1 / 33

บทเรียนที่ 1

บทเรียนที่ 1. ลักษณะของระบบบัญชี - ความหมายและความสำคัญของระบบบัญชี - ลักษณะสำคัญและส่วนประกอบของระบบบัญชี - ประเภทของงานวางรูปแบบระบบบัญชีและผู้ วางรูปแบบระบบบัญชี - ลำดับขั้นของงานวางระบบบัญชี. ระบบบัญชี คือ อะไร. accounting system. ความหมายของระบบบัญชี.

shani
Download Presentation

บทเรียนที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนที่ 1 ลักษณะของระบบบัญชี - ความหมายและความสำคัญของระบบบัญชี - ลักษณะสำคัญและส่วนประกอบของระบบบัญชี - ประเภทของงานวางรูปแบบระบบบัญชีและผู้ วางรูปแบบระบบบัญชี - ลำดับขั้นของงานวางระบบบัญชี

  2. ระบบบัญชี คือ อะไร accounting system

  3. ความหมายของระบบบัญชี ระบบการจัดเก็บข้อมูล อันประกอบด้วย แบบฟอร์มเอกสารหรือเอกสารต่าง ๆบันทึกทางการบัญชีรายงานตลอดจนวิธีการและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้ ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานและการเงินของกิจการ เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถปฏิบัติหน้าที่อันอยู่ในความรับผิดชอบให้ลุล่วงไปด้วยดีและนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

  4. ความสำคัญของระบบบัญชีความสำคัญของระบบบัญชี ในภาวะปัจจุบันระบบบัญชีมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ มีการแบ่งส่วนงานหลายส่วน และมีพนักงานเป็นจำนวนมาก การมีระบบบัญชีที่เหมาะสมจะทำให้การมอบหมายงานและควบคุมงานกระทำได้ง่าย เพราะระบบบัญชีรายงานผลงานแต่ละส่วนให้ถูกต้อง ช่วยให้ธุรกิจสามารถรายงานผลการดำเนินงานโดยส่วนรวมทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร และบุคคลภายนอกได้ถูกต้องทันเวลา ช่วยป้องกันและรักษาทรัพย์สินของกิจการไม่ให้สูญหาย หรือนำไปใช้ในทางที่ไม่สมควร การมีระบบบัญชีที่ดีจึงเป็นเป็นระบบที่มีการควบคุมภายในที่ดีด้วย

  5. “ระบบบัญชีที่ดี จะนำข้อมูลทางบัญชีจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมายังแผนกบัญชี”

  6. ตัวอย่าง กระบวนการซื้อสินค้า Supplier Supplier หน้าร้าน ฝ่ายจัดซื้อ จัดทำใบขอซื้อ(PR) จัดทำใบสั่งซื้อ (PO)หัวหน้าทำการอนุมัติ จัดเตรียมสินค้าและออก Invoice ทำการจัดส่งสินค้า + บัญชี คลังสินค้า ได้รับเอกสารการซื้อ และบันทึกบัญชีซื้อ ตรวจนับสินค้า และบันทึกรับสินค้า

  7. จัดหยิบสินค้าตามใบหยิบสินค้าจัดหยิบสินค้าตามใบหยิบสินค้า ยืนยันปริมาณการหยิบสินค้า เพื่อนำข้อมูลไปสร้างใบแจ้งหนี้ โดยอัตโนมัติ บันทึกใบรับคำสั่งซื้อ(SO) ดึงใบรับคำสั่งซื้อที่ผ่านการ อนุมัติขึ้นมาทำการจัดหยิบสินค้า Request ตัวอย่าง กระบวนการขายสินค้า ลูกค้า ฝ่ายขาย ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายคลังสินค้า ทำการตรวจสอบวงเงินสินเชื่อ เพื่ออนุมัติใบรับคำสั่งซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า หน่วยงานบัญชี ฝ่ายคลังสินค้า บันทึกข้อมูลใบแจ้งหนี้(Direct) เพิ่มหนี้ และลดหนี้ขาย(DN/CN)

  8. ตรวจสอบใบขอเบิกจ่าย แล้ว ทำการอนุมัติ พิมพ์เช็ค Request ตัวอย่าง กระบวนการจ่ายเงิน ฝ่ายบัญชี หน่วยงาน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน หน่วนงานต่างๆบันทึก ใบขอเบิกจ่าย บันทึกใบสำคัญจ่าย บัญชี ฝ่ายการเงิน ได้รับเอกสารการจ่ายเงิน และบันทึกบัญชี ตัดจ่ายเช็คเมื่อ เจ้าหนีมารับเช็ค

  9. 1.1.2 ส่วนประกอบของระบบบัญชี 1 2 3 4 5

  10. 1.เอกสารทางบัญชี • แบบฟอร์ม แบบพิมพ์ ที่ใช้งานประจำวันของกิจการและใช้เป็นหลักฐานในการลงบัญชี เช่น • เอกสารการขาย : ใบกำกับสินค้า บิลขายสด • เอกสารการซื้อ : ใบส่งของ • เอกสารการจ่ายเงิน : ใบสำคัญจ่าย ใบเสร็จรับเงิน • เอกสารการรับเงิน : ใบเสร็จรับเงิน • เอกสารการโอนเงิน : สำเนาใบโอนเงิน • เอกสารการปรับปรุงรายการ : ใบสำคัญทั่วไป • เอกสารสัญญา : สัญญาเช่า สัญญาเงินกู้

  11. 2.สมุดบัญชีและบัญชีแยกประเภท2.สมุดบัญชีและบัญชีแยกประเภท

  12. สมุดบัญชีและบัญชีแยกประเภท (ต่อ)

  13. การสรุปผลและรายงาน • รายงานงบการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด • รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน • รายงานยอดขายประจำเดือน ประจำไตรมาส ประจำปี • รายงานค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบงบประมาณค่าใช้จ่าย • รายงานต้นทุนการผลิต • รายงานลูกหนี้คงค้าง • รายงานสินค้าคงเหลือ • รายงานสินทรัพย์ถาวร

  14. วิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดให้บุคคลที่กำหนดให้ปฏิบัติงานในระบบ • บุคคลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด • เป็นบุคลากรในองค์กรที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางการค้าทุกกระบวนการ เช่น พนักงานแต่ละแผนก • เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี เช่น สมุห์บัญชี • เป็นผู้บริหารที่มีอำนาจสั่งการ เช่น กรรมการบริษัท ผู้จัดการ • ดังนั้นการคัดเลือกพนักงานเพื่อปฏิบัติงาน ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับระบบที่วางไว้ เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  15. เครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน • เครื่องคำนวณ เครื่องคิดเลข • เครื่องคอมพิวเตอร์ • เครื่องบันทึกเงินสด (Cash register machine) • โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป • เครื่องสแกนบาร์โค๊ต • เครื่องถ่ายเอกสาร • เครื่องพิมพ์เอกสาร (printer)

  16. ประเภทของงานวางระบบบัญชีประเภทของงานวางระบบบัญชี • การวางระบบบัญชี คือ การจัดให้มีระบบบัญชีในองค์กร ซึ่งอาจเป็นการวางระบบบัญชีการเงิน หรือบัญชีบริหารซึ่งครอบคลุมไปถึงระบบบัญชีต้นทุนด้วย แล้วแต่ลักษณะของธุรกิจ

  17. ประเภทของงานวางระบบบัญชีประเภทของงานวางระบบบัญชี • งานวางระบบแบ่งตามลักษณะของการให้บริการ • วางระบบบัญชีใหม่ • วางระบบบัญชีในกิจการที่ตั้งขึ้นใหม่ • วางระบบบัญชีใหม่ ในกิจการที่ตั้งขึ้นมานานแล้ว • วางระบบบัญชีเพื่อขยายให้ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ (วางเฉพาะส่วนงานใหม่) เช่น การวางระบบเฉพาะสาขาที่เปิดใหม่ • วางระบบบัญชีเพื่อปรับปรุงบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเฉพาะส่วน (วางเฉพาะส่วนที่ควรปรับปรุง) เช่น วางระบบเฉพาะแผนกขาย เนื่องจากมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานหน้าร้าน

  18. ประเภทของผู้วางระบบบัญชีประเภทของผู้วางระบบบัญชี • สำนักงานบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี • หน่วยงานภายในธุรกิจ คือ แผนกบัญชี แผนกตรวจสอบภายใน • นักบัญชี • บริษัทจำหน่ายโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี

  19. สำนักงานบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี • สำนักงานบัญชีหรือผู้สอบบัญชีมีประสบการณ์อย่างกว้างขวาง • มีความเป็นกลางในการวางระบบ • มีความชำนาญในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทโดยเฉพาะ หน่วยงานในธุรกิจ • รู้จุดอ่อนและข้อบกพร่องของกิจการเป็นอย่างดี • ทราบว่ากิจการมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ได้เพียงใดด้วย

  20. บริษัทจำหน่ายโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี • สามารถช่วยวางระบบได้บางด้าน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ได้นำมาจำหน่าย • แต่การให้วางระบบทั้งหน่วยงานอาจไม่เหมาะสม

  21. ประเภทของผู้วางระบบบัญชีประเภทของผู้วางระบบบัญชี • เป็นผู้เชี่ยวชาญทางบัญชี และ มีประสบการณ์ด้านการวางรูประบบบัญชี ในธุรกิจหลากหลายประเภท • ความรู้วิชาการ • ความรู้ด้านบัญชี • ด้านการบริหารธุรกิจ รูปแบบธุรกิจ • ด้านกฎหมาย • ด้านเครื่องมือช่วยต่าง ๆ

  22. ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการวางระบบความรู้ที่จำเป็นสำหรับการวางระบบ • ระบบงานประจำสำนักงาน • การจัดสายงานของแผนกบัญชีในกิจการใหญ่และเล็ก • หลักการและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบ เพื่อที่จะทำให้รายการที่บันทึกพร้อมตรวจสอบได้ทันที มีวิธีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน

  23. ประเภทของผู้วางระบบบัญชีประเภทของผู้วางระบบบัญชี • ความสามารถส่วนตัว • การประยุกต์หลักทฤษฎีให้สอดคล้องกับการปฏิบัติ • การค้นหาข้อเท็จจริง การแก้ไขปัญหา • การถ่ายทอดความรู้ แนะนำให้ผู้อื่นเข้าใจง่าย • การจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตาม สำหรับการวางระบบกิจการขนาดใหญ่ อาจต้องใช้ทีมงานผู้วางระบบที่มี ความชำนาญหลายด้านมาร่วมมือกัน ระบบจึงจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  24. ลำดับขั้นตอนในการวางรูปแบบระบบบัญชีลำดับขั้นตอนในการวางรูปแบบระบบบัญชี การวางรูปแบบระบบบัญชีใหม่ มีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. การสำรวจและวิเคราะห์องค์กร 2. การร่างและออกแบบระบบบัญชีใหม่ 3. การนำระบบบัญชีใหม่ออกปฏิบัติ 4. การติดตามผล

  25. การสำรวจขั้นต้น - สำรวจข้อมูลขั้นต้นแล้ว เพื่อทำให้ทราบถึงความต้องการของฝ่ายบริหาร - นำเสนอโครงการวางรูประบบเป็นรายงานการวิเคราะห์แนวทางในการออกแบบระบบบัญชี เพื่อให้ลูกค้าตัดสินในตกลงให้มีการวางรูประบบบัญชี ข้อมูลที่นำเสนอมีดังนี้ 1. วัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน 2. กำหนดระยะเวลา 3. อัตราค่าตอบแทน 4. ความร่วมมือที่จำเป็นจากพนักงาน เมื่อลูกค้าตกลงตามข้อเสนอลงนามในข้อตกลงเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐานก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติงาน

  26. 1) การสำรวจเพื่อศึกษาลักษณะของกิจการ การสำรวจและวิเคราะห์องค์กรโดยละเอียด โดยมีการจัดบันทึก สร้างแผนผัง กระดาษทำการต่าง ต่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ระบบการทำงานต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ 1. รูปแบบธุรกิจ : เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท 2. ผังการจัดสายงาน : ผังโครงสร้างองค์กร 3. รายการทางธุรกิจ : ลักษณะธุรกิจ - ซื้อมาขายไป - ธุรกิจผลิต - ประเภทรายได้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่

  27. 3. รายการค้าของธุรกิจ เพื่อศึกษาปริมาณรายการค้าที่เกิดขึ้น และรายละเอียดของรายการค้า - ผลิตภัณฑ์ของกิจการ: ชื่อสินค้า รูปแบบ ชนิด ขนาด หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย ประเภทผลิตภัณฑ์ แนวโน้มผลิตภัณฑ์ ตรายี่ห้อ - นโยบายของกิจการ - กระบวนการผลิต: ที่ตั้งโรงงาน จำนวนแผนก ขั้นตอนผลิต เครื่องจักรในการผลิต แผนผังโรงงาน ชนิดของต้นทุนและวัตถุดิบ - วงเงินที่ใช้ในการลงทุน : มีการใช้ทุนเจ้าของหรือการกู้ยืมภายนอก - ระบบการควบคุมภายใน: สินค้าคงเหลือ พัสดุ รายจ่าย รายได้ ค่าแรงงาน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ต้นทุน งบประมาณ งานฝ่ายบัญชีอื่น ๆ 1) การสำรวจและวิเคราะห์องค์กร

  28. 1) การสำรวจและวิเคราะห์องค์กร 5. เอกสารทางบัญชี สมุดบัญชี ผังบัญชี และรายงานต่าง ๆ การสำรวจถึงเอกสารที่ได้จัดทำเพื่อการบันทึกบัญชีและรายงานการเงินต่าง ๆ ในขณะนี้ว่ามีความเพียงพอ สอดคล้องกับกฎหมาย และตรงตามความต้องการของกิจการหรือไม่ ตลอดจนเครื่องมือและเครื่องใช้ในระบบบัญชีตลอดจน ระบบการควบคุมภายในของกิจการ

  29. 2) การร่างระบบบัญชีใหม่ วิธีการวางรูประบบบัญชีใหม่ 1. การกำหนดเอกสารทางบัญชีและแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลในกิจการ ซึ่งต้องครอบคลุมกิจกรรมทุกด้าน 2. การกำหนดสมุดบัญชี 3. การกำหนดรายงานซึ่งต้องนำเสนอฝ่ายบริหารและบุคคลภายนอก 4. การกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน 5. การกำหนดเครื่องมือทางบัญชี 6. กำหนดพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามระบบบัญชี

  30. 3) การนำรูประบบบัญชีออกมาใช้ นำระบบบัญชีที่ออกแบบเรียบร้อยแล้ว เสนอต่อผู้บริหารอนุมัติให้นำมาใช้จริง เตรียมความพร้อมของเอกสาร เครื่องมือ และบุคลากร ดังนี้ จัดเตรียมสมุดบัญชีและเอกสารไว้ให้พร้อม จัดหาเครื่องมือทางการบัญชีให้เพียงพอ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ พร้อมบทลงโทษ เพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามระบบบัญชีอย่างเคร่งครัด อบรมพนักงานเพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชีใหม่และสามารถปฏิบัติงานได้ทันที

  31. 4) การติดตามผลและวางรูประบบบัญชี การติดตามผลและการวางรูประบบบัญชี เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่กิจการได้มีการนำระบบบัญชีใหม่ไปปฏิบัติได้สักระยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหลังจากนั้นประมาณ 1 – 3 เดือน วิธีการติดตามผล ติดตามผลการใช้เอกสารการบัญชีและสมุดบัญชีและรายงานต่าง ๆ การวิเคราะห์ต้นทุนของระบบ ประเมินผลการยอมรับของผู้ใช้งาน ประเมินผลการควบคุมภายใน ติดตามดูผลจากการนำระบบออกปฏิบัติ ประเมินผลรวมและให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข

  32. งานชิ้นที่ 1Big Job (10 คะแนน) • ศึกษาระบบบัญชีของธุรกิจที่นักศึกษาสนใจ โดยศึกษาองค์ประกอบของระบบบัญชีทั้ง 5 องค์ประกอบอย่างละเอียด • นำเสนอข้อมูลพร้อมตัวอย่างประกอบ จัดทำเป็นรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน • ธุรกิจที่นักศึกษาเลือกต้องเป็นประเภทธุรกิจที่ไม่ซ้ำกัน ไม่เป็นธุรกิจสาขา ส่วนราชการ ธุรกิจเจ้าของคนเดียว (ส่งรายชื่อให้อาจารย์อนุมัติก่อน) • ประเภทธุรกิจ : ซื้อมา-ขายไป , รับเหมาก่อสร้าง , ผลิต , บริการโรงแรม, บริการรับจ้างทำของ , ส่งออก , อื่น ๆ

More Related