1 / 16

เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การสื่อสารผ่านดาวเทียม จัดทำโดย

เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การสื่อสารผ่านดาวเทียม จัดทำโดย นางสาว นวลนภา บุญปก. การสื่อสารผ่านดาวเทียม

satin
Download Presentation

เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การสื่อสารผ่านดาวเทียม จัดทำโดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การสื่อสารผ่านดาวเทียม จัดทำโดย นางสาว นวลนภา บุญปก

  2. การสื่อสารผ่านดาวเทียมการสื่อสารผ่านดาวเทียม การสื่อสารผ่านดาวเทียม คงจะคุ้นเคยกับคำๆนี้ ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ก็มีเรื่องของการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นอย่างไร วันนี้จะมานำเสนอถึงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ การสื่อสารผ่านดาวเทียมกัน

  3. เพื่อเป็นประโยชน์ เรามาเรียนรู้กับ แบบต่างๆของจานดาวเทียม กันด้วยดีกว่าครับเราสามารถแบ่งจานดาวเทียมได้ตามโครงสร้าง เช่น จานดาวเทียมแบบที่มีจานสะท้อนอันเดียว( single reflector antenna) และ แบบทีมี จานสะท้อนแบบ 2 อัน ( dual reflector antenna)และ ในแต่ละแบบ ยังแบ่งได้เป็นโครงสร้างแบบ สมมาตร (Symmetrical type) และ แบบ ไม่สมมาตร (Asymmetrical type)

  4. 1. จานดาวเทียมแบบ พาราโบล่าร์ (paraboloid antenna) โครงสร้างจานแบบนี้ เป็นแบบ สมมาตร และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะมีโครงสร้างที่ง่ายและ มี อัตราการขยายสูง จากลักษณะของส่วนโค้ง จะทำให้สัญญาณทั้งหมดที่ตกลงมากระทบส่วนโค้งแล้วสะท้อนไปยังจุดโฟกัสเหนือจานรับสัญญาณ หากส่วนโค้งของจานมีความแน่นอนถูกต้อง ความแรงสัญญาณก็จะมีมากขึ้น

  5. 2. จานดาวเทียม แบบ ออฟเซ็ท พาราโบลอยด์(Offset paraboloid) จานแบบนี้ กล่าวง่ายๆ ก็คือ จานสะท้อนเป็นส่วนหนึ่งของพาราโบลอยด์ และ LNB จะวางอยู่ที่จุด โฟกัสของพาราโบลอยด์ ลักษณะเฉพาะ ของจานแบบนี้ คือ ตัว Lnbและ ฟีดซัพพอร์ต จะไม่อยู่ตรงกลางจาน และ ส่วนใหญ่ จะอยู่นอกบริเวณของทางผ่านคลื่น จานแบบนี้ มีข้อดี ที่มีพื้นที่ประสิทธิผลค่อนข้างสูง เพราะไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใด บังเส้นทางผ่านของคลื่น แต่ก็มีข้อเสีย ตรงที่ โครงสร้างแบบไม่สมมาตร จะทำให้มี cross polarization ในทิศทางที่ไม่ใช่ด้านหน้ามีค่อนข้างสูง

  6. 3. จานดาวเทียม แบบ(Cassegrain antenna) เป็นจานดาวเทียมที่มี ตัวสะท้อน 2 อัน (dual reflector) โดยที่มีตัวสะท้อนหลัก (Main reflector) เป็นรูป พาราโบลอยด์ และ จานสะท้อนรอง (sub reflector) เป็นรูปไฮเปอร์โบลอยด์ แต่ จานสะท้อนทั้งสอง จะมีจุดโฟกัส ร่วมกัน จาน แคสเซ็กเกรน เป็นจานแบบ สมมาตร โดยทั่วไป จะมี cross polarization ต่ำ จานแบบนี้มีใช้ในงานสถานีภาคพื้นดิน (Earth station antenna)

  7. ตารางเปรียบเทียบ ลักษณะจานดาวเทียมทั้ง3แบบ

  8. GPS คืออะไร และ ทำงานอย่างไร เทคโนโลยีไร้สายกับดาวเทียม และอวกาศ ดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกนับร้อยๆดวงนั้นมีการยิงสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ มาที่พื้นโลก และยิงสัญญาณจากพื้นโลกไปยังดาวเทียม โดยมี วัตถุประสงค์หลายอย่าง รวมทั้งการตรวจสอบสภาพอากาศ การส่งสัญญาณโทรศัพท์ ทีวี และสัญญาณวิทยุมีการใช้งานในการระบุตำแหน่ง และส่งไปให้ผู้ที่ต้องการใช้และอื่น ๆบางเรื่องจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีการส่งข้อมูลจากนอกโลกหรือในอวกาศ เช่น จากดาวอังคารหรืออาจจะส่งมาจากระบบสุริยะจักรวาล ของเราก็ได้ และในการสื่อสารเช่นนี้ได้นั้นก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีไร้สายในการทำงานทั้งสิ้น

  9. สิ่งที่น่าสนใจและน่าแปลกใจในการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมก็คือการใช้เครื่องมือสื่อสารพื้นฐานที่ใช้อยู่บนโลกในการสื่อสารผ่านดาวเทียม เช่น อุปกรณ์ส่งสัญญาณ จานรับสัญญาณ อุปกรณ์รับสัญญาณ และอื่น ๆ ซึ่งในความคิดของคนทั่วไปนั้นอาจคิดว่าการสื่อสารอย่างนี้จะต้องใช้อุปกรณ์ราคาสูง และเทคโนโลยีขั้นสูงมากดาวเทียมหลาย ๆ ชนิดนั้นเกี่ยวข้องกัน ทำงานร่วมกันในด้านการสื่อสาร ดาวเทียมชนิดแรกคือ Geostationary ซึ่งโคจรรอบโลกที่ความสูง จากพื้นโลก 35,784 กิโลเมตร โดยที่ความสูงขนาดนั้นจะมีรอบของการโคจรอยู่ที่ 24 ชั่วโมง หรือพูดอีกอย่างก็คือดาวเทียมโคจรที่ความเร็วเท่ากับ ความเร็วของโลกที่โคจรครบ 1 รอบนั่นเองดังนั้นดาวเทียมจึงอยู่กับที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบนพื้นโลก ณ จุด ๆ หนึ่ง เนื่องจากสาเหตุนี้เองจาน ดาวเทียมบนโลกจึงทำการชี้ตรงไปที่ดาวเทียม โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายเนื่องจากตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างดาวเทียมและจานดาวเทียมนั้นจะคงที่เสมอ

  10. ดาวเทียมชนิดที่สองคือดาวเทียม Middle Earth Orbit (MEO) ซึ่งโคจรอยู่ที่ความสูงระหว่าง 5,000 ถึง 15,000 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก ดาวเทียม ที่อยู่ในช่วงความสูงระยะนี้เป็นดาวเทียมสำหรับการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก( Global Positioning System หรือ GPS) อย่างที่คุณจะได้เห็นในการทำงานของ GPS ในตัวอย่างต่อไป

  11. คือการที่ GPS สามารถที่จะระบุตำแหน่งและบอกว่าคุณอยู่ที่ลองติจูดและละติจูดที่เท่าไรบนพื้นโลก ณ ในขณะนั้น และเมื่อนำมารวมกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลของแผนที่ ก็จะทำให้สามารถสร้างระบบการนำทางได้ และนอกจากนี้ยังสามารถที่จะบอกเวลาที่ถูกต้องแม่นยำได้อีกด้วย

  12. ดาวเทียมชนิดที่สาม คือดาวเทียม Low Earth Orbit (LEO) คือดาวเทียมที่โคจรอยู่ที่ความสูงตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 กิโลเมตร การสื่อสารผ่านดาวเทียมแรกๆนั้น สื่อสารโดยการใช้ดาวเทียมสะท้อนสัญญาณ ( Echo Satellite) ซึ่งเป็นแบบ LEO โดยเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1960 บริษัท Iridium ได้ทำการปล่อยดาวเทียมชนิด LEO ถึง 12 ดวงเพื่อใช้สำหรับบริการให้คนที่ใช้โทรศัพท์สามารถที่จะติดต่อกันได้ทุกๆที่บนโลก โดยการยิงสัญญาณและรับสัญญาณกับดาวเทียม แต่ด้วยเหตุผลด้านการเงินและด้านเทคนิค ดาวเทียมเหล่านี้มีการใช้งานน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1990 และสุดท้ายการดำเนินธุรกิจก็ล้มละลาย แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจก็กลับฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ เนื่องจากมีหลายบริษัทอย่างเช่น Globalstarนั้นมีแผนการที่จะขายบริการด้านโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมโดยการใช้ดาวเทียมของบริษัทนี้

  13. ดาวเทียมชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ระบบการสื่อสารไร้สายถูกใช้สำหรับด้านการสำรวจอวกาศ เมื่อคุณมองดูที่รูปภาพที่ถ่ายจากดาวอังคารหรือดาวพฤหัสบดี ภาพเหล่านั้นถูกส่งมาที่โลกโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย คุณจะได้เห็นจากตัวอย่างภายในบทความนี้

  14. ว่าจริง ๆ แล้วอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ทำงานในงานด้านนี้นั้นไม่ได้ใช้ความเข้มของสัญญาณมาก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8 เท่า ของสัญญาณโทรศัพท์ที่เราใช้อยู่ เทคโนโลยีหลาย ๆ ด้านนำมาใช้เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านั้น เพื่อทำให้ดาวเทียมสามารถที่จะส่งข้อมูลมาที่โลก หรือแม้กระทั่งส่งมาจากขอบของระบบสุริยะจักรวาลของเราก็ตามก็สามารถทำได้

  15. ภาพประกอบ

More Related