1 / 9

ที่มาและความสำคัญ

ที่มาและความสำคัญ

shadow
Download Presentation

ที่มาและความสำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ที่มาและความสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 22 ว่าด้วยหลักการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสำคัญสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพดังนั้นจึงเป็นภาระกิจที่สำคัญของทุกฝ่ายจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายสาระกิจกรรมแหล่งเรียนรู้สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับความถนัดความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุมนุมคณิตศาสตร์ ได้จัดโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้องซึ่งมีความคาดหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดลักษณะที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียนคือเป็นคนดีคนเก่งและมีความสุขพร้อมกันนี้ผู้เรียนยังมีการขยายผลการพัฒนาการเรียนไปสู่เครือข่ายสู่เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ให้สามารถเรียนรู้ได้ตามความถนัดความสามารถของแต่ละบุคคล โดยมีความสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 อย่างมีประสิทธิภาพ ทางกลุ่มของเราจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดกิจกรรมของชุมนุมคณิตศาสตร์ และเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ว่ามีวางแผนงาน/กิจกรรม/โครงการ การดำเนินการ และการสรุปผลการดำเนินงานที่ชัดเจน ถูกต้อง เป็นแบบอย่างของกิจกรรมชุมนุมอื่น ๆ ได้หรือไม่ และศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมของชุมนุมคณิตศาสตร์จากบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าเป็นอย่างไร

  2. ความหมายและหลักการของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนความหมายและหลักการของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หมายถึง กิจกรรมที่จัดอย่างมีรูปแบบด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (2542 : 13 – 15) หมวด 4 แนวทางจัดการศึกษามาตรา 22 กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ในมาตรา 24 ความหมายค่ายคณิตศาสตร์ ค่ายคณิตศาสตร์เป็นกิจกรรมคณิตศาสตร์ประเภทหนึ่งของการศึกษาคณิตศาสตร์นอกห้องเรียนโดยจัดให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมพักแรมร่วมกันณที่ใดที่หนึ่งในช่วงเวลาที่กำหนดให้พร้อมทั้งมีการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการและนันทนาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางคณิตศาสตร์ทักษะกระบวนการและประสบการณ์ตรงทางด้านคณิตศาสตร์ในสภาพแวดล้อมที่จัดให้และส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ กระบวนการกลุ่ม (Group Process) ความหมายของกลุ่มและปฏิสัมพันธ์ คำว่า “กลุ่ม”(Group) มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายตามทัศนะของแต่คน และยังขึ้นอยู่กับการเน้นลักษณะที่สำคัญต่าง ๆ ของการรวมตัวเป็นกลุ่ม ผู้ให้ความหมายมีทั้งทางด้านจิตวิทยา และจิตวิทยาสังคม

  3. ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) Newcomb, Tumer and Converse (1965 : 155 – 210 ) กล่าวว่า กระบวนการปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันและเป็นลักษณะที่พึ่งพาอาศัยกันและกัน ทฤษฎีการทำงานกลุ่ม ทฤษฎีเกี่ยวกับกลุ่มและการทำงานกลุ่ม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จะพยายามสร้างแรงจูงใจในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดี ประโยชน์ของการทำงานของกลุ่ม ดัน (Dunn. 1972 : 154) ได้กล่าวว่า การสร้างกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในการเรียนจะเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กมีความรู้สึกโดดเดี่ยวหรืออยู่คนเดียว การทำงานร่วมกันต่างฝ่ายต่างรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และช่วยกันรับผิดชอบในด้านการเรียนด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง นอกจากนี้การเรียนโดยการทำงานเป็นกลุ่ม ยังทำให้รู้สึกสนุกสนาน และสร้างความสามัคคีในกลุ่ม ต่างวางใจว่าแต่ละคนจะช่วยกันส่งเสริมให้กลุ่มมีความก้าวหน้าขึ้น

  4. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของชุมนุมคณิตศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของชุมนุมคณิตศาสตร์ หลักการของโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้อง สมาชิกชุมนุมสานฝันปันน้ำใจให้น้องและผู้เรียนโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ ดำเนินการออกค่าย โรงเรียนและนักเรียนโรงเรียนประถมในเขตบริการ - โรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัว ชุมชนและชาวบ้านในเขตบริการที่มีส่วนร่วมในโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้อง - ตลาดเทศบาลรัตนบุรี - ตำบลระเวียง - ตำบลเบิด - ร่วมกิจกรรม - บริจาคให้ ปันสิ่งของ - สนับสนุนงบประมาณ - กิจกรรมพี่สอนน้อง - กิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน - ผู้เรียนประถมบ้านแข้ด่อนหนองบัวได้รับเสื้อบริจาคจากพี่โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ - ผู้เรียนโรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัวได้รับหนังสือบริจาคจากชุมนุมสานฝันปันน้ำใจให้น้อง สรุป/รายงานผล - สมาชิกและผู้ร่วมกิจกรรมโครงงานนี้จะเป็นผู้มีคุณธรรมเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่/พึ่งพาตนเองได้ - ชุมชนเข้มแข็ง/รู้รักสามัคคี/สังคมยั่งยืน กัลยาณมิตร เศรษฐกิจพอเพียง

  5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เรียนโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ จำนวน 797 คน ครู จำนวน 36 คน • กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกชุมนุมสานฝันปันน้ำใจให้น้อง จำนวน 24คน ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัว จำนวน 65คนประชาชนบ้านแข้ด่อนหนองบัว 21 คน • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ • -แบบประเมินโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้อง ( ชุมนุมคณิตศาสตร์) • -แบบประเมินการเข้าฐานตามกิจกรรม • -คู่มือการเข้าค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้อง • การจัดกระทำข้อมูล • เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ครบแล้ว ได้นำมาดำเนินการดังต่อไปนี้ • 1. ตรวจสอบแบบสรุปผลการประเมินที่เก็บรวบรวมมา • 2. จัดแบ่งประเภทแยกตามกลุ่มที่ประเมิน คือ กลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่เข้าค่าย ครูโรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัว และชุมชนบ้านแข้ด่อนหนองบัว • ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมินโครงการ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ คือ • ค่าคะแนนเฉลี่ย () • คะแนนเฉลี่ยร้อยละ (%) • ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

  6. ผลการดำเนินการ

  7. สรุปผลการวิจัย • จากการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมสานฝันปันน้ำใจให้น้อง พบว่า มีประชาชนและนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 137คน ซึ่งถือว่าเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ แสดงว่าประชาชน ข้าราชการ และนักเรียนได้แสดงออกในการร่วมเฉลิมพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 64 ปี และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2555และเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญในการเข้ากิจกรรมค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้อง และการแสดงออกในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ • 2. จากการที่นักเรียนโรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัวเข้าร่วมกิจกรรมท่องตามฐานต่าง ๆ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนแต่ละกลุ่มสีอยู่ในระดับดี ถึงดีมาก มีอยู่หนึ่งกิจกรรมที่นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องพัฒนา คือ เกม 24 เป็นฐานที่นักเรียนต้องฝึกคิดและคำนวณเลขในใจให้รวดเร็ว • 3. จากการประเมินพบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัว มีความคิดเห็นว่าค่ายคณิตศาสตร์มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 ซึ่งจะอยู่ในระดับดีมาก และวิทยากรมีความรู้ความสามารถและมีความเป็นกันเองในระดับต่ำสุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.33 ซึ่งจะอยู่ในระดับดี • 4. จากการประเมิน พบว่า ชุมชนบ้านแข้ด่อนหนองบัว มีความคิดเห็นว่าค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้องมีการจัดกิจกรรมที่สนุกสนานและเพลิดเพลินมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และกิจกรรมค่ายทำให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหามากขึ้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.83 ซึ่งอยู่ในระดับดี • 5. จากการประเมินพบว่า ครูโรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัว มีความคิดเห็นว่าค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้องมีการจัดกิจกรรมที่ทำให้จัดการทำงานเป็นหมู่คณะได้ดีขึ้นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และกิจกรรมค่ายมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.00 ซึ่งอยู่ในระดับดี • 6. จากการดำเนินการออกค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้อง ชุมนุมสานฝันปันน้ำใจให้น้องสามารถดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ได้ครบทุกประการ ซึ่งมีค่าร้อยละเท่ากับ 100 • 7. จากการศึกษาพบว่าหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้อง มากที่สุดคือ โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ และรองลงมาคือพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเทศบาลอำเภอรัตนบุรี โดยคิดเป็นร้อยละ 37.04 และ ตามลำดับ

  8. อภิปรายผล จากการดำเนินโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้อง ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การรวบรวมขอบริจาคหนังสือ เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา และการออกค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้อง มีการทำงานร่วมกันทั้งโรงเรียน ชุมชนและวัด ทำให้นักเรียนฝึกความเป็นผู้นำ ได้แสดงความคิดเห็น ความสามารถและความรู้ที่มีอยู่ ถ่ายทอดให้เพื่อนๆ และที่สำคัญนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านแข้ด่อนหนองบัว ตำบลหนองหลวง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ และที่สำคัญนักเรียนเห็นความสำคัญของสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่จะต้องนำไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปทั้งนี้เป็นเพราะว่าลักษณะของกิจกรรมค่ายได้ฝึกให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ได้ฝึกทักษะในการพูด การเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีของสมทรง ไชยวัต (2538 : 12) ที่กล่าวว่า กลุ่ม หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการทำงานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ดังนั้นเมื่อนักเรียนได้ทำงานร่วมกันและมีหลักธรรมแบบกัลยาณมิตรในการปฏิบัติกิจกรรม ก็ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีและสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข ประโยชน์ที่ได้รับ 1. นักเรียนได้ร่วมกันทำงานเป็นระบบกลุ่ม และมีภาวะการเป็นผู้นำ 2. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. นักเรียนมีทักษะในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น 4. นักเรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสาระอื่น ๆ และ ชีวิตประจำวันได้ 5. นักเรียนได้ประสบการณ์ตรงในการออกค่ายสานฝันปันน้ำใจให้น้อง 6. ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น 7. ผู้ศึกษาได้ทราบถึงการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของชุมนุมคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาโครงการสานฝันปันน้ำใจให้น้อง

More Related