1 / 34

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ. คณะกรรมการประเมิน สถานศึกษาพอเพียงด้วยความยินดียิ่ง. โรงเรียนบ้านคำยาง คำขวัญโรงเรียน. “ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม ”. สีประจำโรงเรียน. ฟ้า - เหลือง สีฟ้า หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา สีเหลือง หมายถึง ความผุดผ่องเปี่ยมด้วยคุณธรรม. ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นยางนา.

Download Presentation

ยินดีต้อนรับ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมิน สถานศึกษาพอเพียงด้วยความยินดียิ่ง

  2. โรงเรียนบ้านคำยางคำขวัญโรงเรียนโรงเรียนบ้านคำยางคำขวัญโรงเรียน “ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม ”

  3. สีประจำโรงเรียน ฟ้า - เหลือง สีฟ้า หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา สีเหลือง หมายถึง ความผุดผ่องเปี่ยมด้วยคุณธรรม

  4. ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นยางนาต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นยางนา ปรัชญาของโรงเรียน ปญฺญานรานํรตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน

  5. ข้อมูลทั่วไป โรงเรียนบ้านคำยาง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่บ้านคำยางหมู่ที่ 8 ตำบลดงเหนือ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47140 ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีเนื้อที่ 19 ไร่ 80 ตารางวา

  6. เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 62 คน ครู 4 คน ครูพี่เลี้ยง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน รวมบุคลากร 7 คน อาคารเรียน 2 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 2 หลัง ห้องเรียน 8 ห้อง ห้องพิเศษ 3 ห้อง รวมทั้งสิ้น 11 ห้อง

  7. หมู่บ้านในเขตบริการ 1 หมู่บ้าน คือ บ้านคำยาง หมู่ 8 ตำบลดงเหนือ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำมากในฤดูฝน สภาพพื้นดิน เป็นดินร่วนซุย เหมาะสำหรับการทำการเกษตร การทำสวนยางพารา ปลูกข้าว การประกอบอาชีพ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา อาชีพเสริม คือ การทำสวนยางพารา และ เลี้ยงสัตว์

  8. วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านคำยาง มุ่งมั่นพัฒนาบริหารจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและมีคุณภาพประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติกำหนด ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง และบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

  9. พันธกิจ • 1. ปฏิรูประบบบริหาร • 2. มุ่งมาตรฐานการเรียนการสอน • 3. พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ • 4. เน้นคุณภาพคุณธรรมของผู้เรียน • 5. เพียรสัมพันธ์กับชุมชน • 6. สนใจสภาพแวดล้อม • 7. มีความพร้อมสื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ • 8. มุ่งสู่การประกันคุณภาพ

  10. เป้าประสงค์ 1. นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. นักเรียนร้อยละ 90 มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และ พูดจาสุภาพเรียบร้อย 3. นักเรียนร้อยละ 90 มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงและรักการเล่นกีฬา 4. นักเรียนร้อยละ 95 มีจิตสำนึกและประพฤติตนในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดจนส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. ชุมชนเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาของทางโรงเรียนและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

  11. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านคำยาง เห็นความสำคัญที่จะปลูกฝังให้เยาวชนไทยมีความรู้ ความเข้าใจและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สู่การบริหารจัดการสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาที่สามารถบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยกิจกรรมของโรงเรียนมีดังนี้

  12. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา องค์ประกอบ 1 นโยบาย • ได้กำหนดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา • มีการประชุมวางแผนจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียง • มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน • มีปฏิทินการปฏิบัติงานและแผนการนิเทศ • มีการรายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอน PDCA เอกสารประกอบ ได้แก่ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ปฏิทินการปฏิบัติงาน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ บันทึกการประชุม บันทึกการนิเทศ โครงการ ภาพกิจกรรม

  13. องค์ประกอบ 2 วิชาการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ส่งเสริมอาชีพให้แก่นักเรียน เป็นอาชีพที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนให้มีอาชีพติดตัว และสามารถเรียนรู้กระบวนการทำงาน ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถสื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตมาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ เห็นคุณค่าของการนำความรู้เกี่ยวกับการอาชีพและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน เห็นแนวทางการประกอบอาชีพ รักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข • ได้ร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา โดยบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ • จัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ • วัดผลและประเมินผลอย่างหลากหลาย เอกสารประกอบ ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ หลักฐานการวัดผลประเมินผล

  14. องค์ประกอบที่ ๓ งบประมาณ - การพัฒนาระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพ - กองทุนสวัสดิการเพื่อการศึกษา(การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา) - การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ การบริหารการบัญชี การเงินเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นระบบ และเอื้อต่อการทำงานของคณะครูทุกคน สามารถเข้าถึงทรัพยากร วัสดุและงบประมาณได้ทุกคน - การจัดสรรงบประมาณ การจัดทำและเสนอของบประมาณ เหตุผลและความจำเป็นต่อการพัฒนาผู้เรียน - การตรวจสอบติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ถูกต้องตามระเบียบ

  15. องค์ประกอบ 4 บริหารทั่วไป • โรงเรียนบ้านคำยาง มีการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนสะอาด สวยงาม ร่มรื่น ปลอดภัย จัดภูมิทัศน์ให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน มีห้องกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่นห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ การจัดสถานที่ มุมกิจกรรมหรือมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การออม และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายในห้องเรียน และจัดจุดเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างสูงสุด เอกสารประกอบ ได้แก่ ภาพกิจกรรม โครงการ บันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้

  16. ด้านที่ ๒ หลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถานศึกษามีการพัฒนาหรือบูรณาการเนื้อหาสาระของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในหลักสูตรสถานศึกษา ตามขั้นตอนดังนี้ ๑.๑ สถานศึกษานำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติม วิสัยทัศน์ เป้าหมายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา ๑.๒ วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และวิเคราะห์และกำหนดหน่วยการเรียนรู้แสดงความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงหรือเพิ่มเติม ๑.๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือจัดทำสาระการเรียนรู้ หน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นตามข้อ ๑.๒

  17. องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้ - การจัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกสาระการเรียนรู้ ทุกชั้นเรียน มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

  18. องค์ประกอบที่ ๓สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอ - แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน สวนเกษตรพอเพียง เนื่องจากโรงเรียนบ้านคำยาง ตั้งอยู่ในชุมชนเกษตรกรรม และมีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลายหลาย จึงได้คิดปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ความพอประมาณ รู้จักตนเอง รู้จักรากเง้าเผ่าพันธุ์บรรพบุรุษ ภูมิใจในของกิน ของใช้พื้นเมือง - แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน วัดโนนสะอาด วัดป่าดงเตย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคำยาง - ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผู้ทรงคุณวุฒิ

  19. องค์ประกอบที่ ๔การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวัดและประเมินผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยดูจากผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา และการประเมินมาตรฐานคุณภาพด้านผู้เรียนตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งผลการประเมินนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก

  20. ด้านที่ ๓ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน องค์ประกอบที่ ๑ การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โรงเรียนบ้านคำยาง มีกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ครูประจำชั้นประสานความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลนักเรียนกับผู้ปกครองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน และจัดกิจกรรมแนะแนวให้คำปรึกษา เพื่อผู้เรียนได้รู้จักตนเอง ความถนัด ความสามารถ และความต้องการ ตลอดจนถึงการส่งเสริมนักเรียนตามศักยภาพความถนัด ความต้องการของนักเรียน เพื่อการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ๑. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ๒. การคัดกรองนักเรียน ๓. การส่งเสริมพัฒนา ๔. การช่วยเหลือแก้ไข ๕. การส่งต่อ

  21. องค์ประกอบที่ ๒ กิจกรรมนักเรียน การดำเนินกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร ได้แก่กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี โครงงานคุณธรรมกิจกรรมส่งเสริมการออม ทำดีถวายในหลวง กิจกรรมวันสำคัญ วันเข้าพรรษา ออกพรรษา บุญตามประเพณี บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอบรมคุณธรรมสำหรับนักเรียน กิจกรรมทำบุญทุกวันพระ วันพ่อ วันแม่ เป็นต้น ซึ่งการจัดกิจกรรมทุกครั้ง โรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

  22. องค์ประกอบที่ ๓ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ อย่างหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะจิตอาสา การรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย การทำความสะอาดเขตรับผิดชอบของแต่ละชั้นเรียน การทำความสะอาด วัด สถานที่ต่างๆในชุมชน การจัดกิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ต้องเน้นให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์กิจกรรม ร่วมสำรวจสภาพและปัญหา ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม และร่วมรายงานผลพร้อมทั้งเผยแพร่ผลการจัดกิจกรรม

  23. ด้านที่ ๔ ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา องค์ประกอบที่ ๑การพัฒนาบุคลากรตามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้บุคลากรได้รับการอบรม ศึกษาดูงานพัฒนาทั้งที่โรงเรียนจัด หน่วยงานต้นสังกัด อาทิกิจกรรมอบรมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้, การศึกษาดูงานที่โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนบ้านบะหว้า เนื่องจากครูต้องเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี โดยพิจารณาและวิเคราะห์ดูว่า ในตัวครูนั้นมีความไม่พอเพียงในด้านใดบ้าง เพราะการวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้รู้และเข้าใจปัญหา ที่เกิดจากความไม่พอเพียง รวมทั้งควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาด้วย โดยการวิเคราะห์นี้ต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม โดยเฉพาะคุณธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในใจเด็กให้ได้ก่อน ผ่านกิจกรรมที่ครูเป็นผู้คิดขึ้นมาปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้นักเรียนร่วมกันคิดร่วมกันทำ สามัคคีกันในกระบวนการหารือ

  24. องค์ประกอบที่ ๒การติดตามและขยายผล ครูเป็นผู้ที่ทำตนเป็นแบบอย่างในด้านการประพฤติปฏิบัติทางการดำเนินชีวิต โดยครูได้รับการพัฒนาตนเองแล้วจะทำมารายงานผลการพัฒนาตนเอง การได้รับเกียรติบัตร วุฒิบัตร เพื่อจัดเข้าระบบการพัฒนาบุคลากร

  25. ด้านที่ ๕ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ องค์ประกอบที่ ๑ สถานศึกษา จากการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา จึงมีการทบทวน ปรับปรุง พัฒนา โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการให้สอดคล้องหรือรองรับการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม และการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ครอบคลุมการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา มีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

  26. องค์ประกอบที่ ๒ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนบ้านคำยาง มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำพาองค์กรไปในทิศทางตามพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถถ่ายทอดหลักการและแนวคิดให้บุคลากรทราบเป็นเบื้องต้น สร้างความตระหนักให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน ถึงจุดหมายของการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษาร่วมกันแล้ว การประยุกต์ใช้หลักการต่างๆได้อย่างรอบครอบแยบยล ไม่ว่าจะเป็นการะประยุกต์ใช้หลักคำสอน การปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา หรือการประยุกต์ใช้ในหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  27. องค์ประกอบที่ ๓ ครูและบุคลากรของสถานศึกษา ในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันครูมีบทบาทสำคัญมากขึ้นไม่เพียงแต่เป็นผู้สอนให้ความรู้แก่เด็กๆ ครูเป็นผู้ที่ทำตนเป็นแบบอย่างในด้านการประพฤติปฏิบัติทางการดำเนินชีวิต รู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับตนเองรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย การรู้จัก หนทางแห่งปัญหาส่วนตัวครูต้องรู้จักการคิดแก้ไข เมื่อปัญหาส่วนตัวคลี่คลาย การปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยเหลือเด็กๆก็จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่ง มีความก้าวหน้าในหน้าที่การปฏิบัติงาน ส่งผลให้แก่ผลงานแก่ตัวนักเรียน เลื่อนวิทยฐานะตนเอง และรางวัลต่าง ๆ ของโรงเรียน

  28. องค์ประกอบที่ ๔ผู้เรียน นักเรียนได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิต ๑. นักเรียนมีนิสัยรักการทำงาน วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และทำงานกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพของตนเอง ๒. นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความขยันประหยัด มีวินัย มีความรับผิดชอบ พอเพียง ๓. นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ สามารถเลือกบริโภคในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและส่วนร่วม ๔. นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตตนเอง ๕. นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ๖. นักเรียนทำโรงเรียนให้เป็นที่อบอุ่น น่าอยู่ น่าเรียนเหมือนบ้าน มีพ่อ มีแม่ มีความรัก มีความงาม และมีความดี

  29. บทสรุป แนวทางการพัฒนา โรงเรียนได้การน้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษา ด้วยกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ได้แก่ หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล และหลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยอยู่บนพื้นฐานของการมีความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) มีองค์ประกอบ ๕ ด้าน คือ ด้านที่ ๑ การบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านที่ ๒ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านที่ ๓ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านที่ ๔ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านที่ ๕ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ โดยมีการเชื่อมโยงกับแนวทางการบริหารงาน ๔ งาน การสอดแทรกกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประสานความร่วมมือกับวัด และชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยหวังให้ชุมชน นักเรียนได้กลับมาดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ที่อุดมไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่กับการอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูกหลานได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

  30. สถานศึกษา สถานศึกษา มีการทบทวน ปรับปรุง พัฒนา โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการให้สอดคล้องหรือรองรับการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จัดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม และการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ครอบคลุมการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา

  31. คณะครูและบุคลากร คณะครูและบุคลากร ได้รับรางวัล การยกย่องจากการปฏิบัติที่เกิดผลต่อผู้เรียน ครูทุกคนรู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับตนเองรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย การรู้จักหนทางแห่งปัญหาส่วนตัวครูต้องรู้จักการคิดแก้ไข เมื่อปัญหาส่วนตัวคลี่คลาย การปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยเหลือเด็กๆก็จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่ง มีความก้าวหน้าในหน้าที่การปฏิบัติงาน ส่งผลให้แก่ผลงานแก่ตัวนักเรียน การเลื่อนวิทยฐานะตนเอง และรางวัลต่าง ๆ ของโรงเรียน

  32. ผู้เรียน ผู้เรียน มีความรู้ มีทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสาธารณะ เสียสละ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน ขยันอดทน

  33. ชุมชน เกิดความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากบุคคลและทุกมิติของสังคมที่ร่วมกันหล่อหลอมโดยมีเป้าหมายที่ให้การพัฒนาคนในสังคม หมู่บ้านมีการพัฒนาอย่างสมดุล ตลอดจนการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน โดยบูรณาการสอดแทรกบูรณาการเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนให้ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมความสามัคคี เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

More Related