1.24k likes | 1.44k Views
ระบบสารสนเทศสำหรับ ผู้บริหาร. โดย พรพรหม อธีตนันท์ pornprom.ateetan@nectec.or.th http://giti.nectec.or.th/pornprom กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ วันที่ ๓-๔ และ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗. เนื้อหาการนำเสนอ. นิยาม และวิวัฒนาการของไอซีที นโยบาย ไอซีที และ ว & ท แผนแม่บทไอซีทีของหน่วยงาน
E N D
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร โดย พรพรหม อธีตนันท์ pornprom.ateetan@nectec.or.th http://giti.nectec.or.th/pornprom กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ วันที่ ๓-๔ และ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เนื้อหาการนำเสนอ • นิยาม และวิวัฒนาการของไอซีที • นโยบาย • ไอซีที และ ว & ท • แผนแม่บทไอซีทีของหน่วยงาน • การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ • ระบบคอมพิวเตอร์ • องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ • การใช้งาน Microsoft Windows • อินเทอร์เน็ต • ความหมาย ประโยชน์และโทษ บริการต่าง ๆ • บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานอินเทอร์เน็ต • การใช้งานเว็บบราวเซอร์ • การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ • การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต • การป้องกันข้อมูลไม่พึงประสงค์บนเว็บ
ความหมาย ข้อมูล กับ สารสนเทศ (Data Information) เทคโนโลยีสารสนเทศ / ไอที / Information Technology (IT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร / ไอซีที / Information and Communication Technology (ICT) ระบบสารสนเทศ (Information System)
เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology : IT ความหมาย • ความรู้ในผลิตภัณฑ์ หรือ ในกระบวนการดำเนินการใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยี ทางด้าน • คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Software) • คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • การติดต่อสื่อสาร • การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้อย่างทันการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งด้านการผลิต การบริการ การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม ที่มา :- ศัพทานุกรม แผนแม่บทไอซีที พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารInformation and Communication Technology : ICT • เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์ หรือ ประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนำไปใช้งานใหม่ • เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย • ส่วนอุปกรณ์ (Hardware) • ส่วนคำสั่ง (Software) • ส่วนข้อมูล (Data) และ • ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือ เครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย ความหมาย ที่มา :- ศัพทานุกรม แผนแม่บทไอซีที พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙
ระบบสารสนเทศInformation System • ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถจัดทำสารสนเทศ หรือ ข่าวสารที่มีความหมาย สำหรับพนักงานใช้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิผล IS ต้องใช้ IT / ICT ความหมาย
ข้อมูล กับ สารสนเทศData and Information • ข้อมูล (Data) • ข้อเท็จจริง ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น รายการค้า ปริมาณการผลิตต่อวัน การจำหน่ายตั๋วต่อวัน ราคาวัตถุดิบ ชื่อลูกค้าที่ไม่ชำระเงินตามกำหนด • สารสนเทศ (Information) • ข้อมูลที่นำมาประมวลให้เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สารสนเทศอาจผสมผสานความลำเอียงความรู้สึกของผู้รับ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
การก้าวกระโดดของคมนาคมและการสื่อสาร ทุก 500 ปี
การหลอมรวมกันของเทคโนโลยี C+C Computers Broadcasting Broadband and cable services Connected to networks PC TV Mobile and Wireless Appliance Cable changes to wireless Electronic Games and Embedded Systems Telecommunications
Convergence of Technologies • Bio-Informatics • Nanoelectronics
NanoTechnology Center (http://www.nanotec.or.th/)
นาโนเทคโนโลยี 3 สาขาหลัก • Nanobiotechnolgy(นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ) • Nanoelctronics(นาโนอิเล็กทรอนิกส์) • Nanomaterials(วัสดุนาโน)
Bioinformatics (ต่อ) • ชีวสารสนเทศศาสตร์ ==> ถูกใช้ในการ • การหาคำตอบ หรือ ตอบคำถามทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในหลายรูปแบบ ซึ่งเดิมทำได้ยากหรือไม่อาจทำได้เลย • นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบหลัก ( Paradigm shift ) ของการค้นคว้าวิจัย จากแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องปฏิบัติการอย่างเดียว มาเป็น • การผสมผสาน กับ การสืบค้น วิเคราะห์ หรือแม้กระทั่งทำการทดลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการจำลอง(simulation) โดยใช้ข้อมูล ( digital data) เป็นวัตถุดิบ • จากนั้นจึงกลับมาวิจัยในห้องปฏิบัติการ (wet lab) เพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินหรือวิเคราะห์ผลจากข้อมูลเหล่านั้น อันเป็นการประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณการวิจัย
Bioinformatics* • ชีวสารสนเทศศาสตร์ ==> ศาสตร์ที่ว่าด้วย • การจัดเก็บ และ • การใช้ข้อมูลทางชีววิทยาอย่างเป็นระบบ รวมทั้ง • การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์แบบต่างๆ สำหรับ • เปรียบเทียบ วิเคราะห์ คำนวณ และประเมินผลข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นจากคอมพิวเตอร์ระดับองค์กรหรือระหว่างองค์กร ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายสารสนเทศต่างๆ Source :- http://biohpc.learn.in.th/whatis.html
นโยบาย ไอซีที วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนแม่บทไอซีทีของหน่วยงาน
นโยบาย IT2000* * http://www.nitc.go.th/itpolicy.html
ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมส่งเสริมให้มีนวัตกรรม ลงทุนในการสร้างทรัพยากรมุนุษย์ IT2010* เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ระยะเวลา 2544 - 2553 ลงทุนและส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง กรอบนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ:นำประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-Based Economy) พิจารณาและเห็นชอบโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๔ * http://www.nitc.go.th/itpolicy.html
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ 2545-2549ที่มา : คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ๑๑ มิ.ย. ๔๕ เศรษฐกิจ สังคม e-Industry e-Commerce services/agriculture/and tourism e-Society e-Education e-Government นวัตกรรม, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,การวิจัยและพัฒนา,ความรู้ การพัฒนาสารสนเทศ, ทักษะพื้นฐานของประชาชน และบุคลากรด้านไอที โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ปริมาณ คุณภาพ * http://www.nitc.go.th/itpolicy.html
ยุทธศาสตร์ทั้ง๗ ด้าน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ http://www.nitc.go.th/masterplan/
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ ยุทธศาสตร์๑ : การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT เพื่อให้เป็นผู้นำในภูมิภาค ยุทธศาสตร์๒ : การใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมไทย ยุทธศาสตร์๓ : การปฏิรูปและการสร้างศักยภาพการวิจัยและพัฒนา ICT ยุทธศาสตร์๔ : การยกระดับศักยภาพพื้นฐานของสังคมไทยเพื่อการแข่งขันในอนาคต ยุทธศาสตร์๕ : การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อมุ่งขยายตลาดต่างประเทศ ยุทธศาสตร์๖ : การส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ ICT ยุทธศาสตร์๗ :การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการให้บริการของภาครัฐ
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ ยุทธศาสตร์๗ : การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการให้บริการของภาครัฐ “ให้รัฐดำเนินการพัฒนาการใช้ ICT ในส่วนงานของรัฐอย่างมีบูรณาการและเอกภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารประเทศและในการให้บริการประชาชนและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ” • ให้มีกระทรวงที่รับผิดชอบการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินการด้าน ICT ของประเทศไทย • ปฏิรูปการบริหารและการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยจัดตั้งโครงสร้างส่วนงานสนับสนุน CIO ปรับกฎระเบียบและวิธีบริหารราชการเพื่อใช้ประโยชน์จาก ICT และจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา ICT อย่างมีประสิทธิภาพ • พัฒนาฐานข้อมูลภาครัฐโดยกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ทุกหน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีเอกภาพ • จัดให้มีระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการทรัพยากร และการป้องกันภัยพิบัติ • บริหารการใช้โครงข่ายสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย • พัฒนาบุคลากรภาครัฐ ทั้งด้าน ICT และด้านอื่นๆ รวมถึงการจัดตั้งสถาบัน e-Government สำหรับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT • พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลเพื่อประเมินผลสำเร็จและวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนา ICT ของประเทศ • พัฒนาระบบโครงข่ายประสาทดิจิทัล(Digital Nervous System) เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติแผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะ ๒๕๔๗-๒๕๕๖ http://www.nstda.or.th/nstc/ http://www.nstda.or.th/stcongress/
แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติระยะ ๒๕๔๗-๒๕๕๖ที่มา : คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี ๑๐ ก.พ. ๔๗ แนวคิดการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2547-2556)
กรอบแผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติระยะ ๒๕๔๗ - ๒๕๕๖
แผนแม่บทไอซีทีระดับหน่วยงานแผนแม่บทไอซีทีระดับหน่วยงาน ดาวน์โหลด คู่มือการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีระดับหน่วยงาน ได้ที่ http://www.egov.thaigov.net/source/image/pdf/masterplan.pdf
องค์ประกอบของแผนแม่บทไอซีทีระดับหน่วยงานองค์ประกอบของแผนแม่บทไอซีทีระดับหน่วยงาน
การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e-Government Development
ความหมายโดยโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เนคเทค/สวทช : • หมายถึง วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)เพื่อ • เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสของการดำเนินงานของภาครัฐ (back office) • ปรับปรุงการบริการเพื่อประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม (front office) ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Government: e-Government) ความหมายโดย ธนาคารโลก: “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ICT) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความสัมฤทธิ์ผล ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล” ความหมายโดย สหประชาชาติ: “ความผูกมัดตลอดไปของรัฐบาลในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและภาครัฐโดยการยกระดับการสร้างความคุ้มค่า และการสร้างประสิทธิภาพในเรื่องการให้บริการข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้”
ความหมายโดย ธนาคารโลก: “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ICT) ในการปรับปรุง ประสิทธิภาพ ความสัมฤทธิผล ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล” รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(e-Government) ความหมายโดย สหประชาชาติ: “ความผูกมัดตลอดไปของรัฐบาลในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและภาครัฐโดยการยกระดับการสร้างความคุ้มค่า และการสร้างประสิทธิภาพในเรื่องการให้บริการข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้” ความหมายโดย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์: “หมายถึงวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อ: กิจกรรม: • เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสของการดำเนินงานของภาครัฐ มาตรฐานซอฟต์แวร์ กลาง (Back Office) ศูนย์ แลกเปลี่ยน ข้อมูลภาครัฐ (GDX) โครงข่าย ประสาท ดิจิทัล (DNS) ศูนย์ ปฏิบัติการ นายกรัฐมนตรี (NOC) การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ • ปรับปรุงการบริการเพื่อประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม ” บริการข้อมูลข่าวสาร และเชิงรายการ โอนเงิน และ ทำธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ จัดซื้อ จัดจ้าง ทาง อิเล็กทรอนิกส์ บริการ แบบ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา โครงสร้างพื้นฐาน ,Smart ID Card, e-Citizen
ระบบคอมพิวเตอร์* องค์ประกอบ การใช้งาน Microsoft Windows * จาก เอกสาร Computer for CIO โดย อ. บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ , โครงการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที/เนคเทค