290 likes | 366 Views
“ชีวิตจริง” ใน “การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีภาคเหนือตอนบนประเทศไทย”. ลำดวน มหาวัน เอดส์เน็ท เชียงใหม่. งานสัมมนาวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ระดับประเทศ ครั้งที่2 วันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2551
E N D
“ชีวิตจริง” ใน “การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีภาคเหนือตอนบนประเทศไทย” ลำดวน มหาวัน เอดส์เน็ท เชียงใหม่ งานสัมมนาวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ระดับประเทศ ครั้งที่2 วันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ จังหวัดกรุงเทพฯ
ทำไมถึงคิดเรื่องนี้ • การดำเนินงานเรื่องนี้ใน “ชุมชน” • สิ่งที่ได้เรียนรู้ และความท้าทาย
กลุ่มผู้ติดเชื้อ 81 กลุ่ม กลุ่มผู้ติดเชื้อ 13 กลุ่มในภาคเหนือตอนบน โครงการ “ชีวิตจริง”
ไม่ใช้ถุงยางอนามัยเพราะคิดว่าตัวเองกินยาต้านแล้วมีเชื้อน้อย ไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อให้คู่นอน เป็นเริมที่อวัยวะเพศ แต่อายไม่กล้าไปตรวจ ทำให้เป็นเรื้อรังและติดต่อไปยังคู่นอน เพื่อนผู้หญิงจะไม่สามารถบอกกับคู่ให้ใช้ถุงยางอนามัยได้ กลัวหมอว่าให้ว่า ทำไมไม่ใช้ถุงยางอนามัย กลัวเพื่อนจะรับเชื้อเพิ่มหรือถ่ายทอดเชื้อให้คนอื่นแล้วเชื้อจะดื้อยา เป็นแล้วไม่รู้ว่าร้ายแรงหรือเปล่า คิดว่าซื้อยากินก็หาย ก็เลยไม่ไปหาหมอ เสียงและความกังวลใจในชีวิตของแกนนำเพื่อนผู้ติดเชื้อ
ยังไม่ได้บอกกับลูกเลยว่าเราติดเชื้อ ไม่รู้จะพูดกับลูกยังไงดี สุขภาพดีขึ้น อยากมีชีวิตคู่ใหม่ มีครอบครัวใหม่อีกครั้ง จะมีได้หรือเปล่า มีอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่รู้ว่าถ้าแฟนใหม่รู้ว่าเราติดเชื้อ แล้วเขาจะทิ้งเราไปหรือเปล่า อยากมีลูก เพราะมีความพร้อมและมีฐานะ พวกชาวบ้านเขาไม่ยอมรับให้เข้ากองทุนณาปนกิจหมู่บ้าน เพราะกลัวเราตายหนีกองทุน กำลังคิดอยู่ว่าจะมีท้องดีหรือไม่ ก็มาท้องเสียก่อน เพิ่งตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตใหม่เรื่องการมีคู่ คิดว่าอีกไม่นานคงต้องตัดสินใจครั้งสำคัญเรื่องการมีลูก อยากให้ชุมชนยอมรับการมีคู่ของผู้ติดเชื้อ เสียงและความกังวลใจในชีวิตของแกนนำเพื่อนผู้ติดเชื้อ
กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ องค์การ หมอไร้พรมแดน เครือข่ายผู้ติดเชื้อ การดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่รับการรักษาด้วย ยาต้านไวรัสในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย ลึกลงไปในชีวิตจริง ที่มีชีวิตของมนุษย์เป็นแกนกลาง การเข้าถึง และการจัดการเรื่องART ประเด็นการยอมรับตนเองและการถูกปฏิเสธจากชุมชน การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส คู่ที่มีเพศสัมพันธ์กัน การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดูแลระยะสุดท้าย : ความเศร้าโศกและ ความอาลัย ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด การถ่ายทอดเชื้อจากแม่ สู่ลูก ประเด็นสุขภาพอื่น ๆ : โภชนาการ และความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพกาย และจิตใจ คุณภาพชีวิต : ความมั่นคงทางรายได้ การดูแลเด็กกำพร้าและเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง
เป้าหมาย:เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อหลังรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ในภาคเหนือตอนบน วัตถุประสงค์: 1. เพื่อเพิ่มความเข้าใจประเด็นสำคัญ ๆ ที่แวดล้อมเรื่องกาทำงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่มเพื่อนผู้ติดเชื้อ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบและการดำเนินงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อสำหรับผู้ติดเชื้อในการทำงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 3. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่ม/เครือข่ายผู้ติดเชื้อภาคเหนือตอนบน
คลินิกยาต้าน แกนนำผู้ให้การศึกษา ทำงานในศูนย์องค์รวม แกนนำผู้ดำเนินกระบวนการ บ้านแกนนำ กระบวนการดำเนินงาน
Module 1 ก.เรือสามลำ(การป้องกันการรับเชื้อเพิ่มหรือถ่ายทอดเชื้อ) การดำเนินกิจกรรมด้านการป้องกันที่คำนึงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเรื่องทางเพศที่แตกต่างกันของผู้ติดเชื้อ กับความเข้าใจเรื่องที่มาของการใช้หรือไม่ใช้ถุงยางอนามัย Abstinent - ไม่มีเพศสัมพันธ์ Be faithful - มีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนคนเดียว Condom use - ใช้ถุงยางอนามัย
Module 1ข เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น การดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมเกี่ยวกับทางเลือกในเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีการประเมินความเสี่ยงที่เชื่อมกับรูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศ ทางเลือกต่างๆสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การประเมินความเสี่ยง วิธีการใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยกับสารหล่อลื่น บทบาทสมมุติกับการต่อรอง
Module 2 การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความเข้าใจและการรับรู้เรื่องอาการของโรค และสถานที่ให้บริการรักษาใกล้บ้าน รู้จักสถานที่ให้บริการที่อยู่ในชุมชน รู้จักอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดต่าง ๆ ไปพบ สื่อสาร เพื่อรับการรักษาจากแพทย์
Module 3 การเปิดเผยตัวตน การคิด ตัดสินใจ และเตรียมความพร้อม ในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อเอชไอวีต่อลูก คู่ ครอบครัว และเพื่อนบ้าน เตรียมความพร้อมในช่วง ก่อน ระหว่าง และหลัง กับคู่ใหม่ กับลูก การเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ในเรื่องการเปิดเผยสถานะ เข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ว่าเรื่องนี้ไม่ง่ายแค่ปราถนาดี และเพียงบอกให้ทำ
Module 4การถูกปฏิเสธจากชุมชน การวางแผนการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างการยอมรับและอยู่ร่วมกันในชุมชน บางเรื่องทำอะไรไม่ได้เลย เพื่อให้มีการจำแนกและทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีการวางแผนจัดการปัญหา และทำความรู้จักกับคนหรือสถานที่ที่สามารถจะไปขอความช่วยเหลือได้ บางเรื่องต้องไปหาคนมาช่วย บางเรื่องทำได้ด้วยตนเอง แม้จะยากอยู่บ้าง
Module 5 ทางเลือกเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ และการวางแผนชีวิต การเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจเรื่องการวางแผนด้านอนามัยเจริญพันธุ์ มีลูกโดยไม่ได้วางแผน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากมีลูก อยากมีลูกด้วยกันทั้งคู่ เพศสัมพันธ์ที่ดี ความคิดและความต้องการที่เหมือนและต่างกัน ปัญหา ทางเลือก และเงื่อนไขที่เหมือนและต่างกัน การวางแผนในการจัดการกับปัญหา เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
กรมอนามัย แกนนำผู้ให้การศึกษา ทำงานในศูนย์องค์รวม กรมควบคุมโรค แกนนำผู้ดำเนินกระบวนการ คลินิกแม่และเด็ก คลินิกยาต้าน บ้านแกนนำ กระบวนการดำเนินงานเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผนชีวิต
ผลการดำเนินงาน • จำนวนตัวเลขที่เข้าถึง • จำนวนกลุ่มที่เข้าถึง 81 ศูนย์องค์รวมภาคเหนือ
ผลการดำเนินงานโครงการผลการดำเนินงานโครงการ • ผลจากการประเมินผลลัพธ์โครงการ • คนที่เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเผยผลเลือดกับคู่มากกว่าคนที่ไม่เข้าร่วม 20% • การใช้ถุงยางอนามัยเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายเพิ่มขึ้น 20% • การเปิดเผยผลเลือดกับคู่คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความยุ่งยาก 12% คนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม 21% และเปิดเผยกับคนอื่นๆ คนที่เข้ามีความยุ่งยาก 17 % คนที่ไม่เข้าร่วม 44%
กรณีศึกษาคู่ต่างชายรักชายกรณีศึกษาคู่ต่างชายรักชาย “พอเป็นทีมสนับสนุน ผ่านการอบรมครบทุกทุกหลักสูตรและมีโอกาสทำกิจกรรมกับเพื่อนและร่วมเรียนรู้ พบว่าทำไมเหมือนกับชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องวิถีทางเพศ มีแฟนหลายคน อยู่ในเรือลำที่ 3 บางครั้งเกาะเรือ บางครั้งว่ายน้ำ ปัจจุบันแต่งงานกับเพื่อนชายและเขายังไม่ติดเชื้อ ยอมตัวว่าคิดมาก กังวล ทั้งเรื่องการป้องกัน การเปิดเผยผลเลือด พอผ่านกิจกรรมมีความรู้ ข้อมูล ความมั่นใจและความกล้า รวมทั้งความรักที่มีต่อคู่ บอกกับตัวเองว่าจะต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนที่เรารักปลอดภัย ตอนนั้นรู้สึกสบายใจ ไม่ต้องเป็นกังวล หลังจากที่คิดได้เรื่องความปลอดภัยในการที่ไม่รับและถ่ายทอดเชื้อเพิ่ม ก็ป้องกัน 100 % และพูดได้เต็มปากเลยว่า “ตระหนัก” แม้ตอนนี้ยังไม่ได้คิดเรื่องการเปิดเผยผลเลือดเพราะยังไม่พร้อม”
กรณีศึกษาคู่ต่าง “ก่อนหน้านี้ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเอดส์เน็ทมาก่อน ได้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 4 หลักสูตรรู้สึกว่ากิจกรรม ดี ทำให้ได้รู้ถึงการป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอน ได้รู้ถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ว่ามีหลายโรค และสามารถรักษาได้ และรู้ถึงแหล่งบริการการรักษา ได้รู้ถึงความลำบากใจในการเปิดเผยการติดเชื้อของเพื่อน ได้เข้าใจเพื่อนมากขึ้น จากเมื่อก่อนสงสัยว่าทำไมเขาจึงไม่เปิดเผยตัวเอง ได้รู้ถึงความลำบากใจของเพื่อนในการถูกปฏิเสธจากหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้วได้มีแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติในชีวิตต่อไป เพื่อให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างสบายใจ”
การประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลการประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล “ในครั้งแรกที่เราได้รับรู้เกี่ยวกับโครงการป้องกันฯจากเจ้าหน้าที่เอดส์เน็ท เรามีความรู้สึกว่ามันเป็นโครงการที่ดีมาก แต่พวกเราก็รู้สึกวิตกกังวล และไม่ค่อยสบายใจท่าไร ที่เราจะต้องไปประสานกับโรงพยาบาล รู้สึกว่ามันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากสำหรับพวกเรา เราจึงมาปรึกษาหารือกันในกลุ่มแกนนำก่อนว่าจะทำอย่างไรดี หลังจากที่เราได้ข้อสรุปแล้วว่าต้องนำเรื่องนี้ปรึกษากับพี่เลี้ยงกลุ่มก่อน จึงพยายามติดต่อขอพบกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มเมื่อนัดหมายได้แล้ว พวกเราก็ไปหาพี่เลี้ยงที่โรงพยาบาล แล้วเล่ารายละเอียดของโครงการให้พี่เลี้ยงฟังด้วยความตื่นเต้นและรู้สึกเกรงใจเหมือนกัน เพราะงานของท่านก็เยอะและยุ่งมาก แต่ท่านก็ตั้งใจฟัง หลังจากฟังจบท่านก็ตอบพวกเรามาว่า มันเป็นโครงการที่ดีมากเลยนะ ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลก็พยายามทำเหมือนกันนะ อยากให้ผู้ติดเชื้อมีองค์ความรู้และดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีไปได้นานๆ แต่โรงพยาบาลก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง ก็ฝากให้พวกเราทำให้ดีที่สุดก็แล้วกันนะ ทางโรงพยาบาลยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุน”
บทเรียน • ศักยภาพของแกนนำผู้ติดเชื้อจากผู้ให้การปรึกษาและเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ • การเชื่อมประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชนและผู้ติดเชื้อ • การใช้โครงสร้างกลไกเครือข่ายกับการติดตามและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใจพื้นที่ • การดำเนินงานทางด้านนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ
บทเรียน (ต่อ) • เนื้อหาหลักสูตรที่พัฒนาสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเพื่อนผู้ติดเชื้อ • กระบวนการดำเนินกิจกรรมเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการให้ความรู้ • การเป็นเจ้าของโครงการร่วมกันระหว่างเอดส์เน็ทและเครือข่ายทำให้มีความรู้สึกร่วมในการดำเนินงานโครงการ • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องชีวิตและพฤติกรรมทางเพศควรมีทั้งหญิงและชายร่วมเรียนรู้ด้วยกัน • มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการประสานความร่วมมือในการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ทั้งในระดับของสถานบริการพยาบาล และระดับผู้กำหนดนโยบาย
ประเด็นความท้าทาย • สิ่งท้าทายงานอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับผู้ติดเชื้อทำอย่างไรให้ผู้ติดเชื้อได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง และได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน • การขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุม • การเข้าถึงผู้ติดเชื้อที่ไม่เปิดเผยตัวเองและไม่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม • การพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรที่เข้าถึงกลุ่มอื่นๆการขยายผลในกลุ่มอื่นๆ MSM และชาติพันธุ์
ความท้าทาย (ต่อ) • การพัฒนาประเด็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อนผู้ติดเชื้อหลังยาต้านไวรัสประเด็นอื่น ๆ • การปรับทัศนคติของผู้ที่ทำงานกับผู้ติดเชื้อประเด็นการใช้ชีวิตของผู้ติดเชื้อหลังยาต้านไวรัส
ขอบคุณเพื่อนผู้ติดเชื้อทุกคน ที่อนุญาตให้เผยแพร่รูปได้
ขอบคุณเพื่อนผู้ติดเชื้อทุกคน ที่อนุญาตให้เผยแพร่รูปได้
ขอบคุณเพื่อนผู้ติดเชื้อทุกคน ที่อนุญาตให้เผยแพร่รูปได้
มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (สำนักงานภาคเหนือ) 145/1 ถ.ศรีภูมิ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ (053) 222417 โทรสาร (053) 222484 อีเมล์ aidsnetn@loxinfo.co.th ขอบคุณค่ะ