140 likes | 347 Views
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบโดยวิธี B-Index ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา. 1. การตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์โดยวิธีหาค่าดัชนีจำ แนก B (B-Index). 2. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย (Essay Item). 3. การวิเคราะห์แบบสอบถามแบบ Rating Scale.
E N D
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบโดยวิธี B-Index ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา
1.การตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์โดยวิธีหาค่าดัชนีจำ แนก B (B-Index) 2. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย (Essay Item) 3. การวิเคราะห์แบบสอบถามแบบ Rating Scale ความสามารถของโปรแกรม www.sct.ac.th
คุณสมบัติของโปรแกรม www.sct.ac.th • เป็นโปรแกรมที่สามารถตรวจข้อสอบ และวิเคราะห์ข้อสอบ เลือกตอบ 4-5 ตัวเลือก เมื่อสอบแล้วนำ มาวิเคราะห์ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจข้อสอบก่อน • โปรแกรมจะรายงานคะแนนผลการสอบรายบุคคล รายจุดประสงค์ ผ่านหรือไม่ผ่านจุดประสงค์ ใดบ้าง • สามารถวิเคราะห์ข้อสอบจำ แนกเป็น รายจุดประสงค์ และวิเคราะห์เป็นรายข้อ • สามารถวิเคราะห์ตัวเลือกได้ทุกตัวเลือก และบ่งชี้คุณภาพของตัวเลือกทุกข้อ • วิเคราะห์ ค่า Mean , S.D. • วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ทั้งฉบับ • สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์ • โปรแกรม Version นี้ ใช้งานบน Windows 98 , NT, Windows 2000 และWindows XP.
ข้อสอบที่นำ มาวิเคราะห์ ต้องเป็นข้อสอบที่สอบวัด และ จำแนกตามจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือจำแนกตามกลุ่มพฤติกรรม (ควรจะผ่านการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาหรือตรงตามจุดประสงค์ มาก่อน ถ้ายังไม่วิเคราะห์มาก่อนก็สามารถวิเคราะห์ได้ แต่ข้อสอบต้องสอบวัดตามจุดประสงค์) 1 ข้อสอบที่สอบวัดแต่ละจุดประสงค์จะต้องเรียงข้อสอบเป็นชุด ๆ เช่นจุดประสงค์ที่ 1 ข้อ 1-8 จุดประสงค์ที่ 2 ข้อ 9-15 เป็นต้น 2 ข้อสอบที่สอบวัดแต่ละจุดประสงค์ จะต้องมีจำนวนมากพอที่จะเป็นตัวแทนของพฤติกรรมตามจุดประสงค์นั้น ๆ(ไม่ควรตํ่ากว่า 5 ข้อ) 3 เงื่อนไขสำคัญ และความคิดรวบยอดของการวิเคราะห์ www.sct.ac.th
ข้อสอบที่ดี ผลการวิเคราะห์ควรจะมีค่าดังนี้ www.sct.ac.th • ข้อถูกหรือตัวเลือกที่ถูก ค่าอำนาจจำแนกต้องมีค่าเป็นบวก ระหว่าง 0.20 ถึง 1.00 • ค่าอำนาจจำแนกของตัวลวง จะต้องมีค่าเป็นลบ (ลวงกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์มากกว่า กลุ่มผ่านเกณฑ์) • การเลือกตอบแต่ละตัวเลือกที่เป็นตัวลวงควรจะกระจายทุก ๆ ข้อใกล้เคียงกัน (ค่าสัดส่วนใกล้เคียงกัน)
การใช้งานโปรแกรม www.sct.ac.th • 1. การเตรียมข้อสอบที่จะนำมาวิเคราะห์ • 1.1 ถ้าต้องการรายงานคะแนนนักเรียนทุกคน ให้เตรียมข้อสอบไว้ทั้งหมด • 1.2 ถ้าต้องการผลการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาข้อสอบอย่างเดียว ให้เลือกข้อสอบประมาณ 100 ฉบับขึ้นไป ถ้ามีข้อสอบตํ่ากว่า 100 ฉบับ ควรใช้ทั้งหมด • 1.3 ถ้าข้อสอบมีมากอาจจะเลือก 27% สูง-ตํ่าก็ได้ จะทำ ให้ผลการวิเคราะห์เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น • 1.4 ถ้าจะให้ง่ายและสะดวกอาจจะนำ ห้องเก่งมา 1 ห้อง และ ห้องไม่เก่งมา 1 ห้อง ก็ได้ แต่ถ้าเตรียมเรียงข้อมูล 27% สูง-ตํ่า ก็จะดีกว่า
ผลการวิเคราะห์อื่น ๆ www.sct.ac.th • ค่า คะแนนเฉลี่ย เป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่นำ มาวิเคราะห์ทั้งหมด • ค่า S.D.เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงการกระจาย หรือ ความแตกต่างของคะแนนของกลุ่ม ถ้าค่า S.D. มาก แสดงว่า คะแนนของนักเรียนกระจายต่างจากค่าเฉลี่ยมากและ ถ้าค่า S.D. น้อย แสดงว่า คะแนนของนักเรียน แตกต่างกันน้อย (คะแนนใกล้เคียงกับคะแนนเฉลี่ยเป็นจำ นวนมาก ) บ่งชี้ถึงความสำ เร็จของการสอนเราด้วย เช่น ถ้าเราสอบก่อนสอน ได้ค่าเฉลี่ยตํ่า การกระจายมาก (S.D. มาก) และหลังการสอน ได้ค่าเฉลี่ยสูง การกระจาย น้อย นั่นคือเราได้พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นจริง แต่อย่างไรก็ตามอาจจะต้องใช้ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบการพิจารณาด้วย • ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ( ค่า rtt และ ค่า rcc ) ผลการวิเคราะห์ 2 ค่านี้มีความหมายว่า ข้อสอบนี้มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับใด ซึ่งจะมีค่า อยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย(Essay Item) www.sct.ac.th • การวิเคราะห์ ค่าดัชนีอำ นาจจำ แนกของข้อสอบ และ ค่าดัชนีความยากของข้อสอบแต่ละข้อ ในที่นี้ เลือกใช้ตามวิธีของ D.R Whitney และ D.L Sabers (อ้างอิงในโกวิท ประวาลพฤกษ์ , 2527 : 276) และการวิเคราะห์ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้วิธี หาค่า Coefficient Alpha (α) ของ Cronbrach (1951) • ค่าดัชนีอำ นาจจำ แนกของข้อสอบแต่ละข้อ หมายถึง ตัวเลขที่บ่งชี้คุณภาพของข้อสอบแต่ละข้อว่า มีความสามารถจำ แนกผู้ที่เข้าสอบที่มีความรู้ความสามารถจริงหรือ ผ่านจุดประสงค์อย่างแท้จริง และ ผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความสามารถ หรือ ไม่ผ่านจุดประสงค์ ออกจากกันได้หรือไม่เพียงใด • ค่าดัชนีความยากของข้อสอบแต่ละข้อ หมายถึง ตัวเลขสัดส่วนที่บ่งชี้ถึงความยากของข้อสอบแต่ละข้อ โดยคิดเปรียบเทียบค่าคะแนนที่ได้จริงของทั้ง 2 กลุ่มเปรียบเทียบกับคะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ ของทั้งสองกลุ่ม เช่น ข้อสอบข้อที่ 1คะแนนเต็ม 5 คะแนน (คะแนนสูงสุด) และ คะแนนตํ่าสุดคือ 0 คะแนน ตัวเลขนี้ คือตัวเลขคะแนนสูงสุดและตํ่าสุดที่เป็นไปได้
คุณสมบัติของโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัยคุณสมบัติของโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย www.sct.ac.th • ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ (Index of Discrimination) • ค่าความยากของข้อสอบรายข้อ ( Index of Difficulty) • ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ (Coefficient Alpha) • นอกจากนี้ยังสามารถสรุปรายงานข้อมูล ค่าสถิติ ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อสอบฉบับนั้นอีกทุกแง่ทุกมุม เช่น ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ และทั้งกลุ่ม ฯลฯ
การแปลความหมายผลการวิเคราะห์การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ www.sct.ac.th • ค่าความยาก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 ข้อสอบยาก ค่าความยากจะเข้าใกล้ 0 และ ข้อสอบง่าย ค่าความยาก จะเข้าใกล้ 1.00 หรือ ตัวเลขมาก ข้อสอบง่าย ตัวเลขน้อย ข้อสอบยาก โดยทั่ว ๆ ไป ค่าความยากจะอยู่ที่ระดับ 0.20-0.80 ถ้าตํ่าหรือสูงกว่านี้ จะเป็นข้อสอบที่ยากหรือง่ายเกินไป • ค่าอำนาจจำแนกที่ยอมรับ คือค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป จนถึง 1.00 ถ้าต่ำกว่า 0.20 จะต้องปรับปรุงข้อสอบข้อนั้นหรือตัดทิ้งไป • ค่าความเชื่อมั่น มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับทั่วไปมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 88)
ค่าอำนาจจำแนก www.sct.ac.th • ค่าอำนาจจำแนก เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของข้อสอบข้อนั้น ๆ ว่ามีความสามารถจำแนกผู้เข้าสอบได้ดีเพียงใด ถ้าข้อสอบสามารถจำแนกคนที่ ไม่มีความรู้ความสามารถจริงตามจุดประสงค์นั้น และผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริงตามจุดประสงค์นั้นออกจากกันได้ทุกคนอย่างถูกต้อง ข้อสอบข้อนั้นมีค่าอำนาจจำแนก100 % หรือ ค่าอำนาจจำแนก = 1.00
ค่าความเชื่อมั่น www.sct.ac.th • ตัวเลขที่สำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ค่าความเชื่อมั่น (Coefficient Alpha) ของข้อสอบซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่าข้อสอบฉบับนี้เชื่อมั่นได้มากน้อยเพียงใด ถ้าข้อสอบมีความเชื่อมั่นสูงหมายความว่า ไม่ว่าจะสอบกี่ครั้ง ในกลุ่มเดิม (เว้นระยะห่างพอสมควร เช่น 1 สัปดาห์) ผลการสอบวัดก็ยังคงเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกัน เช่น คนที่ทำข้อสอบไม่ได้ ก็ยังคงไม่ได้เหมือนเดิม หรือ คนที่ทำ ข้อสอบได้ ก็ยังคงทำ ได้เหมือนเดิม • ค่าความเชื่อมั่น มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับทั่วไปมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 88)
Thank You ! www.sct.ac.th