1 / 14

ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลก

ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลก. ภูมิภาคต่างๆของโลก แบ่งออกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็จะมีการพัฒนาทางประวัติศาสตร์แตกต่างกันซึ่งส่งผลแก่การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ด้วย. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

sage-morris
Download Presentation

ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลกความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลก

  2. ภูมิภาคต่างๆของโลก แบ่งออกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็จะมีการพัฒนาทางประวัติศาสตร์แตกต่างกันซึ่งส่งผลแก่การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ด้วย ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และติมอร์-เลสเต ภูมิภาคนี้ใช้เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล ออกเป็น สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

  3. - สมัยประวัติศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ 2. ประวัติศาสตร์ยุคก่อนอาณานิคม (พ.ศ.2054-2108) 3. ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม (ประมาณ พ.ศ.2108-2448) 4. ประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน (ประมาณ พ.ศ.2488 - ปัจจุบัน)

  4. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีนยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีน จีนมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชียติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก แหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีนอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งเป็นอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จีนจึงเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ประวัติศาสตร์จีนแบ่งเป็นยุคสมัยตามลักษณะสากล คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์ สำหรับยุคประวัติศาสตร์อาจแบ่งได้หลายแบบ เช่น สมัยราชวงศ์ แต่ในที่นี้จะแบ่งโดยอิงประวัติศาสตร์สากลที่ประกอบด้วยยุคโบราณ ยุคจักวรรดิ ยุคใหม่ และยุคปัจจุบัน

  5. - สมัยประวัติศาสตร์จีน แบ่งออกตามยุคสมัยได้ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 1600 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงประมาณ พ.ศ.322 2. ประวัติศาสตร์ยุคจักวรรดิ อยู่ในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.322 จนถึง พ.ศ. 2455 3. ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2455 จนถึง พ.ศ.2492 4. ประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน อยู่ในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2492 จนถึงปัจจุบัน

  6. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย อินเดียมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ที่เรียกว่า อนุทวีปในมหาสมุทรอินเดีย แหล่งกำเนิดอารยธรรมอินเดียซึ่งตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อินเดียจึงเป็นชาติที่มีอารยธรรมยาวนาน ประวัติศาสตร์อินเดียแบ่งเป็นยุคสมัยตามประวัติศาสตร์สากล คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ โดยสมัยประวัติศาสตร์แบ่งเป็นยุคโบราณ ยุคจักวรรดิโมกุล ยุคใหม่ และยุคปัจจุบัน

  7. - สมัยประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งออกตามยุคสมัยได้ดังนี้ 1. ยุคโบราณ ประมาณ 2000 ปี ก่อนพุทธศักราช – พ.ศ. 1078 2. ยุคจักวรรดิโมกุล พ.ศ.1078 - 2068 3. ยุคใหม่ พ.ศ. 2068 – 2490 4. ยุคปัจจุบัน พ.ศ. 2490 - ปัจจุบัน

  8. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ยุโรปยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ยุโรป ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ยุโรป สามารถแบ่งได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ สำหรับสมัยประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคใหม่ และยุคปัจจุบัน - สมัยประวัติศาสตร์ยุโรป แบ่งออกเป็นยุคแยกย่อยดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ประมาณ 500 ปีก่อนพุทธศักราชถึง พ.ศ.1019 2. ประวัติศาสตร์ยุคกลาง พ.ศ. 1019 – 2035 3. ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ พ.ศ. 2035-2457 4. ประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน พ.ศ.2457 ถึงปัจจุบัน

  9. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของแอฟริกายุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของแอฟริกา ทวีปแอฟริกามีขนาดพื้นที่กว้างขวาง และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากทวีปเอเชียความกว้างของพื้นที่ทำให้ลักษณะทางธรรมชาติและวัฒนธรรมชาวแอฟริกามีความหลากหลาย และมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ต่างกัน การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แอฟริกาแบ่งได้กว้างๆคือสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ สำหรับสมัยประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นยุคโบราณ ยุคก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม และยุคหลังอาณานิคม

  10. - สมัยประวัติศาสตร์แอฟริกาแบ่งออกเป็นยุคต่างๆดังนี้ 1. ยุคโบราณ ประมาณ 2500 ปีก่อนพุทธศักราช ถึงพ.ศ.1746 2. ยุคก่อนอาณานิคม ประมาณ พ.ศ.1746-2422 3. ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม ประมาณ พ.ศ.2422-2488 4. ประวัติศาสตร์ยุคหลังอาณานิคม พ.ศ.2488 ถึงปัจจุบัน

  11. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอเมริกายุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอเมริกา อเมริกา หมายถึง ทวีปที่ประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ ประวัติศาสตร์อเมริกาแบ่งได้เป็น 2 สมัย คือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น ยุคก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม ยุคหลังอาณานิคม และยุคปัจจุบัน 1. ประวัติศาสตร์ยุคก่อนอาณานิคม ประมาณ พ.ศ.143 - 2062 2. ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม ประมาณ พ.ศ.2062 – 2326 3. ประวัติศาสตร์ยุคหลังอาณานิคม พ.ศ.2326-2488 4. ประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน พ.ศ.2488 – ปัจจุบัน

  12. ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ออสเตรเลียและหมู่เกาะบนภาคพื้นแปซิฟิกยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ออสเตรเลียและหมู่เกาะบนภาคพื้นแปซิฟิก ออสเตรเลียเป็นทวีปที่เล็กที่สุด แต่เป็นประเทศที่มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดประเทศหนึ่ง เพราะมีดินแดนครอบคลุมทวีปเพียงประเทศเดียว ทวีปออสเตรเลีย และหมู่เกาะบนภาคพื้นแปซิฟิกตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และมีหมู่เกาะที่ตั้งอยู่กระจัดกระจายถึง 25000 เกาะ ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแตกต่างกัน แต่อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในภาพรวมออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่ ยุคก่อนอาณานิคม ยุคอาณานิคม ยุคใหม่และยุคปัจจุบัน

  13. - สมัยประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย และหมู่เกาะ ในยุคสมัยนี้แบ่งออกเป็นยุคย่อยดังนี้ 1. ยุคก่อนอาณานิคม ประมาณ พ.ศ.2149- 2331 2. ยุคอาณานิคม พ.ศ. 2311 – 2408 3. ยุคสมัยใหม่ พ.ศ. 2408 – 2488 4. ยุคปัจจุบัน พ.ศ.2488- ปัจจุบัน

  14. สาระประวัติศาสตร์ สมาชิก • นายกฤติน โกสุม ม.6/2 เลขที่ 16 • น.ส.ธิดารัตน์ แพรพงษ์ศรี ม.6/2 เลขที่ 27 • น.ส.สุกัญญา พันธุวงษ์ ม.6/2 เลขที่ • น.ส.เกษราภรณ์ อบเชย ม.6/2 เลขที่ 44 • น.ส.พิสมัย สว่างศรี ม.6/2 เลขที่ 45 • น.ส.อมรรัตน์ รุ่งสาง ม.6/2 เลขที่ 40 เสนอ อาจารย์สมหมาย อุไรโรจน์

More Related