530 likes | 1.06k Views
สำรวจ. อวกาศ. นางสาวกุศล ทองคง โรงเรียนวัดวิเศษการ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. มาตรฐานและตัวชี้วัด มฐ. ว 7.2 ป.6/1 สืบค้น อภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ. การสำรวจอวกาศ ( Space Exploration Time Line).
E N D
สำรวจ อวกาศ นางสาวกุศล ทองคง โรงเรียนวัดวิเศษการ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
มาตรฐานและตัวชี้วัด มฐ. ว 7.2 ป.6/1 สืบค้น อภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
การสำรวจอวกาศ(Space Exploration Time Line) เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศเพื่อไปสำรวจอวกาศได้ ยุคอวกาศถือว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อ
4 ตุลาคม ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) สปุตนิค1 (Sputnik 1)First Earth Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของโลกFirst Russian Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของรัสเซีย สปุตนิค-1 มีขนาดประมาณลูกบาสเกตบอล หนัก 83.6 กิโลกรัม ส่งขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกโดยประเทศรัสเซียโดยจรวด R7 จาก BaikonurCosmodromeนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ (Space Age)
สปุตนิค-1 เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก มีภารกิจในการตรวจวัดความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นสูง ซึ่งหาได้จากการคำนวณการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรของดาวเทียม หาข้อมูลการกระจายสัญญาณวิทยุในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ และตรวจจับอุกาบาตร ดาวเทียม Sputnik 1
3 พฤศจิกายน ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) ไลก้า (Laika)First Dog in Space - สุนัขในอวกาศตัวแรกของโลก ไลก้าเป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกของโลกที่ได้ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก บนดาวเทียม สปุตนิค2 (Sputnik 2) ชื่อไลก้า มาจากภาษารัสเซียที่แปลว่า "นักเห่า (barker)" หรือ "นักหอน (howler)" เป็นที่น่าเศร้าที่ไลก้าเสียชีวิตภายหลังการส่งจรวด 2-3 ชั่วโมง จากความเครียด และความร้อน (ที่อาจเกิดจากความผิดพลาดในการทำงานของระบบควบคุมอุณหภูมิ)
ไลก้าในสปุตนิค2 ไลก้า
2 กรกฎาคม ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) ก่อตั้ง NASA
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ องค์การนาซา(National Aeronautics and Space Administration - NASA)เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาองค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ
12 เมษายน ค.ศ.1961 (พ.ศ.2504) ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) และยานวอสทอก 1 (Vostok 1)First Astronaut - นักบินอวกาศคนแรกของโลก First Male Astronaut - นักบินอวกาศชายคนแรกของโลก ยูริ กาการิน
ยูริ กาการิน ชาวรัสเซีย เป็นนักบินอวกาศ(ชาย)คนแรกของโลก ถูกส่งขึ้นไปท่องอวกาศกับยานวอสทอก (Vostok) • ยูริ ปฏิบัติภารกิจเพียงครั้งเดียวในอวกาศ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2504 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นมนุษย์คนแรกของโลก ที่โคจรรอบโลกในยานอวกาศ วอสทอก 1 (Vostok 1) นาน 108 นาที ในการปฏิบัติการครั้งนั้น ยูริทดลองทานอาหารและน้ำในสภาวะไร้น้ำหนัก ยาน Vostok 1 ยูริ กาการิน
14 มิถุนายน ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) วาเลนทินาเทเรชโควา (Valentina Tereshkova)First Female Astronaut - มนุษย์อวกาศหญิงคนแรกของโลก วาเลนทินาเทเรชโควา
วาเลนทินาเทเรชโควา(Valentina Tereshkova) ชาวรัสเซีย เป็นมนุษย์อวกาศหญิงคนแรกของโลก เธอขึ้นไปกับยานวอสทอก 6 (BaikonurCosmodrome)โคจรรอบโลก 48 รอบ รวมระยะเวลาที่อยู่ในอวกาศ 2 วัน 22 ชั่วโมง 50 นาที ก่อนกลับลงสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย วาเลนทินาเทเรชโควา
22 ธันวาคม ค.ศ.1968 (พ.ศ.2511) อะพอลโล8 (Apollo 8)First Manned Voyage to a Celestial Body ยานอวกาศมีนักบินโคจรรอบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ยาน Apollo 8
โลเวล, แอนเดอส์, บอร์แมน นักบินอวกาศชาวอเมริกัน บังคับยานอพอลโล8 โคจรรอบดวงจันทร์ 10 รอบ ใช้เวลา 20:10:13 ชั่วโมง ยานกลับสู่โลก เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1968 รวมเวลาทั้งหมดของโครงการ 6 วัน 3:00:42 ชั่วโมง จากซ้ายไปขวา : โลเวล, แอนเดอส์, บอร์แมน
20 กรกฎาคม ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) อพอลโล11 (Apollo 11)First Man on the Moon - มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์First Manned Mission to Land on the Moon - ภารกิจเยือนดวงจันทร์ที่มีมนุษย์เป็นครั้งแรก ภาพของอัลดริน ถ่ายโดยอาร์มสตรอง
นีลอาร์มสตรอง (Neil Armstrong) : เป็นมนุษย์อวกาศคนแรก ที่ขึ้นไปเดินบนดวงจันทร์ ยานลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1969 ใช้เวลาอยู่บนผิวดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 31 นาที 20 วินาที ทำการเก็บตัวอย่างก้อนหินดวงจันทร์ได้ 21.55 กิโลกรัม ยานกลับสู่โลก เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2969 เวลา 16:50:35 UTC ใช้เวลาทั้งสิ้นของภารกิจ 8 วัน 3 ชั่วโมง 18 นาที 35 วินาที อพอลโลลูนาร์ โมดูล หรือยานอีเกิ้ล (Eagle) จากซ้ายไปขวา Neil Armstrong , Michael Collins และ Buzz Aldrin
20 สิงหาคม ค.ศ.1997 (พ.ศ.2520) วอยาเจอร์2 (Voyager 2)First and Only Spacecraft to Travel to Uranus and Neptune – ยานอวกาศลำแรกและลำเดียวที่เดินทางไปยังยูเรนัส และเนปจูน Voyager 2
28 มกราคม ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) อุบัติเหตุกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ระเบิด (Space Shuttle Challenger Disaster)First Space Shuttle Disaster หายนะครั้งแรกของโครงการกระสวยอวกาศ • การระเบิดของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
กระสวยอวกาศของอเมริกาลำแรกที่ประสพอุบัติเหตุระเบิด หลังจากทะยานออกจาก Kennedy Space Center ทำให้นักบินอวกาศทั้ง 7 คน เสียชีวิต ลูกเรือของชาเลนเจอร์ ที่เสียชีวิต
24 เมษายน ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) ฮับเบิ้ลสเปซเทเลสโคป (Hubble Space Telescope - HST)First Space-based Opticl Telescope กล้องโทรทัศน์อวกาศระบบออฟติกตัวแรก สหรัฐอเมริกาและองค์การอวกาศยุโรปได้ร่วมกันส่งกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิ้ลขึ้นไปโคจรรอบโลก กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิ้ล
18 ธันวาคม ค.ศ.1993 (พ.ศ.2536) ไทยคม (Thaicom)ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทย • ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก • Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
ดาวเทียมไทยคมเป็นโครงการดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาดาวเทียม การจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ.2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี • ดาวเทียมไทยคม
4 ธันวาคม ค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) • ยานมาร์ส พาธไฟน์เดอร์ (Mars Pathfinder)เป็นยานอวกาศขนาดเล็กแบบประหยัดในโครงการอวกาศดิสคัพเวอรี (Discovery) ส่งออก 4 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ถึงดาวอังคาร 4 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ยานโซเจอร์เนอร์ยานลำลูกซึ่งเป็นรถยนต์ 6 ล้อเล็กขนาดเท่าเตาไมโครเวฟเคลื่อนที่ไปตามรางลงจากยานแลนเดอร์ลำแม่ ลงสำรวจพื้นผิวดาวอังคารทันทีภายใน 3 นาทีแรกหลังจากยานลงแตะพื้นผิวดาวอังคารแล้ว ยานอวกาศทั้ง 2 ลำ ถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารบริเวณที่ลงจอด ส่งกลับมายังโลกหลายหมื่นภาพ พบว่าสภาพภูมิประเทศบนดาวอังคารคล้ายกับโลก รูปยานโซเจอร์เนอร์ที่ต้องทนความหนาวจัด อุณหภูมิ -100 องศาเซลเซียส บนดาวอังคาร
15 ตุลาคม ค.ศ.1997 (พ.ศ.2540) ยานสำรวจอวกาศแคสซีนี-ฮอยเกนส์ ( Cassini–Huygens) Spacecraft to Discover 3 New Moons of Saturn in 2004 ยานอวกาศที่ค้นพบ ดวงจันทร์ใหม่อีก 3 ดวง ของดาวเสาร์ ในปี 2004 ยานสำรวจอวกาศแคสซีนี-ฮอยเกนส์
แคสซีนี–ฮอยเกนส์เป็นภารกิจยานอวกาศร่วมระหว่างองค์การนาซา(NASA) องค์การอวกาศยุโรป(ESA) และองค์การอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อศึกษาดาวเสาร์และดาวบริวารตามธรรมชาติจำนวนมากตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศใน พ.ศ. 2540 หลังพัฒนาแนวคิดมานานเกือบสองทศวรรษ ยานอวกาศดังกล่าวมีส่วนโคจรดาวเสาร์และยานสำรวจและส่วนลงอุตุนิยมวิทยาสำหรับดวงจันทร์ไททัน แม้มันจะยังส่งกลับข้อมูลอย่างอื่นอีกอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงเฮลิโอเฟียร์,ดาวพฤหัสบดี และการทดสอบสัมพันธภาพ ยานสำรวจไททัน ฮอยเกส์ เข้าและลงจอดบนไททันใน พ.ศ. 2548 แผนภารกิจช่วงสุดท้ายปัจจุบันคือการพุ่งชนดาวเสาร์ใน พ.ศ. 2560 ยานสำรวจอวกาศ แคสซีนี-ฮอยเกนส์
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542) • สตาร์ดัสท์ (Stardust) • First Sample Return Mission to Collect Cosmic Dust • ยานอวกาศดวงแรกที่เก็บฝุ่นคอสมิคและส่งตัวอย่างกลับมายังโลก
NASA ส่ง Stardust โดยจรวดเดลต้า2 ณ แหลมคานาเวอราล ฟลอริดา เพื่อเก็บฝุ่นอวกาศ และฝุ่นของดาวหางไวลด์2 (Wild 2) และส่งขึ้นไปพร้อมกับชื่อมนุษย์กว่าหนึ่งล้านชื่อ ซึ่งถูกสลักลงบนไมโครชิป2 แผ่น ในจำนวนนี้ มีคนไทยรวมอยู่ด้วยจำนวน 200 คน ยาน Stardust
เดนิส ติโต 28 เมษายน ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) • เดนนิส ติโต (Dennis Tito)First Space Tourist - นักท่องเที่ยวอวกาศคนแรกของโลก เดนิส ติโต
เดนิส ติโต เดนนิส แดนโทนี ติโต (Dennis Anthony Tito) มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน วัย 60 ได้เป็นนักท่องเที่ยวอวกาศ (Space Tourist) คนแรกที่ได้ขึ้นไปท่องอวกาศ บนสถานีอวกาศนานาชาติ เขาเดินทางไปกับกระสวยอวกาศของรัสเซียชื่อ โซยุส ทีเอ็ม-32 (Soyuz TM-32) พร้อมกับนักบินอวกาศชาวรัสเซียอีก 2 คน ติโตใช้เวลาอยู่ในอวกาศนาน 7 วัน 22 ชั่วโมง กับอีก 4 นาที โดยได้โคจรรอบโลก 28 รอบ ก่อนจะกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2544 ติโตต้องจ่ายเงินไปกับการท่องอวกาศครั้งนี้จำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดนิส ติโต
27 กันยายน ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) • จีนประสบความสำเร็จในการย่ำอวกาศ • นักบินอวกาศจีน “เดินอวกาศ”ครั้งแรก นักบินอวกาศ Zhai Zhigang ปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศ
จีนประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการส่งนักบินอวกาศออกปฏิบัติภารกิจ "เดินอวกาศ" นอกยานอวกาศ เสินโจว7 เป็นเวลาร่วม 20 นาที เมื่อวันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551 เวลา 16:43 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นของประเทศจีน นักบินอวกาศทั้งสามเตรียมเดินทางกลับสู่โลก Zhigang นักบินอวกาศคนแรกของจีนที่ปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศ
16 มิถุนายน ค.ศ.2012 (พ.ศ.2555) ยานเสินโจว9นำทีมนักบินอวกาศจีนไปปฏิบัติภารกิจในห้วงอวกาศแล้ว รวมถึงนางหลิว หยางผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ที่จีนส่งไปห้วงอวกาศเอง สื่อทางการถ่ายทอดสดภาพเหตุการณ์ไปทั่วประเทศ นางหลิว หยาง นักบินอวกาศหญิงคนแรกของจีน
นักบินอวกาศทั้งสาม ซึ่งเป็นชาย 2 คน และหญิง 1 คน เข้าไปยังยานเทียนกง-1 หลังยานเสิ่นโจว9 เข้าเชื่อมต่อกับยานดังกล่าวแล้ว 2 ชม. เพื่อรอให้ความดันภายในของยานทั้งสองลำอยู่ในระดับเท่ากันนับเป็นครั้งแรกที่จีนสามารถเชื่อมต่อระหว่างยานอวกาศที่กำลังโคจรในอวกาศและเป็นภารกิจในอวกาศครั้งที่ 4 ของจีน หลังจากเมื่อปีที่แล้ว ภารกิจการส่งยานเฉินโจว-8 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
การศึกษาและการค้นคว้าสำรวจทางด้านอวกาศคงยังไม่มีที่สิ้นสุดยิ่งเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งสามารถตอบสนองความอยากรู้ อยากเห็นของมนุษย์ได้มากขึ้น ดั้งนั้นเราจะต้องติดตามการศึกษาอวกาศของนักวิทยาศาสตร์ต่อไป
เรามาทดสอบความรู้กันดีกว่าเรามาทดสอบความรู้กันดีกว่า
แบบทดสอบที่ 1 คำชี้แจงให้ขีด หน้าข้อความที่ถูกต้อง และกา หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง จากนั้นแก้ไขให้ถูกต้อง 1. สุนัขอวกาศตัวแรกที่ถูกส่งขึ้นไปกับยานอวกาศ มีชื่อว่า รีเบคก้า 2. ยูริ กาการิน เป็นมนุษย์อวกาศคนแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลก 3. องค์การนาซา เป็นองค์การอวกาศของประเทศสหรัฐอเมริกา
4. ยุคอวกาศของมนุษยชาติเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ.2500 5. NASA ย่อมาจาก National Aeronautics and Space Administration
แบบทดสอบที่ 2 คำชี้แจงให้กา คำตอบที่ถูกที่สุด ยานอวกาศที่ส่งไปลงบนดวงจันทร์เป็นลำแรก มีชื่อว่าอะไร ก. สปุตนิก ข. มาริเนอร์ ค. แลนด์แซ็ต ง. อะพอลโล
2. ประเทศใดส่งดาวเทียมโคจรรอบโลกได้สำเร็จเป็นประเทศแรก ก. จีน ข. อังกฤษ ค. รัสเซีย ง. อเมริกา
3. ดาวเทียมไทยคม มุ่งใช้ประโยชน์ในด้านใด ก. การโทรคมนาคม ข. การพยากรณ์อากาศ ค. การสำรวจทรัพยากร ง. การศึกษาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
4. ประเทศใดเป็นประเทศแรกที่ส่งคนไปลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ ก. รัสเซีย ข. อังกฤษ ค. อเมริกา ง. เกาหลีใต้
5. เหตุการณ์ใดถือเป็นก้าวสำคัญของมนุษยชาติในการสำรวจอวกาศ ก. พี่น้องตระกูลไรท์ประดิษฐ์เครื่องบิน ข. นีล อาร์มสตรอง ลงเหยียบบนดวงจันทร์ ค. องค์การนาซาส่งยานอวกาศโซโหสำรวจดวงอาทิตย์ ง. สหรัฐอเมริกาส่งยานอวกาศมาร์สพาธไฟน์เดอร์ สำรวจดวงอังคาร
หวังว่าทุกคนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศมากขึ้นนะคะ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ