1 / 39

กลุ่มวิชาการและประเมินเทคโนโลยี ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ปัตตานี

การบำบัดรักษายาเสพติด. Drug dependence treatment. กลุ่มวิชาการและประเมินเทคโนโลยี ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ปัตตานี. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด. ความหมาย : สารใดๆก็ตามเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีใดก็ตามแล้วออกฤทธิ์ต่อร่างกาย จิตใจ หากใช้สารนั้นๆเป็นประจำแล้วเกิดผลดังนี้

shalin
Download Presentation

กลุ่มวิชาการและประเมินเทคโนโลยี ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ปัตตานี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบำบัดรักษายาเสพติดการบำบัดรักษายาเสพติด Drug dependence treatment กลุ่มวิชาการและประเมินเทคโนโลยี ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ปัตตานี

  2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด ความหมาย :สารใดๆก็ตามเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีใดก็ตามแล้วออกฤทธิ์ต่อร่างกาย จิตใจ หากใช้สารนั้นๆเป็นประจำแล้วเกิดผลดังนี้ 1. เกิดอาการดื้อยา 2. เกิดอาการขาดยา 3. พยายามทุกวิถีทางในการนำสารนั้นมาใช้ให้ได้ 4. เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น สังคม

  3. แบ่งตามการออกฤทธิ์ ประเภทของยาเสพติด 1.ฝิ่น สารกลุ่มฝิ่น และ สารออกฤทธิ์คล้ายฝิ่น ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเดอีน เมทาโดน ฯลฯ 2.กดประสาท กล่อมประสาท ยานอนหลับ ไดอะซีแพม ฟีโนบาร์บิตาล ซาแนก ฯลฯ 3.กระตุ้นประสาท กลุ่มแอมเฟตามีน(ยาบ้า) กระท่อม โคเคน กาแฟ บุหรี่ ฯลฯ 4.หลอนประสาท LSD ยาเค เห็ดขี้ควาย ฯลฯ

  4. แบ่งตามการออกฤทธิ์ ประเภทของยาเสพติด 5.ออกฤทธิ์ผสมผสาน กัญชา ยาอี ฯลฯ 6.สารระเหย สารที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตเลียม(อาซีโตน โทลูอีน ฯลฯ) ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาวอินทรีย์สังเคราะห์ กาวอินทรีย์ธรรมชาติ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ฯลฯ 7.แอลกอฮอล์ สารทุกประเภทที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม สุรา เบียร์ ข้าวหมาก น้ำตาลเมา ฯลฯ

  5. Agent Host - ฤทธิ์เสพติด - ออกฤทธิ์เร็ว, สั้น - หาเสพได้ - Genetic - โรคทางกาย - โรคทางจิตเวช ติดยาเสพติด Environment ครอบครัว , ชุมชน , เพื่อน , สังคม , สื่อต่าง ๆ สาเหตุการติดยาเสพติด

  6. วิธีสังเกตอาการผู้ใช้ยาเสพติดวิธีสังเกตอาการผู้ใช้ยาเสพติด การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สภาพทั่วไป สภาพจากยาเสพติด การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติ บุคลิกภาพ

  7. รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดรูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด • ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน (OPD & IPD) • 1.บุคลากร: แพทย์ , พยาบาล , เภสัชกร, นักจิตวิทยา , นักสังคมสงเคราะห์ ,เจ้าหน้าที่อื่น ๆที่ประจำการ ณ.ห้องตรวจ • 2.สถานที่: • ห้องเตรียมการ • ห้องตรวจ, ห้องกิจกรรม, ห้องให้คำปรึกษา, ห้องทำกลุ่ม • ลานกิจกรรม

  8. 3. วัสดุอุปกรณ์ & เวชภัณฑ์ • แบบฟอร์มเอกสาร • สื่อ-โสตวัสดุอุปกรณ์ • แผ่นพับ , โปสเตอร์ , เทป ,VDO ฯลฯ • วัสดุอุปกรณ์ - เครื่องมือการทำกิจกรรม • เครื่องดนตรี , เกมส์ ฯลฯ • เครื่องมือทั่วไป • เครื่องวัด BP, ไฟฉาย, วัดส่วนสูง ฯลฯ • ห้องตรวจปฏิบัติการ MO , Amphetamine, Marijuana

  9. “ 5 มี ... 2 ไม่ ” จุดมุ่งหมายในการรักษา 1.มีระยะไม่ใช้ยาเสพติด นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2.มีระยะที่กลับไปใช้ใหม่ สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3.มีชีวิตประจำวัน เป็นปรกติสุข 4.มีอาชีพเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ 5.มีทักษะชีวิตในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้โดยไม่พึ่งยา 6.ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และสังคม 7.ไม่แพร่เชื้อโรคติดต่อสู่ผู้อื่น

  10. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 1. การประเมิน และวางแผน 2. การถอนพิษยา 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพ 4. การติดตามผล 5. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

  11. การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด • แบบมาตรฐาน (Classical method) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน • 1. การเตรียมการก่อนการรักษา (Pre - admission) • 2. การรักษาขั้นถอนพิษยา (Detoxificatiop) • 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) • 4. การติดตามหลังการรักษา (Follow up or Aftercare)

  12. การเตรียมการและวางแผนการเตรียมการและวางแผน • เป็นขั้นตอนชัดเจน มีส่วนร่วม • ประเมินความตั้งใจ • วางแผนร่วมกัน ผู้ป่วย ครอบครัว ผู้รักษา • ซักประวัติอย่างละเอียด • ประเมินสภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม • วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข • ชี้แจงกฎระเบียบ ขั้นตอน และวิธีการรักษา

  13. การรักษาผู้ป่วยยาเสพติดการรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ประเมิน 3 ด้าน 1. ประเมินการใช้ยาเสพติดของผู้ป่วย 2. ประเมินตัวผู้ป่วยเอง 3. ประเมินสภาพแวดล้อม

  14. การประเมินการใช้ยาเสพติดของผู้ป่วยการประเมินการใช้ยาเสพติดของผู้ป่วย 1. ประเภทยาที่เสพ ยาบ้า, ยาอี,ผงขาวหรือยาหลายตัว 2. จำนวนและความถี่ในการเสพ 3. วิธีการเสพ สูบ หรือฉีด 4. ลักษณะการเสพ คนเดียวหรือกับเพื่อน เวลาไหน? 5. ประวัติการเลิกและการกลับไปเสพ และเหตุผล 6. ลักษณะการเสพติด มีการเพิ่มปริมาณ มีอาการขาดยา

  15. การประเมินตัวผู้ป่วยเองการประเมินตัวผู้ป่วยเอง 1. ประวัติการใช้ยาเสพติด โรคทางจิตเวชในครอบครัว 2. โรคทางจิตประสาท , ปัญหาทางจิตใจนิสัย , บุคลิกภาพ 3. โรคทางร่างกาย , ความพิการ 4. สติปัญญา , ความสามารถทางด้านต่างๆ 5. การเลี้ยงดูในวัยเด็ก 6. ความเข้าใจในการรักษา 7. ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด

  16. ประเมินสภาพแวดล้อม 1. ความสัมพันธ์ในครอบครัว 2. การใช้ยาเสพติดในครอบครัว 3. โอกาสในการหายาเสพติด 4. การใช้ยาเสพติดในกลุ่มเพื่อน 5. กิจกรรมประจำวันของผู้ป่วย 6. บุคคลที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วย

  17. ผู้ที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องในการรักษาผู้ที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องในการรักษา 1. ตัวผู้ป่วยเอง 2. ผู้ปกครอง 3. ครู , อาจารย์ , ทางโรงเรียน , หัวหน้าที่ผู้ป่วยทำงานอยู่

  18. การซักประวัติ • ทักษะ กลยุทธ์ ความรู้ ความเข้าใจ • ห้าม สอบสวน ตัดสิน ประณาม ผู้ป่วย • ถามอาการหลักที่นำผู้ป่วยมารักษาร.พ. • ถามอาการเจ็บป่วยทางการแพทย์ก่อน • ถามการใช้ชีวิตประจำวัน ลักษณะนิสัย กิจกรรมประจำวัน การใช้ยาในภาวะเจ็บป่วย

  19. ถามภาวะการนอนหลับ ความวิตกกังวลความขัดแย้ง • ถามเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดที่สังคมยอมรับ (บุหรี่ สุรา กาแฟ ยาแก้ปวด ยานอนหลับ) • ถามประวัติครอบครัว ความสัมพันธ์ ความเป็นอยู่ • ถามการใช้ยาเสพติดในอดีต ปัจจุบัน ภาวะแทรกซ้อน

  20. การตรวจร่างกาย สภาพทั่วไป สภาพการใช้ยาเสพติด Overdose Intoxication Withdrawal สภาพแทรกซ้อน การใช้ยา โรคอื่นๆ

  21. การถอนพิษยา • หักดิบ • ให้ยาทดแทนสารเสพติด • ให้ยารักษาตามอาการ • ใช้ยาสมุนไพร • ฝังเข็ม • ถอนพิษยาระยะสั้น

  22. การฟื้นฟูสมรรถภาพ • การให้คำปรึกษา • จิตบำบัด ทั้งรายบุคคลหรือรายกลุ่ม • การปรับเปลี่ยนความคิด หรือพฤติกรรม • การอบรมด้านจริยธรรม หรือศาสนา • ฝึกทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม • matrix program ชุมชนบำบัด etc • ทำได้ทั้งผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก • ใช้เวลาเป็นสัปดาห์, เป็นเดือน หรือเป็นปี

  23. การติดตามผล • การนัดเป็นระยะ ๆ • การสุ่มตรวจปัสสาวะ • การเยี่ยมบ้าน • ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ • ชุมชนมีส่วนร่วม

  24. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม • Half way house • Therapeutic communities (T.C.) • ชุมชนมีส่วนร่วม

  25. การจำแนกกลุ่มผู้เสพสารเสพติด การจำแนกกลุ่มผู้เสพสารเสพติด 1. กลุ่มผู้เสพ 2. กลุ่มผู้เสพติด

  26. การจำแนกกลุ่มผู้เสพสารเสพติด การจำแนกกลุ่มผู้เสพสารเสพติด

  27. กลุ่มผู้เสพแต่ไม่ติดจำแนกเป็น 1. กลุ่มเสี่ยง 2. กลุ่มที่พึ่งเริ่มเสพ 3. กลุ่มที่เสพนาน 4. กลุ่มที่มีแนวโน้มในการเสพติด

  28. กลุ่มเสี่ยง 1. มีความบกพร่องในครอบครัว 2. มีปัญหาพื้นฐานในตนเอง 3. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้สารเสพติด - ในครอบครัว - กลุ่มเพื่อน 4. เริ่มมีการใช้สารเสพติดชนิดอ่อน 4

  29. กลุ่มที่พึ่งเริ่มเสพ - พบจากการสุ่มตรวจปัสสาวะ - เริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิต การดูแลตนเอง การเข้าสังคม การเรียน (หรือการทำงาน) 5

  30. กลุ่มที่เสพมานาน 1. มีการเสพ-หยุดเสพเป็นครั้งคราว 2. มีความรอบรู้เกี่ยวกับสารเสพติด 3. มีปัญหาในการใช้ชีวิตทุกด้าน 4. มีปัญหาจากการใช้สารเสพติดเป็นครั้งคราว - การเกิดพิษจากการใช้สารเสพติด - โรคแทรกซ้อนทางร่างกายและจิตใจ 6

  31. กลุ่มที่มีแนวโน้มในการเป็นผู้ติดยาเสพติดหมายถึงการใช้ยาในทางที่ผิด(Drug Abuse) 1.ใช้จนเกิดปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเวลา 12 เดือน 2. มีปัญหาจากการใช้ อย่างน้อย 1 ข้อ คือ ก. เสียหรือบกพร่องต่อการเรียน ข. ยังคงใช้แม้ต้องเสี่ยงกับชีวิต เช่นขับขี่รถ ค. ยังคงใช้แม้มีปัญหาทางกฎหมาย ง. ยังคงใช้แม้มีปัญหากับครอบครัวหรือผู้อื่น 7

  32. กลุ่มผู้เสพติด(Drug Dependence) หมายถึงการใช้จนเกิดปัญหาอย่างน้อย 3 ใน 7 อาการ ในช่วงเวลา 12 เดือน กลุ่มอาการติดยา 1. ดื้อยา มีลักษณะดังนี้ ก. ต้องการใช้เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการหรือจนเกิดพิษ ข. ได้ผลจากใช้ลดลงอย่างมากหากใช้เท่าเดิม 8

  33. กลุ่มผู้เสพติด 2. อาการขาดยา อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ก. มีอาการขาดยาโดยเฉพาะ ในการหยุดหรือลดขนาด ข. การใช้สารนั้นหรือสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกัน เพื่อลดหรือระงับอาการขาดยา 9

  34. กลุ่มผู้เสพติด กลุ่มอาการบังคับใจไม่ได้ 3. ใช้สารนั้นมาก นานกว่าที่ตั้งใจ 4. ต้องการใช้สารนั้นตลอด ไม่สามารถ หยุด หรือ ควบคุมได้ 5. ยังคงใช้อยู่ ถึงแม้รู้ว่า ทำให้ปัญหา สุขภาพร่างกาย และ จิตใจ เลวลง

  35. กลุ่มผู้เสพติด กลุ่มอาการที่ใจหมกมุ่นอยู่กับการใช้ 6. ต้องเสียเวลามาก เพื่อให้ได้สารนั้นมา หรือ ในการเสพ หรือ ในการฟื้นจากฤทธิ์ของสารนั้น 7. ต้องงด หรือ ลด หรือ บกพร่อง ในการเข้าสังคม การเรียน (การทำงาน) การพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากการใช้สารนั้น

  36. การเปลี่ยนแปลงของลักษณะการเสพการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการเสพ กลุ่มผู้เสพ กลุ่มผู้เสพติด

  37. การเลิกเสพติด และ การเสพซ้ำ การหยุดเสพ หมายถึงการไม่เข้าสู่การเป็นผู้เสพติด เป็นระยะเวลาตั้งแต่1 เดือนขึ้นไป(หยุดระยะเริ่มต้น) จนถึงหรือมากกว่า 12 เดือน(หยุดเสพต่อเนื่อง) การเสพซ้ำ หมายถึง การกลับไปเสพอีกหลังจากหยุดเสพแล้ว การติดซ้ำ หมายถึง การกลับไปติดอีกหลังจากหยุดเสพแล้ว ตามการวินิจฉัยDSM-IV

  38. วงจรการเสพ การเสพติด เสพเป็นครั้งคราว เสพบ่อยครั้ง เริ่มเสพ(ซ้ำ) หยุดเสพ เลิกเสพติด เสพติด

  39. เครือข่ายการส่งต่อและการประสานงานบำบัดรักษายาเสพติดเครือข่ายการส่งต่อและการประสานงานบำบัดรักษายาเสพติด ในสายงานสาธารณสุข 3rd Medical care center สถาบันการแพทย์ชั้นสูง,โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลธัญญารักษ์, ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด โรงพยาบาลศูนย์ 2nd Medical care center โรงพยาบาลทั่วไป, โรงพยาบาลชุมชน 1st Medical care center สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, ตำบล, สถานีอนามัย Primary Health care อสม., ผสม.,องค์กรเอกชน ผู้นำชุมชน, ผู้นำศาสนา, ชุมชน

More Related