1 / 8

นายสาธิต เทอดเกียรติกุล ( satid@dpim.go.th ) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก.

ข้อเสนอต่อกิจกรรมในลำดับที่ 8 โรงงานถลุงหรือหลอมโลหะ รวมเหล็กหรือเหล็กกล้า ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป. นายสาธิต เทอดเกียรติกุล ( satid@dpim.go.th ) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. 26 มีนาคม 2553. ขอบเขตหัวข้อการนำเสนอ.

sef
Download Presentation

นายสาธิต เทอดเกียรติกุล ( satid@dpim.go.th ) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อเสนอต่อกิจกรรมในลำดับที่ 8โรงงานถลุงหรือหลอมโลหะ รวมเหล็กหรือเหล็กกล้า ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป นายสาธิต เทอดเกียรติกุล (satid@dpim.go.th) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. 26 มีนาคม 2553

  2. ขอบเขตหัวข้อการนำเสนอขอบเขตหัวข้อการนำเสนอ • โรงงานหลอมโลหะที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป โดยเพิ่มเติมจากการนำเสนอในการประชุม คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1-4 ที่มีผู้แทนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. มานำเสนอแล้วในขอบเขตต่อไปนี้ • โรงงานถลุงโลหะ • โรงงานเหล็กหรือเหล็กกล้า ซึ่งจะไม่เน้นในการนำเสนอในครั้งนี้

  3. กรณีการหลอมโลหะตะกั่ว ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป(เห็นด้วยกับการถูกจัดอยู่ในโครงการ/กิจกรรมที่ “อาจรุนแรง” ของ อนุHIA) • เนื่องจากตะกั่วเป็นโลหะมีพิษ และไอตะกั่วสามารถรวมกับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว จึงควรมีกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างดีเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับการหลอมโลหะอื่นๆ มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านอาชีวอนามัยได้สำหรับพนักงาน สังคม และชุมชนล้อมรอบ ดังนั้นการจัดทำ HIA เพิ่มขึ้นมาจาก EIA จึงค่อนข้างมีความจำเป็น

  4. สำหรับอุตสาหกรรมหลอมโลหะตะกั่วจากเศษแบตเตอรี่ ได้รับการตีความตามกฤษฎีกาให้ถือว่าเป็นการประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510ประเภทหนึ่ง* ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในปัจจุบัน นอกจากรายงานการติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว โรงงานในกลุ่มนี้ต้องแสดงผลวิเคราะห์ตะกั่วในเลือด/ปัสสาวะทุกๆระยะ 3 เดือน * -การถลุงโลหะตะกั่วแบบทุติยภูมิ หรือ Secondary Lead Smelting -การผลิตเหล็กกล้าไม่ว่าจะมีปริมาณการผลิตขนาดใด ถูกจัดเป็นการประกอบโลหกรรมตามพ.ร.บ.แร่ เช่นเดียวกัน

  5. กรณีการหลอมโลหะอื่น ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป(ไม่เห็นด้วยกับการถูกจัดอยู่ในโครงการ/กิจกรรมที่ “อาจรุนแรง” ของ อนุHIA) • เนื่องจากเป็นการนำเศษโลหะที่ค่อนข้างบริสุทธิ์มาหลอมหรือมาหลอมซ้ำ โดยไม่มีขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้เนื้อโลหะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดกากตะกรัน น้ำเสีย และฝุ่นควัน ในปริมาณมากดังเช่นในการถลุงแร่โลหะ ที่มีของเสียค่อนข้างสูงเนื่องจากดิน หิน และสารมลทินที่เจือปนมาในแร่และวัตถุดิบ ดังนั้นกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตให้มีความสะอาดและปลอดภัยมักทำได้ไม่ยากสำหรับโรงงานหลอมโลหะทั่วไป

  6. ในกรณีของกิจกรรม/โครงการอุตสาหกรรมหลอมโลหะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (เหล็ก 100 ตันต่อวัน โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก 50 ตันต่อวัน)* จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกอบการขออนุญาต โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสผ.ก่อนการก่อสร้างโรงงาน โดยสผ. อาจกำหนดเพิ่มเติมมาตรการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม ดังนั้นจึงค่อนข้างเพียงพอต่อการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อไม่ให้กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม * พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 (ม.46-ม.51) และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลวท.24 ส.ค. 2535

  7. เท่าที่ผ่านมาในอดีตนับตั้งแต่มีการออกใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยมีปัญหาการร้องเรียนผลกระทบที่รุนแรงจากกากน้ำเสียฝุ่นควันและเสียงจากกระบวนการผลิตโลหะซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแล (ยกเว้นกรณีของการสั่งให้หยุดการผลิตเพื่อทำการแก้ไข 1 ครั้งของการถลุงแร่ตะกั่ว ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการนำเสนอในการประชุม คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งก่อนๆ )

  8. ขอบคุณครับ

More Related