130 likes | 338 Views
บทที่ 8 การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนกำไร. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1.ศึกษาความสมบูรณ์และข้อพิจารณาทางเลือกในการวางแผนกำไร 2.ศึกษาการนำแผนไปใช้และการรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อการควบคุมของฝ่ายบริหาร 3.ศึกษารายงายผลการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์ผลแตกต่างจากงบประมาณ.
E N D
บทที่ 8 การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนกำไร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1.ศึกษาความสมบูรณ์และข้อพิจารณาทางเลือกในการวางแผนกำไร 2.ศึกษาการนำแผนไปใช้และการรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อการควบคุมของฝ่ายบริหาร 3.ศึกษารายงายผลการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์ผลแตกต่างจากงบประมาณ
การวางแผนทุ่รกิจใช้กันในปัจจุบันนี้อาจสรุปเป็นงบการเงินได้ 3 งบ คือ งบประมาณดำเนินงาน งบประมาณงบดุล และงบประมาณงบกระแสเงินสด การจัดทำงบประมาณสามารถแบ่งได้ 3 ระยะคือระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ในการวางแผนและควบคุมกำไร พิจารณาได้จาก 3 ประการคือ 1. ความสมบูรณ์ของแผนกำไร 2. การวิเคราะห์ ประเมินผล และเลือกทางเลือก 3. การนำแผนกำไรไปใช้
ความสมบูรณ์ของแผนกำไรความสมบูรณ์ของแผนกำไร การจัดทำแผนกำไรสิ้นสุดลงเมื่อจัดทำงบประมาณกำไรขาดทุน งบประมาณการงบดุล และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน ก่อนที่จะมีการกระจายแผนกำไรที่ได้รับรองแล้วให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยปกติมักจะปรับปรุงรูปแบบของงบประมาณใหม่ เพื่อหลีกเลี้ยงเทคนิคทางบัญชีและข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น
ข้อพิจารณาในการเลือกทางเลือกต่าง ๆ ในการวางแผนกำไร สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกทางเลือก ในการดำเนินงานตามแผนกำไร คือ 1. ราคาขายกับงบประมาณ 2. นโยบายในการโฆษณาส่งเสริมการขาย 3. เขตขายและการขยายเขตขาย 4. ส่วนผสมการขาย 5. ความสมดุลระหว่างการผลิตคงที่และระดับสินค้าคงคลัง 6. ค่าใช้จ่ายในการวิจัย 7. การจ่ายลงทุนเพิ่ม 8. การทดสอบการตดสินใจเลือกทางเลือก
การนำแผนกำไรไปใช้ เมื่อกิจการอนุมัติแผนกำไรแล้ว กิจการจะกระจายแผนกำไรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจการต้องจัดทำคู่มือการใช้งบประมาณ สำเนาแผนกำไรให้แต่ละหน่วยงาน การวางแผนงบประมาณจะใช้เป็นหลักในการดำเนินงานในปัจจุบัน และก่อให้เกิดการประสานงาน และใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการปฏิบัติงาน
รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อการควบคุมของฝ่ายบริหารรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อการควบคุมของฝ่ายบริหาร ในการพิจารณาปัญหาและวิธีควบคุม รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บริหารของกิจการเป็นส่วนที่สำคัญของกระบวนการวางแผนและควบคุมกำไรที่ดี การายงานผลการปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำงบประมาณ ซึ่งอาจกำหนดโดยใช้เป้าหมายของแผนและวัตถุประสงค์ที่จะได้รับ รายงานผลการปฏิบัติงานอาจจำแนกประเภทได้ ดังนี้ 1. รายงานที่เสนอต่อบุคคลภายนอก 2. รายงานให้กับผู้เป็นเจ้าของ 3. รายงานเป็นการภายใน
รายงานผลการปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นเครื่องมือในการประสานงานรายงานผลการปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นเครื่องมือในการประสานงาน รายงานผลการปฏิบัติงานช่วยสร้างลักษณะที่สำคัญในการควบคุม ซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องเชื่อถือข้อมูลที่เสนอไว้ในรายงานที่จัดทำขึ้นภายในกิจการ เฉพาะนั้น รายงานภายในจึงช่วยเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่สำคัญ ในทุกระดับ และจะช่วยกระตุ้นให้มีการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ จากข้อมูลที่ได้ เข้าใจปัญหา และวิธีที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
ลักษณะสำคัญของรายงานผลการปฏิบัติงานลักษณะสำคัญของรายงานผลการปฏิบัติงาน ในการกำหนดแผนกำไรของกิจการ ควรเน้นที่การปฏิบัติงานของหน่วยย่อย ๆ ที่ต้องยึดตามวัตถุประสงค์ของกิจการ กิจการอาจเน้นถึงมาตรฐานที่สัมพันธ์กันใน การกำหนดหน้าที่และความเหมาะสม ดังนั้นรายงานผลการปฏิบัติงานควรเป็นดังนี้ 1. เหมาะกับสายงานจัดแบ่งและควบคุม 2. กำหนดหลักเกณฑ์การบริหารที่ เหมาะสม 3. ทำซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ 4. ปรับให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ 5. ง่าย เข้าใจชัดและรายงานเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ 6. แสดงสิ่งที่ทำได้จริงและข้อแตกต่างที่ สำคัญ 7. จัดทำและเสนอได้ทันที 8. จัดทำให้กลมกลืนกัน
รูปแบบของรายงานผลการปฏิบัติงานรูปแบบของรายงานผลการปฏิบัติงาน ระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานควรเหมาะสมกับการจัดแบ่งสายงานของกิจการเหมือนกับที่กิจการเน้นสำหรับการทำงบประมาณให้เหมาะกับระบบบัญชี กิจการที่ทำการผลิตอาจกำหนดให้รายงานการปฏิบัติงานนั้นต้อง 1. สัมพันธ์กับโครงสร้างการจัดองค์การ 2. ระบุรายการที่ยอมรับที่สามารถควบคุมได้ 3. สัมพันธ์กับรายการอื่น ๆ
การปรับรายงานผลการปฏิบัติงานให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้การปรับรายงานผลการปฏิบัติงานให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ แต่ละฝ่าย/แผนกจะใช้รายงานผลการปฏิบัติงานของตนมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญ คือ ด้านการประเมินผลและการตัดสินใจ ผู้ใช้รายงานผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารขั้นสูง : รายงานจากทุกฝ่ายของกิจการ 2. ผู้บริหารระดับกลาง :รายงานผลการปฏิบัติงานของแผนก/ ฝ่ายงานต่าง ๆ 3. ผู้บริหารขั้นต่ำ : รายงานผลการปฏิบัติงาน การประสานงาน และการควบคุมประจำวัน
วิธีการติดตามรายงานของฝ่ายบริหารวิธีการติดตามรายงานของฝ่ายบริหาร กิจการที่มีการจัดการที่ดีจะทำรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นรายเดือน รายงานนี้จะแสดงให้เห็นทั้งจุดดีและจุดเสียของกิจการ ผู้บริหารควบตรวจดูรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามแผนกำไร การติดตามผลการปฏิบัติงาน คือ การหาทางแก้ไข กำหนดความรับผิดชอบของฝ่ายปฏิบัติการ
ข้อมูลที่ต้องรวมอยู่ในรายงานผลการปฏิบัติงานข้อมูลที่ต้องรวมอยู่ในรายงานผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลที่ต้องรวมอยู่ในรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. การระบุความรับผิดชอบ 2. ข้อแตกต่างของรายการที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ 3. ระบุระยะเวลาที่แน่นอน 4. วิธีการรายงานผลแตกต่าง 5. การปรับปรุงจำนวนตามงบประมาณตามเหตุการณ์จริง 6. รายละเอียดของแต่ละหน่วยงาน 7. ข้อคิดเห็นและคำแนะนำ
การวิเคราะห์ผลแตกต่างจากงบประมาณการวิเคราะห์ผลแตกต่างจากงบประมาณ วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ผลแตกต่างก็เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ระหว่างงานที่เกิดขึ้นจริงบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อแตกต่างระหว่างงานจริงกับแผนงานใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง ควบคุมการดำเนินงานให้ดีขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องทราบข้อมูลดังนี้ 1. จำนวนผลต่าง 2. แหล่งที่มาของผลต่าง 3. ผู้รับผิดชอบในผลต่างที่จะเกิดขึ้น 4. สาเหตุที่เกิดผลแตกต่าง ในการวิเคราะห์ผลต่างจะเน้นวิเคราะห์เกี่ยวกับ - การขาย - วัตถุดิบ - แรงงานทางตรง- ค่าโสหุ้ยการผลิต