230 likes | 380 Views
กลุ่มกิจกรรมที่ ๔. พระครู ปรีชาวชิรสิทธิ์ (สิทธิชัย ธนูศร) พระสุรินทร์ ดีอ่อน นายอนุศักดิ์ ส้มแป้น นายวสันต์ เส ริฐ ศรี นายชัยเดช แสงทองฟ้า นาง ณัฐ ชา ทองคุ้ม นางสาว จรินทร์ มรฤทธิ์. สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน. ความเป็นมา. ยุคสมัยของการตรวจเงินแผ่นดินไทย. ความเป็นมา.
E N D
กลุ่มกิจกรรมที่ ๔ พระครูปรีชาวชิรสิทธิ์ (สิทธิชัย ธนูศร) พระสุรินทร์ ดีอ่อน นายอนุศักดิ์ ส้มแป้น นายวสันต์ เสริฐศรี นายชัยเดช แสงทองฟ้า นางณัฐชา ทองคุ้ม นางสาวจรินทร์ มรฤทธิ์
สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน
ความเป็นมา ยุคสมัยของการตรวจเงินแผ่นดินไทย
ความเป็นมา ยุคออฟฟิศหลวง (พ.ศ.๒๔๑๘ - ๒๔๓๓) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะเสนาบดีสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จ ฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการออดิเตอร์เยอเนรัลพระองค์แรก (พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๔๒๘)
ความเป็นมา ยุคกรมตรวจแลกรมสารบาญชี (พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๕๘) มิสเตอร์ ริเวตคาร์แนคอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบาญชี(พ.ศ. ๑๔๔๑-๑๔๔๕) พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาท อธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบาญชี(พ.ศ. ๑๔๔๕ -๑๔๕๐) พระราชวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์อธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบาญชี(พ.ศ. ๑๔๕๐ -๑๔๕๘)
ความเป็นมา ยุคกรมตรวจเงินแผ่นดิน ครั้งที่๑ (พ.ศ.๒๔๕๘ - ๒๔๖๙) นาย อี ฟลอริโออธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน(๑๘ กันยายน ๒๔๕๘ - ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๐)
ความเป็นมา ยุคกรมตรวจเงินแผ่นดินสมทบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรมบัญชีกลาง (พ.ศ.๒๔๖๙ - ๒๔๗๕) เจ้าพระยาโกมารกุลมนตรีอธิบดีกรมบัญชีกลาง (พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๒)ทำหน้าที่ควบคุมกรมตรวจเงินแผ่นดิน พระยาไชยยศสมบัติอธิบดีกรมบัญชีกลาง (พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๔๗๕)ทำหน้าที่ควบคุมกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ความเป็นมา ยุคกรมตรวจเงินแผ่นดิน ครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๗๖) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร
ความเป็นมา ยุคสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๕๒๒) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะแรก(พ.ศ. ๒๔๗๖) หลวงดำริอิศรานุวรรตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก (พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๘๘) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(พ.ศ. ๒๔๙๒)
ความเป็นมา ยุคสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.๒๕๒๒ - ๒๕๔๒) นายวิเชียร วงศ์เบี้ยสัจจ์ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินคนแรก(พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๓) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ย้ายที่ทำการจากศาลาลูกขุนในภายในพระบรมมหาราชวังมา ณ ที่ทำการปัจจุบัน ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ ๖
ความเป็นมา ยุคสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.๒๕๔๒ - ปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะแรก(พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๗)
ความเป็นมา ปัจจุบันการตรวจเงินแผ่นดินของไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งออกตามความในมาตรา 312 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้การตรวจเงินแผ่นดินกระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี และมีคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยรับตรวจที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ
โครงสร้างของ สตง. ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค (๑๕ เขต)
หน้าที่ของ สตง. ส่วนกลาง 1. วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน 2. ให้คำปรึกษาแก่ประธานรัฐสภาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ คตง. 3. ให้คำแนะนำแก่ผ่ายบริหารในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมเงินของรัฐ 4. กำหนดมาตรฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ สำหรับหน่วยรับตรวจ 5. เป็นองค์กรชี้ขาดสูงสุดในกระบวนการทางวินัยทางงบประมาณและการคลัง
หน้าที่ของ สตง. ส่วนกลาง 6. พิจารณาคัดเลือกผู้ว่าการ 7. แต่งตั้งกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือนุกรรมการ 8. พิจารณาคำร้องขอของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่ขอให้ตรวจสอบ 9. ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน 10. เสนอข้อสังเกตและความเห็นต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี
หน้าที่ของ สตง. ส่วนกลาง 11. ออกระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและการคลัง และการดำเนินการอื่น สรุปได้ว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่วางนโยบายการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในการใช้งบประมาณของประเทศ ในโครงการต่างๆที่รัฐบาลได้ดำเนินการ เพื่อให้รัฐบาลดำเนินงานอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ใช้จ่ายงบประมาณของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างแท้จริง
หน้าที่ของ สตง. ส่วนภูมิภาค
หน้าที่ของ สตง. ส่วนภูมิภาค
กรณีตัวอย่าง กรณีนายก อบจ.พิษณุโลก เช่ารถบริษัทตนเอง กรณีนี้ได้รับความสนใจมาก เนื่องด้วยความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกมีสูง ข้อเท็จจริงคือจากนายก อบจ.พิษณุโลก ได้ทำสัญญาเช่ารถกับบริษัทพิษณุโลกยานยนต์ จำกัด ซึ่งนายก อบจ.พิษณุโลก เป็นกรรมการของบริษัทและเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อไปทัศนศึกษาตามโครงการสัมมนาและทัศนศึกษาดูงานของคณะผู้บริหารและข้าราชการอบจ.พิษณุโลก ในกรณีเดิมจังหวัดพิษณุโลกวินิจฉัยว่านายก อบจ.เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญา แต่ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่านายก อบจ.ไม่ต้องให้พ้นจากตำแหน่งเพราะใน พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 การเข้าเป็นคู่สัญญากับ อบจ. ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นสัญญาสัมปทานเท่านั้น
กรณีตัวอย่าง กรณีนายกอบจ.พิษณุโลกเช่ารถบริษัทตนเอง สัญญานายกอบจ.พิษณุโลกทำกับบริษัทเป็นเพียงสัญญาธรรมดาแต่ในที่สุดนายกอบจ.ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุความขัดแย้งในอบจ. ซึ่งประเด็น”สัญญาสัมปทาน”ในพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดแสดงความลักลั่นในกฎหมายที่กำหนดลักษณะห้ามเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกันระหว่างประเภทองค์กรปกครองท้องถิ่น จะกล่าวต่อไปในส่วนของมาตรทางกฎหมาย บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการมีส่วนได้เสียในสัญญาสัมปทานตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 เรื่องเสร็จที่ 329/2545
กรณีตัวอย่าง การให้เช่าที่ดินของสมาชิกเทศบาล เทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ สำหรับในกรณีของเทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ จ.ปทุมธานี ไม่ใช่การที่สมาชิกสภาเทศบาลขายสินค้าและบริการของบริษัทตนให้เทศบาล หากเป็นเป็นเรื่องของสมาชิกสภาให้เทศบาลเช่าที่ดินเพื่อเก็บพัสดุ และที่พักคนงาน ในระยะแรกประมาณปี พ.ศ. 2537 เนื่องจากเทศบาลไม่มีที่ สมาชิกสภาท่านนี้อนุญาตให้เทศบาลใช้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ในปี 2541 สมาชิกสภาได้แจ้งต่อทางเทศบาลว่าต้องการใช้ที่ดิน แต่หากเทศบาลต้องการใช้ก็ให้เช่าเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งเทศบาลก็ทำสัญญาเช่าที่ดินกับสมาชิกท่านนี้ระยะเวลา 3 ปี จาก 2541-2543 และได้ต่อสัญญาอีก 3 ปีคือ 2544-2547 แต่นายกเทศมนตรีคนใหม่ที่เพิ่งเข้าดำรงตำแหน่งได้ร้องเรียนเรื่องนี้ขึ้นว่าสมาชิกสภามีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับเทศบาล สมาชิกสภาดังกล่าวจึงบอกเลิกสัญญาและคืนเงินค่าเช่า พร้อมทั้งลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาเทศบาล และลงสมัครเลือกตั้ง ซึ่งก็ได้รับเลือกกลับมาอีก
กรณีตัวอย่าง กรณีคณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ส่วนกรณีเทศบาลเมืองกำแพงเพชรพบว่านายกเทศมนตรีและเทศมนตรีขายสินค้าหรือบริการของบริษัทตนเองให้กับเทศบาล เทศบาลเมืองกำแพงเพชรซื้อรถจักรยานยนต์จากบริษัท ที เค ซีมอเตอร์ไบค์ ซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นกรรมการบริษัท โดยเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชรเป็นผู้ลงนามในฐานะผู้ซื้อ รวมทั้งการที่เทศบาลนำรถเทศบาลยี่ห้อนิสสันไปตรวจเช็คสภาพที่บริษัทนิสสันกำแพงเพชร ซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นกรรมการบริษัท โดยกล่าวว่าเป็นศูนย์นิสสันแห่งเดียวในจังหวัด นอกจากนั้น เทศมนตรีในฐานะผู้จัดการและเจ้าของโรงพิมพ์ศรลัมพ์ ได้เป็นผู้รับจ้างเทศบาลพิมพ์หนังสือพิมพ์เทศบาลเมืองกำแพงเพชร รวมทั้งเทศมนตรีอีกท่านในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนกรุงทอง ไฮฟาย วีดีโอ ซึ่งเทศบาลเมืองกำแพงเพชรได้ทำการซื้อวัสดุอุปกรณ์จากห้างฯนี้ รวมทั้งคอมพิวเตอร์
กรณีตัวอย่าง กรณีคณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ในกรณีสุดท้ายเทศมนตรีได้แจ้งว่าได้ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าในกรณีของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ทั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีทั้ง 2 คนมีส่วนได้เสียในสัญญา สำหรับเทศมนตรีที่ลาออกจากเป็นหุ้นส่วนนั้น คำวินิจฉัยชี้ว่ามิได้ลาออกจริง เนื่องจากห้างฯนี้มีหุ้นส่วนอยู่เพียง 2 คน ถ้าลาออกจริงและเหลือผู้ถือหุ้นเพียง 1 คนซึ่งไม่อาจคงสภาพห้างฯ มีผลเป็นการเลิกห้างฯโดยปริยาย หากแต่เทศมนตรีก็ยังทำการค้าขายกับห้างนี้ นั่นแสดงว่าเทศมนตรียังคงเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ