70 likes | 327 Views
เศรษฐกิจพอเพียง. ด.ญ.กิตติมา สุภโรจนีย์ ป.4/6 ด.ญ.ฐิติรัตน์ พิมพ์ทอง ป.4/6. ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง.
E N D
เศรษฐกิจพอเพียง ด.ญ.กิตติมา สุภโรจนีย์ ป.4/6 ด.ญ.ฐิติรัตน์ พิมพ์ทอง ป.4/6
ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียงความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนแนวทางการดำเนนชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่ผสกนิกรชาวไทยมานานกว่า30ปีดังจะเห็นได้ว่าปรากฏความหมายเป็นเชิงนัยเป็้นครั้งแรกในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ2517ที่พระองคืได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาบนหลักแนวคิดพึ่งตนเองเพื่อให้เกิดความพอมีพิกินพอใช้ของคนส่วนใหญ่โดยใช้หลักความพอประมาณการคำนึงถึงการมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง • เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงหรือพอมีพอกินในปี พ.ศ. 2537 โดยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักในความสำคัญสำหรับนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถครอบคลุมภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตของพสกนิกรทุกกลุ่มอาชีพซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองจนเป็นที่ประจักษ์ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันและอนาคต
องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง • องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคนทุกระดับและทุกกลุ่มอาชีพสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง ซึ่งความพอเพียงประกอบด้วยคุณลักษณะและเงื่อนไข ดังนี้ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่ และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงทีเงื่อนไขคุณธรรม เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รัก สามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่นเงื่อนไขหลักวิชา อาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนเงื่อนไขชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติ และปัญญา บริหารจัดการการใช้ชีวิตโดยใช้หลักวิชาและคุณธรรมเป็นแนวทางพื้นฐาน • โหวตให้กระทู้นี้ >> มีผู้เข้าชมแล้ว 8,581 ครั้ง, โหวตแล้ว 3 ครั้ง / 7 คะแนน
จบการทำงานเพียงเท่านี้จบการทำงานเพียงเท่านี้ ขอบคุณค่ะ