการสร้างหลักประกันผู้สูงอายุ 54,214.29 25. โครงการคอมพิวเตอร์พกพา 464.88 26. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษา 3,267.92 27. โครงการ อสม. เชิงรุก 7,488.00 28. การสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้พิการ 7,201.07 เงินอุดหนุนตามอำนาจหน้าที่ 61,635.16 ข้อมูล ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2555 หมายเหตุ 1. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปรับลดลงจากวาระ 1 ในรายการข้อ 3 , 18 , 20 และ 24 2. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปรับเพิ่มจากวาระ 1 ในรายการข้อ 6

  17. การจัดสรรรายได้ปี พ.ศ.2556 หน่วย : ล้านบาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อบจ. /เทศบาล / อบต. 219,519.74 กลุ่ม 1 12,495.64 กลุ่ม 3 188,808.84 กลุ่ม 2 18,215.26 เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 1. การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษ 299.31 2. สนับสนุนถ่ายโอนบุคลากร 1,156.48 3. สถานสงเคราะห์คนชรา 109.68 4. ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานชายแดนภาคใต้ 333.00 5. สนับสนุนบริการทางสังคม 3.70 6. สาธารณสุขสถานีอนามัย 78.00 7. สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 1,143.90 8. ชดเชยรายได้ จ. ชายแดนภาคใต้ 979.64 9. โครงการ อสม. เชิงรุก 7,488.00 10. การจัดการน้ำสนับสนุนงานฎีกา 200.00 11. การแก้ไขน้ำอุปโภคบริโภค 600.00 12. การศึกษา อปท. จ. ชายแดนภาคใต้ 103.93 เงินอุดหนุนทั่วไป(104,444.85) 1. เงินอุดหนุนตามอำนาจหน้าที่ 61,635.16 2. บริการสาธารณสุข 934.50 3. อาหารเสริม (นม) 10,722.36 4. อาหารกลางวัน 16,143.50 5. การบริหารสนามกีฬา 111.07 6. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 410.38 7. ส่งเสริมศักยภาพจัดการศึกษา 575.45 8. การจัดการศึกษาเด็กด้อยโอกาส 13.57 9. เงินเดือนครูและค่าจ้าง 13,898.79 ประจำการศึกษา เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ(84,363.99) 1. พัฒนา อปท. กรณีเร่งด่วน 1 8,506.09 2. บำรุงรักษาถนน 1,800.00 3. โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด 2,642.54 4. โครงการสร้างหลักประกันผู้สูงอายุ 54,214.29 5. การสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้ 7,201.07 เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 1. ครุภัณฑ์การศึกษา 265.46 2. ครุภัณฑ์ศูนย์เด็กเล็ก 520.00 3. ก่อสร้างอาคารเรียน 537.37 4. ก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 224.14 5. การศึกษาภาคบังคับ (ค่ารักษาพยาบาล) 714.44 6. การศึกษาภาคบังคับ (ค่าเช่าบ้าน) 120.00 7. การศึกษาภาคบังคับ (บำเหน็จ บำนาญ) 2,253.79 8. สนับสนุนศูนย์เด็กเล็ก 9,709.87 9. ศักยภาพการศึกษา นักเรียนยากจน 137.39 10. โครงการคอมพิวเตอร์พกพา 464.88 11. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษา 3,267.92 ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2555 สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ส่วนการจัดสรรเงินอุดหนุนและพัฒนาระบบงบประมาณ ฝ่ายจัดสรรเงินอุดหนุน โทร./โทรสาร 0-2241-9043, 0-2241-9000 ต่อ 1534

  18. ขั้นตอนการจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน พ.ร.บ. งบประมาณแผ่นดินประกาศใช้ * เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เงินอุดหนุนทั่วไป สถ. ทำแผนการใช้จ่ายเงินส่งให้ สงป. และ กรมบัญชีลาง สถ. โอนจัดสรรเงินไปที่คลังจังหวัดตามระบบ GFMIS และมีหนังสือแจ้งการจัดสรรให้จังหวัดทราบ กกถ. ออกประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรให้ อปท. สถ. โอนจัดสรรเงินอุดหนุนผ่านระบบ e-lass จังหวัดแจ้ง อปท. ดำเนินการตามรายการที่จัดสรร สถ. ได้รับอนุมัติเงวด อปท. ใช้จ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ อปท. ขอเบิกจ่ายเงินจากคลังจังหวัด โดยผ่าน สถจ.เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระหรือใกล้ถึงกำหนดชำระ

  19. ข้อควรระวัง ต้องตรวจสอบก่อน • สถ.ไม่มีการแจ้งการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจโดยตรงถึง ผู้บริหารท้องถิ่น (ถ้ามีของปลอม) • สถ.ต้องแจ้งการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจผ่าน จังหวัดเท่านั้น เพื่อให้จังหวัดแจ้ง อปท. - จังหวัด เมื่อได้รับใบจัดสรรควรตรวจสอบเงินในระบบGFMIS - อปท. จะดำเนินการตามโครงการที่ได้รับจัดสรร ต้องได้รับแจ้งการจัดสรรและแนวทางจากจังหวัดก่อน

  20. ข้อมูลงบประมาณเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่ อปท.ปี พ.ศ. 2556ณ วันที่ 9พ.ค.2556หน่วย : ล้านบาท

  21. รายละเอียดเงินอุดหนุนทั่วไป ปี 2556

  22. รายละเอียดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปี 2556

  23. รายละเอียดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปี 2556

  24. ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 • สาระสำคัญ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ของมติ ครม. การกำหนดมาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินปี พ.ศ.2556 มุ่งเน้นให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และสามารถนำ นโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิผล อย่างแท้จริงอันจะส่งผลให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายและส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ

  25. มาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้เงินมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้เงิน งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 1. เป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ กำหนดดังนี้ • - รายจ่ายลงทุน< ร้อยละ 80.00 ของวงเงิน • งบประมาณรายจ่ายลงทุนแต่ละหน่วยงาน • - ในภาพรวม <ร้อยละ 94.00ของวงเงินงบประมาณ • รายจ่าย • - แยก เป็นรายไตรมาส ดังนี้

  26. 3. ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดก่อหนี้ผูกพัน รายจ่ายงบลงทุนให้แล้วเสร็จภายใน เดือน มีนาคม 2556 หากดำเนินการไม่ทัน ให้ชี้แจง เหตุผล ความจำเป็นในการ ขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐ 4. ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 กระทรวงการคลังมีนโยบาย ไม่ให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน สำหรับเงินงบประมาณปี พ.ศ.2555 และเงินงบประมาณ ก่อนปี 2555 ที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินให้ เร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2556 เพราะกระทรวงการคลังมีนโยบายไม่ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน ให้ต่อไป

  27. 5. กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินตามพระราชกำหนดให้ กค. กู้เงินเพื่อว่าง ระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศไทย พ.ศ.2555ให้ได้ 100.00%ในปี 2556 6. ให้นำผลการเบิกจ่ายเงินตามเป้าหมายที่ ครม.กำหนด เป็นตัวชี้วัดในคำ รับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ.2556 7เมื่อส่วนราชการและจังหวัดได้ทำแผนการใช้จ่ายเงินและนำแผนไปปฏิบัติ แล้ว จะต้องมีการติดตามประเมินผล เพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน หากไม่เป็นไปตามแผนให้ปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในระบบ GFMISโดยให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15พ.ย. 2555 – 30 มิ.ย 2556

  28. 8. ให้ส่วนราชการเร่งดำเนินการโอนงบประมาณไปให้ภูมิภาคตามแผนปฏิบัติ งานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนด แต่อย่างช้าไม่เกิน 15วัน นับจากได้รับการจัดสรร 9. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับการจัดสรร งบประมาณ ต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GPระยะที่ 2 เพื่อให้ข้อมูลเชื่อมโยงไปยังระบบ GFMIS web Onlionโดยเคร่งครัด 10.การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2556 - ตามอำนาจ หน.ส่วนราชการให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน เดือน เมษายน 2556 - กรณีที่ต้องทำความตกลงกับ สงป. ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในเดือน กรกฎาคม 2556

  29. 11. การเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงิน - ให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด กำกับ หน.ส่วนราชการ และ ผวจ.ติดตามและกำกับดูแลให้หน่วยงานในสังกัดให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินโดยเคร่งครัด - ให้ ผวจ.มอบหมายคลังจังหวัดทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณในพื้นที่จังหวัด โดยให้ สงป.รวบรวมข้อมูลตามมิติส่วนราชการ (Function) และมิติพื้นที่ (Area) เพื่อเป็นข้อมูลในการเร่งรัดการโอนเงินงบประมาณที่ต้องดำเนินการในพื้นที่จังหวัด - ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน ในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งรายงานปัญหาอุปสรรคที่ไม่เป็นไปตามแผน หรือปรับแผน ต่อคณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐอย่างช้าก่อนสิ้นไตรมาส

  30. - ให้คณะทำงานติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรมบัญชีกลาง ลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามหน่วยงานที่ดำเนินงานล่าช้า แล้วรายงาน คณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐ 12.ให้กรมบัญชีกลางร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ให้ ครม.ทราบเป็นรายไตรมาส 13.ให้ มท. โดย สถ. รายงานผลการใช้จ่ายเงินและปัญหาอุปสรรคของ อปท.พร้อมทั้งแนวทางแก้ปัญหาอุปสรรค ให้คณะติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐเป็นรายไตรมาส 14.ให้ สงป.นำผลการเบิกจ่ายงบประมาณเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในปีต่อไป

  31. ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2556 • เรื่อง มาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ.2556เพิ่มเติม • กำหนดมาตรการเพิ่มเติม 2ข้อ ดังนี้ • ขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันรายจ่ายงบลงทุน ออกไปถึง วันที่ 15 พ.ค.2556 • ขยายระยะเวลาการโอนเปลี่ยนแปลง ดังนี้ • อำนาจ หน.ส่วนราชการ ขยายเวลาออกไปถึง 15มิ.ย.2556 • อำนาจ สงป.ขยายเวลาออกไปถึง เดือน ก.ค. 2556และเบิกจ่ายภายในเดือน ก.ย.2556

  32. สรุปแนวทางการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลสรุปแนวทางการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล • รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐ • เพื่อติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ • มีการประชุมติดตามส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณทุกเดือน • ให้ส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดติดตาม • และให้ ผวจ.แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการในจังหวัด

  33. ***สรุปหน้าที่ของ สถ.ในการติดตามการใช้เงินงบประมาณของ อปท.ตามนโยบายรัฐบาล • ให้ สถ.รายงานให้คณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายเงินภาครัฐทราบดังนี้ • รายงานผลการใช้จ่ายเงินของ อปท. • ปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ของ อปท. • แนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค

  34. ***การติดตามการใช้จ่ายเงินของ สถ. • สถ.ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของ อปท. • มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัด • มีการประชุมคณะกรรมการและหน่วยงานใน สถ.ที่รับผิดชอบงบเงินอุดหนุนให้ อปท. • ให้หน่วยตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจราชการ สถ.ออกไปตรวจติดตาม • มีการให้จังหวัด อปท.รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ • เป็นรายเดือน • เป็นรายไตรมาส • จัดประชุม อบรมสัมมนา จังหวัด อปท. ในการเร่งรัดการใช้จ่ายเงิน

  35. ปัญหาของการดำเนินงานจากเงินอุดหนุนปัญหาของการดำเนินงานจากเงินอุดหนุน • อปท.ไม่รู้ล่วงหน้าว่าแต่ละปีจะได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายการอะไรเท่าไหร่ • การจัดสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาลล่าช้า • เสียเวลาในการขออนุมัติผู้มีอำนาจ • อปท.ไม่มีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าในการดำเนินการตามโครงการเมื่อได้รับจัดสรร เช่น สถานที่ดำเนินการ แบบแปลน การทำประชาคม เป็นต้น • ขั้นตอนการหาผู้รับจ้างต้องใช้เวลา • ปัญหาของผู้รับจ้าง • ฯลฯ

  36. ส่วนที่จัดสรรและเบิกจ่ายให้ อปท.แล้ว • อปท.ได้เร่งรัดเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วหรือยัง • โดยเฉพาะเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ อปท. • สำหรับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ อปท. • ได้มีกระบวนการเร่งรัดการก่อหนี้ผูกพัน • เร่งรัดการดำเนินงานตามโครงการ • เร่งรัดการเบิกจ่าย • และหากเกิดปัญหาอุปสรรค อปท.ได้มีการกำหนดแนวทางแก้ไข หรือมีการเตรียมพร้อมเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

  37. เกิดปัญหาในการบริหารงบเงินอุดหนุนไม่ทันของ อปท.ภายในปีงบประมาณที่ได้รับจัดสรร • ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการล่าช้า • โครงการไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้ทันการ • รัฐบาลไม่สามารถใช้งบประมาณไปกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามนโยบาย • อปท.ต้องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี (เพิ่มกระบวนการในการทำงาน) • หากไม่ได้รับอนุมัติให้กันเงินฯ งบประมาณพับไป (เสียโอกาส)

  38. การรายงานการใช้จ่ายเงินอุดหนุนการรายงานการใช้จ่ายเงินอุดหนุน • จังหวัด รายงานเงินอุดหนุนเฉพาะกิจผ่านระบบ • GFMIS ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ • electronic form ของ สถ. • อปท. รายงานเงินอุดหนุนทั่วไปผ่านระบบ • e-laasระบบบันทึกบัญชีของ อปท. • e-plan ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนและประเมินผลของ อปท. • อปท.รายงานเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ • e-plan ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนและประเมินผลของ อปท.

  39. การบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ กฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการ ที่เกี่ยวข้อง • พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 • ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่ง คลัง พ.ศ.2551 • ระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม

  40. พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • มาตรา 19 รายจ่ายที่กำหนดไว้ในรายการใด สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย หรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 18 (2) จะโอนหรือนำไปใช้ในรายการอื่นมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการ แต่ผู้อำนวยการจะอนุญาตมิได้ในกรณีที่เป็นผลให้เพิ่มรายจ่ายประเภทเงินราชการลับ หรือเป็นงาน หรือโครงการใหม่ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ฯลฯ

  41. พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • มาตรา 23 ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ฯลฯ

  42. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 • ข้อ 18 ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีความจำ เป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการในการจัดหาครุภัณฑ์ ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างในงบลงทุน งบเงินอุดหนุนหรืองบรายจ่ายอื่นแล้วแต่กรณีที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วโดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่าย และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญของรายการที่ได้รับจัดสรร ให้กระทำ ได้โดยไม่ต้องทำ ความตกลงกับสำ นักงบประมาณ ฯลฯ

  43. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 • ข้อ 23 ในกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีความจำ เป็นต้องโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ให้ดำ เนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำ เนินการ เพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ พัฒนาบุคลากร พัฒนาเทคโนโลยี หรือสนับสนุน การบริหารงานตามแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งจะต้องแสดงเหตุผลความจำ เป็นหรือความเหมาะสมได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน ความประหยัด ความคุ้มค่า ความโปร่งใสรวมทั้งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการกระทรวง และเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติด้วย การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ทำ ให้เป้าหมายผลผลิตหรือโครงการตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือ แผนงบประมาณในเชิง บูรณาการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลงในสาระสำคัญ และต้องไม่ทำ ให้ ค่าสาธารณูปโภคค้างชำ ระเมื่อสิ้นปีงบประมาณ

  44. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 • ข้อ 24 หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมี อำนาจโอน และหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในงบรายจ่ายใดๆ ภายใต้แผนงานเดียวกัน ยกเว้นงบบุคลากร เพื่อจัดทำ ผลผลิตหรือโครงการตามเป้าหมายที่ระบุในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือเพื่อเพิ่มเติมเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการเดิมดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการกระทรวง หรือเป้าหมายตามแผนงบประมาณในเชิง บูรณาการ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการกำหนดอัตราบุคลากรตั้งใหม่ รายการจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะ รายการค่าที่ดิน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่เป็นการโอนเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างจะต้องมีวงเงินต่อหน่วย ตํ่ากว่าหนึ่งล้านบาท และ ตํ่ากว่าสิบล้านบาทตามลำ ดับ สำนักงบประมาณอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อกำหนดขอบเขตหรือข้อจำ กัด การโอนและหรือการเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ ตามความจำ เป็น

  45. ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ • ข้อ 25 หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงราย การงบประมาณรายจ่ายภายใต้แผนงานเดียวกันที่เหลือจ่ายจากการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการ ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือจาก การจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ไปใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ได้ แต่มิให้นำไปใช้จ่ายเป็นรายการอัตราบุคลากรตั้งใหม่ รายการค่าที่ดิน หรือรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ มิให้นำไปใช้จ่าย หรือสมทบจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว ในกรณีที่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำ ระ หรือค่าใช้จ่ายที่จำ เป็นต้องจ่ายตามข้อผูกพันสัญญาค้างชำ ระ ให้โอนไปชำระเป็นลำดับแรกก่อนตามลำดับ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง เพื่อจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง จะต้องมีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทและต่ำกว่างสิบล้านบาทตามลำดับ และการโอนหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นค่าจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะต้องเป็นการจัดหาเฉพาะเพื่อทดแทนครุภัณฑ์ยานพาหนะเดิม สำนักงบประมาณอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อกำหนดขอบเขตหรือข้อ จำ กัดการใช้งบประมาณเหลือจ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ตามความจำ เป็น

  46. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 • ข้อ 26 ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้รับการจัดสรรงบประมาณสำ หรับรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณในงบรายจ่ายของผลผลิตหรือโครงการใด แต่ไม่อาจจัดหาได้ด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายในงบรายจ่ายต่างๆ ภายใต้แผนงานเดียวกันหรือนำ เงินนอกงบประมาณไปเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างนั้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ กรณีรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่อาจจัดหาได้นั้น เป็นรายการที่ได้รับการจัดสรรงบ ประมาณโดยมีเงินนอกงบประมาณสมทบอยู่แล้ว ให้ใช้เงินนอกงบประมาณไปเพิ่มได้ไม่เกิน ร้อย ละสิบของวงเงินรายการนั้น แต่หากเงินนอกงบประมาณมีไม่เพียงพอและจะใช้เงินงบประมาณราย จ่ายไปเพิ่ม ให้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินในส่วนที่เป็นงบประมาณรายจ่ายรายการนั้น รายการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า รายการที่ระบุไว้ในการจัดสรรงบ ประมาณ เว้นแต่ในกรณีที่ได้รวมรายการครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างหลายหน่วยไว้ในรายการเดียวกัน ให้ถือว่าครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างหนึ่งหน่วยเป็นหนึ่งรายการ และคำ ว่า “หน่วย” หมายความว่า หน่วยที่สามารถนับได้

  47. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 • ข้อ 27 การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ทำ ความตกลงกับสำนักงบประมาณ • ข้อ 28 เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบสั่งโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามระเบียบนี้แล้ว ให้จัดทำและส่งรายงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐโดยไม่ชักช้าตามแบบรายงานที่สำนักงบประมาณกำหนด แต่อย่างช้าต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่โอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย

  48. การมอบอำนาจให้ ผวจ.เปลี่ยนแปลงงบประมาณ • กรณีการมอบอำนาจให้ ผวจ.เปลี่ยนแปลงงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ • เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ได้รับจัดสรร • การใช้เงินเหลือจ่ายจากงบประมาณที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แล้ว • ดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

  49. การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงการการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงการ • กรณีอำนาจ สถ. หรือ สงป. • อปท.ต้องส่งเรื่องขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง ผ่านจังหวัดถึง สถ. • กรณีเป็นอำนาจของ สถ. พิจารณา อนุมัติ/ไม่อนุมัติ แจ้งจังหวัดให้แจ้ง อปท. • กรณีนอกเหนืออำนาจ สถ.ต้องส่งเรื่องผ่าน สถ.เพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. • เมื่อ สงป.พิจารณา อนุมัติ/ไม่อนุมัติ แจ้ง สถ. • สถ.แจ้งจังหวัดให้แก้ อปท.ดำเนินการต่อไป

More Related