160 likes | 334 Views
การดำเนินงานระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล. นพ.พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ กลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จ.ราชบุรี. วัตถุประสงค์. เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทย ได้ทันเวลา
E N D
การดำเนินงานระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาลการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล นพ.พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ กลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จ.ราชบุรี
วัตถุประสงค์ • เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทย ได้ทันเวลา • เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังฯ ของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาในพื้นที่ • เพื่อรองรับการส่งข้อมูลผ่านเวปไซด์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นข้อความเตือนเพื่อการตอบสนองในระดับต่างๆ • ข้อมูลที่รายงานประกอบด้วยจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่รับบริการในหน่วยบริการสาธารณสุข ผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลรายงานขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลรายงาน • รวบรวมข้อมูลจำนวนครั้งผู้ป่วยนอก ที่ป่วยด้วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ แต่ละวันจากฐานข้อมูลของแต่ละสถานพยาบาล • นิยามผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หมายถึง • ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ได้แก่ ไข้ (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นทางเดินหายใจช่วงบนอักเสบ (Acute respiratory tract infection) เช่น หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ (ICD-10 J00 (J00.00– J00.99), J02.9, J06.9) • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (ICD-10 J09 (J09.00 – J09.99), J10 (J10.00 – J10.99), J11 (J11.00 – J11.99)) • นิยามจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่รับบริการในหน่วยบริการสาธารณสุข หมายถึง จำนวนครั้งของผู้ป่วยที่รับบริการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก จากทุกกลุ่มงานในสถานพยาบาล ยกเว้น ผู้ใช้บริการในส่วนแพทย์แผนไทย และผู้ใช้บริการในสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับการตรวจรักษา • การรวบรวมข้อมูลโดยดึงข้อมูลจาก ICD-10 code แต่ละ code และส่งข้อมูลจำนวนครั้งทั้งหมดที่รวบรวมได้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบการมารับบริการซ้ำของผู้ป่วยแต่ละราย
การส่งข้อมูล • ทุกสถานพยาบาลแต่ละจังหวัดสามารถส่งข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายวัน โดยสามารถส่งข้อมูลได้ทุกวัน หรือส่งข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายวันสัปดาห์ละครั้ง (เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ ถึงวันเสาร์) และส่งข้อมูลภายในวันจันทร์ถัดไป โดยให้เลือกส่งข้อมูลเพียงช่องทางเดียวจาก • ส่งข้อมูลทาง Website สำนักระบาดวิทยา ซึ่งเชื่อมต่อไปยัง http://164.115.5.58/ili • ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเบอร์โทรศัพท์ที่กำหนดให้ (ทุกสถานพยาบาลจะได้รับแจก 1 SIM card) เพื่อพิมพ์ข้อความตามรหัสที่กำหนด และส่งไปที่ 1677โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ • แต่ละหน่วยบริการสาธารณสุขสามารถส่งข้อมูลผู้ป่วย ILI ได้เพียงช่องทางเดียวในแต่ละครั้ง สามารถส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่สลับกับส่งข้อมูลผ่านทาง website ได้
ตัวอย่างการกรอกข้อมูลผ่านเวปไซด์ตัวอย่างการกรอกข้อมูลผ่านเวปไซด์ สัปดาห์ที่ …1…. พ.ศ. 2553
ขั้นตอนการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นตอนการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ • แต่ละสถานพยาบาลจะได้รับการสมัครลงทะเบียนสมาชิก จาก SIM card ในเครือข่าย DTACที่มอบให้เพื่อส่งข้อความ ซึ่งแต่ละ SIM card จะถูกกำหนดให้ตรงกับ Hcodeของแต่ละสถานพยาบาลแล้ว • รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยนอกเช่นเดียวกับการส่งข้อมูลผ่านหน้าเวปไซด์ • เปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่และ ไปที่เมนู “ข้อความ” และพิมพ์ข้อความตามรหัส ประกอบด้วย 6 กลุ่มตัวเลข ดังนี้ • รหัสหน่วยบริการ (Hospital code) ตัวเลข 8 หลัก • วันที่ของข้อมูลที่เก็บรวบรวม เป็นตัวเลข 4 หลัก ได้แก่ วันวันเดือนเดือน • จำนวนครั้งผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่ / จำนวนครั้งผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่รับบริการในสถานพยาบาลในวันนั้นๆ • กรณีไม่มีผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ให้ใส่เลข “ 0 ”
ขั้นตอนการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นตอนการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ • ตัวอย่าง16010620 0301 12/235 • “16010620” หมายถึง จังหวัดลพบุรี-รพ.ลพบุรี • “0301” หมายถึง วันอาทิตย์ที่ 3 ม.ค. 2553 • “12/235” หมายถึง จำนวนครั้งผู้ป่วย ILI 12 ครั้ง จากจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกทั้งหมด 235 ครั้ง
ขั้นตอนการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นตอนการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ • ส่งข้อความไปที่ 1677 ข้อมูลจะถูกส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล กรณีที่หน่วยบริการสาธารณสุขส่งข้อมูล สัปดาห์ละครั้งสามารถส่งข้อความในวันเดียวได้มากกว่า 1 ข้อความ • ถ้าข้อความที่ส่งมีข้อผิดพลาด เช่น จำนวนครั้งผู้ป่วยที่วินิจฉัยไข้หวัดใหญ่รวมกับผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีจำนวนมากกว่าจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกทั้งหมด ระบบจะส่งข้อความกลับว่าข้อความที่ได้รับไม่ถูกต้อง ให้ส่งข้อความใหม่อีกครั้งสำหรับข้อมูลชุดดังกล่าว
การเข้าดูข้อมูล และผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเวปไซด์ ระบบข้อมูลจะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ • กราฟแสดงจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่-ไข้หวัดใหญ่ ตามวันที่รวบรวม และเส้นแนวโน้ม (Moving average 7 วัน) • กราฟแสดงสัดส่วนของจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดใหญ่ เทียบกับจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มารับบริการโดยรวมข้อมูล 7 วันย้อนหลัง ตามวันที่รวบรวมข้อมูล
การรับข้อความเตือนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่การรับข้อความเตือนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ • สัญญาณสีเหลืองครั้งที่ 1 “ระบบยังไม่ได้รับข้อมูล ILI วันที่ ..... ของ สัปดาห์ที่ผ่านมา” ทุกวันจันทร์เช้า แจ้งให้รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งก่อนเวลา 23:00 น. ผู้ส่งข้อมูลในหน่วยบริการจะได้รับข้อความดังกล่าว • สัญญาณสีเหลืองครั้งที่ 2“ระบบยังไม่ได้รับข้อมูล ILI วันที่.... ของสัปดาห์ที่ผ่านมา” ทุกวันอังคารเช้า กรณีข้อมูลในระบบยังไม่ได้รับ หรือส่งไม่ครบ หรือขาดส่งในวันจันทร์ เป็นข้อความเตือนแจ้งให้ผู้ส่งข้อมูลในหน่วยบริการ ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในระดับสถานพยาบาล จังหวัด และหัวหน้าหน่วยงานของหน่วยบริการ รับทราบและให้ดำเนินการส่งข้อมูลก่อน 23:00 น.
การรับข้อความเตือนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่การรับข้อความเตือนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ • กรณีพบสัดส่วนผู้ป่วย ILI จากผู้ป่วยนอกทั้งหมดมากกว่า 5% จะมีข้อความเตือนส่งกลับ “ให้สถานพยาบาล.....เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ครั้ง และพิจารณาดำเนินกิจกรรม ได้แก่ • ค้นหากลุ่มผู้ป่วย ILI ที่รับการรักษาในหน่วยบริการนั้นๆ ที่มีความเชื่อมโยง หรือความเกี่ยวข้องทางระบาดวิทยาจากฐานข้อมูลของหน่วยบริการในพื้นที่อำเภอนั้นๆ และตรวจสอบการระบาดของโรคในพื้นที่ ในช่วงเวลาย้อนหลัง 2 – 4 สัปดาห์ • พิจารณาตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนผู้ป่วย ILI ที่ได้รับการตรวจยืนยันไข้หวัดใหญ่ • กรณีพบสัดส่วนผู้ป่วย ILI จากผู้ป่วยนอกทั้งหมดมากกว่า 10% จะมีข้อความเตือนส่งกลับ“ให้สถานพยาบาล.....พิจารณามาตรการฉุกเฉิน” ให้หน่วยบริการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ILI ใน website และในฐานข้อมูลของหน่วยบริการซ้ำอีกครั้ง และพิจารณาดำเนินกิจกรรม
สถานการณ์ของแนวโน้มในแต่ละจังหวัดสถานการณ์ของแนวโน้มในแต่ละจังหวัด • กรณีสถานพยาบาลในจังหวัด รายงานข้อมูลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสถานพยาบาลภาครัฐทั้งหมดที่ลงทะเบียนในสัปดาห์นั้นๆ ระบบข้อมูลจะสรุปสถานการณ์ “ขาดข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูล” • กรณีมีสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่น้อยกว่า 5% จากทุกสถานพยาบาลในจังหวัดที่รายงานข้อมูลทั้งหมด ระบบจะสรุปว่า “สถานการณ์กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ” • กรณีมีสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เกินกว่า 5% จากหลายสถานพยาบาลในจังหวัดที่รายงานข้อมูลทั้งหมด ระบบจะสรุปสถานการณ์กรณีที่มีสถานพยาบาลที่มีสัดส่วนของผู้ป่วยดังกล่าว น้อยกว่าร้อยละ 50 ว่า “สถานการณ์กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ในจังหวัด”
สถานการณ์ของแนวโน้มในแต่ละจังหวัดสถานการณ์ของแนวโน้มในแต่ละจังหวัด • กรณีมีสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เกินกว่า 5% แต่ไม่เกิน 10% จากหลายสถานพยาบาลในจังหวัดที่รายงานข้อมูลทั้งหมด ระบบจะสรุปสถานการณ์กรณีที่มีสถานพยาบาลที่มีสัดส่วนของผู้ป่วยดังกล่าว รวมทั้งสองสัดส่วน รวมมากกว่าร้อยละ 50 ว่า “สถานการณ์ผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ในจังหวัด” • กรณีมีสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เกินกว่า 10% จากหลายสถานพยาบาลในจังหวัดที่รายงานข้อมูลทั้งหมด ระบบจะสรุปสถานการณ์กรณีที่มีสถานพยาบาลที่มีสัดส่วนของผู้ป่วยดังกล่าว รวมทั้งสองสัดส่วน รวมมากกว่าร้อยละ 50 ว่า “สถานการณ์ผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดพบการระบาดอยู่ทั่วไปในพื้นที่”