130 likes | 232 Views
การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา. Web Accessibility.
E N D
การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตาการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา Web Accessibility
ในปัจจุบันนั้นเป็นยุคของเว็บ 2.0 ซึ่งมีปัญหาหลายอย่างต่อการเข้าถึงของคนพิการ เหตุผลหลักๆ นั้นก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บ 2.0 ในช่วงเริ่มต้นนี้ ไม่ได้มีการคำนึงถึงเรื่องการเข้าถึงของคนพิการเลย ตัวอย่างปัญหาที่สำคัญคือการใช้ AJAX ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่อการอ่านเนื้อหาของโปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ไม่สามารถอ่านข้อมูลของเว็บนั้นๆ ได้ หรือ แม้จะอ่านได้แต่ไม่ครบถ้วน. ความสำคัญและที่มาของปัญหา
จากการสำรวจผู้พิการทางสายตาเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ พบว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มีลักษณะ ดังนี้ • การเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่ใช่ตัวอักษรเช่นภาพ ซึ่งทำให้ผู้พิการไม่สามารถเข้าใจความหมายของภาพนั้นได้ • เว็บไซต์มีตัวอักษรขนาดเล็กไม่สามารถขยายใหญ่ขึ้น • การสร้างตารางที่ซับซ้อนยุ่งยากทำให้การอ่านของโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลของเว็บนั้นๆ ได้ หรืออ่านได้แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน • กล่องล็อกอินที่ต้องการให้กรอกรหัสผ่านที่เป็นภาพ (Captcha) โดยที่ไม่มีข้อมูลในรูปแบบอื่นให้เลือก • ปัญหาที่สำคัญคือการใช้ AJAX ในการเขียนเว็บ
จากการสำรวจผู้พิการทางสายตาเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ พบว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มีลักษณะ ดังนี้ (ต่อ) จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเว็บไซด์ที่สามารถให้ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ทัดเทียมกัน โดยการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้นั้น สิ่งสำคัญคือความเข้าใจในข้อจำกัดในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ และทราบถึงวิธีการแก้ปัญหาในจุดต่างๆ ภายใต้องค์กร W3C นั้น ได้สร้างแนวทางของเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้คือ Web Content Accessibility Guidelines (WCAG)
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้ผู้บกพร่องทางสายตาที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 2. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ตามข้อกำหนดเบื้องต้นของ WCAG2.0 ที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงเว็บไซต์สำหรับกลุ่มคนพิการที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้บกพร่องทางสายตากับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว
วัตถุประสงค์(ต่อ) • 4. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลประเภท รูปภาพ เป้าหมายและขอบเขต 1. พัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ให้ผู้พิการทางสายตาเข้าถึงได้ 2. ออกแบบเว็บไซต์ให้ได้ตามมาตรฐาน WCAG , TWCAG
ความหมายของ Web Accessibility หมายถึงเว็บไซต์ที่สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการสามารถใช้บริการได้ ซึ่งผู้ที่พัฒนาเว็บจะต้องมีแนวทางในการพัฒนาที่ตรงกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ให้คนพิการสามารถใช้บริการได้ด้วย โดยจะคำนึงถึงความพิการในทุกๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปทางผู้บกพร่องทางการมองเห็น เนื่องจากการมองเห็น คือการดูข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะอ่านทำความเข้าใจ ดังนั้นแล้วจึงต้องมีทางเลือกใหม่สำหรับผู้บกพร่องทางด้านนี้ซึ่ง ก็คือเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวอักษร ให้เป็นข้อมูลทางเสียง นั่นก็หมายถึงว่าจะต้องมีโปรแกรมสำหรับอ่านหน้าจอ
จะรู้ได้อย่างไรว่า เว็บไหนอำนวยความสะดวก ให้คนพิการเข้าถึงข้อมูลได้ เว็บที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้นั้น จะต้องมีสัญลักษณ์กำกับอยู่ที่หน้าแรกของเว็บนั้น ซึ่งหมายถึงการที่เว็บนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ ตามแนวทางของการเข้าถึงข้อมูล (Web Content Accessibility Guideline1.0 WCAG1.0)ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลก
การกำหนดระดับในการเข้าถึงไว้ 3 ระดับ ระดับ A : แนวทางขั้นต่ำสุดที่ต้องทำ ไม่เช่นนั้นแล้ว การเข้าถึงจะเป็นไปได้ยากหรือไม่ได้เลย ระดับ AA : แนวทางขั้นกลางที่ควรจะทำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเพิ่มขึ้น ระดับ AAA : แนวทางขั้นสูงสุดที่อาจจะทำ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงและใช้งานเนื้อหาเว็บได้สูงสุด
เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบเว็บเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบเว็บ มีวิธีการอยู่ 2 วิธี คือ Automatic Check แบบอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบ ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมที่ให้บริการตรวจสอบผ่านเว็บ หรือโปรแกรมที่ติดตั้งบนเครื่อง ก็ได้ Manual Check แบบตรวจสอบเอง โดยพิจารณาจากตัวผู้ตรวจสอบเองซึ่งจะอ้างอิงตามข้อกำหนดจาก Guideline ในหัวข้อ Checkpoint
เครื่องมือในการสร้างและพัฒนาเว็บเครื่องมือในการสร้างและพัฒนาเว็บ • ตรวจสอบ XHTML • http://validator.w3.org/ • ตรวจสอบ CSS • http://jigsaw.w3.org/css-validator/ • เช็คค่าความตัดกันของสี Color Contrast Analyzer • http://www.paciellogroup.com/resources/CCA-2.2.zip • http://www.paciellogroup.com/resources/contrast-analyser.html • Add-On ใน Firefox สำหรับตรวจสอบความตัดกันของสี • https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/7313