1 / 28

บทที่ 4 ต่อ

บทที่ 4 ต่อ. ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร.

Download Presentation

บทที่ 4 ต่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 ต่อ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร อ. ชารวี บุตรบำรุง

  2. ในพ.ศ. 2490 รัฐบาลมองเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือเกษตรกรในด้านเงินทุนให้มากขึ้น จึงได้จัดตั้งธนาคารเพื่อสหกรณ์เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนอำนวยสินเชื่อให้แก่สหกรณ์ทั้งหลายที่จัดตั้งในประเทศ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ได้ดำเนินงานมาจนถึง พ.ศ. 2509 จึงได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขึ้นแทนธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ ธนาคารเพื่อการเกษตร พ.ศ. 2509 โดยโอนทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ ธุรกิจ พนักงานและลูกจ้าง มาจากธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ทำให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อให้แก่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการเกษตรโดยตรงและสถาบันการเกษตร อ. ชารวี บุตรบำรุง

  3. วัตถุประสงค์การก่อตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรวัตถุประสงค์การก่อตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1. มุ่งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรรมหรือสหกรณ์การเกษตร 2. ส่งเสริมให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร สามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกร 3. บริการรับฝากเงิน และการให้สินเชื่อและบริการอื่นๆ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  4. การดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1. ด้านเงินฝากและบริการต่อเนื่อง 1.1 เงินฝากประจำ เป็นประเภทกำหนดระยะเวลาการฝากไว้แน่นอน ได้แก่ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 36 เดือน 48 เดือนและ 60 เดือน กำหนดจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก เมื่อสิ้นระยะเวลาการฝาก จำนวนเงินฝากเปิดบัญชี และจำนวนเงินฝากทุกครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท มีแบบใช้สมุดคู่ฝากและแบบใช้ใบรับเงินฝาก 1.2 บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เป็นประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามที่ใช้เช็คในการถอนเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ยเงินฝาก กำหนดจำนวนเงินเปิดบัญชีเงินฝากไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท การฝากครั้งต่อๆ ไปจะฝากจำนวนเท่าใดก็ได้ การถอนเงินต้องมีเงินเหลือคงไว้ในบัญชี ไม่น้อยกว่า 200 บาท อ. ชารวี บุตรบำรุง

  5. 1.3 เงินฝากออมทรัพย์ เป็นประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามไม่เสียภาษีเงินได้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ปีละ 2 ครั้ง คือ ปลายเดือนมีนาคมและปลายเดือนกันยายนของทุกปี คำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินฝากคงเหลือหลายวัน กำหนดจำนวนเงินเปิดบัญชีเงินฝากไม่ต่ำกว่า 50 บาท ส่วนการฝากครั้งต่อๆไป จะฝากจำนวนเท่าใดก็ได้ ผู้ฝากสามารถถอนเงินได้โดยไม่มีเงื่อนไข มีแบบใช้สมุดคู่ฝากและแบบไม่ใช้สมุดคู่ฝาก อ. ชารวี บุตรบำรุง

  6. 1.4 เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เป็นประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามไม่เสียภาษีเงินได้ ผู้ฝากได้รับผลตอบแทนสูงจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากปีละ 2 ครั้ง คือปลายเดือนมีนาคมและปลายเดือนกันยายนของทุกปี คำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินฝากคงเหลือเป็นรายวัน กำหนดจำนวนเงินเปิดบัญชีเงินฝากไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท การฝากถอนแต่ละครั้งต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ผู้ฝากมีสิทธิถอนเงินฝากได้เดือนละ 1 ครั้ง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่ถ้าถอนเกินเดือนละ 1 ครั้ง ผู้ฝากต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ถอนแต่อย่างน้อยต้อง 500 บาท ผู้ฝากต้องรักษาเงินคงเหลือไว้ในบัญชี ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท มิฉะนั้นจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเงินฝากออมทรัพย์ปกติ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  7. 1.5 เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค เป็นประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามไม่เสียภาษีเงินได้ จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากปีละ 2 ครั้ง คือ ปลายเดือนมีนาคมและปลายเดือนกันยายนของทุกปี คำนวณดอกเบี้ยเงินฝาก จากยอดเงินฝากคงเหลือเป็นรายวัน กำหนดจำนวนเงินเปิดบัญชีเงินฝากไม่ต่ำกว่า 50 บาท ส่วนการฝากครั้งต่อๆไป จะฝากจำนวนเท่าใดก็ได้ นอกจากได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ผู้ฝากยังมีโอกาสถูกรางวัลชิงโชคเป็นสิ่งของมีค่า อาทิ ทองคำ โทรทัศน์ ตู้เย็น วิทยุ เป็นต้น อีก 3 ครั้ง โดยกำหนดจับสลากชิงโชคทุก 6 เดือน ในระดับภูมิภาคและปีละ 1 ครั้งในระดับประเทศ ทั้งนี้ผู้ฝากจะมีสิทธิชิงโชคต้องรักษายอดเงินฝากคงเหลือในบัญชี ไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันจับสลากชิงโชคและผู้ฝากจะมีโอกาสได้รับบัตรจับรางวัลเพิ่มขึ้นทุกๆ ยอดเงินฝาก 2,000 บาท อ. ชารวี บุตรบำรุง

  8. 1.6 สลากออมทรัพย์ทวีสิน เป็นเงินฝากประเภทหนึ่ง ซึ่งนอกจากผู้ฝากเงินจะได้รับดอกเบี้ยแล้ว ยังอาจโชคดีได้รับรางวัลเป็นเงินสดสูงถึง 10 ล้านบาท และเงินรางวัล ดังกล่าวรวมทั้งดอกเบี้ยเงินฝากได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผู้ทรงคนแรกธนาคารจะเปิดรับฝากเงินสลากออมทรัพย์ทวีสินเป็นคราวๆตามความเหมาะสม หลักเกณฑ์การรับฝากเงิน คือ การรับฝากจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยรับฝากเป็นหน่วยๆละ 500 บาท การออกรางวัลออกรางวัล 3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง ปีละ 4 ครั้ง รวม 3 ปี 12 ครั้ง โดยออกรางวัลในวันที่ 10 ของเดือนที่กำหนด เมื่อฝากครบกำหนดธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามที่ธนาคารกำหนดในสลากแต่ละชุด แต่หากถอนเงินฝากก่อนครบกำหนดไม่จ่ายดอกเบี้ย อ. ชารวี บุตรบำรุง

  9. 1.7 การโอนเงินต่างสำนักงาน ธนาคารให้บริการโอนเงินต่างสำนักงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว โดยขอใช้บริการได้ทุกสาขาทั่วประเทศ 1.8 การโอนเงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้บริการโอนเงิน ชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้า โดยแจ้งความจำนงขอใช้บริการได้ที่ทุกสาขาทั่วประเทศ 1.9 เช็คของขวัญ เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ประสงค์จะมอบเงิน ให้เป็นของขวัญแก่บุคคลอื่น โดยสามารถขอซื้อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  10. 1.10 แคชเชียร์เช็ค เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการขนย้ายหรือชำระเงิน แก่ผู้อื่นโดยสามารถขอซื้อได้ที่ทุกสาขาทั่วประเทศ 1.11 การเรียกเก็บตามตั๋วเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินให้แก่ลูกค้าโดยบริการที่สาขาทั่วประเทศ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  11. 2. ด้านสินเชื่อ 2.1 การดำเนินงานสินเชื่อในรูปโครงการ ธ.ก.ส. ดำเนินการให้สินเชื่อแก่เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการในรูปแบบการให้เงินกู้ระยะสั้น ระยะปานกลางหรือระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเงินลงทุน เพื่อประกอบการผลิตการเกษตรหรือปรับปรุงรูปแบบการผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทำให้มีรายได้สูงขึ้น มีอาชีพมั่นคงและยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยส่วนราชการและส่วนงานเอกชนที่เกี่ยวข้องจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความสนับสนุนด้านวิชาการ ด้านการตลาดและด้านการสร้างปัจจัยพื้นฐานต่างๆซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของเกษตรกรในการประกอบการเกษตร การดำเนินงานให้สินเชื่อในรูปโครงการ สามารถจำแนกประเภทโครงการได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ โครงการตามนโยบายรัฐบาลและโครงการพิเศษของ ธ.ก.ส. อ. ชารวี บุตรบำรุง

  12. 2.1.1 โครงการตามนโยบายรัฐบาลเป็นโครงการที่รัฐบาลจัดทำขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายแผนหรือกิจกรรมของส่วนราชการเพื่อช่วยเหลือแก้ไขความเดือนร้อนต่างๆ ของเกษตรกรที่ประสบภาวะการผลิตการเกษตร เช่น ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ผลผลิตมีปริมาณหรือคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดได้ หรือราคาผลผลิตตกต่ำ เป็นต้น ลักษณะความช่วยเหลือของรัฐบาลจะเป็นการสนับสนุนเงินกู้ ที่มีเงื่อนไขพิเศษผ่าน ธ.ก.ส. ได้แก่ 1) โครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร 2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิรูปที่ดินในรูปกองทุนที่ดิน 3) โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร 4) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ 5) โครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร อ. ชารวี บุตรบำรุง

  13. 2.1.2 โครงการพิเศษของ ธ.ก.ส. เป็นโครงการเงินกู้ระยะยาวที่คณะกรรมการธนาคารได้ลดหย่อนหลักเกณฑ์การให้เงินกู้ตามปกติของ ธ.ก.ส. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชั้นเล็กและยากจนให้มีโอกาสพัฒนาการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและส่วนงานเอกชนให้ความสนับสนุนด้านปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยการผลิตหรือบริการทางวิชาการแก่เกษตรกรในโครงการ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  14. 2.2 ด้านสินเชื่อการเกษตรรายบุคคล เป็นการให้กู้แก่เกษตรกรรายคนโดยตรง ซึ่งเกษตรกรผู้จะขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. ก่อนโดยแจ้งความประสงค์ต่อพนักงานพัฒนาธุรกิจของ ธ.ก.ส. ประจำสาขาหรือหน่วยอำเภอ ที่เกษตรกรผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่พนักงานของ ธ.ก.ส. จะให้ความช่วยเหลือและนำวิธีการต่างๆ ในการขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. อ. ชารวี บุตรบำรุง

  15. 2.2.1 เงินกู้ระยะสั้นเพื่อการผลิต เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตร สำหรับฤดูการผลิตหนึ่งๆ เช่น ค่าเตรียมดิน ค่าพันธุ์พืช ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ เงินกู้ประเภทนี้มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน ยกเว้นกรณีพิเศษอาจขยายให้เป็นไม่เกิน 18 เดือน 2.2.2 เงินกู้ระหว่างรอการขายผลิตผล เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างการรอขายผลผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บผลิตผลไว้รอราคาได้ โดยไม่จำเป็นต้องขายในช่วงที่ผลิตผลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และราคาตกต่ำเงินกู้ประเภทนี้มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนใน 6 เดือน อ. ชารวี บุตรบำรุง

  16. 2.2.3 เงินกู้ระยะปานกลาง เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินการเกษตร ซึ่งมีอายุใช้งานไม่เกินกว่า 1 ปี เช่น เงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการบุกเบิกหรือปรับปรุงที่ดิน เพื่อใช้ทำการเกษตร การซื้อ เครื่องจักรกลการเกษตร การลงทุนเลี้ยงปศุสัตว์ เป็นต้น เงินกู้ประเภทนี้มีกำหนดชำระคืนภายใน 3 ปี เว้นแต่ในกรณีพิเศษอาจผ่อนผันให้ชำระคืนได้ภายใน 5 ปี 2.2.4 เงินกู้เครดิตเงินสด เป็นเงินกู้ระยะสั้น เพื่อการผลิตอย่างหนึ่งซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรลูกค้าเป็นอย่างมากเพราะเกษตรกรลูกค้าทำสัญญาเงินกู้ในเครดิตเงินสดไว้เพียงครั้งเดียวก็สามารถเบิกรับเงินกู้ได้หลายครั้งภายในวงเงินกู้ที่กำหนดและภายในระยะเวลาแห่งสัญญากู้ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  17. 2.2.5 เงินกู้ระยะยาวเพื่อชำระหนี้สินเดิม เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปชำระหนี้สินเดิมหรือเพื่อนำไปไถ่ถอน หรือซื้อคืนที่ดินการเกษตรซึ่งเดิมเคยเป็นของตนหรือคู่สมรสหรือบุตรหรือเป็นของบิดามารดาและเป็นการสงวนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การเกษตรไว้ตลอดจนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานการเกษตรในฤดูแรก การลงทุนในทรัพย์สินการเกษตรที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ควบคู่ไปด้วย อ. ชารวี บุตรบำรุง

  18. 2.2.6 เงินกู้ระยะยาวเพื่อการเกษตร เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าลงทุนในสินทรัพย์ประจำทางการเกษตรหรือเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหรือวางรูปแบบการผลิตขึ้นใหม่ ซึ่งมีการลงทุนและต้องใช้เวลานานจึงจงได้ผลตอบแทนคุ้มค่าเงินลงทุน การชำระคืนเงินกู้ประเภทนี้มีกำหนดไม่เกิน 15 ปี หรือในกรณีพิเศษอาจขยายให้ชำระคืนได้ไม่เกิน 20 ปี และอาจมีกำหนดให้ระยะปลอดภัยชำระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ไม่เกิน 5 ปีแรก เงินกู้ประเภทนี้มีทั้งการให้กู้เป็นรายบุคคลและเงินกู้ ซึ่งจัดทำในรูปของโครงการที่มีเกษตรกรหลายรายเข้าร่วมโครงการ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  19. 2.2.7 เงินกู้สำหรรับการประกอบอาชีพอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและหรือเป็นค่าลงทุนสำหรับดำเนินงานในการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร ซึ่งเป็นการนำเอาผลิตผลทางการเกษตรของเกษตรกรเองหรือจัดหาจากแหล่งอื่นมาแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย รวมถึงการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการบริการ ด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตรด้วย เงินกู้ประเภทนี้จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) เงินกู้เพื่อการผลิต เป็นเงินกู้ระยะสั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงานในการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร มีระยะเวลาชำระคืนภายใน 12 เดือน 2) เงินกู้เพื่อการลงทุน เป็นเงินกู้ระยะยาวเพื่อเป็นค่าลงทุนในทรัพย์สินสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร อ. ชารวี บุตรบำรุง

  20. 2.3 การให้สินเชื่อวิสาหกิจชุมชน เป็นการให้กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพทั้งในภาคเกษตรและนอกภายเกษตร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจการ หรือธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งเป็นเกษตรกรให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการตลาด การจัดการ กลุ่มผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบและครบวงจรและเพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงานโดยกลุ่มลูกค้าเป้นหมาย คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่ประกอบด้วยเกษตรกร ไม่ต่ำกว่า 5 คน ในชนบท ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของสินเชื่อวิสาหกิจชุมชนได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.3.1 สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างและกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน 2.3.2 สินเชื่อเพื่อเป็นค่าลงทุน เช่น ซื้อที่ดิน สร้างโรงเรียน ซื้อเครื่องจักร ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี อ. ชารวี บุตรบำรุง

  21. 2.4 การให้สินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นการให้กู้เงินแก่ผู้เป็นเกษตรกรเพื่อนำไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ การประมง การทำนาเกลือ ฯลฯ เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกรและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแกษตรกรทั่วไป โดยแบ่งประเภทสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม กำหนดชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสินภายใน 18 เดือน และเพื่อเป็นค่าลงทุนในทรัพย์สินและวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายใน 20 ปี อ. ชารวี บุตรบำรุง

  22. 2.5 ด้านสินเชื่อรายสถาบันการเกษตร การให้บริการสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร คือ การให้เงินกู้แก่สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้สถาบันดังกล่าวนำไปดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ของสมาชิกตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบัน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ขยายการให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้สถาบันเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น สามารถขยายธุรกิจได้กว้างขวางกว่าเดิม อ. ชารวี บุตรบำรุง

  23. 3. โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน 3.1 ธ.ก.ส. ร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ให้สิทธิแก่ผู้ที่มีสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-28,ส.ป.ก.4-01) โดยจะนำร่องในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย มหาสารคาม สกลนคร ราชบุรี ระยอง ชุมพรและนครศรีธรรมราช 3.2 ธ.ก.ส. ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในสิทธิแก่ผู้ที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ (ก.ส.น. 3) ที่สหกรณ์กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี อ. ชารวี บุตรบำรุง

  24. 3.3 ธ.ก.ส. ร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ให้สิทธิแก่ผู้ที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (น.ค.1) โดยจะนำร่องใน 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ระยองและนครราชสีมา 3.4 ธ.ก.ส. ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สิทธิแก่ผู้ที่เช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้าและบริการของกรมอุทยานแห่งชาติที่หาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  25. 4. กองทุนอิสลาม 4.1 กรอบนโยบายกองทุนศาสนาอิสลาม นโยบายกองทุนศาสนาอิสลามมีดังนี้ คือ 4.1.1 ให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนา เพื่อเป็นทางเลือกอีกบริการหนึ่งของธนาคารในรูปแบบแผนกเฉพาะกิจ (Islamic Banking Window) 4.1.2 การจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ใช้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยวิธีแบ่งปันผลกำไร (Profit Sharing) 4.1.3 การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุน การร่วมทุนกับเกษตรกรลูกค้าหรือสถาบันการเกษตรกรเพื่อดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมอาชีพการเกษตร หรือเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรหรืออื่นๆ ในชั้นนี้ ให้จัดเป็นโครงการแล้วนำเสนอคณะกรรมการ ธนาคารพิจารณาเป็นคราวๆ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  26. 4.1.4 การจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนเงินทุนดำเนินงานกองทุนให้จัดทำแผนงานเสนอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เป็นคราวๆไป 4.1.5 พื้นที่ดำเนินงานในระยะแรก ดำเนินการใน 14 จังหวัด ที่ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเงินออมเพื่อการไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยดำเนินการรับฝากเงิน ส่วนการดำเนินงานด้านธุรกิจและการให้สินเชื่อดำเนินงานใน 4 จังหวัดภาคใต้ก่อน คือ สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 4.2 ลักษณะการดำเนินงานของกองทุนธนาคารอิสลาม แบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ อ. ชารวี บุตรบำรุง

  27. 4.2.1 ด้านการรับเงินฝาก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เงินฝากแบบรักษาทรัพย์ (AI-Wadiah) ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวันไม่มีผลตอบแทนและเงินฝากรักษาทรัพย์ไม่กำหนดผลตอบแทน แต่ธนาคารอาจจะให้ผลตอบแทนเป็นของขวัญก็ได้ (ผู้ฝากไม่เรียกร้อง) เงินฝากสองประเภทนี้ผู้ฝากสองประเภทนี้ผู้ฝากจะต้องให้คำยินยอมให้ธนาคารนำเงินฝากไปลงทุนที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลามได้ โดยธนาคารรับประกันในจำนวนเงินที่ฝาก 2) เงินฝากเพื่อการลงทุน (ประจำ) ธนาคารจะให้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้และผู้ฝาก จะต้องรับความเสี่ยงเรื่องการขาดทุนร่วมกับธนาคาร อ. ชารวี บุตรบำรุง

  28. 4.2.2 การให้บริการด้านธุรกิจ 1) การให้สินเชื่อเพื่อจัดหาเครื่องจักรดลและอุปกรณ์การเกษตร รวมถึงปัจจัยการผลิตทางเกษตร เช่น รถกระบะบรรทุก เครื่องสูบน้ำ รถไถ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์โดยวิธีการเช่าซื้อและขายเชื่อ 2) การให้บริการที่คิดค่าธรรมเนียม เช่น การออกตราสารที่รับรองโดยธนาคาร ได้แก่ หนังสือค้ำประกัน (bank guarantee) เป็นต้น อ. ชารวี บุตรบำรุง

More Related