840 likes | 1.09k Views
มหกรรมวันการศึกษาเอกชน พ.ศ.๒๕๕๓. “การศึกษาเอกชน ก้าวหน้า สู่สากล”. หลักสูตรที่ ๑๘ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา. โดย .... ภราดาประภาส ศรีเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนลาซาลจันทบุรี(มารดาพิทักษ์). ความเป็นมา.
E N D
มหกรรมวันการศึกษาเอกชน พ.ศ.๒๕๕๓ “การศึกษาเอกชน ก้าวหน้า สู่สากล” หลักสูตรที่ ๑๘ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดย .... ภราดาประภาส ศรีเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนลาซาลจันทบุรี(มารดาพิทักษ์)
ความเป็นมา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า ๓๐ ปี ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และลึกซึ้งยิ่งกว่านักพัฒนาหรือนักวิชาการใด ๆ จะมีสติปัญญาเสมอเหมือนได้ ดังพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ Company Logo
ความเป็นมา ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนบนหลักแนวคิดพึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดความพอมี พอกิน พอใช้ และมีความสุข โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนชาวไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนา ที่สมดุล ก้าวหน้าไปอย่างสมดุล ในแต่ละขึ้นตอนอย่างถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกรอบในการคิดและการกระทำ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกมิติชีวิต ทุกภาคส่วน และทุกด้านของการพัฒนา เพื่อสังคมส่วนรวม จักได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเจริญก้าวหน้าไปพร้อมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน Company Logo
ความเป็นมา ในช่วงที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ต่างรู้จัก และมีความเข้าใจเบื้องต้น ในแนวคิดดังกล่าว แต่อาจจะยังไม่เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง และน้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง จนเมื่อปี ๒๕๔๐ ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็นบทเรียนที่มีผลมาจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลและขาดเสถียรภาพ จึงส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง Company Logo
ความเป็นมา จะเห็นได้ว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุล โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมกับศักยภาพของคน องค์กร ภูมิสังคมของประเทศ ตลอดจนความพร้อมของคนและระบบ ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงไม่ได้นำไปสู่การสร้างพื้นฐานของการพัฒนาที่มั่นคงและเข้มแข็ง หรือสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับคนและสังคม ทำให้ไม่สามารถพร้อมรับความผันผวนจากปัจจัยภายในและภายนอก จนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย Company Logo
ความเป็นมา ปรัชญาของเศรษฐกิจ จึงเปรียบเสมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างให้เห็นหนทางที่จะก้าวเดินต่อไป ของแต่ละบุคคล ชุมชน และของประเทศชาติ โดยเป็นแนวทางที่เน้นการเจริญเติบโตที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามศักยภาพที่มีอยู่จริง อย่างมีเหตุผล เป็นขั้นเป็นตอนด้วยความมั่นคง และเตรียมพร้อมด้วยความไม่ประมาท ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น Company Logo
ความเป็นมา กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาคนและสร้างเยาวชนให้มีคุณภาพของประเทศได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในภารกิจดังกล่าว จึงมีนโยบายที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามรอยพระยุคบาท เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยอัญเชิญมาให้เป็นหลักการพัฒนาคนให้มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองได้ คนส่วนใหญ่พอมี พอกิน พอใช้ พออยู่ ในการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวและมีคุณธรรมกำกับความรู้เป็นกรอบในการดำรงชีวิต และเป็นพลเมืองดีของชาติ Company Logo
หลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ • มาตรา ๗๘ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (๑) บริหารราชการแผ่นดินได้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศของยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ • มาตรา ๘๓ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Company Logo
หลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยมุ่งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และสามารถ พึ่งตนเองได้มากขึ้น • ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ยังคงอันเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติควบคู่กับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางพัฒนา”อย่างจริงจัง Company Logo
หลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิสัยทัศน์ประเทศไทย • ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคม สันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” Company Logo
หลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศไทยระยะแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๐มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ได้กำหนดพันธกิจของการพัฒนา ประเทศ ดังนี้ ๑. พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม นำความรอบรู้อย่างเท่าทัน ๒. เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม ๓. ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของ ฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๔. พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข Company Logo
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษา ๑) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ • มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” Company Logo
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษา ๒) มาตรฐานการศึกษาชาติ • มาตรฐานการศึกษาชาติ เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณ์ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับ การส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา และให้หน่วยงานด้านการศึกษาทุกระดับนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษาด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ อุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานการศึกษาชาติ มี ๓ มาตรฐาน ดังนี้ Company Logo
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษา ๒) มาตรฐานการศึกษาชาติ • มาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก(คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข) • มาตรฐานที่ ๒ แนวทางการจัดการศึกษา (จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน) • มาตรฐานที่ ๓ แนวทางการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้ (การสร้างวิถีการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง) Company Logo
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษา ๓) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน • มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มี ๖ ตัวบ่งชี้ Company Logo
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษา ๓) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน • มาตรฐานที่ ๓ และมาตรฐานที่ ๗ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตนาที่ดีต่ออาชีพสุจริต ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) มีตัวบ่งชี้ที่เหมือนกันดังนี้ Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๑ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง • เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางที่ควรดำรงอยู่และปฏิบัติตนแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ และเมื่อภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจก็ได้ทรงเน้นย้ำให้นำมาใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตและสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้ กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๑ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง • เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่เป็นทั้งแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล และองค์กร โดยคำนึงถึงความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสภาวะแวดล้อม ความมีเหตุมีผลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง และการมีภูมิคุ้มกั้นที่ดีในตัวเอง คือ ไม่ประมาท ในการดำเนินชีวิต โดยใช้ความรู้ต่าง ๆ อย่างถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๒ ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ๑) เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับการ ขจัดความยากจน และการลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ๒) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของการสร้างพลัง อำนาจของชุมชน และการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้ เข้มแข็งเพื่อเป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ ๓) เศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทด้วยการสร้างข้อปฏิบัติในการทำธุรกิจที่เน้นผล กำไรระยะยาวในบริบทที่มีการแข่งขัน Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๒ ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ๔) หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญยิ่งต่อการปรับปรุง มาตรฐานของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ ๕) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้เป็นแนวทางใน การกำหนดนโยบายของชาติเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อ สถานการณ์ที่เข้ามากระทบโดยฉับพลัน ๖) ในการปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียง จำเป็นต้องมีการ ปรับเปลี่ยนค่านิยม และความคิดของคน เพื่อให้เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาคน Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๒ ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ คณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้าการศึกษา ได้ระบุถึงความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคนด้านการพัฒนาเพิ่มอีก ๔ ประการ ดังนี้ ๑) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้มนุษย์มีความพออยู่ พอกิน พอใช้ พึ่งตนเองได้และมีความสุขตามอัตภาพ ๒) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเสรีภาพในสังคมได้อย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียน ไม่เอารัดเอาเปรียบ แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตเมตตา และจิตสาธารณะ Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๒ ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ๓) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลาย เห็นคุณค่า และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้มนุษย์อยู่อย่างมี รากเหง้าทางวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ค่านิยม และเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของ แต่ละบุคคล/สังคม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑) กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงและปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของ สังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวล มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา ๒) คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบน ทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓) คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง การทำอะไร มีความพอดี พอเหมาะ พอควร ต่อความจำเป็น เหมาะสมกับฐานะของตนเอง สภาวะสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นหรือไม่ การใช้ทรัพยากรในการดำเนินการก็ต้องให้พอประมาณ ไม่มากเกินศักยภาพ และก็ต้องไม่น้อยเกินไปจนขาดแคลน ไม่เพียงพอที่จะดำเนินการได้ ซึ่งการจะตัดสินว่าอยู่ในระดับพอประมาณนี้ จำเป็นต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ในการวางแผน และตัดสินใจ และต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมด้วย เช่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน และไม่ทำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓) คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลครบวงจรบนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเป็นจริง ตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและส่วนรวม อย่างรอบคอบ การคิดพิจารณาแยกแยะ ให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุ ปัจจัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อผิดพลาด น้อย และก็เช่นเดียวกัน การที่จะวางแผน ดำเนินการหรือจะทำอะไรอย่างสมเหตุสมผลได้นั้น ต้องอาศัยความรอบรู้ มีความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ที่จะจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ มีความรอบคอบในการคิด พิจารณาตัดสินใจ โดยใช้สติปัญญาอย่างเฉลียวฉลาด ในทางที่ถูกที่ควร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓) คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้ การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที กล่าวโดยย่อ คือ การที่จะทำอะไรอย่างไม่เสี่ยงเกินไป ไม่ประมาท คิดถึงแนวโน้มความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แล้วเตรียมตนเอง เตรียมวิธีการทำงาน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อการทำงานสามารถดำเนินไปได้ โดยไม่ขลุกขลักต้องหยุดชะงักกลางคัน และนำมาซึ่งประโยชน์ในระยะยาว และความสุขที่ยั่งยืน Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕) แนวปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณธรรม Company Logo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๑ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (พ.ศ.๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การขยายผลและพัฒนาเครือข่าย ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนากระบวนการติดตามและประเมินผล Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑) เป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ของความเป็นไทย Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) จุดหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ๑. มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการ ออกกำลังกาย ๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งท ประโยชน์ และสร้างสิ่งดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) จุดหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๓. มีวินัย ๗. รักความเป็นไทย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๘. มีจิตสาธารณะ Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๓) มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ บรรจุในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์ โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจระบบ และวิธีการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๔) แนวทางดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวดำเนินการ ๒ ส่วน คือ ๑. การบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๑.๑ การบริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ๑.๒ การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ เน้นการมีส่วนร่วม การช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี บนฐานของความมีเหตุมีผล พอประมาณกับศักยภาพและสถานภาพ และไม่ประมาท
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๔) แนวทางดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. การจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ ๒.๑ สอดแทรกหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ โดยจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้ หรือสื่อการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆ ๒.๒ ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕) การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ๑. แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถ บูรณาการใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๒. การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ / แผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เคร่งครัดรูปแบบ ของการเขียนหน่วย / แผนการจัดการเรียนรู้ ปรับได้ตาม ธรรมชาติของวิชา ระดับชั้นตามบริบทของโรงเรียน แต่ขอให้คงหัวข้อสำคัญ ได้แก่ Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ๒) สาระการเรียนรู้ ๓) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๔) สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ ๕) การวัดและประเมินผล Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ / แผนการจัดการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังวิธีการคิด และการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔. ขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ ๔.๑ กำหนดหน่วยการเรียนรู้ โดยศึกษาและเลือกมาตรฐาน การเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม ๔.๒ วิเคราะห์เนื้อหาให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ๔.๓ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๔.๔ เลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนการสอน Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔.๕ กำหนดเครื่องมือ วิธีการวัด และเกณฑ์การประเมินผล ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เรียนได้รับ ได้แก่ นักเรียนได้รับความรู้ที่ชัดเจน นักเรียนมีแนวทางในการประยุกต์ใช้ความคิดใน ชีวิตประจำวัน นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนได้รับการวัดผลตามสภาพจริง Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๒ แนวทางกาผจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นบุคลากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และ ปลูกฝังความคิดต่าง ๆ ให้แก่เด็กโดยครูต้องเข้าใจ อย่างถูกต้อง สามารถวิเคราะห์ ความพอเพียงและ ไม่พอเพียงของตนเองและครอบครัวได้ และทำตัว เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ครู Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง ๑) การบริหารจัดการศึกษา (๑) ทบทวน ปรับปรุง พัฒนา โครงสร้างและกระบวนการบริหาร จัดการให้สอดคล้องหรือรองรับการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (๒) กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม และการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์ (๓) พัฒนาบุคลากร ทั้งผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาให้มี ความรู้ เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง (๔) จัดระบบการนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการ บริหารจัดการและกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๕) การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สถานศึกษาควรจัด บรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝัง หล่อหลอมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ เอื้อต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๖) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน สถานศึกษาควรให้ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในขั้นตอนทุกขึ้นตอนตามแนวทาง
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง ๒) การพัฒนาหลักสูตร (๑) สถานศึกษานำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาพิจารณาปรับปรุง หรือเพิ่มเติมวิสัยทัศน์ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา (๒) สถานศึกษาทบทวนเนื้อหาสาระสำคัญทั้ง ๘ กลุ่มสาระฯ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งกิจกรรมเสริมที่เคยจัดมาก่อน และเห็นว่าสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง (๓) ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงหรือเพิ่มเติม (๔) ปรับปรุง เพิ่มเติม หรือจัดทำสาระการเรียนรู้ หน่วยการ เรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามลำดับ เพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง ๓) การจัดการเรียนการสอน (๑) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ การจัดการเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหา (๒) จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการทดลอง การปฏิบัติจริง ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ทั้งในรูปของการจัดทำโครงการโครงงาน และอื่น ๆ ทั้ง การศึกษารายบุคคลและเป็นกลุ่ม บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (๓) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ความรู้ ทักษะ กระบวนการ เจตคติ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง ๔) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ (๑) กิจกรรมแนะแนว (๒) กิจกรรมนักเรียน (๓) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ Company Logo
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓.๓ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาพอเพียง ๕) การติดตาม และการประเมินผลการจัดการศึกษา (๑) ติดตามและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยพิจารณาจาก - ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านเศรษฐกิจพอเพียง - ผลงานและการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน - การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันของนักเรียน - ผลการประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก ทุกภาคส่วน Company Logo