1.79k likes | 5.3k Views
การใช้เชือกช่วยชีวิต. วัตถุประสงค์ ในบทเรียนนี้ จะได้รับความรู้และทักษะทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ในการใช้เชือก ถ้าทำดังต่อไปนี้ 1. ได้ทราบความหมายของเชือก และประโยชน์ ได้ทราบวัสดุ 3 ประเภท ที่นำมาทำเชือก พร้อมลักษณะของเชือก แต่ละชนิด
E N D
วัตถุประสงค์ ในบทเรียนนี้ จะได้รับความรู้และทักษะทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ในการใช้เชือก ถ้าทำดังต่อไปนี้ 1. ได้ทราบความหมายของเชือก และประโยชน์ ได้ทราบวัสดุ 3 ประเภท ที่นำมาทำเชือก พร้อมลักษณะของเชือก แต่ละชนิด 2. วิธีการคำนวณการรับน้ำหนักเชือก โดยใช้สูตรคำนวณและเชือก 3 ประเภท รวมทั้งเชือกเก่าและเชือกใหม่ได้ 3. สามารถผูกเชือกได้ 3 กลุ่ม หรือ 10 เงื่อน ได้ทุกคน และรวดเร็ว
เชือก หมายถึง วัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาผูกรัดสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ด้วยกัน มิให้หลุดไปจากกัน นับว่ามนุษย์ได้ประโยชน์จากเชือกนานับประการ คนไทยรู้จักการใช้เชือกตั้งแต่เกิดจนตาย เกิดผูกสะดือ ตายมัดตราสัง หามโลงศพไปยังจุดหมาย และอะไรต่อมิอะไร อีกนานับประการ
เชือกได้มาจากอะไรบ้างเชือกได้มาจากอะไรบ้าง -เชือกได้มาจากพืช เช่น เถาวัลย์ หวาย ฝ้าย นุ่น กาบมะพร้าว เปลือกไม้ ปอ ป่านมะนิลา (บางประเทศเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ฟิลิปปินส์เรียกมะนิลาว่า อะบากา และในคิวบา เรียกว่า ซิเชล) เป็นต้น เชือกที่นิยมใช้ในงานทั่ว ๆ ไป มาจากเชือกที่ทำจากปอ กาบมะพร้าว ขนสัตว์ ฝ้าย เชือกไนล่อน และทำจากป่านมะนิลา - เชือกที่มาจากสัตว์ เช่น หนัง ขน เอ็น หางสัตว์ เป็นต้น -เชือกที่มาจากแร่ธาตุ เช่น ผลพวงจากการกลั่นน้ำมันแร่เหล็ก และ ผงถ่านหิน เชือกบางชนิดผสมวัตถุ 2 ชนิดเข้าด้วยกัน เช่น ฝ้ายผสมแร่ เป็นต้น
การผูกเชือกในงานบรรเทาสาธารณภัยการผูกเชือกในงานบรรเทาสาธารณภัย การเรียนรู้เงื่อนเชือกนั้น ได้นำมาปรับใช้ประโยชน์ ในด้านการผูกรั้งวัตถุต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือการช่วยชีวิตรวมทั้งการต่อเชือกต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ในงานบรรเทาสาธารณภัย มีอยู่ด้วยกัน 10 เงื่อน การเรียนรู้เงื่อนเชือกจะต้องจดจำ ทำให้ได้ ผิดพลาดไป หลุด หรือขาดเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งของเสียหาย ขอแนะนำให้ทุกคนที่ต้องการนำไปใช้ต้องหมั่นฝึกศึกษาหาความรู้ ผูกให้เป็น นำไปใช้ให้เป็น ถึงคราวคับขันจะได้นำออกใช้ให้เกิดประโยชน์
หลักการผูกเงื่อนเชือกหลักการผูกเงื่อนเชือก เร็ว แน่น แก้ง่าย ปลอดภัย
การรักษาเชือกและการบำรุงรักษาการรักษาเชือกและการบำรุงรักษา การรักษาเชือกให้มีสภาพพร้อมใช้ ถ้าเป็นเชือกมะลิลา ที่มีขนาด 1½ นิ้ว ยาว 50 ฟุต วิธีการเก็บโดยพันเป็นวงกลมระหว่างฝ่ามือ และข้อศอก จนกระทั่งเหลือ 2 ฟุต นำส่วนนี้มารัดตรงกลาง เชือกที่มีเส้นรอบวง 2 นิ้ว ยาว 200 ฟุต ใช้วิธีม้วนเก็บ โดยการพันคล้องระหว่างเท้ากับเข่า จนหมดม้วน แต่เหลือไว้ 2 ฟุต เพื่อมัดเก็บปลายเชือกดังภาพ
สูตรคำนวณ ความสามารถยกหรือลากวัตถุ ของเชือก การใช้เชือกให้เกิดประโยชน์ ควรจะได้รู้จักการผูกเงื่อน และการใช้เชือกให้ปลอดภัย ในการใช้ดึงหรือยกสิ่งของ ที่มีน้ำหนักมาก ๆ ต้องอาศัยหลักแห่งความปลอดภัยด้วย วิธีการคำนวณว่าเส้นเชือกขนาดไหนควรยก ดึง น้ำหนัก ได้เท่าไรจึงจะไม่ขาด
สูตรในการคำนวณ สูตรที่ 1 C2 x CWT C = เส้นรอบวงของเชือก CWT = ค่าคงที่เท่ากับ 50 กิโลกรัม สูตรที่ 2 ค่าความปลอดภัย (Safety Factor) ของเชือกที่ใช้งานมาแล้ว หรือเชือกที่มีเงื่อนปมเชือกผูกอยู่ คูณด้วย 2/3 สูตรที่ 3 เชือกไนล่อนมีความสามารถเหนือกว่ามะลิลา 4 เท่า = x 4 สูตรที่ 4 เชือกที่ทำมาจากแร่โลหะ หรือสลิง รับแรงได้มากกว่าเชือกมะลิลา 9 เท่า = x 9
ตัวอย่าง เชือกใหม่มีเส้นรอบวง 1½ นิ้ว จะรับน้ำหนักได้เท่าไร วิธีทำ ใช้สูตร = C2 x CWT = 1½ 2 x 50 = 9/4 x 50 = 112.5 กก.
แบบฝึกหัดที่ 1 เชือกใช้งานแล้ว ทำด้วย แร่เหล็ก(สลิง) ขนาดเส้นรอบวง 2 นิ้ว สามารถใช้ ยกน้ำหนักได้เท่าไร วิธีทำ C2 x CWT 22 x 50 4 x 50 200 กก. ใช้งานแล้ว คูณด้วย 2/3 หรือ 0.6 เป็นลวดสลิง มีความสามารถมากกว่า 9 เท่า 120 x 9 1080 กก.
เชือก เงือนเชือกที่ใช้ในงานบรรเทาสาธารณภัย 1. หมวดต่อเชือก 2. หมวดผูก ฉุด ดึง รั้ง ลาก 3. หมวดช่วยชีวิต
หมวดต่อเชือก 1. เงื่อนพิรอด เป็นเงื่อนเชือกที่ใช้เชือกที่มีขนาดเท่ากัน 2 เส้นผูกต่อกัน ใช้ผูกสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
หมวดต่อเชือก 2. เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนขัดสมาธิชั้นเดียว หรือหลายชั้น เป็นเงื่อนที่ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกันหรือไม่เท่ากันผูกต่อกัน จะเป็นเชือกเล็ก หรือเชือกเส้นใหญ่ หรือลวดสลิงกับเชือกผูกต่อกัน
หมวดต่อเชือก 3. เงื่อนประมง หรือ หัวล้านชนกัน เป็นเงื่อนที่ใช้เชือก 2 เส้น ที่มีขนาดเท่ากันต่อกัน หรือเชือกที่มีขนาดต่างกันเล็กน้อย และเชือกที่มีความลื่น หรือใช้เชือกผูกด้วยก้อนวัตถุขว้างไปหาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการต่อเชือกให้ยาวออกไปอีก หรือจากอาคารหลังหนึ่งไปอีกหลังหนึ่ง หรือจากเรือลำหนึ่งไปยังเรืออีกลำหนึ่ง เมื่อเลิกใช้แล้วก็เก็บเชือกไว้ใช้ได้อีก
หมวดผูกแน่น ฉุดลาก รั้ง 1. เงื่อนผูกร่น หรือทบเชือก ใช้ผูกเชือกที่ยาวเกินความต้องการให้สั้นลง โดยไม้ต้องแก้มัดหรือตัดเชือกให้สั้นหรือใช้ทบเชือกที่กำลังจะขาดให้ใช้งานได้ต่อไปโดยไม่ต้องตัดเชือก
หมวดผูกแน่น ฉุดลาก รั้ง 2. เงื่อนตะกุดเบ็ด เป็นเงื่อนที่ใช้ปลายเชือกข้างใดข้างหนึ่ง ทำเป็นบ่วงซ้อนกัน ใช้สำหรับผูกเบ็ดตกปลาคล้องกับเหล็ก หรือหลักตอไม้ หรือผูกมัดกับเสาอาคาร ที่มีสิ่งขวางปลายเสาทั้งสองข้างก็ได้
หมวดผูกแน่น ฉุดลาก รั้ง 3. เงื่อนผูกซุง หรือลากซุง เป็นเงื่อนเชือกที่ใช้ปลายข้างใดข้างหนึ่งผูกกับวัตถุลักษณะทรงกลมยาว หรือวัตถุที่มีความยาว
หมวดช่วยชีวิต 1. เงื่อนขโมย ใช้สำหรับผูกวัตถุทั้งทรงกลมยาว ด้วยเชือก หรือผ้าเพียงเส้นเดียว เพื่อช่วยตัวเองหรือช่วยคนที่ติดอยู่บนอาคารสูง และเรายังสามารถนำเชือกเส้นนี้ไปใช้งานอื่นได้อีก
หมวดช่วยชีวิต 2.เงื่อนบันไดปม ใช้สำหรับช่วยคนลงจากที่สูงด้วยเชือกเส้นเดียว สำหรับคนที่ไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรมากนักที่สามารถช่วยตัวเองได้
หมวดช่วยชีวิต 3. เงื่อนเก้าอี้ ใช้สำหรับช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ซึ่งช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ลงจากที่สูง
หมวดช่วยชีวิต 4. เงื่อนบ่วงสายธนู เป็นเงื่อนที่ผูกด้วยเชือกเส้นเดียวทำเป็นบ่วง ในงานบรรเทาสาธารณภัย จะใช้ช่วยคนขึ้นจากหลุม บ่อ คู คลอง แม่น้ำ ที่ไม่สามรถขึ้นด้วยตัวเองได้ หรือช่วยคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นและกำลังจะจมน้ำ
บ่วงสายธนู ๒ ชั้น ๑. วัดเชือกหนึ่งวา (ตามขนาดของนักกู้ภัยแต่ละคน)
บ่วงสายธนู ๒ ชั้น(ต่อ) รูป ข. ๓. มือซ้ายจับปลายเชือกด้านล่างจากรูป ก. ทำเป็นเลขหก เหมือนบ่วงสายธนู นำปลายเชือกในมือขวาสอดดังรูป รูป ก. ๒. จับปลายเชือกดังรูป ก. เพื่อวัดขนาดเป็นสองเท่า
บ่วงสายธนู ๒ ชั้น(ต่อ) ห่วงเชือก รูป ก. รูป ข. ๕. จัดห่วงเชือกดังรูป ข. เข้าล็อคที่มือซ้ายจับอยู่ ๔. มือขวาสอดผ่านดังรูป ก. ไปจับเชือกสองเส้น ดึงกลับมาตามทิศทางมือที่สอด
บ่วงสายธนู ๒ ชั้น(ต่อ) ลักษณะการใช้งาน ด้านหน้า บ่วงสายธนู ๒ ชั้นพร้อมใช้งาน ด้านหลัง
บ่วงสายธนู ๓ ชั้น บ่วงสายธนู ๓ ชั้น เป็นเงื่อนเชือกที่ใช้นำผู้ประสบภัยจากที่สูงแบบฉุกเฉิน สังเกตว่ามีห่วง สามห่วง ส่วนที่ยาวขณะใช้งานจะใส่ใต้รักแร้ของผู้ป่วย สองห่วงเท่ากัน ใส่ที่ข้อผับใต้หัวเข่าทั้งสองข้าง
บ่วงสายธนู ๓ ชั้น(ต่อ) รูป ข. เชือกด้านซ้ายมือทำเป็นเลขหก เหมือนบ่วงสายธนู นำปลายเชือกด้านขวามือสอดเข้าจากล่าง ดังรูป ข. รูป ก. วัดขนาดความยาวเชือกขนาด ๒ วา ของนักกู้ภัย จับสายเป็นสองทบ ดังรูป ก.
บ่วงสายธนู ๓ ชั้น(ต่อ) สอดกลับ เชือกเส้นหลัก สอดด้านล่าง ปลายเชือกที่สอดผ่านเลขหกมา นำไปสอดด้านล่างของเชือกเส้นหลัก ดังรูปซ้ายมือ. หลังจากนั้นสอดกลับมาทางเดิมดังรูปขวามือ
บ่วงสายธนู ๓ ชั้น(ต่อ) จัดปลายเชือกที่สอดลงมา ให้ยาวกว่าเชือก ๒ บ่วง ประมาณหนึ่งกำมือเล็กน้อย จากนั้นดึงเงื่อนให้แน่น ทดสอบให้แน่ใจก่อนใช้
การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูงการผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง ๑.จัดเชือกบุคคลให้เท่ากัน ๒ ด้าน
การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ)การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ) ๒.นำตำแหน่งของเชือกบุคคลที่แบ่งครึ่งมาทาบข้างสะโพกด้านขวา(กรณีถนัดขวา) หากถนัดซ้ายให้ทาบทางซ้าย
การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ)การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ) ปม ๓.ผูกเงื่อนพิรอดไว้ด้านหน้า(สังเกตปมเชือกจะอยู่ด้านซ้าย)เพื่อไม่ให้เชือกโรยตัวบาดขณะลงจากที่สูง
การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ)การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ) ๔. ด้านหลัง ให้สอดปลายเชือกทั้งสองข้างจากบนลงล่าง หักคอไก่จากด้านใน ดังรูป
การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ)การผูกเชือกบุคคลลงจากที่สูง(ต่อ) เงื่อนพิรอด สอดใน รูป ก. รูป ข. ๕.นำปลายเชือกทางด้านขวาสอดเข้า (ดังรูป ก.) ๖.นำปลายเชือกทั้ง ๒ ด้านผูกเป็นเงื่อนพิรอด (ดังรูป ข.)
การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฏิบัติงานในที่สูงการใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฏิบัติงานในที่สูง การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฏิบัติงานในที่สูง เป็นการนำเชือกบุคคลมาดัดแปลง โดยการนำเชือกผูกกับนักกู้ภัย ส่วนอีกปลายอีกข้างหนึ่งจะผูกเงื่อนบ่วงสายธนูไปคล้องกับเสา หรือใช้ร่วมกับ”สเน็บริ่ง”เพื่อป้องกันนักกู้ภัยมิให้ตกจากที่สูงขณะทำงาน
การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฎิบัติงานในที่สูง(ต่อ)การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฎิบัติงานในที่สูง(ต่อ) รูป ข. รูป ก. ผูกบ่วงสายธนูที่ปลายสาย จับเชือกลักษณะ ดังรูป ก. ยกขึ้นมาระดับเอว พันปลายเชือกที่เหลือ รอบตัวสองรอบดังรูป ข.
การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฎิบัติงานในที่สูง(ต่อ)การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฎิบัติงานในที่สูง(ต่อ) ๑ ๓ ๒ รูป ข. รูป ก. นำปลายเชือกสอดจากบน ผ่านห่วงเชือกที่เหลือไว้ครั้งแรก ดังรูป ก. จากนั้นให้สอดเข้าด้านล่างของ เชือกที่ทำบ่วงสายธนูไว้แล้ว ต่อมาสอดกลับทางห่วงเชือกดังรูป ข.
การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฎิบัติงานในที่สูง(ต่อ)การใช้เชือกบุคคลป้องกันตัวเองขณะปฎิบัติงานในที่สูง(ต่อ) ดึงปลายเชือกหมายเลข ๑ และ หมายเลข ๒ ให้แน่น ส่วนปลายเชือกที่เหลือของหมายเลข ๑ ให้เก็บโดยการหักคอไก่ การนำไปใช้งาน สามารถใช้บ่วงสายธนู คล้องด้านหน้า หรือด้านหลัง ก็ได้ ด้วยวิธีหมุนเงื่อนที่ลำตัว ดังรูปทางขวามือ
วัตถุประสงค์ 1. ได้ทราบความหมายของเชือก และประโยชน์ ได้ทราบวัสดุ 3 ประเภท ที่นำมาทำเชือก พร้อมลักษณะของเชือก แต่ละชนิด 2. วิธีการคำนวณการรับน้ำหนักเชือก โดยใช้สูตรคำนวณและเชือก 3 ประเภท รวมทั้งเชือกเก่าและเชือกใหม่ได้ 3. สามารถผูกเชือกได้ 3 กลุ่ม หรือ 10 เงื่อน ได้ทุกคน และรวดเร็ว