300 likes | 506 Views
โรคไข้เลือดออกอีโบลา. กลุ่มงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 14 สิงหาคม 2557. สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอีโบลา. ข้อมูลจาก WHO ไข้เลือดออกอีโบลาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรีย
E N D
โรคไข้เลือดออกอีโบลา กลุ่มงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 14 สิงหาคม 2557
สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอีโบลา • ข้อมูลจาก WHO ไข้เลือดออกอีโบลาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรีย • รวมทั้งสิ้น 1,848 ราย เสียชีวิต 1,013 ราย • อัตราป่วยตายร้อยละ 54.81 ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2557
สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกอีโบลา • มีการรายงานการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกอีโบลาของแพทย์ 2 ราย คือ หัวหน้าทีมแพทย์ที่ดูแลคนไข้ Ebola ในประเทศเซียร์ราลีโอน และในประเทศไลบีเรีย • นอกจากนี้ยังมีแพทย์อาสาสมัครชาวอเมริกันและบุคลากรทางการแพทย์ชาวอเมริกันอีก 1 รายซึ่งช่วยในทีมรักษาผู้ป่วยที่ประเทศไลบีเรียเกิดการติดเชื้อและได้ถูกส่งกลับไปรักษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว
เดลินิวส์ วันที่ 6 สค.2557 เจาะลึกให้รู้ อีโบล่า ไวรัสอันตราย ทั่วโลกเฝ้าระวัง หมอฮีโร่ติดเชื้ออีโบลา กลับไปรักษาที่สหรัฐฯแล้ว 3 ส.ค. 2557 เมื่อวันที่ 3 ส.ค.สำนักข่าวต่างประเทศ (โพสต์ทูเดย์) รายงานว่า นพ.เคนท์ แบรนท์ลีย์ แพทย์อาสาสมัครชาวอเมริกัน วัย 33 ปี ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้ถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยอีมอรี
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาการ : มีไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) - รายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จะพบมีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและภายนอกร่างกาย (internal and external bleeding) มักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อก และเสียชีวิตได้ ระยะฟักตัว : 2 - 21 วัน ระยะฟักตัวเฉลี่ย 8-10 วัน การรักษา :ไม่มีการรักษาจําเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตวันที่ 8-11 ของการรักษา
การติดต่อ • สัมผัสโดยตรง กับ เลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หนอง หรือน้ำจากร่างกายผู้ติดเชื้อ งานศพ ญาติผู้เสียชีวิตที่สัมผัสร่างกายของผู้เสียชีวิต • สิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อน เข็มฉีดยา ใบมีด ฯลฯ • ผู้ดูแลลิงชิมแปนซี กอริลลา ที่ป่วย การล่าค้างคาว • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มากกว่า 100 ราย ติดเชื้อหลังให้บริการผู้ป่วยEbola • เชื้อเข้าทางบาดแผล เยื่อบุอ่อน ในปาก ตา จมูก ฯ
สิ่งคัดหลั่ง มีอะไรบ้าง น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ เลือด อสุจิ น้ำตา น้ำปัสสาวะ น้ำเหลือง ฝีหนอง น้ำอุจจาระ
วิธีการติดต่อ • หลักๆ ผ่าน 3 ช่องทาง คือ • เข็มที่ไม่สะอาด • ระบบการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ • การสัมผัสโดยตรง
การติดต่อ • โรคนี้ พบได้ทุกกลุ่มอายุ • ระยะแพร่เชื้อ ตั้งแต่เริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ • ผู้ชายที่ป่วยด้วยโรคนี้แม้หายแล้วยังสามารถแพร่เชื้อผ่านน้ำเชื้อได้อีกนาน 7 สัปดาห์ • ศพควรใส่ชุดใส่ศพเฉพาะและต้องรีบเผาให้เร็วที่สุด ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศ
ใครเสี่ยงมากต่อการได้รับเชื้อ • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ให้การรักษาพยาบาล • บุคคลในครอบครัว หรือ ในชุมชนที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิต • บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานศพ
สิ่งที่ทุกสถานบริการพึงปฏิบัติ • ห้องแยกชนิด Negative pressure ควรมีโดยเฉพาะ รพศ.หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ • อุปกรณ์ชุดป้องกันตนเอง ชนิดสมบูรณ์แบบที่เพียงพอแก่เจ้าหน้าที่ทุกแผนก • ให้การดูแลผู้ป่วยเสมือนผู้ป่วยโรคซาส์ หรือผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก • มี path way พิเศษ ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสงสัย
การประเมินความเสี่ยงของประเทศไทย : • การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาจมาสู่ประเทศไทยได้ 2 วิธี 1. การนำเข้าสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรค เช่น สัตว์ป่า ลิงชิมแปนซี • 2. การแพร่เชื้อของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จากประเทศที่มีการระบาดโดยผ่านผู้เดินทาง • โรคนี้จะแพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้นในระยะที่มีอาการป่วยนานเท่าที่เลือดและสารคัดหลั่งยังมีไวรัสอยู่เท่านั้น • องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางหรือการค้ากับประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน • ควรมีการเฝ้าระวังอาการป่วยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด และเฝ้าระวังควบคุมการนำเข้าสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรคจากประเทศที่เกิดการระบาด
ความเสี่ยงต่อการติดเชื่อ EBOLA ในประเทศไทย • จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาด • มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างต่ำ ต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด • การไปเยี่ยมครอบครัวหรือเพื่อน • ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ยกเว้นนักเดินทางที่มีไปเยี่ยมดูแลญาติเพื่อนและมีการสัมผัสโดยตรง • ผู้ป่วยที่แสดงอาการป่วยและเข้ามารับการรักษาในประเทศไทย • มีความเป็นไปได้ที่บุคคลเหล่านี้จะเริ่มแสดงอาการขณะเดินทางบนเครื่องบิน และเข้ามารับการรักษาในไทย • จำเป็นต้องแยกกักผู้ป่วยเหล่านี้ทันที
ความเสี่ยงต่อการติดเชื่อ EBOLA ในประเทศไทย • ผู้โดยสารที่ร่วมเดินทางมาในเครื่องบินเดียวกับผู้ติดเชื้อ • อาจมีผู้โดยสารที่เริ่มแสดงอาการบนเครื่องบินและแพร่เชื้อไปยังผู้โดยสารอื่นๆ • คนไทยที่พักอาศัยในประเทศที่มีการระบาด • ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ยกเว้นมีการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ • คนไทยที่ทำงานในสถานพยาบาลในประเทศที่มีการระบาด • มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในบุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาลและอาสาสมัครที่ไปทำงานในประเทศดังกล่าว
การแพร่กระจายเชื้อบนเครื่องบินการแพร่กระจายเชื้อบนเครื่องบิน
ขณะนี้ยังไม่พบผู้สงสัย หรือผู้ป่วยในประเทศไทย
การเฝ้าระวัง สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศเสี่ยง ต้องระมัดระวัง ไม่ใกล้ชิด ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีอาการสงสัย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ต้องคอยสำรวจตรวจตราตัวเองว่ามีไข้ หรือไม่ ถ้ามีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และให้ประวัติให้ละเอียดว่าไปที่ใดมาบ้างในช่วง 21 วันก่อนมีไข้
การควบคุมโรค • แยกผู้ป่วย และเน้นมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด • โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบถึงโรคและการติดต่อ • เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย
มาตรการป้องกันโรคที่ได้เตรียมไว้ 1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์ความคืบหน้า จากองค์การอนามัยโลก และต่างประเทศอย่างใกล้ชิด 2. ให้ สสจ. ทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที 3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะส่งต่อไปยังศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (US-CDC)นอกจากนี้ยังสามารถส่งตรวจได้ที่ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. ด่านควบคุมโรค ณ สนามบินสุวรรณภูมิ มีการคัดกรองโรคเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคในผู้เดินทางที่มาจากประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งต้องมาที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อแสดงเอกสารรับรองวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองอยู่แล้ว 6. ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสถานการณ์และปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 7. แจ้งเตือนผู้เดินทาง ให้ข้อมูล คําแนะนําต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่ตามช่องทางต่างๆ เช่น ผ่านท่าอากาศยาน สื่อมวลชนเว็บไซต์สายด่วน 1422 เป็นต้น มาตรการป้องกันโรค (ต่อ)
ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ออกข้อแนะนําผู้เดินทางชาวไทย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด และหากจําเป็นต้องเดินทางไป ขอให้ลงทะเบียนที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์เผื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
ข้อความสำคัญ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับผู้เดินทาง • โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในปัจจุบันมีการระบาดอยู่เฉพาะใน ประเทศกินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรียในด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา • สามารถติดต่อโดยการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยของใช้ของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วย • มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออก
ข้อความสำคัญ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับผู้เดินทาง (ต่อ) • ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน • ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง • หากเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอีโบลา ถ้ารู้สึกไม่สบายให้พบแพทย์ทันที (อาการไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง ผื่นแดงตาแดง) 27
บทบาทของอสม. • เฝ้าระวังโรคในชุมชน โดย • เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับประชาชนไม่ให้เกิดความตระหนก • สังเกตอาการผู้ที่กลับมาจากประเทศแถบแอฟริกา • แจ้งข่าวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบอย่างรวดเร็ว เมื่อมีผู้สงสัย รู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมโรคเร็ว
สำหรับประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักต่อโรค แต่อย่าตื่นตระหนกจนเกินเหตุ ที่สำคัญคือต้องมีความรู้ในโรคดังกล่าว