550 likes | 906 Views
สิทธินำคดีมาฟ้องระงับ. ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ “สิทธิ นำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ (๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด (๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
E N D
สิทธินำคดีมาฟ้องระงับสิทธินำคดีมาฟ้องระงับ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ “สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ (๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด (๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง (๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น (๖) เมื่อคดีขาดอายุความ (๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ความเข้าใจเบื้องต้น • สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ หรือเงื่อนไขที่จะระงับคดี • หากปรากฎกรณีตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 39 ไม่ว่าในขั้นตอนใด เจ้าพนักงานหรือศาลต้องระงับคดีนั้น • ชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ ต้องสั่งไม่ฟ้องคดี • ชั้นศาล ต้องสั่งจำหน่ายคดี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๘ “โทษระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด” • ข้อพิจารณา • ในกรณีที่ยังไม่มีการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาล หากผู้กระทำความผิดถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นเหตุให้โทษระงับไปด้วยความตายแก่ผู้กระทำความผิด คดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน ต้องสั่งไม่ฟ้องคดี • ยกเว้นแต่โทษริบทรัพย์สิน ตาม ป.อ. มาตรา ๓๒ “ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ในกรณีที่มีการฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลแล้ว แต่คดีนั้นยังไม่ถึงที่สุดแยกพิจารณาได้ดังนี้ • 2.1 ถ้าคดีนั้นมีการฟ้องเฉพาะคดีส่วนอาญา ย่อมเป็นเหตุให้สิทธิดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดระงับลง ศาลย่อมมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2525 จำเลยตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
2.2 ถ้ามีการฟ้องคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่งมาด้วยกัน • คดีส่วนอาญา • โจทก์ตาย ป.วิ.อ. มาตรา 29ให้มีการรับมรดกความได้ • จำเลยตาย ป.อ. มาตรา 38 โทษระงับ • คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2525 • คดีส่วนแพ่ง • โจทก์จำเลยตาย ป.วิ.พ. มาตรา 42 ให้มีการรับมรดกความได้ • คำพิพากษาฎีกาที่1238/2493 • ดังนั้นถ้าจำเลยตายระหว่างการพิจารณาการดำเนินคดีส่วนอาญาจึงระงับด้วยความตายของผู้กระทำผิด ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดีส่วนอาญา • คดีส่วนแพ่งศาลสามารถสั่งให้มีการรับมรดกความแทนจำเลยที่ตายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42ถ้าการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่เหลือศาลยังคงมีอำนาจพิจารณา หรือโจทก์ยังมีอำนาจฟ้อง • ถ้าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งต่อไป หรือโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลต้องจำหน่ายคดี เช่น ศาลที่รับฟ้องเป็นศาลอาญา หรือผู้ฟ้องเป็นพนักงานอัยการ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2525จำเลยตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ คำพิพากษาฎีกาที่1238/2493 ในคดีอาญาสินไหมซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์และให้ใช้ราคาทรัพย์ด้วยนั้น เมื่อจำเลยตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ๆ ย่อมสั่งให้คดีส่วนอาญาของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 77 ส่วนคดีส่วนแพ่งให้เลื่อนไปตามมาตรา 42 แห่ง ป.ม.วิ.แพ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ “ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะโดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ถ้ามีการบังคับโทษ หรืออยู่ในระหว่างการบังคับ • 3.1 ถ้ามีการบังคับโทษจนสิ้นสุดไปแล้ว ไม่เป็นเหตุให้โทษทางอาญาระงับลง หรือสิ้นสุดลง เช่น โทษปรับ ริบทรัพย์สิน ญาติจะขอคืนค่าปรับ ขอคืนทรัพย์สินโดยอ้างว่าผู้กระทำผิดตายไม่ได้ • 3.2 ถ้ายังไม่มีการบังคับโทษ หรือบังคับโทษไปบางส่วนแล้ว โทษที่ยังไม่ได้บังคับย่อมระงับไปเพราะความตายของผู้กระทำผิด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเฉพาะผู้กระทำความผิดที่ตายเท่านั้น ไม่มีผลถึงผู้กระทำความผิดคนอื่นในคดีนั้น • ความตายของผู้กระทำความผิดเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับเท่านั้น ส่วนสิทธิในทางแพ่ง(ถ้ามี)ของผู้เสียหายหาได้ระงับไปไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๒) เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว ป.วิ.อ. มาตรา 126 บัญญัติว่า “ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น” • ข้อพิจารณา • การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ • เพราะเท่ากับผู้เสียหายไม่ประสงค์จะให้รัฐดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอีกต่อไป • การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญาฟ้องระงับ • เพราะความผิดอาญาแผ่นดิน มีรัฐมีฐานะเป็นผู้เสียหายด้วยนอกเหนือจากราษฎร สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ผลของการถอนคำร้องทุกข์ผลของการถอนคำร้องทุกข์ • การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวนั้น ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับลง • ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดีอาญา การถอนคำร้องทุกข์ย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ • คดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนต้องสั่งไม่ฟ้องคดีด้วยเหตุผลว่ามีการถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาแล้ว แต่ยังไม่ถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับและคำพิพากษาของศาลล่าง(ถ้ามี)ย่อมระงับตาม • คำพิพากษาฎีกาที่ 1374/2509 คดีความผิดต่อส่วนตัว ก่อนคดีถึงที่สุดผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้และสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างที่ลงโทษจำเลยไว้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การถอนคำร้องทุกข์ภายหลังที่คดีถึงที่สุดไปแล้ว ไม่มีผลทำให้ โทษทางอาญาระงับ • คำพิพากษาฎีกาที่ 1857/2517 ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หลังจากคดีถึงที่สุดไปแล้ว ย่อมไม่มีผลให้คดีระงับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังใช้บังคับอยู่ • การถอนคำร้องทุกข์มีผลเฉพาะตัว ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายคนอื่นระงับลง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๒) เมื่อมีการถอนฟ้องในความผิดต่อส่วนตัว ป.วิ.อ.มาตรา 35 วรรค 2 “คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้....” • การถอนฟ้องจะต้องเป็นการถอนโดยไม่ติดใจดำเนินคดี ถ้าถอนฟ้องเพราะจะนำคดีไปฟ้องต่อศาลเอง ไม่ถือว่าเป็นการถอนฟ้องอันทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การถอนฟ้องคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา ๓๕ “คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใดถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย” • ระยะเวลาในการถอนฟ้อง • คดีอาญาแผ่นดินนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี • ความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะขอถอนฟ้องในเวลาใดก็ได้ ก่อนคดีถึงที่สุด ฟ้อง รวม ถอน
หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ถอนฟ้องหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ถอนฟ้อง • การอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือไม่ เป็นดุลยพินิจศาล • โจทก์มีเจตนาไม่สุจริตในการถอนฟ้องหรือไม่ • แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การแก้คดีแล้วศาลต้องถามตัวจำเลยก่อน ว่าจะคัดค้านหรือไม่ หากจำเลยคัดค้านกฎหมายให้สั่งได้ประการเดียว คือ ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ ฟ้อง รวม ถอน
ผลของการถอนฟ้อง • การถอนฟ้องคดีอาญามีผลทำให้โจทก์ผู้ถอนฟ้องจะฟ้องจำเลยคนเดียวกันในความผิดเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องอีกหาได้ไม่....” • ยกเว้นแต่ จะไม่ใช่การถอนฟ้องโดยเด็ดขาด • เช่น ถอนฟ้องเพื่อไปเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ หรือผู้เสียหาย ฟ้อง รวม ถอน
นอกจากนี้ยังอาจมีผลดังต่อไปนี้ด้วยนอกจากนี้ยังอาจมีผลดังต่อไปนี้ด้วย • ก. ถ้าอัยการถอนฟ้องความผิดอาญาแผ่นดิน การถอนฟ้องนั้นมีผลเฉพาะพนักงานอัยการเท่านั้น ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนั้นใหม่ตาม ม.36 (1) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้ (๑) ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่” ฟ้อง รวม ถอน
ข. ถ้าพนักงานอัยการถอนฟ้องในคดีความผิดต่อส่วนตัวโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนฟ้องนั้นมีผลเฉพาะพนักงานอัยการ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ตาม ม.36 (2) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ (๒) “ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไป โดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่” ฟ้อง รวม ถอน
ค. ถ้าผู้เสียหายถอนฟ้องความผิดอาญาแผ่นดิน มีผลเฉพาะผู้เสียหาย ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายคนอื่นที่จะฟ้องคดีนั้นตาม ม.36(3) ป.วิ.อ.มาตรา ๓๖ (๓) “ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว” • และก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายอื่นที่ไม่ได้ถอนฟ้องด้วยที่จะฟ้องคดีจำเลยนั้น ตาม ม.36(3) ฟ้อง รวม ถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงาน อัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่า การถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมาย ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการด้วยไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๒) เมื่อมีการยอมความในความผิดต่อส่วนตัว ป.วิ.อ.มาตรา 35 วรรค 2 “คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะ........ยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้....” ข้อพิจารณา • การยอมความกัน ได้แก่ การที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้ตกลงระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน • มีความหมายเช่นเดียวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ,851 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การยอมความคดีอาญานั้น ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออันต่างจากการยอมความในทางแพ่งที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 • คำพิพากษาฎีกาที่ 2479/2517 จำเลยจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าซื้อเป็ดให้โจทก์เป็นเงิน 14,107 บาท แต่เบิกเงินไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ต่อมาจำเลยได้นำเช็คจำนวนเงิน 13,000 บาท มาชำระหนี้ค่าเป็ดให้โจทก์ แต่หนี้ยังค้างอยู่อีก 1,107 บาทนั้น จำเลยยังไม่ได้ชำระ และโจทก์ไม่คืนเช็คฉบับแรกให้จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้คดีอาญาระงับ ยังถือไม่ได้ว่าได้มีการยอมความกัน อันจะทำให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาของโจทก์ระงับไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2531 การที่โจทก์ร่วมตกลงคืนเช็คพิพาทที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลย เพื่อแลกกับเช็คอีกสองฉบับซึ่งมีจำนวนเงินในเช็ครวมเท่าเช็คพิพาท และโจทก์ร่วมนำเช็คสองฉบับหลังไปเรียกเก็บเงินแล้ว แม้โจทก์ร่วมจะยังไม่ได้คืนเช็คพิพาทให้จำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์ร่วมตกลงเข้าถือเอาสิทธิตามเช็คสองฉบับดังกล่าว และสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงเป็นการยอมความแล้ว • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2523ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเพราะไม่มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็คที่จำเลยออกใช้ราคาของที่ซื้อจากโจทก์ ต่อมาจำเลยส่งของขายแก่โจทก์ โจทก์รับของหักใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยนั้น ตามพฤติการณ์เห็นความมุ่งหมายว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทไม่ดำเนินคดีอาญาสิทธิฟ้องคดีอาญาระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้ตกลงกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนแพ่ง ไม่มีผลเป็นการยอมความกันในส่วนอาญาด้วย • เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้ง หรือมีพฤติการณ์อันแสดงให้เห็นว่ามีผลเป็นการยอมความในส่วนอาญาด้วย คำพิพากษาฎีกาที่ 3903/2532 สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การยอมความโดยมีเงื่อนไข สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้สำเร็จลงแล้ว เช่น จะไม่ดำเนินคดีต่อเมื่อได้รับทรัพย์สิน หรือเงินคืน ครบถ้วนแล้วตามข้อตกลง • การยอมความกระทำได้เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัว การยอมความในคดีความผิดอาญาแผ่นดิน กระทำไม่ได้ • การยอมควาในความผิดอาญาแผ่นดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. ม.150 ในความผิดอาญาแผ่นดิน • ฎีกาที่ 1181/2491 ฎีกาที่ 1527/2513, ฎีกาที่ 2624/2516 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2491 เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยหาว่า แจ้งความเท็จ ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะแบ่งมรดกให้โจทก์ และโจทก์จะไม่เอาความกับจำเลย หลังจากนั้นโจทก์ถอนฟ้องจำเลยแต่จำเลยกลับไม่แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกตามข้อตกลง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกให้โจทก์ตามข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าสัญญาเป็นโมฆะ โจทก์ฏีกาคัดค้านว่าการถอนฟ้องของโจทก์จะเรียกว่า มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะพนักงานอัยการยังฟ้องใหม่ได้นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องใหม่ได้นั้นเอง เป็นข้อแสดงว่ากฎหมายไม่ประสงค์จะให้ผู้เสียหายยอมเลิกความในคดีอาญาแผ่นดิน เพราะเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อโจทก์ไปทำนิติกรรมยอมเลิกความ โดยประสงค์ต่อประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นโมฆะ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ฎีกาที่ 1527/2513 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้เยาว์มีข้อความว่า จำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์ โดยจะนำเงินมามอบให้ในวันที่ได้กำหนดไว้ หากถึงกำหนดวันนั้น จำเลยไม่ชำระ โจทก์จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป แต่ถ้าจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ก็จะถอนคดีด้วยความเต็มใจ การที่จำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์ก็เพราะจำเลยประสงค์ให้โจทก์ถอนคดีในข้อหาพรากผู้เยาว์ที่ได้แจ้งความไว้ แต่ความผิดฐานพรากผู้เยาว์นี้เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ฉะนั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ฎีกาที่ 2624/2516คู่กรณีในคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นความผิดอันยอมความกันได้หรือไม่ก็ตาม อาจตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งอันพึงมีพึงได้ตามสิทธิของตนได้ กฎหมายห้ามเฉพาะการตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับหรืองดการฟ้องคดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยบุกรุกขึ้นไปบนเรือนโจทก์ในเวลากลางคืนและกระทำอนาจารโจทก์ มีข้อความว่า จำเลยยอมเสียค่าทำขวัญให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตาม ยอมให้ดำเนินคดีต่อไปนั้น เป็นเรื่องทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อระงับการฟ้องคดีอาญาซึ่งกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การยอมความในความผิดต่อส่วนตัวกระทำได้ และไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายอื่นที่มิได้ตกลงยอมความด้วยในคดีนั้นที่จะฟ้องคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2500 ในคดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยทำสัญญายอมจะใช้เงินแก่ผู้เสียหาย แล้วก็ไม่ชำระตามกำหนดนัด ผู้เสียหายย่อมร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อไปได้ จำเลยบางคนทำสัญญายอมจะใช้เงินทั้งหมดแก่ผู้เสียหายคดีจะระงับหรือไม่ ก็เกี่ยวกับจำเลยเช่นว่านั้นโดยเฉพาะตัวเท่านั้นไม่พลอยไปถึงจำเลยอื่นๆ แม้อยู่ในคดีเดียวกันนั้นด้วย • การยอมความต้องกระทำหลังความผิดเกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่กรณีตกลงไว้ล่วงหน้าว่าจะมีการยอมความก่อนมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ดังนี้ จะกระทำมิได้ • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 35 วรรค 2 และ 39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่งหากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง และ39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่ง หากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลยออกเช็ค โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคาร อันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เป็นองค์ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอมของโจทก์ ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความยินยอมของผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรม การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ข้อสังเกต เกี่ยวกับถอนคำร้องทุกข์ ยอมความ • กรณีที่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การถอนคำร้องทุกข์ ยอมความ จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่ • ถ้าบทหนักเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ยอมความกัน ย่อมเป็นเหตุให้ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งเป็นบทหนักระงับ และความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งเป็นบทเบาระงับไปด้วย • ถ้าบทหนักเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ย่อมเป็นเหตุให้ความผิดที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับ แต่ความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งเป็นบทหนักไม่ระงับไปด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ • คดีเลิกกัน หรือคดีอาญาเลิกกัน แยกได้ 2 กรณี • เมื่อมีการเสียค่าปรับในอัตราขั้นสูงมาตรา ๓๗ (๑) • เมื่อมีการเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของเจ้าพนักงาน มาตรา ๓๗ (๒)-(๔) และ มาตรา ๓๘ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
เมื่อมีการเสียค่าปรับในอัตราขั้นสูงมาตรา ๓๗ (๑) มาตรา ๓๗ “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา” • ข้อพิจารณา • ความผิดต้องมีโทษปรับสถานเดียว ไม่ว่าจะกรรมเดียวผิดกฎหมายบทเดียว หรือหลายบท • เจ้าพนักงานต้องรับชำระค่าปรับตามที่ ผู้ต้องหาชำระ • การชำระค่าปรับต้องกระทำก่อนศาลจะเริ่มพิจารณา(เริ่มสืบพยานปากแรก) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
เมื่อมีการเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของเจ้าพนักงาน มาตรา ๓๗ (๒)-(๔) และ มาตรา ๓๘ • คดีที่จะเปรียบเทียบได้ • ความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือ • ความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือ • คดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ • ความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ • คดีอื่นๆที่มีกฎหมายพิเศษให้เปรียบเทียบปรับได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ • ความผิดที่เกิดขึ้นต่างจังหวัด ได้แก่ พนักงานสอบสวน • ความผิดเกิดที่กรุงเทพฯ ได้แก่ นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้น • พนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายพิเศษ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับ • ความผิดเจ้าพนักงานเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรต้องรับโทษถึงจำคุก • ผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ • เจ้าพนักงานมีอำนาจกะค่าทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ตามที่คู่กรณีได้ตกลงกัน หรือที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร • เจ้าพนักงานมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าปรับตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยกำหนดเวลาให้ชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกิน 15 วันนับแต่เปรียบเทียบ • ถ้าผู้ต้องหามิได้นำค่าปรับมาชำระแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามที่เวลาที่กำหนด คดีอาญาไม่เลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ผลของการเปรียบเทียบปรับผลของการเปรียบเทียบปรับ • คดีอาญาที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว มีผลให้ความผิดเรื่องนั้นเป็นอันเลิกกัน • คดีอาญาที่ได้มีการเปรียบเทียบปรับโดยชอบแล้ว หากปรากฏต่อมาในภายหลังว่า ความผิดเรื่องดังกล่าวเจ้าพนักงานไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ ไม่ทำให้คดีอาญาเลิกกัน • ค่าปรับที่รับมาแล้วต้องคืนให้แก่ผู้ต้องหา • เมื่อได้เปรียบเทียบปรับโดยชอบแล้ว แม้ต่อมาผู้ต้องหาจะมิได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ตามที่ตกลงกัน หรือตามที่เจ้าพนักงานกะให้ คดีอาญาก็ยังคงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๗ “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ........ (๒) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว (๓) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้นๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว (๔) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๘ ความผิดตามอนุมาตรา (๒) (๓) และ (๔) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำ คุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบดั่งนี้ (๑) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป (๒) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง • มีสุภาษิตในกฎหมายว่า “บุคคลจะไม่เดือนร้อนสองครั้งในเรื่องเดียวกัน” (ne bis in idem) มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • จำเลยในคดีแรกและคดีหลังเป็นคนๆเดียวกัน โดยไม่ต้องพิจาณาว่าโจทก์ในคดีแรกและคดีหลังจะเป็นคนๆเดียวกันหรือไม่ • คดีแรกอัยการเป็นโจทก์ คดีหลังผู้เสียหายเป็นโจทก์ • คดีแรกผู้เสียหายเป็นโจทก์ คดีหลังอัยการเป็นโจทก์ • คดีแรกผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ คดีหลังผู้เสียหายอีกคนเป็นโจทก์ • คดีแรกผู้เสียหายเป็นโจทก์ คดีหลังผู้เสียหายคนเดิมเป็นโจทก์อีก สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง • “คำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด”หมายถึง ได้มีคำพิพากษาศาลชั้นต้น • “ความผิดที่ได้ฟ้อง”หมายถึง การกระทำของจำเลยครั้งเดียวกัน กรรมเดียวกัน (การกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดนั้น ๆ) โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานความผิดหรือบทมาตราว่า ในคดีแรกและคดีหลังจะเป็นบทเดียวกันมาตราเดียวกันหรือไม่ • คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2496“พนักงานอัยการฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย ศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยฐานชิงทรัพย์ในกรรมเดียวกันอีกไม่ได้” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ศาลได้วินิจฉัยถึงความผิดของจำเลย คำพิพากษาของศาลได้วินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดี กล่าวคือ คำพิพากษาของศาลได้วินิจฉัยการกระทำของจำเลยว่า มีความผิดหรือไม่ • กรณีที่ถือว่าศาลได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลย • ศาลยกฟ้องโดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับโจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่ได้ • คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2490(ญ) คำพิพากษายกฟ้องคดีก่อนโดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องนั้น ไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำผิดในเวลาใด จึงลงโทษไม่ได้ ดังนี้ ฟ้องใหม่ไม่ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว • คำพิพากษาฎีกาที่ 1864/2500 ฟ้องที่ขาดองค์ความผิด ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว • ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องมิได้กล่าวถึงเวลาและสถานที่ซึ่งจำเลยกระทำผิด เท่ากับว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด • คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2490 (ญ)คำพิพากษายกฟ้องคดีก่อนโดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องนั้น ไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำผิดในเวลาใด จึงลงโทษไม่ได้ ดังนี้ ฟ้องใหม่ไม่ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ตามมาตรา 167 • ในคดีที่ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล ถือว่าศาลได้วินิจฉัย เนื้อหาแห่งคดีแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป • ศาลยกฟ้อง เพราะศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความ ฟ้องใหม่ไม่ได้ • ศาลยกฟ้อง เพราะมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษถือว่าศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
กรณีต่อไปนี้ถือว่าศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาการกระทำ กรณีต่อไปนี้ถือว่าศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาการกระทำ • ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องผิดศาล • คำพิพากษาศาลฎีกาที่546/2486 ศาลทหารยกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาดศาลทหาร โจทยื่นฟ้องต่อศาลพลเมืองใหม่ได้. • ศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้อง • คำพิพากษาฎีกาที่ 1301/2503คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้พิจารณาเรื่องที่โจทก์ฟ้องเลย จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาในความผิดที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2503) • ศาลยกฟ้องเพราะคดีไม่มีการร้องทุกข์ หรือสอบสวน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังความผิด ยกเลิกความผิดเช่นนั้น ป.อ. มาตรา ๒ “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ข้อพิจารณา • กฎหมายออกใช้ภายหลังกระทำความผิดเพียงแต่แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่มิได้ถึงขนาดยกเลิกความผิดคดีอาญาไม่ระงับ • กฎหมายที่ยกเลิกต้องมีศักดิ์ไม่ต่ำกว่ากฎหมายที่บังคับใช้ขณะนั้น ถ้ามีศักดิ์ต่ำกว่าแม้จะออกมาในลักษณะเป็นการยกเลิกความผิดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ • กฎหมายที่ออกใช้ภายหลังการกระทำผิดที่ออกมา ยกเลิกความผิดเช่นนั้น แม้จะเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน แต่หากมีศักดิ์ของกฎหมายเสมอกัน หรือกฎหมายใหม่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายเก่า ก็ต้องถือว่ากฎหมายที่ออกมาใช้ภายหลังได้ยกเลิกความผิดนั้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ