100 likes | 237 Views
K.M . การเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรใน หน่วยงาน. เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุม หน้าห้องฝ่ายปราบปราม ชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี. K.M.11.
E N D
K.M. การเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุม หน้าห้องฝ่ายปราบปราม ชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี.. K.M.11
ฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้สำหรับผู้ดูแลระบบ ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาคาร 42 ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดย... นายศักดา สุหงษา เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน
...หลักการและเหตุผล... • ในปัจจุบันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การให้บริการของภาครัฐและเอกชนผ่านเว็บไซต์ กลายเป็นช่องทางที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและระยะทางประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การพัฒนาเว็บไซต์กลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ ส่งผลให้ปัจจุบันมีเว็บไซต์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าเว็บไซต์เหล่านั้นยังคงถูกออกแบบมาเพื่อคนทั่วไปที่ไม่ได้มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน • การพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า “Web Accessibility”จึงถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับการเข้าถึงสารสนเทศที่เท่าเทียมและทั่วถึง สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ซึ่งผู้ที่พัฒนาเว็บจะต้องมีแนวทางในการพัฒนาที่ตรงกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ให้คนพิการสามารถใช้บริการ โดยจะคำนึงถึงความพิการในทุกๆ ด้าน
เป็นแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ สามารถใช้งานและเข้าใจเนื้อหา โดยรายละเอียดภายในมาตรฐานเป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับนักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐานสากล WCAG 2.0 ประกอบไปด้วยข้อแนะนำ การพัฒนาและเงื่อนไขที่สามารถระบุได้ว่าหน้าเว็บไซต์นั้นได้ทำตามข้อแนะนำอย่างถูกต้อง หลักการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ TWCAG 2010 (Thai Web Content Accessibility Guidelines 2010)
แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา นำเสนอเนื้อหา และข้อมูลของเว็บไซต์ มี 4 หลักการ ดังนี้ 1. สามารถรับรู้ได้ (Perceivable) 2. สามารถใช้งานได้ (Operable) 3. สามารถเข้าใจได้ (Understandable) 4. คงทนต่อความเปลี่ยนแปลง (Robust)
1. สามารถรับรู้ได้ (Perceivable) - จัดให้มีข้อความทดแทนสำหรับเนื้อหาที่ไม่ใช่ข้อความเพื่อให้สามารถเปลี่ยนไปสู่ รูปแบบข้อมูลอื่นๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้ เช่น ตัวหนังสือขนาดใหญ่ (Large Print) คำพูด อักษรเบลล์ สัญลักษณ์หรือภาษาที่ ง่ายขึ้น - จัดให้มีข้อความทดแทนสำหรับสื่อที่กำหนดด้วยเวลา (Time - Based Media) - สร้างเนื้อหาที่สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปแบบโครงร่าง เอกสาร (Layout) โดยไม่สูญเสียสารสนเทศหรือโครงสร้างของเอกสาร - จัดทำเนื้อหาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นหรือได้ยินเนื้อหาได้ชัดเจน รวมทั้งการแยก ความแตกต่างของสีพื้นหน้าและพื้นหลัง
2. สามารถใช้งานได้ (Operable) - ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทุกส่วนและการใช้งานในหน้าเว็บไซต์ได้ด้วยการใช้ แป้นพิมพ์เพียงอย่างเดียว - กำหนดเวลาอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้สามารถอ่านและใช้งานเนื้อหาได้ - ไม่สร้างเนื้อหาที่ก่อให้เกิดอาการชัก (Seizure) - จัดหาวิธีการให้ผู้ใช้สามารถท่องหน้าเว็บ ค้นหาเนื้อหาและทราบว่า ตนเองอยู่ตำแหน่งใดในเว็บไซต์ได้
3. สามารถเข้าใจได้ (Understandable) - ผู้ใช้สามารถอ่านและเข้าใจเนื้อหาที่เป็นข้อความได้ - หน้าเว็บปรากฏและทำงานในลักษณะที่ผู้ใช้สามารถคาดเดาได้ - ช่วยให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงความผิดพลาดและแนะนำวิธีแก้ปัญหา
4. คงทนต่อความเปลี่ยนแปลง (Robust) • เพิ่มความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีเว็บต่างๆ ที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้