320 likes | 750 Views
ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิต ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย ด้วยสาเหตุจากการสัมผัสแมงกะพรุน . (Problems of Morbidity and Mortality in Coastal Region of Thailand from Jellyfish Injury). รจนา วัฒนรังสรรค์ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
E N D
ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิต ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย ด้วยสาเหตุจากการสัมผัสแมงกะพรุน (Problems of Morbidity and Mortality in Coastal Region of Thailand from Jellyfish Injury) รจนา วัฒนรังสรรค์ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พรรณราย สมิตสุวรรณ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สมชัย บุศราวิช องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธนิศ เสริมแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ลักขณา ไทยเครือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Free Powerpoint Templates
ผู้บาดเจ็บรุนแรงและสงสัยเสียชีวิตจากแมงกะพรุนผู้บาดเจ็บรุนแรงและสงสัยเสียชีวิตจากแมงกะพรุน ชาย 25 ปี ชาวออสเตรเลีย เกาะพะงัน จ. สุราษฎร์ธานี ตุลาคม 2545 (เสียชีวิต) ชาย 4 ปี ชาวออสเตรเลีย เกาะหมาก จ. ตราด ธันวาคม 2550 หญิง 11 ปี ชาวสวีเด็น เกาะลันตา จ. กระบี่ เมษายน 2551 (เสียชีวิต)
ตัวอย่างแมงกะพรุนที่เคยพบในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และจ.กระบี่ เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ปี2545 พบทั้งแมงกะพรุนชนิดสายเดียว และหลายสายในแต่ละมุม แต่ยังไม่พบชนิดที่มีพิษรุนแรง เกาะลันตา จ.กระบี่ ปี2551
ชนิดของแมงกะพรุนกล่องชนิดของแมงกะพรุนกล่อง • แมงกะพรุนกล่องชนิดหนวดหลายเส้นในแต่ละมุม (Multi-tentacle box jellyfish) • การเสียชีวิตมักเกิดภายในเวลา 2-10 นาที • หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้ • กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาตและหยุดหายใจ • พิษที่เข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน • ในรายที่ได้รับพิษจำนวนมาก จะพบรอยสายหนวดแมงกะพรุน ลักษณะเป็นเส้นสีน้ำตาลบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นสีขาว (Frosted-ladder pattern) แมงกะพรุนกล่องชนิดหนวดเส้นเดียวในแต่ละมุม (Single-tentacle box jellyfish) • ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Irukandji syndrome • อาจไม่พบรอยสายหนวดแมงกะพรุน • มีอาการหลังสัมผัสแมงกะพรุน 5-40 นาที • ปวดหลังมาก คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก เป็นตะคริว และกระตุ้นให้จมน้ำได้ง่ายขึ้น • อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้มาก จนอาจกระตุ้นให้เกิดอาการเส้นเลือดสมองแตก หรือหัวใจวายได้
ปัญหาที่พบในประเทศไทยปัญหาที่พบในประเทศไทย • ไม่สามารถยืนยันได้ว่าการบาดเจ็บและเสียชีวิตนั้นเกิดจากแมงกะพรุน • ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีพิษร้ายแรงในประเทศไทย • ไม่มีมาตรการในการดำเนินการเฝ้าระวัง และป้องกันการบาดเจ็บในพื้นที่เสี่ยง
วัตถุประสงค์การศึกษา • เพื่อศึกษาสถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย • เพื่อรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนในประเทศไทย
วิธีการศึกษา • ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายการกระจายตามบุคคล เวลา และสถานที่ • ทบทวนรายงานการสอบสวนการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนของสำนักระบาดวิทยา • ทบทวนเวชระเบียนจากสถานพยาบาลทั้งจากภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต และสตูล ตั้งแต่ปี 2546-2552 • ค้นหาจากรหัสการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้อง • ทำการสัมภาษณ์ชาวประมงแบบรายบุคคล และเป็นกลุ่มย่อย
ผลการทบทวนรายงานจากสำนักระบาดวิทยาผลการทบทวนรายงานจากสำนักระบาดวิทยา ผู้เสียชีวิต ผู้มีอาการรุนแรง 2542 2545 2550 2551 2553 • พบผู้บาดเจ็บรุนแรง 4 รายและสงสัยเสียชีวิตจากแมงกะพรุน4ราย • พบทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย • เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด 7 ราย ไทย 1 ราย • อาการและอาการแสดงเข้าได้กับการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่อง ผู้เสียชีวิต 9 ผู้มีอาการรุนแรง 9
แมงกะพรุนที่เก็บได้จากเกาะหมาก จ.ตราด 2553 ผลการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลีย ยืนยันว่าเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดหนวดหลายเส้นที่มีพิษทำให้เสียชีวิตได้
ผลการทบทวนเวชระเบียน • ทบทวนเวชระเบียนจากสถานพยาบาลได้ 33 แห่ง • แยกตามลักษณะของสถานพยาบาล • โรงพยาบาล 26แห่ง (รัฐบาล 21แห่ง เอกชน 5แห่ง) • คลีนิก 5 แห่ง • สถานีอนามัย 2 แห่ง • แยกตามจังหวัด 4จังหวัด พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 381ราย • สุราษฎร์ธานี 15แห่ง จำนวน 91 ราย • กระบี่ 7 แห่ง จำนวน 119 ราย • ภูเก็ต 6แห่ง จำนวน 140 ราย • สตูล 5 แห่ง จำนวน 31 ราย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยสงสัยสัมผัสแมงกะพรุนปี 2546-2552 (จำนวน381ราย) • อัตราส่วนผู้ป่วยชาย:หญิง เป็น 1.2:1 • เป็นชาวไทย 182ราย(48%) เป็นชาวต่างชาติ 199 ราย (52%) • นอนรักษาตัวในรพ. 62ราย (16%) • ต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่รพ.อื่น 3ราย
อายุของผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สตูล 2546-2552(จำนวน 379ราย) Median age = 28 years (IQR: 19, 38) จำนวนผู้ป่วย (ราย) ช่วงอายุ (ปี)
อาชีพของผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สตูล 2546-2552(จำนวน 381ราย) Percentage Attack rate among tourist = 3.88/1 million tourist occupation
การวินิจฉัยในผู้ป่วยที่นอนรพ. (จำนวน 62ราย)
จำนวนผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษตามปีที่ได้รับบาดเจ็บ ฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สตูล 2546-2552(จำนวน 353ราย) จำนวนผู้บาดเจ็บ (ราย) ปีที่ได้รับบาดเจ็บ
จำนวนผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษตามเดือนที่ได้รับบาดเจ็บ ฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต สตูล 2546-2552 (จำนวน 263ราย) จำนวนผู้บาดเจ็บ (ราย) เดือนที่ได้รับบาดเจ็บ
จำนวนผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษตามปีที่ได้รับบาดเจ็บ ฝั่งทะเลอ่าวไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี2546-2552 (จำนวน 90 ราย) จำนวนผู้บาดเจ็บ (ราย) เดือนที่ได้รับบาดเจ็บ
ผลการสัมภาษณ์ชาวประมง และผู้ที่อาจพบเจอแมงกะพรุน • ชาวประมงร้อยละ 75เคยพบแมงกะพรุนกล่องมาก่อน แต่พบไม่บ่อยเท่าแมงกะพรุนชนิดอื่น และเจอมานานแล้วตั้งแต่เด็ก • กลุ่มชาวประมงที่พบแมงกะพรุนกล่องบ่อย ได้แก่ กลุ่มที่ทำอวนกุ้ง • บรรยายลักษณะว่าใสเหมือนแก้ว หรือจอกกินน้ำ สายยาวได้หลายเมตร และพิษอยู่ที่สาย ที่ตัวจะไม่มีพิษ
ผลการสัมภาษณ์ชาวประมง: ช่วงเวลาที่พบ อาการและความรุนแรงของแมงกะพรุนกล่อง • สามารถเจอได้ทุกช่วงเวลา ตั้งแต่เช้า ถึงเย็น หรือ ดึก • มักเจอแมงกะพรุนกล่องบ่อย ช่วงหลังฝนตก หรือหลังจากมีพายุ เพราะแมงกะพรุนมักจะไปตามสายน้ำ หรือเกลียวน้ำ • ชาวประมงบางส่วนทราบว่าเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิตได้ • คนที่สงสัยเคยบาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่องจะบอกว่า มีอาการเจ็บที่หัวใจ บีบหัวใจ เหมือนหัวใจถูกบีบให้เล็กลง แม้จะได้รับบาดเจ็บที่ตำแหน่งอื่นก็ตาม • แผลจากแมงกะพรุนกล่องจะลึกกว่า และเป็นเส้น ๆ แตกต่างจากแมงกะพรุนไฟที่จะเป็นผื่น เป็นปื้น ๆ
ผลการสัมภาษณ์ชาวประมง: คนไทยที่คาดว่าเสียชีวิตจากแมงกะพรุนที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ • มีคนที่คาดว่าเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง เพราะมีสายพาดตามตัว • คนที่ 1จังหวัดภูเก็ต เป็นชาวน้ำ เสียชีวิตเมื่อประมาณ 50ปีก่อน • คนที่ 2จังหวัดภูเก็ต เป็นชาวน้ำ เสียชีวิตเมื่อประมาณ 60ปีก่อน • คนที่ 3จังหวัดสตูล เป็นเด็กอายุประมาณ 7-8ปี เสียชีวิตเมื่อประมาณ 10-20ปีก่อนขณะเล่นน้ำชายหาด
ข้อจำกัดในการศึกษา (Limitations) • จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากแมงกะพรุนจากการศึกษานี้น่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงเนื่องจาก • ใช้ข้อมูลจากข้อมูลเวชระเบียนที่บันทึกตามรหัสโรคเท่านั้น • อาจมีอคติจากการลงรหัสผิด ไม่ลงรหัส หรือไม่วินิจฉัย อีกเป็นจำนวนมาก • ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงจำนวนมากที่ไม่มารับการรักษาที่สถานพยาบาล • ไม่สามารถระบุชนิดของแมงกะพรุนที่เป็นสาเหตุจากการทบทวนเวชระเบียนได้ • ชาวประมงมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันในการสัมผัสกับแมงกะพรุนทั้งชนิดของแมงกะพรุน ฤดูกาล และสถานที่ที่พบ
สรุปและอภิปรายผลการศึกษาสรุปและอภิปรายผลการศึกษา • การได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการสัมผัสแมงกะพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่ง สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทย • มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนอยู่จริง • อาการและอาการแสดงของผู้บาดเจ็บเข้าได้กับการบาดเจ็บจากแมงกะพรุน • สามารถเก็บตัวอย่างแมงกะพรุนกล่องได้ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย • ผลการระบุสายพันธุ์ของผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันว่าเป็นแมงกะพรุนกล่องที่มีพิษรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ • ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทุกปีอย่างต่อเนื่อง • ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน • ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวประมง • ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ
ข้อเสนอแนะ • ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแมงกะพรุน เช่น ชนิด ฤดูกาล พื้นที่ที่พบ • ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากแมงกะพรุน เช่น อาการ อาการแสดง และการรักษาการบาดเจ็บเบื้องต้นสำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยว • การพัฒนาระบบเฝ้าระวังจะช่วยให้ระบุพื้นที่ที่เสี่ยง เวลาที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และดำเนินมาตรการป้องกันได้อย่างเหมาะสมต่อไป • ควรมีการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ในการดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดจากตามมาในอนาคต
Acknowledgements • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี • โรงพยาบาลเอกชน และคลินิก ทุกแห่งในจังหวัดกระบี่ ตราด ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี • สำนักระบาดวิทยา • สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดภูเก็ต
ชนิดของแมงกะพรุน • Phylum Cnidaria: 4 classes • Cubozoa: box jellyfish • Scyphozoa • Anthozoa: soft corals and sea anemones • Hydrozoa: Portuguese man-of-war
พิษจากแมงกะพรุนกล่อง • พิษบรรจุอยู่ในถุงพิษที่เรียกว่า Nematocysts ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณหนวด • หนวดแต่ละเส้นมีถุงพิษประมาณ 5,000 ถุง ซึ่งสามารถถูกกระตุ้นโดยสารเคมีที่เคลือบบนผิวของสัตว์ที่เป็นเหยื่อ และการกระเทือน
การช่วยเหลือเบื้องต้นการช่วยเหลือเบื้องต้น • นำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำ แต่ต้องคำนึงว่าตัวผู้ช่วยเหลือต้องปลอดภัย • เรียกให้คนช่วย โดยไม่ทิ้งให้ผู้ถูกพิษอยู่ตามลำพังเนื่องจากอาการสามารถแย่ลงอย่างรวดเร็ว • แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ และห้ามไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสหรือขัดถูบริเวณที่โดนแมงกะพรุน เพราะกระตุ้นการยิงเข็มพิษ • เมื่อผู้ถูกพิษหมดสติ ให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นทันที • ราดบริเวณที่ได้รับพิษด้วยน้ำส้มสายชู อย่างน้อย 30 วินาที (ความเข้มข้น 2-10%) • กรณีที่สงสัย irukandji ควรราดน้ำส้มสายชูทันที และสังเกตอาการอย่างน้อย 40 นาที
การป้องกันการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษการป้องกันการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ จัดเตรียมน้ำส้มสายชู • สวมชุดป้องกัน (lycra suite) ติดป้ายเตือน • ใช้ตาข่ายกั้น(Stinger net)
อาการของผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สตูล 2546-2552 (จำนวน 381 ราย) อาการ 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ร้อยละ