690 likes | 844 Views
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะกับงาน. การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับงาน. จำแนกตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 3 กลุ่ม. - งาน เอกสาร หรืองานใน สำนักงาน - งานด้านกราฟิก และมัลติมีเดีย - งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ. งานเอกสาร หรือ งานในสำนักงาน.
E N D
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะกับงาน
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับงานการเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับงาน จำแนกตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 3 กลุ่ม - งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน - งานด้านกราฟิก และมัลติมีเดีย - งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ
งานเอกสาร หรือ งานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับจัดการด้านเอกสารรายงาน ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟแวร์ประมวลคำ และซอฟแวร์ตารางทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ 17 – 19 นิ้ว เพื่อถนอมสายตา เนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา
งานด้านกราฟิก และมัลติมีเดีย เป็นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียกใช้งานโปรแกรมกราฟิกหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ใช้ซอฟแวร์กราฟิกในการสร้างชิ้นงาน เช่น งานสิ่งพิมพ์ งานนำเสนอแบบมัลติมีเดีย สร้างเว็บไซต์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากที่มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไปใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูน แอนิเมชันตัดต่อวีดีทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีกราฟิกสูง งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนานถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มทำงานใหม่
ระยะเวลาในการรับประกันระยะเวลาในการรับประกัน ระยะเวลามักจะถูกกำหนดโดยผู้นำเข้าหรือผู้ผลิต โดยระยะเวลาในการรับประกันสินค้าจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทั้งนี้ ถ้ามีความเข้าใจในรายละเอียดการรับประกันก็จะเป็นประโยชน์ต่อเรามากโดยมีรายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์ดังนี้ คือ
ฮาร์ดดิสก์ ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง คือ Seagate และ Quantum ซึ่งมีราคาถูกและทนทาน รับประกันนานถึง 3 ปี ถ้าเสียหายใน 1 เดือนแรก บริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ให้ทันที การรับประกันโดยไม่ครอบคลุมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้ เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือเสียบเพราะทำหล่นหรือกระแทกอย่างแรง ระยะเวลารับประกัน: 1 ปี 3 ปี 5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
Main board ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันขั้นต่ำ 1 ปี แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงจะมีการรับประกันถึง 3 ปี จะรับประกันในกรณีที่เสียจากการใช้งานตามปกติเท่านั้น ไม่รวมถึงคามเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของเราเองโดยทั่วไปหากเสียภายในเวลา 1 เดือนร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ถ้าเสียหายหลังจากนั้นจะส่งซ่อมโรงงาน
CPU ที่มีชื่อเสียงคือค่ายของ Intel ค่าย AMD และค่ายของ VIA ซึ่งซีพียูของทั้งสามบริษัทนี้มีการรับประกันสินค้า 3 ปี ส่วนซีพียูที่นำเข้าโดยผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ มีการรับประกันเพียง 1 ปี ในกรณีที่เราทำให้ซีพียูไหม้ จะไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันเช่นเดียวกับเมนบอร์ด โดยทั่วไปถ้าซีพียูเสียหายภายใน 1 เดือน ทางร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ แต่ถ้าเสียหายหลังจากนั้นจะส่งคืนโรงงาน
RAM จะแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ เกรดดีจะมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน (LivetimeWarranty)และแรมเกรดทั่วไปที่รับประกันเพียง 1 ปี แต่แรมชนิดทั่วไปนี้จะมีราคาถูกกว่าแรมเกรดดีมาก
การ์ดจอ และการ์ดเสียง รับประกัน 1 ปี ส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภทนี้มักไม่เสียง่าย แต่จะมีปัญหาในเรื่องของการเสียบการ์ดไม่แน่น ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอเท่านั้น
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ซึ่งแหล่งจ่ายไฟบางครั้ง มีผลต่อการทำงานของเครื่องเช่นกัน สินค้าประเภท อื่นมักมีใบรับประกันสินค้า
สติ๊กเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์มักใช้สติ๊กเกอร์รับประกันเพื่อยืนยันว่าสินค้านี้มาจากร้านของตนจริง โดยมีการกำหนดวันที่จำหน่าย และระยะเวลาในการรับประกันไว้ โดยทั่วไปสติ๊กเกอร์รับประกันจะมี 2 รูปแบบ คือ
1. สติ๊กเกอร์ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นการรับประกัน เป็นแบบที่นิยมกันมากกว่าเพราะง่ายต่อการบันทึกวันเริ่มต้นรับประกันไป เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีระยะเวลาในการรับประกันไม่เท่ากันเช่น ซื้อสินค้าไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2002 เป็นต้น
2. สติ๊กเกอร์กำหนดเวลาสิ้นสุดการรับประกัน เป็นรูปแบบสติ๊กเกอร์ที่จะทราบเวลาสิ้นสุดการรับประกันสินค้าได้ อย่างชัดเจนแต่ไม่นิยม เนื่องจากต้องระบุวันที่สิ้นสุดการรับประกันลงไป ซึ่งมีโอกาสที่จะเขียนผิดพลาดได้ง่าย วันสิ้นสุดการรับประกันในสินค้ามักมีตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนไว้ว่า EXPIRE ด้านล่างจะมีคำว่า Warranty Void If Remove หมายความว่า รับประกันจะสิ้นสุดลง เมื่อมีการแกะสติ๊กเกอร์ออกจากตัวสิน ดังนั้นเมื่อซื้อสินค้าควรจะตรวจดูสติ๊กเกอร์รับประกัน
การเลือกอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลหลัก (CPU) ทำหน้าที่ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากอุปกรณ์ Input Hard Disk และ RAM เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปแสดงผล ซีพียูจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของ คอมพิวเตอร์ เครื่องนั้นๆ ว่าซีพียูความเร็วขนาดนี้จะใช้งานในระดับไหนได้ดี โดยมักจะแบ่งการใช้งานเป็นหลัก เช่น ใช้งานเอกสารทั่วไป ใช้เล่นเกม 3D, 2D ที่มีความละเอียดสูงๆ หรือใช้งานทางด้านมัลติมีเดียความบันเทิงต่างๆ สำหรับซีพียูที่ออกมาวางขายในปัจจุบันนั้นก็จะมีอยู่ 2 ค่าย ได้แก่ ค่ายอินเทล และ ค่ายเอเอ็มดี
1. ความเร็วของ ซีพียู: ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนด โดยมีหน่วยเป็น - เฮิรตซ์ (Hz) คือ ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีแต่ใน - ปัจจุบันอยู่ระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz)” เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์ คือซีพียูทำงานได้ 1 พันล้านครั้งต่อวินาที ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz
2.หน่วยความจำแคช(Cache): แคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ เพื่อส่งไปยังซีพียู แคชจะทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์ ให้เชื่อมต่อกัน ดังนั้นยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่านั้นด้วย
โดยความเร็วทั้ง 3 ระดับของแคชมีดังนี้ - แคชระดับที่ 1 (L1) : เป็นแคชที่มีขนาดเล็กที่สุด เพียง 32-128 KB เท่านั้น และอยู่ใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด - แคชระดับที่ 2 (L2) : จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเพราะจะทำการเก็บข้อมูลจากแรมเป็นหลัก - แคชระดับที่ 3 (L3) : อยู่คั่นกลางระหว่างแรมกับแคช L2 โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนซึ่งมีประมาณ 2-8 MB และจะอยู่ใกล้กับบัสเพื่อสามารถที่จะถ่ายโดยข้อมูลไปยังส่วนต่างๆได้ง่ายขึ้น
3.บัส(BUS): คือการนำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง บัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz) จะมีค่า FSB อย่างเช่น FSB 1066 เป็นต้น 4.ซีพียู จากค่ายต่างๆ : มี 2 ค่ายคือ Intel และ AMD Intel เป็นผู้ผลิตซีพียูรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในโลก ซีพียูที่ Intel ผลิตนั้นก็มีหลายรุ่นและมีเทคโนโลยีที่ต่างกัน ตัวอย่าง ซีพียูที่ทาง Intel ผลิตดังนี้คือ
1.CELERON-D :ออกแบบให้ใช้กับการทำงานพื้นฐานต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการอะไรมากนัก เหมาะกับการใช้โปรแกรมทางด้านพื้นฐาน เช่น ดูหนังฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต เล่นเกมง่าย 2. CELERON-Duo Core : พัฒนามาจาก CELERON-D รุ่นเดิม แต่เปลี่ยนมาผลิตจากที่เป็น ซิงเกอร์คอร์มาเป็น ดูอัลคอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานดีขึ้น
3.INTEL Duo Core : ที่มีความเร็วกว่า CELERON ตอบสนองการใช้งานได้มากกว่า โดยพัฒนาจากซีพียูรุ่น Pentium มาเป็นโครงสร้างแบบ Duo Core คือเป็นการทำงานของซีพียู 2 ตัวในแกนเดียว 4.INTEL CORE 2 DUO: พัฒนามาจาก INTEL Duo Core พัฒนามาเป็นรุ่นที่ 2 โดยจะมีการเพิ่ม L 2 จาก 2MB มาเป็น 3MB และมีความเร็วบัสเพิ่มขึ้น 5.INTEL CORE 2 QUAD : พัฒนาจาก INTEL CORE 2 DUO โดยนำ INTEL CORE 2 DUO จำนวน 2 ชุด มารวมกันเป็น 1ตัว ทำให้ได้ซีพียูที่ทำงานพร้อมกัน 4 coreและยังช่วยการใช้พลังงานที่ลดลงกว่าเดิม
6. CORE 2 QUAD Extreme: เป็นการนำเอา INTEL CORE 2 DUO มารวมตัวกันโดยเป็นการแยกการทำงานโดยอิสระ และมีการแบ่งการทำงาน ของ L2 เป็น 2 ส่วน 7.Intel Core i7 : มีการเพิ่ม แคชระดับ L3 ที่นำมาใช้ถึง 4-8 MB และมีการลองรับ Dual Channel DDR3 เป็นครั้งแรก ซึ่งจะต้องทำงานกับแรม 3 แผงขึ้นไป เพราะฉะนั้นเราต้องใช้แรม 3 แผงเป็นอย่างต่ำ
AMDเป็นผู้ผลิตที่นอกเหนือจาก Intel ที่เข้ามาแย่งตลาดกัน โดยจะมีราคาที่ถูกกว่าเมือเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพ โดยจะมีซีพียูของด้วย AMD ดั้งนี้ 1. SEMPRON : เป็นซีพียูที่อยู่ในตลาดระดับล่างของ AMD มีราคาถูกและตอบสนองการใช้งานด้านพื้นฐานต่างๆได้ดี 2. AMD 940 X2 : เร็วมากกว่า Sempronนิดหน่อย เหมาะสำหรับใช้งานพื้นฐานทั่วไป ทำงานกราฟิก หรือเล่นเกมส์บ้าง รองรับ HyperTransport
3. PHENOM X3 : พัฒนามาจาก CPU AMD 940 X2 เพิ่มมาอีก 1หัวเป็น 3 หัว 4. PHENOM X4 : ทำงานบนพื้นฐานของ Quad-core เป็นโปรเซสเซอร์ที่มีสมรรถนะต่างๆ มีคอร์โปรเซสเซอร์ 4 ตัว HyperTransportเป็นเทคโนโลยีของ AMD ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างอิสระระหว่างคอร์ต่าง ๆ และหน่วยความจำภายในเครื่อง สามารถปรับความกว้างของการรับ/ส่งของของข้อมูล เป็นระบบบัสที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า FBS
เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นอุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ใน เครื่อง Computer โดยผ่านส่วนควบคุมนั้นคือ ชิปเซต (Chipset) เมื่อผู้ซื้อทำตกลงใจที่จะใช้งาน ซีพียู ตัวไหนแล้ว ต่อไปเราก็มาทำการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ที่จะมาใช้งานร่วม กับ ตัวซีพียู เมนบอร์ดที่วางขายกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อดังต่อไปนี้ ABIT, Albatron, ASROCK, ASUS, DFI, ECS, Gigabyte, Intel, Iwill, LEMEL, MSI, SHUTTLE, MATSONIC และ P&A
1.ชนิดของซีพียู (CPU Socket) : ซ็อกเก็ตมีตำแหน่งที่ติดตั้งซีพียู ซึ่งจะเลือกซ็อกเก็ตแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กันที่เราเลือกซื้อซีพียูด้วย 2.หน่วยความจำ (Memory ) : Random Access Memory หรือRAM ครับ RAM ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่จะถูกนำไปประมวลผลกับซีพียู โดยปัจจุบันที่มีรองรับบนเดสก์ท็อปเมนบอร์ดจะมีสองชนิดด้วยกันคือ DDR 2 และ DDR 3 โดย DDR 3 จะมีความเร็วของ FSB 1066MHz - 1600MHz ส่วนแรมชนิด DDR 2 มีความเร็ว FSB เริ่ม 533MHz - 800MHz โดยแต่ละเมนบอร์ดก็จะรองรับการทำงานได้โดยแรมชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานแรมสองชนิดพร้อมกันได้
3.ชิปเซต (Chipset) : เป็นศูนย์กลางของเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านไปยังฮาร์ดแวร์ส่วนตัวต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกับเมนบอร์ด ซึ่งการเลือกซื้อต้องดูจากซีพียูเป็นหลัก โดยปกติแล้วผู้ผลิตซีพียูอย่างเช่น Intel® ก็เป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตIntel® ไม่ว่าจะเป็น X58, P55, P45, G45, G31Chipset และ อื่นๆ ส่วน AMD ใช้ชิปเซ็ตหลักเป็น ATI ไม่ว่าจะเป็น 790X, 785 และ 770 Chipset และผู้ผลิตก็จะมีการกำหนดมาตรฐานการใช้งานระหว่างซีพียู กับชิปเซ็ตไว้อยู่แล้ว
4.กราฟฟิคสล็อต (VGA slot) : เป็นเรื่องของกราฟิก ก็จะมีตัว interface หรือ connector รองรับอยู่สองแบบหลักๆก็คือ • แบบกราฟฟิคบิวท์อินบนบอร์ดมาอยู่แล้วและเมนบอร์ดยังมีพร้อม interface แบบ AGP หรือ PCI-Express มาให้ด้วย ยังสามารถทำให้กราฟิกชิปที่เป็นแบบบิวท์อินและแบบการ์ดทำงานร่วมกันได้ • แบบที่มี interface หรือ connector แบบ PCI-Express ที่มีให้มากกว่าหนึ่งสล็อต เพื่อที่จะรองรับการทำงานแบบ Multi-VGA สามารถต่อเชื่อม หรือ รวมกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผลภาพขั้นสูง โดยปัจจุบันมีสองค่ายที่มีนำเสนอออกมา ได้แก่ ATI CrossFire™ X Technology และ NVIDIA SLI Bridge เหมาะสำหรับนักเล่นเกมหรือคนที่ทำงานด้านกราฟิก
5.ระบบเสียง (Sound Onboard) : ปัจจุบันผู้ผลิตสื่อสามารถผลิตสื่อมัลติมีเดียที่มีความสามารถในการแสดงผลในส่วนของเสียงที่ดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกภาพยนตร์แบบระบบเสียง Dolby Surround 8.1 สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 8 ช่องทาง รวมทั้งเมนบอร์ดบางรุ่นบางผู้ผลิตยังมาพร้อมช่องสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF แบบ Optical และ Coaxial เพื่อเติมเต็มคุณภาพของสัญญาณเสียงแบบสมจริง และใกล้เคียงคุณภาพของชุดเครื่องเสียงจริงๆ ฉะนั้นระบบเสียงที่บิวท์อินมากับตัวเมนบอร์ดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเช่นกันในการเลือกซื้อเมนบอร์ด
6.ระบบเครือข่าย (LAN): มีความเร็วตั้งแต่ 10Mbps จนถึง 1000Mbps หรือ 1Gbps ในปัจจุบันจริงๆ มีผู้ผลิตบางรายใช้เป็น 1Gbpsทั้งหมดแล้ว แต่สามารถรองรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์พวกสวิทช์ที่เป็น 10/100Mbps ได้ เมื่อก่อนผู้ใช้ตามบ้านอาจจะมองว่าแลนไม่ได้ใช้งานแต่อย่างใดเมื่อใช้ที่บ้าน� แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง ADSL โตขึ้นอย่างรวดเร็วและเทคโนโลยีดังกล่าวต้องทำงานร่วมกับแลน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องใช้พิจารณาในการเลือกซื้อเมนบอร์ดเช่นกัน
7.ไอโอ (I/O Connector) : คือช่องที่ใช้เชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์หลายประเภท อย่างเช่น USB Port ที่ใช้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์หลายชนิดเช่น Key Board, Mouse, Flash Drive, Bluetooth, Printer, Modem, Wireless USB เป็นต้น หรือจะเป็น PS2 ที่ใช้ติดต่อกับคีย์บอร์ด และ เมาส์ หรือ SATA และ P-ATA ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดไดรฟ์ และ ออปติเคิลไดรฟ์ อย่างซีดีรอม ซึ่งไอโอพอร์ตเหล่านี้ติดตั้งมาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดทุกรุ่นทุกค่ายอยู่แล้ว
หน่วยความจำ (RAM) ทำหน้าที่ในการเก็บ และพักข้อมูลที่รอการประมวลผล หรือทำการประมวลผลเสร็จแล้ว เพื่อนำไปใช้ใน การแสดงผลของข้อมูล แรมที่วางขายอยู่ในท้องตลาดก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ SDRAM และ DDR-SDRAM แต่สำหรับแรมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันก็คงจะเป็นแรมในแบบ DDR-SDRAM การเลือกใช้แรมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าเลือกใช้แรมไม่ดี หรือไม่ถูกต้องก็อาจจะ ทำให้ เครื่อง คอมพิวเตอร์ (Computer) ทำงาน ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
การเลือกหน่วยความจำแรม (Ram) การเลือกหน่วยความจำแรมมีหลักในการพิจารณาดังนี้ 1. จากเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ : โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ DDR, DDR2 และ DDR3 โดยที่แต่ละแบบก็ใช้งานกับแพลตฟอร์มต่างกันออกไป คือ DDR (184-pins) จะทำงานร่วมกับชิปเซตของ Intel ตระกูล 845, 865 และใน VIA P4M บางรุ่น สำหรับ AMD ก็มีตั้งแต่ nForce2, nForce3, GeForce 6100/6150 ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสำหรับการอัพเกรด ประกอบด้วย DDR400/333/266 (PC3200/2700/2100)
- ส่วน DDR2 (240-pins) ใช้กับชิปเซตไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทล 915, 925, 945, 955, 965, 975, G31, G33, P35, X38 และ X48 รวมไปถึง 680i/ 780i ส่วนทาง AMD ก็ใช้ได้กับ nForce4, nForce 5xx Series, 690G, nForce 750/770/790FX Series ซึ่งก็มีให้เลือกตั้งแต่ DDR2 800/667/533 (PC6400/5300/4200) เป็นแรมที่มีราคาค่อนข้างถูก มีให้เลือกตั้งแต่แถวละ 512MB, 1GB และ 2GB- DDR3 (240-pins)ถือว่าเป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร ราคาก็สูงด้วย ส่วนชิปเซตจากอินเทลจะมีเพียง X48 ที่รองรับการทำงานอย่างเต็มตัว แต่ผู้ผลิตก็ยังมีในแบบ DDR2 มาให้ใช้ด้วย ส่วนทาง AMDจะมีในรุ่น AMD 790i ที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น ที่ออกมารองรับการทำงานกับ DDR3 โดยจะมีความเร็วที่ DDR3 1333 และ DDR3 1066 (PC10600/8500)
2.เลือกที่ความจุและขนาดที่ต้องการ : ให้ดูจากปริมาณการทำงานและแอพพลิเคชันที่ใช้เป็นหลัก หากการใช้งานทั่วไปร่วมกับวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้ว ความจุที่512MB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการในเรื่องของเกมสามมิติและโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว ความจุที่มากกว่า 1GB จะช่วยให้มีความลื่นไหลมากขึ้น ส่วนถ้าหากจำนำไปใช้กับงานระดับ Workstation ความจุที่ 2-4GB ก็ดูจะเป็นขนาดที่เหมาะสม
3.เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual ความจุเท่ากัน 2 แถว : ในความเป็นจริงทั้ง 2 แบบก็ถือว่ามีจุดเด่นต่างกัน คือการทำงานโหมด Dual Channel ที่เป็นแบบแรมสองแถวคู่ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมไม่น้อยกว่า 20% ส่วนการใช้แรมแบบแถวเดียว ในความจุเท่ากัน แม้ประสิทธิภาพจะด้อยกว่าแต่ก็มีราคาที่ถูกกว่า
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลหลักของ ซึ่งถ้ามีความจุสูงๆ ก็สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ในปริมาณได้มากๆ ฮาร์ดดิสก์ที่ออกมาวางขายนั้นทั่วไปก็จะมีให้เลือกอยู่ 3 แบบ โดยจะแบ่งตามมาตรฐานการโอนถ่ายข้อมูล และอินเทอร์เฟซที่ใช้เชื่อมต่อ ซึ่งก็จะมี ATA/100, ATA/133 และแบบ SATA 150 ที่มีขนาดของหน่วยความจำบัฟเฟอร์ 8MB ซึ่งมากกว่าในแบบ ATA ที่มีเพียงแค่ 2MB ดังนั้นฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA จึงมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่รวดเร็วกว่า
1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์ : มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน - แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้ เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ - แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาในตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
ข้อแตกกต่างของการเชื่อมต่อ IDE กับ SATA
2.ขนาดของความจุ: หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง เลือกความจุขนาดใด เช่น ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ แต่ก็มีราคาที่สูงอยู่ 3.ความเร็วรอบ : จะมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์ คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (rpm) ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์ : คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์ เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์ ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว 5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล : Seek Timeคือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น
กราฟิกการ์ด (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอแสดงผล โดยส่วนใหญ่แล้วในตอนนี้นั้น ปัจจุบันนี้กราฟิกการ์ดที่มีขาย อยู่นั้นส่วนใหญ่แล้ว จะเป็น จำพวก 3D Card ซึ่งใช้สำหรับการเล่นเกมส์ และประมวลผลภาพ 3 มิติ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง ซึ่งก็มีผู้ที่ผลิตชิปรายใหญ่อยู่ 2-3ราย นั้นก็คือ nVIDIA, ATiและ SiSซึ่งเป็นผู้ผลิตชิป 3 มิติระดับคุณภาพสูง
สำหรับขั้นตอนก็จะพิจารณาดังต่อไปนี้คือสำหรับขั้นตอนก็จะพิจารณาดังต่อไปนี้คือ ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 2 ประเภทคือ -AGP มีความเร็วที่ 266 MB/s แล้วได้มีการพัฒนา คือ 2x – 8x ซึ่งในปัจจุบันได้มีการลดความสำคัญลงไปเพราะมีสล็อต ที่เร็วกว่ามาแทน -PCI Expressมีความเร็วกว่า AGP ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เข้าแทนการเชื่อมต่อ แบบ AGP และแบบ PCI ธรรมดา โดยความสามารถของ PCI Express คือมีการควบคุมการรับส่งข้อมูลเรียกว่า สวิตช์และสามารถปรับขนาดของความกว้างของบัสเองได้มากกว่าทำให้ความเร็วไปได้ถึง 4 GB/s มากว่า AGP ถึง 2 เท่า
2.ซิปการฟิก - nVidia: เป็นผู้ผลิตที่ได้ผลิตมาตั้งแต่เริ่มต้น ที่โด่งดังก็คือ TNT 2 ที่เป็นกราฟการ์ด 3 มิติ ที่มีประสิทธิภาพในตอนนั้นและมีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจน ในปัจจุบันมีชื่อว่า GeForceถือได้ว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดในตอนนี้ มีให้เลือกหลากหลายขนาดหลายราคา ให้เลือก - ATi: ได้พัฒนามาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผู้ผลิตกราฟิกตระกูล Radeonที่มีประสิทธิภาพสูงได้รับการยอมรับจากคนเล่นเกมต่างๆ ว่ามีประสิทธิภาพเยี่ยม
3.หน่วยความจำ : เป็นส่วนที่ช่วยให้ความเร็วในการแสดงผลรวดเร็วมากขึ้น ส่วนของการ์ดแสดงผลนั้นก็มีหน่วยความจำที่ทำงานเช่นเดียวกันนั้นมีหลายประเภทในปัจจุบันคือ - GDDR 2 เป็นแรม DDR2 ที่ออกแบบให้เมาะสมกับการ์ดแสดงผล จะรองรับการทำงานด้วยความเร็ว 500MHz - GDDR3 ได้รับการพัฒนามาจาก DDR2 โดยจะทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า 2 เท่าคือ 1 GHz ขึ้นไป - GDDR 4 เป็นแรมที่พัฒนามาจาก DDR3 ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงกว่า DDR2 ถึง 3 เท่าคือ 1.5 GHz - GDDR 5 ก็เป็นการพัฒนาจาก DDR4 โดยมีความเร็วสูงที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะทำงานได้ถึง 2 GHz เลยที่เดียว โดยได้มีการเริ่มใช้กับกลุ่มซิปกราฟิกของ Radeon
จอมอนิเตอร์ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ Output ที่จะขาดไปเสียไม่ได้เลย จอมอนิเตอร์ที่ดียังเป็นการช่วยในการถนอมสายตาของผู้ใช้ อีกด้วย มอนิเตอร์ที่มีขายในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบ CRT กับแบบ LCD ซึ่งในแบบ CRT ก็จะแตกแยกย่อยออกเป็นอีกหลายแบบ เช่น Flat, Digital, Flattronหรือ FD Trinitonขนาดของจอภาพก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อควรจะมองเป็นอันดับแรก เพราะถ้าจอภาพมีขนาดใหญ่ก็จะทำให้การรับชมภาพของท่านสบายตามากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความละเอียดสูงสุด และอัตราการปรับ Rrfresh Rate ของมอนิเตอร์แต่ละตัวด้วยว่าสนับสนุนได้เพียงเท่าใด
การเลือกจอภาพ (Monitor) มี 2 ประเภทที่ใช้ในปัจจุบัน 1.จอภาพแบบ C: เป็นจอมอนิเตอร์ที่มีมานานมากแล้ว เป็นจอภาพอันดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ ความสามารถของจอมอนิเตอร์แบบนี้นั้น คือราคาที่ถูก สามารถมองเห็นในมุมมองต่างๆอย่างชัดเจนได้ การแสดงผลของภาพเคลื่อนไหวได้ดี โดยจะมีวงจรและหลอด CRT ภายในตัวมอนิเตอร์นั้นเอง