1 / 15

สรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน

สรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน. การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาจารย์ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว กรณีศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยคุณประกิต หลิมสกุล ที่ปรึกษาหัวหน้ากองบรรณาธิการ ไทยรัฐ

salena
Download Presentation

สรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปประเด็นการนำเสนอผลงานสรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาจารย์ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว กรณีศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยคุณประกิต หลิมสกุล ที่ปรึกษาหัวหน้ากองบรรณาธิการ ไทยรัฐ ระบบและกลไกการรับผิดชอบของสื่อในยุคดิจิตัล โดย ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

  2. การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ • วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ลักษณะของการสื่อสาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารอิทธิพลของสื่อ และเพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม • ในการสอบถามการเปิดรับข่าวสารของประชาชนในยะลา ปัตตานี นราธิวาสพบว่ากลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวารจากสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์ • การศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากเรื่องการนำเสนอข่าวสารที่รวมเร็ว แต่ไม่เชื่อถือข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอ • ประเด็นทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสื่อสารพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการพูดคุยกับทุกวัน กับเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่ และมักเป็นเรื่องทั่วไปในหมู่บ้าน โดยระบุว่าทัศนคติและความเชื่อที่ต่างกันเป็นอุปสรรคในการสื่อสารมากที่สุด

  3. พบว่าสถานที่ที่พบปะมักเป็นศาสนสถานและร้านน้ำชา ซึ่งเป็นช่องทางและแหล่งข่าวในการแพร่กระจายข่าวสารที่สำคัญ • พบว่ามีการสื่อสารทั้งผ่านสื่อมวลชนและสื่อบุคคล และมีความน่าเชื่อถือ โดยระบุว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระกว่างชาวไทยพุทธและมุสลิม แต่การสื่อสารระหว่างกันจะทำให้รู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและชุมชน • พบว่ารูปแบบการสื่อสารหลัง 2547 มีความหวาดระหว่างระหว่างสื่อ-ประชาชน และ ประชาชน-ประชาชน มีการโฆษณาชวนเชื่อมาก และหาที่มาไม่ได้ คนไทยมุสลิมปฏิเสธการพูดภาษาไทย โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า • เสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตและคติความเชื่อผ่านกระบวนทัศน์ DO IT RIGHT

  4. ข้อวิพากษ์ (คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) • งานวิจัยยังไม่ได้ระบุว่าอะไรคืออุปสรรคในการสื่อสาร ระบุแต่ว่าวัฒนธรรมไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค • กลุ่มตัวอย่างอาจไม่กระจายถึงสังคมชนบท ดังนั้นข้อสรุปรูปแบบการสื่อสารที่ได้จึงเป็นลักษณะของสังคมเมือง ซึ่งมีรูปแบบต่างจากสังคมชนบท • ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่มีความรู้ แต่การสื่อสารที่มีปัญหาคือการสื่อสารกับคนที่ไม่มีความรู้ ดังนั้นรัฐจะสื่อสารกับคนกลุ่มนี้อย่างไร • โมเดล SMCR น่าจะเป็น RCMS เนื่องจากผู้รับสารเป็นผู้เลือกว่าจะรับสารจากช่องทางใดและสารประเภทใด • การนิยาม “ไทยพุทธ” ไม่ชัดเจนพอ เนื่องจากไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นไทยพุทธที่เป็นคนในพื้นที่ เกิดที่นั่น หรือเป็นไทยพุทธที่ย้ายถิ่นไปทำงานที่นั่น ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน

  5. ข้อวิพากษ์ (คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน) • ข้อค้นพบยังไม่ตอบโจทย์ว่าความขัดแย้งที่แท้จริงคืออะไร ทั้งนี้เพราะงานวิจัยมุ่งเน้นที่การหารูปแบบที่เหมาะสม เหมือนเป็นการตั้งกรอบไว้ ทำให้ได้ข้อมูลบางประเด็นและละเลยข้อมูลบางประเด็น • ความน่าสนใจน่าจะอยู่ที่สภาพการที่เปลี่ยนไปก่อนและหลัง 2547 โดยเฉพาะเรื่องความหวาดระแวง ซึ่งเดิมมีความหวาดระแวงระหว่างรัฐ-ไทยมุสลิม แต่ปัจจุบันได้ขยายไปสู่รัฐ-ไทยมุสลิม และ ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม

  6. อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว กรณีศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน • Timeframe 2500-2516 และหลัง 2516 • อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว ได้แก่ การเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ อิทธิพล 3 ทางจากการเมือง นายทุน(เจ้าของ) และทุน(โฆษณา) การคุกคาม ทั้งการจับกุม ฟ้องร้องและฆ่า และอิทธิพลจากผู้อ่าน • ในเรื่องการฟ้องร้อง มีผลทำให้นักข่าวอาจต้องหยุดการนำเสนอข่าว เพราะไม่แน่ใจว่าข้อเขียนต่างๆจะละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ • บางครั้งแหล่งข่าวก็ใช้วิธีการด่าสื่อจนสื่อไม่ลงข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้นๆ ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งในการทำให้สื่อหยุดการนำเสนอข่าวได้ • อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือการโฆษณา นอกจากนี้ยังมีเรื่องชีวิตที่สื่อจำเป็นต้องหยุดเสนอข่าวสาร เสนอไม่ครบประเด็น ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อรักษาชีวิตไว้

  7. ข้อวิพากษ์ (คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน) • มีปัจจัยที่ทำให้ข่าวไม่เป็นข่าวน้อย • ประเด็นที่น่าสนใจคือปัจจัยการโฆษณา • ปัจจัยที่ทำให้ข่าวไม่เป็นข่าวถูกกำหนดโดยทุน หนังสือพิมพ์มักมีข่าวสำคัญ 8ข่าว ใครกำหนด สื่อ เพราะเป็นข่าวที่กำหนดด้วยโฆษณาและอิทธิพลอื่นๆ เช่นข่าวนายกฯมาพัทยา แม้ว่าสื่อออนไลน์ โทรทัศน์และวิทยุจะเสนอข่าวแล้ว วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ก็จะเสนอข่าวอยู่ดี แต่จะไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องเนื้อหามากนัก น่าจะเป็นประเด็นนายกฯมาพัทยาเป็นครั้งแรกหลังจากเหตุการณ์ที่พัทยาครั้งที่แล้ว • สรุป เรื่องสำคัญถูกละเลย กำหนดโดยสื่อ กำหนดโดยทุน • คุณประกิตชี้แจงว่าเรื่องดีกำหนดโดยแหล่งข่าวดีมักขายไม่ได้

  8. ข้อวิพากษ์ (ผศ. ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ) • ขาดบริบทความแตกต่างระหว่างหนังสือพิมพ์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมีปัจจัยที่ทำให้ลงข่าวใดไม่ลงข่าวใดต่างกัน • ขาดการเชื่อมโยงอิทธิพลที่ทำให้ข่าวไม่เป็นข่าวและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด • ควรพิจารณาประเด็นที่แหล่งข่าวสร้าง agenda มาเพื่อให้สื่อลงข่าว เช่น PR ของนักการเมืองดังหลายคนที่เห็นอยู่ นักข่าวรู้เท่าทันกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์เหล่านี้หรือไม่

  9. ระบบและกลไกการรับผิดชอบของสื่อในยุคดิจิตัล • วิเคราะห์ความแตกต่างของ Responsibility V Accountability • ทำไมต้องศึกษา เพราะ โลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำสื่อขับเคลื่อนด้วยทุนและตลาด มีช่องทางที่ประชาชนสามารถรับข่าวสารอย่างไม่มีขีดจำกัด และเกิดนักข่าวภาคประชาชน • คำถามหลักคือสื่อในยุคดิจิตัลต่างจากเดิมหรือไม่ในแง่ความหมาย ความคาดหวัง บทบาทหน้าที่ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ • กรอบเรื่องความรับผิดชอบมี 4ประการคือ กรอบความรับผิดชอบต่อสาธารณะ กรอบด้านกฎหมายและระเบียบ กรอบเชิงวิชาชีพ และกรอบทางการตลาด • กลุ่มตัวอย่างเป็นสื่อกระแสหลัก (สื่อปัจจุบัน) สื่อกระแสรอง (นิตยสารบันเทิง เว็บ บล็อก) สมาคมวิชาชีพ รวม 45 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(มูลนิธิเด็ก Media Watch กระทรวงวัฒนธรรม ฯลฯ) 14 คน

  10. ข้อค้นพบ • ความหมาย สื่อ-press Journalist สื่อดั้งเดิม Mass media media มองว่าจากจุดเชื่อมบุคคลกับโลกภายนอก ช่องทาง • กรอบความรับผิดชอบต่อสาธารณะ 1 สื่อต้องมีสิทธิเสรีภาพ 2 จรรยาบรรณ ขึ้นอยู่กับจุดยืนของสื่อนั้นๆ เช่น นิตยสารที่ขายเรื่องเพศ การนำเสนอเรื่อง/รูปที่ล่อแหลมถือว่าไม่ผิดเพราะเป็นจุดยืน 3 การควบคุมกันเอง เน้นที่การควบคุมในองค์กรมากกว่าการควบคุมความเป็นวิชาชีพ • กรอบกฎหมาย พบว่าสื่อมวลชนจะคิดถึงกฎหมายที่ควบคุมสื่อมากกว่าที่คุ้มครองสื่อ และไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายอื่นๆที่อาจจะเกี่ยวข้อง แต่พบว่าหลายสำนักมีการอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติเกี่ยวกับยา • ดังนั้นระบบและกลไกความรับผิดชอบในกรอบกฎหมายคือ ตระหนัก (ถึงความสำคัญของกฎหมาย) ต่อเติม (คืออบรมเพิ่มเติม) และตรวจสอบ (ตรวจสอบก่อนนำเสนอ)

  11. กรอบการรับผิดชอบทางวิชาชีพ ได้แก่ training monitoring evaluation feedback • ซึ่งหากเกิดขึ้นผิดพลาด จะมีขั้นตอนแก้ไขคือ ยึดหลักศีลธรรมและสังคม ทำด้วยความสมัครใจ รูปแบบตักเตือนไม่เป็นทางการ เป็นการให้ความร่วมมือ การลงโทษไม่เป็นรูปธรรม เช่น ตอบชี้แจง และอ้างอิงคุณภาพ • กรอบทางการตลาด (ความอยู่รอดของสื่อ กับการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค)สื่อที่ตอบไม่มีผลกระทบเป็นสื่อที่แยกกอง บก. ออกจากฝ่ายตลาด ตอบมีผลปานกลาง มักเป็นกลุ่มนิตยสาร ที่ยอมแก้ไขหากไม่เสียความเป็นตัวเอง สื่อที่ตอบว่ามีมากคือโทรทัศน์ ส่วนสื่อที่ตอบผสมคือสื่อที่ส่วนต่างๆและการตลาดทำงานด้วยกัน • ทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่าสื่อยังไม่รับผิดชอบพอ มีความเป็นมือาชีพเฉพาะเรื่องเทคนิค แต่ไม่เป็นมืออาชีพเรื่องผลงาน สมาคมวิชาชีพไม่เข้มแข้ง กลไกอื่นๆไม่มีประสิทธิภาพ

  12. สรุปสื่อยุคดิจิตัล • Competition and convergence มีการแข่งขันสูง ข้ามสื่อมาก นักสื่อสารมวลชนทำงานหลายสื่อ แต่ส่วนมากใช้จรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ • Changing Meaning ความหมายของสื่อกว้างขึ้นทั้งในแง่ประเภท ช่องทาง การนำเสนอ • Confusing Sources หยิบยืมเนื้อหาข้ามไปมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ • Careless Process แข่งกับเวลา การตรวจสอบจึงน้อยลง • Clear position สื่อใหม่มีจุดยืนทางการตลาดและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

  13. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • ขยายขอบเขตการดูแล คนทำทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ใช้จรรยาบรรณอะไร • คัดแยก ประเด็นที่ต้องแก้ไข • ควบคุมที่เข้มงวด ชัดเจนและเท่าเทียม • เคร่งครัดในการตรวจสอบ

  14. ข้อวิพากษ์ (คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน)ค่อนข้างเป็นห่วงประเด็นการเติบโตของนักข่าวภาคประชาชน ที่ไม่มีความรู้แง่จริยธรรมสื่อเช่นเดียวกับสื่อมวลชน ข้อวิพากษ์ (ผศ. ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ) ควรเก็บตัวอย่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่ม เพราะยังไม่สะท้อนภาพทั้งหมด กลุ่มที่เก็บมาเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะมองว่าสื่อชี้นำ ควรพิจารณา audience ที่เปลี่ยนไปด้วย active audience ควรพิจารณาสื่อหลักมากขึ้น เพื่อนำผลศึกษามาสร้างกรอบจรรยาบรรณและความรับผิดชอบ อาจแบ่งสื่อเป็นส่วนย่อย (segment) โดยเฉพาะสื่อ convergence แล้วนำเสนอเฉพาะกลุ่ม

  15. Comment อื่นๆ • คุณประดิษฐ์ – สมาคมได้เชิญบุคลจากภาคส่วนต่างๆและสื่อต่างประเภทกันมาทำงานร่วมกัน และพยายามดูเรื่องจรรยาบรรณให้ครอบคลุมมากขึ้น • คุณรุ่งมณี – (ดร.สุดารัตน์) ควรแบ่งสื่อวิชาชีพออกจากสื่อทั่วไป และศึกษาเฉพาะ สื่อวิชาชีพ • การควบคุม ต้องเป็นการควบคุมกันเอง และสังคมจะควบคุมสื่อด้วยการรู้เท่าทัน • (คุณประกิต) ขาดการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างนักข่าวรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ • (อ.ลัดดาวัลย์) บ้อมูลภาคใต้มีความละเอียดอ่อนมาก และมีลำดับระยะผ่านของสถานการณ์ เช่น ไทยพุทธดั้งเดิมในพื้นที่จะมีความสัมพันธ์กับไทยมุสลิมต่างจากไทยพุทธที่เกิดในยุคหลังๆ

More Related