1 / 22

ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม จ.พะเยา

สื่อประกอบการ ศึกษา. เรื่อง เวลา ยุคสมัย และหลักฐานประวัติศาสตร์. ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม จ.พะเยา. การนับเวลา. การนับเวลาตามระบบสุริ ยคติ. หมายถึง วิธีนับและเดือนโดยถือตำแหน่ง ดวงอาทิตย์เป็นหลัก. การนับเวลาตาม ระบบจันทรคติ.

sanjiv
Download Presentation

ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม จ.พะเยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อประกอบการศึกษา เรื่อง เวลา ยุคสมัย และหลักฐานประวัติศาสตร์ ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม จ.พะเยา

  2. การนับเวลา การนับเวลาตามระบบสุริยคติ หมายถึง วิธีนับและเดือนโดยถือตำแหน่ง ดวงอาทิตย์เป็นหลัก

  3. การนับเวลาตามระบบจันทรคติการนับเวลาตามระบบจันทรคติ หมายถึง วิธีนับและเดือนโดยถือตำแหน่ง ดวงจันทร์เป็นหลัก

  4. เดือนเต็ม เดือนคู่ มีข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วัน รวมแล้วมีวันครบ 30 วัน เดือนคี่ มีข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน รวมเป็น 29 วัน ไม่ครบ 30 วัน

  5. ปีอธิกมาส เป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน เดือนจันทรคติใน 1 ปี รวมวันได้เพียง 354 วันจึงแก้โดยการปรับบางปีให้มี13 เดือน โดยเพิ่มเดือน 8 หลังต่อจากเดือน 8 แรก

  6. เดือนอธิกวาร วันจะเพิ่มขึ้น 1 วัน ในเดือน 7 ปีนั้นมีถึงวันแรม 15 ค่ำ

  7. การนับศักราช การนับศักราชแบบไทย การนับศักราชของไทยที่ใช้ในปัจจุบัน คือ แบบ พ.ศ. หรือ พุทธศักราช เริ่มใช้เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี มหาศักราช หรือ ม.ศ. นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622) จุลศักราช หรือ จ.ศ. เป็นศักราชที่เราใช้กันก่อนใช้ศักราชรัตนโกสินทร์ เริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2325

  8. การนับศักราชแบบสากล การนับศักราชสากลที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือแบบคริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. การนับคริสต์ศักราชที่ 1 จะเริ่มจากปีที่พระเยซูพระศาสดาในศาสนาคริสต์ประสูติ ถือว่าเป็นปีแห่งพระเจ้า ส่วนB.C.ย่อมาจากBefore Christ หมายถึง การนับศักราชก่อนที่จะถึง ค.ศ. 1 หรือก่อนพระเยซูประสูติ ส่วนศักราชของชาวมุสลิมได้แก่ ฮิจญ์เราะห์ศักราช หรือฮ.ศ. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ ไปยังเมืองเมดีนา โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165

  9. การเปรียบเทียบศักราช พ.ศ- 2324=ร.ศ. ร.ศ.+2324 = พ.ศ. จ.ศ.+11851 =พ.ศ. พ.ศ.- 1181 =จ.ศ. ม.ศ.+621 = พ.ศ. พ.ศ.-621 = ม.ศ. หรือ ค.ศ.+543 = พ.ศ. พ.ศ. - 543 = ค.ศ. ฮ.ศ.+621 =ค.ศ. ค.ศ.- 621 =ฮ.ศ. ฮ.ศ.+1164 = พ.ศ. พ.ศ. - 1164 =ฮ.ศ.

  10. การนับทศวรรษศตวรรษ และสหัสวรรษ วรรษ หมายถึง ปี ทศ หมายถึง สิบ ทศวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 10 ปี ศต หมายถึง ร้อย ศตวรรษหมายถึง เวลาในรอบ 100 ปี สหัส หมายถึง พัน สหัสวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 1,000 ปี

  11. ทศวรรษ (decade)คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0  เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000 ศตวรรษ (Century)   คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปี ในศักราชที่ลงท้ายด้วย 00  เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600 สหัสวรรษ (Millenium)คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษ จะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

  12. การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์สากลการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์สากล ยุคสมัยในประวัติศาสตร์สากลแบ่งออกเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์สากลแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ คือยุคหิน และยุคโลหะ เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งยุค คือเครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมทั่วไป

  13. การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์

  14. ยุคประวัติศาสตร์ *สมัยโบราณ อารยธรรมกรีก - โรมันโบราณเจริญสูงสุด *สมัยกลาง ยุคมืด / ศักดินาสวามิภักดิ์ / ศาสนจักร มีบทบาทมาก *สมัยใหม่ ยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก โรมัน *สมัยปัจจุบัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 / สงครามเย็น

  15. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ • ร่องรอยของสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในอดีต และเหลือเป็นมรดกสืบต่อให้นักประวัติศาสตร์ นำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

  16. ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ • 1.หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร • ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร ฯลฯ • 2.หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร • ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภาพเขียน เครื่องประดับ ฯลฯ

  17. ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทยตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทย ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีอายุระหว่าง 1,000-4,000 ปี ภาพแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1. สัตว์ 2. เครื่องมือ เครื่องใช้ 3. สัญลักษณ์ 4. คน

  18. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนี้รู้จักการหล่อโลหะสำริดเป็นเครื่องประดับ สร้างรูปแบบมีด หอก ขวาน หัวลูกศร ฯลฯ ได้เมื่อ 4,900 -5,600 ปีมาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กแล้วนำมาหลอมตีขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เมื่อ 3,200 – 3,600 ปีมาแล้ว รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ (ควาย และทอผ้าไหมได้ ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นเศษผ้าไหมบนกระดูกมนุษย์โบราณในหลุมสำรวจ) รู้จักวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเด่นเฉพาะท้องที่ คือ  การเขียนลายเชือกทาบ  เป็นลวดลายเฉพาะ  ไม่เหมือนแหล่งโบราณคดีที่ใดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

  19. ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการสำรวจถ้ำผีแมนและรอบ ๆ ถ้ำในเขตอำเภอปางมะผ้า พบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือหินเช่น เครื่องมือหินขัดเป็นขวานหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีอายุประมาณ 8,600 ปีมาแล้ว และได้พบเมล็ดพืชที่ใช้เป็นอาหารมากมายหลายชนิด เช่น เมล็ดน้ำเต้า แตงกวา และพืชตระกูลถั่วฝักยาว พบว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 12,000 ปีมาแล้ว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่มาแต่สมัยหินเก่า นอกจากนี้ยังค้นพบเศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะและขวานหินที่มีอายุประมาณ 4,000 - 8,000 ปีมาแล้ว เป็นจำนวนมาก แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นถ้ำที่พบหลักฐาน ว่ามีมนุษย์เข้ามาอาศัยในถ้ำนี่ เมื่อประมาณ 11,000 -12,000 ปีมาแล้ว เนื่องจากพบว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ นอกจากนี้ในระหว่าง 6,000 – 9,000 ปี ได้พบชิ้นส่วนของเมล็ดพืช จำพวกพริกไทย น้ำเต้า ถั่ว และผักบางชนิด ที่ทำให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์ในยุคนั้นได้รู้จักใช้พืชบริโภค หรืออาจจะรู้จักนำมาเพาะปลูก

  20. แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนที่มีอายุประมาณ  3,800 - 4,000  ปีมาแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนที่มีการทำเกษตรกรรม  โดยรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  พบภาชนะดินเผาที่ทีรูปแบบและทรงต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งวิธีการตกแต่งผิวด้านนอกแตกต่างจากภาชนะดินเผาจากที่แห่งอื่น  ส่วนใหญ่เป็นภาชนะสีดำ  สีเทาเข้ม และสีน้ำตาลเข้ม  แหล่งโบราณคดีแห่งนี้พบภาชนะที่สร้างลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ  ภาชนะดินเผาสามขา 

  21. โปรดติดตามเรื่องต่อไป...เร็ว ๆ นี้ ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม จ.พะเยา

More Related