1 / 12

การจัดการพืชไร่ในสภาวะแห้งแล้ง

การจัดการพืชไร่ในสภาวะแห้งแล้ง.

ryan-torres
Download Presentation

การจัดการพืชไร่ในสภาวะแห้งแล้ง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการพืชไร่ในสภาวะแห้งแล้งการจัดการพืชไร่ในสภาวะแห้งแล้ง จากการคาดหมายลักษณะอากาศ ช่วงเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคมของกรมอุตุนิยมวิทยา ฤดูร้อนในปี 2550 จะมีอากาศร้อนอบอ้าว และอากาศร้อนจัดในตอนกลางวันอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยสูงกว่าค่าปรกติเล็กน้อย ประมาณ 40-42 องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่ของจังหวัด แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ หนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี และปราจีนบุรี เป็นต้น ในหลายพื้นที่จะเกิดความแห้งแล้ง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานดังนั้นเกษตรกรที่เคยปลูกพืชไร่ เช่นถั่วเขียว งา อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น ควรชะลอการเพาะพืชไร่ออกไปก่อนเพื่อมิให้พืชปลูกเสียหาย ยกเว้นพื้นที่ในเขตชลประทานที่สามารถให้น้ำได้ อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่อาจจะมีฝนตกบ้างเล็กน้อยแต่ก็จะมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร ประกอบกับภาวะอากาศร้อนจะทำให้พืช และดินต้องสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชไปแล้วควรหาวัสดุ เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย คลุมดินเพื่อลดการสูญเสียน้ำใน สภาวะอากาศร้อนดังกล่าว นอกจากนี้จากสภาวะอากาศร้อนและแห้งแล้งจะมีผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศน์การแพร่ระบาดของงศัตรูพืชหลายชนิด เช่นเพลี้ยไฟ หนอนแมลงศัตรูพืช หนู ระบาดทำลาย ดังนั้นเกษตรกรควรหาความรู้ และวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ปลูกที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนสำรวจการระบาดทำลายของศัตรูพืช อย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้ป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที เรียบเรียงโดย :อัจฉรา อุทโยภาศ โทร 02 -940-6100

  2. ถั่วเขียว • เกษตรกรที่ปลูกถั่วเขียวในช่วงถั่วเขียวต้นฝน ประมาณเดือนเมษายน ควรชลอการเพราะปลูกถั่วเขียว ยกเว้นพื้นที่ปลูกในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอสามารถเพาะปลูกได้ แต่มีข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมของถั่วเขียว คือ • อุณหภูมิอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 25-35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่สูงเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโต และขบวนการสรีระวิทยาของถั่วเขียว คืออุณหภูมิสูงจะทำให้ดอกร่วง การติดฝักน้อย ผลผลิตต่ำ เมล็ดมีคุณภาพต่ำ • น้ำ การปลูกในฤดูแล้งในพื้นที่พื้ชไร่ทั่วไป หากมีฝนทิ้งช่วง หรือประสพสภาวะภัยแล้งเกิน 10 วัน ควรมีการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะออกดอกถึงระยะติดเมล็ด ดังนั้นเกษตรกรควรมีแหล่งน้ำสำรอง และการปลูกในฤดูแล้งในเขตชลประทาน ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุก 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อถั่วเขียวเจริญเติบโตถึงระยะฝักแรกเปลี่ยนเป็นสีดำ แมลงศัตรูพืชที่ควรระวังในสภาพวะแล้ง/ฝนทิ้งช่วง • เพลี้ยไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนต่างๆ ของพืช ทำให้ใบหงิกงอบิดเบี้ยวแห้งกรอบ ดอกร่วง ติดฝักน้อย หากมีการระบาดควรป้องกันกำจัดโดยใช้ ไตรอโซฟอส (ฮอสตาธีออน) อัตรา 50-60 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หากประสพสภาวะฝนตกหนักในพื้นที่ปลูกถั่วเขียว (กรณีเกิดสภาวะลานีญา ต่อจากสภาวะเอลนิโญ) ให้รีบดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ปลูกโดยด่วน เนื่องจากถั่วเขียวเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ดังนั้นการปลูกถั่วเขียวควรทำร่องระบายน้ำระหว่างและรอบแปลงปลูก เรียบเรียงโดย :อภิรักษ์ หลักชัยกุล โทร 02 -940-6100

  3. ถั่วลิสง • ในช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการเก็บเกี่ยวถั่วลิสงฤดูแล้ง จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง มีการกระจายของฝนน้อยลง สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบให้การติดฝักน้อย ผลผลิตถั่วลิสงฤดูแล้ง ปีนี้ลดลงจากปีที่ผ่านมามาก • ข้อแนะนำในการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาผลผลิตถั่วลิสง • การเก็บเกี่ยว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวควรเก็บตามอายุของพันธุ์ที่ปลูก ปกติถั่วลิสงที่ปลูกในฤดูแล้งจะมีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าการปลูกในฤดูฝน 5 –10 วัน วิธีการเก็บเกี่ยวถั่วลิสงโดยทั่วไปคือการถอน หรือใช้จอบขุดในขณะที่พื้นดินมีความชื้น มีข้อควรระวังคืออย่าให้เกิดรอยแผลบนฝักถั่ว ปลิดฝักแล้วคัดแยกฝักเสีย ฝักเน่า ฝักที่เป็นแผล / มีตำหนิออกทิ้งไป การตากถั่วลิสงฝักแห้งควรตากบน แคร่ ตระแกรง ตาข่าย หรือผ้าใบ อย่าให้ฝักถั่วสัมผัสดิน ความหนาของกองถั่วไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร หมั่นพลิกกองถั่ววันละ 2-3 ครั้งในวันที่แสงแดดจัดใช้เวลาประมาณ 3 –5 วันฝักถั่วจะแห้งสนิท(ความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 9 ) • การเก็บรักษาถั่วลิสงหลังการเก็บเกี่ยว • ถั่วลิสงฝักสด ควรบรรจุ ถั่วลิสงฝักสดในกระสอบป่านที่สะอาด แล้วนำส่งตลาดโดยเร็วเพื่อรักษาคุณภาพด้านรสชาด ไม่ควรกองถั่วไว้นานเกิน 1 วัน เพราะฝักถั่วอาจจะเกิดเชื้อราที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค • ถั่วลิสงฝักแห้ง ควรบรรจุ ในกระสอบป่านที่แห้งสะอาดแล้วเก็บรักษาในโรงเก็บหรือส่งจำหน่ายให้พ่อค้า โรงเก็บควรเป็นอาคารโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ป้องกันความเปียกชื้นจากฝนได้ ไม่มีแมลงศัตรูเข้ารบกวน ถัาเป็นพื้นซีเมนต์ให้หาวัสดุรอง เช่น แคร่ ไม้ไผ่ เสาไม้ เพื่อไม่ให้ถั่วลิสงดูดความชื้นจากพื้นซีเมนต์เพราะจะทำให้ฝักถั่วเกิดเชื้อราได้ เรียบเรียงโดย : บุปผา มงคลศิลป์ 02-561-0453

  4. ถั่วเหลืองฝักสด • การปลูกถั่วเหลืองฝักสดในฤดูแล้งจะปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีในพื้นที่เขตชลประทานประมาณช่วงเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคมและจะเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธุ์ถึงประมาณช่วงต้นเดือนเมษายน ในขณะนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยว • ถั่วเหลืองฝักสดฤดูแล้ง เสร็จสิ้นแล้ว เนื่องจากช่วงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสมและมีคุณภาพดีจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 2-3 วันเท่านั้น ดังนั้นการปลูกถั่วเหลืองฝักสดจึงต้องมีการวางแผนการปลูก การเก็บเกี่ยว และการตลาดที่ดี • ถั่วเหลืองฝักสดเป็นพืชที่มีความต้องการน้ำอย่างพอเพียงตลอดฤดูการเพาะปลูกนับตั้งแต่ ระยะการเจริญเติบโดจนถึงระยะการเกี่ยว หากมีฝนทิ้งช่วง 10-15 วัน ต้องมีการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะออกดอก ถึงระยะติดเมล็ด ดังนั้น- ในการปลูกถั่วเหลืองฝักสด เกษตรกรควรมีแหล่งน้ำสำรอง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยุ่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโต และขบวนการสรีระวิทยาของถั่วเหลืองฝักสด ในฤดูแล้งอุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ดอกร่วง การติดฝักน้อย ผลผลิตต่ำ เมล็ดมีคุณภาพต่ำ จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ในสภาวะปรากฎการณ์ “เอลนิโญ” ในปี 2550 นี้ ซึ่งมีการกระจายของฝนน้อยลง สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการติดฝักทำให้ ผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดในฤดูแล้ง ปีนี้ลดลง เรียบเรียงโดย : บุปผา มงคลศิลป์ 02-561-0453

  5. พืชเส้นใย • ในสภาวการณ์ปัจจุบันแม้จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อพืชเส้นใย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นุ่น ปอ และฝ้ายมากนัก หรือแม้ว่าฝนจะทิ้งช่วงต่อเนื่องอีกระยะเวลาหนึ่งก็ตาม เนื่องจากพืชดังกล่าวมีช่วงระยะเวลาปลูกยาวนานเริ่มตั้งแต่ต้นฝน(เมษายน) ถึง ปลายฝน (สิงหาคม) อย่างไรก็ดีมีข้อแนะนำเกษตรกรดังนี้

  6. นุ่น • 1. เกษตรกรที่มีความประสงค์เพาะปลูกต้นนุ่น ขอให้ทำการเพาะกล้านุ่น ในสถานที่ที่ดูแลรักษาได้สะดวกก่อนเพื่อเตรียมเป็นต้นพันธุ์ไว้ปลูกในช่วงฤดูฝน • 2. กรณีที่เกษตรกรที่มีต้นกล้านุ่นแล้วขอให้ชะลอการเพาะปลูกลงไร่นา ให้บำรุงดูแลรักษาต้นนุ่นจนกว่าถึงฤดูฝนจึงนำกล้านุ่นไปปลูกได้เพื่อลดความเสียหาย • 3. กรณีนุ่นต้นโตแล้ว อายุ 2-3 ปีขึ้นไปนุ่นสามารถทนแล้งได้ดี หากสามารถให้น้ำได้ควรให้น้ำและนำเศษวัชพืชแห้งหรือวัสดุคลุมโคนต้นเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในดิน • 4. กรณีที่ต้นนุ่นอายุยังน้อยประมาณ 1 ปี อาจจะตายเพราะฝนแล้งก็ให้เกษตรกรเพาะกล้านุ่นเตรียมปลูกทดแทนในฤดูฝนต่อไป เพราะว่ากล้านุ่นเพาะง่าย และลงทุนต่ำ ซึ่งเกษตรกรโดยทั่วไปก็เพาะกล้านุ่นใช้ปลูกอยู่แล้ว เรียบเรียงโดย :วิเศรษฐศักดิ์ ศรีสุริยธาดา โทร 02 -561-5765

  7. ปอ • ในระยะนี้ยังไม่มีการปลูกปอ แต่อาจมีบางส่วนที่ปลูกรอฝนในช่วงเดือนเมษายน หากฝนตกลงมาเล็กน้อยปอที่ปลูกก็สามารถเจริญเติบโตได้ อย่างไรก็ดีหากมีฝนทิ้งช่วงยาวนานออกไปอีก ปอที่งอกเจริญเติบโตแล้วควรระมัดระวังแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่นทำความเสียหายได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เกษตรกรควรชะลอการเพาะปลูกไปก่อน แต่ปัจจุบันยังไม่มีการเพาะปลูกปอความเสียหายในขณะนี้จึงยังไม่ปรากฎ เรียบเรียงโดย :อรุณี เจริญศักดิ์ศิริ โทร 02 -561-5765

  8. ฝ้าย • เกษตรกรจะปลูกฝ้ายในช่วงกลางเดือนมิถุนายน –กลางเดือนสิงหาคม ดังนั้น ระยะนี้ ฝ้ายจึงยังไม่มีผลกระทบจากภัยแล้ง โดยปกติ ในแหล่งเพาะปลูกฝ้ายหาก เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชฤดูฝนได้ เกษตรกรจะทำการเพาะปลูกฝ้ายเป็นพืชทางเลือกที่ 2 แทน เนื่องจากฝ้ายเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต และสูงสุดในช่วงสร้างสมอ จากนั้นจะใช้น้ำลดลงเรื่อยจนถึงสมอเริ่มแก่ ดังนั้น หากฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล ฝ้ายก็เป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรยังสามารถปลูกทดแทนได้ อย่างไรก็ดี หากเกษตรกรมีความประสงค์จะทำการเพาะปลูกฝ้ายเป็นพืชทางเลือกที่ 2 เกษตรกรต้องมีการจัดหาเมล็ดพันธุ์เตรียมสำรองไว้ เรียบเรียงโดย :สมเกียรติ แจ่มฟ้า โทร 02 -561-5765

  9. มันสำปะหลัง • เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนมีนาคม อาจทำให้มันสำ ปะหลังประสบภาวะแห้งแล้งทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกใหม่ตายได้ เพราะในระยะ 3 เดือนของการเจริญเติบโตมันสำปะหลังต้องการความชื้นสำหรับการงอกและการเจริญเติบโตในช่วงแรกสูง ฉะนั้นเกษตรกรควรเลี่ยงช่วงระยะเวลาการปลูกออกนี้ไปก่อน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกษตรกรควรเว้นพื้นที่เก็บเกี่ยวไว้สำหรับเป็นพันธุ์ปลูกในกรณีที่ปลูกไปแล้วเกิดความเสียหายต้องปลูกใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและให้ผลผลิตสูง พื้นที่ที่ใช้เป็นแปลงพันธุ์ควรมีขนาด 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 10 ของพื้นที่จะใช้การปลูก หากเกษตรกรคัดต้นพันธุ์แล้วควรมีการดูแลรักษากิ่งพันธุ์อย่างใกล้ชิด • การดูแลรักษาแปลงพันธุ์และกิ่งพันธุ์ • หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วควรนำต้นมันสำปะหลังไปปลูกทันที ถ้าจำเป็นต้องเก็บรักษาต้นไว้ทำพันธุ์ต่อไปสามารถทำได้แต่ไม่ควรเกิน 15 วัน ถ้าเก็บไว้นานต้นจะแห้ง และสูญเสียความงอกอย่างรวดเร็ว วิธีการเก็บ ควรวางเป็นกองใหญ่ ใต้ร่มไม้หรือใช้ใบไม้คลุมจะช่วยรักษาความสดของต้นพันธุ์ไว้ได้ วิธีการเก็บ คือ กองต้นพันธุ์ไว้ในแนวตั้งให้ส่วนยอดตั้งขึ้น จะดีกว่าวิธีกองต้นพันธุ์ในแนวนอน • การทำแปลงขยายพันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนต้นพันธุ์ ควรทำแปลงขยายพันธุ์ โดยให้มีพื้นที่ 1 ใน 10 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดและควรให้ระยะปลูกถี่กว่าปกติ คือ 100 x 50 เซนติเมตร หรือ 60x80 เซนติเมตร เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์จำนวนมาก เรียบเรียงโดย :วิลาวัลย์ วงษ์เกษม โทร 02 -561-5765

  10. เผาอ้อยในช่วงฤดูแล้งจะร้อนใจในภายหลังเผาอ้อยในช่วงฤดูแล้งจะร้อนใจในภายหลัง • ขณะนี้เป็นช่วงระยะเวลาในการตัดอ้อย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2549 เป็นต้นมา และคาดว่าจะตัดอ้อยหมดในช่วงกลางเดือนเมษายน 2550 นี้ จากรายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย ตัดยอดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 มีปริมาณอ้อยไฟไหม้ถึงร้อยละ 57.4 ของปริมาณอ้อทั้งประเทศ นับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง กอร์ปกับขณะนี้ได้เกิดมลพิษในอากาศอย่างรุนแรงส่วนหนึ่งมาจากการเผาอ้อยก่อนตัด เกษตรกรจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการเผาไร่อ้อยกันมากขึ้นทั้งในแปลงที่ยังไม่เก็บเกี่ยวอ้อย และแปลงที่ได้เก็บเกี่ยวอ้อยไปแล้ว • สิ่งที่ควรกระทำไม่ให้เกิดการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว • 1. ตัดอ้อยสดโดยใช้เครื่องตัดอ้อย • 2. ตัดอ้อยสดโดยใช้แรงงานคน ควรทำการสางใบอ้อยก่อนการตัดอ้อย 1-2 เดือน เพื่อสะดวกในการตัดอ้อย เป็นการกระจายการใช้แรงงานในไร่อ้อยก่อนฤดูเก็บเกี่ยว • 3. ทำแนวกันไฟแปลงอ้อย กำจัดวัชพืชรอบ ๆ แปลงอ้อยอย่างสม่ำเสมอและรณรงค์ลดการเผาอ้อยอย่างต่อเนื่อง • 4. ชุมชนต้องร่วมมือช่วยกันดูแลระมัดระวังไม่ให้มีการเผาอ้อย

  11. ข้อเสียและผลกระทบจากการเผาอ้อยข้อเสียและผลกระทบจากการเผาอ้อย 1. สูญเสียน้ำหนักและคุณภาพความหวาน อ้อยไฟไหม้ไม่ควรตัดทิ้งไว้ในไร่เกิน 48 ชั่วโมง 2. หนอนกออ้อยสามารถเข้าทำลายไร่อ้อยได้มากขึ้น 3. อ้อยไฟไหม้จะมีค่า ซี.ซี.เอส ลดลง 4. ถูกตัดราคาตามประกาศของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้ตัดราคาอ้อยไฟไหม้ตันละ 20 บาท 5. มีสิ่งปนเปื้อนมาก จากเศษหิน ดิน ทราย 6. ทำให้สูญเสียอินทรียวัตถุในดินลดลง 5-10 เปอร์เซ็นต์/ปี 7. เสียค่าใช้จ่ายดูแลรักษาอ้อยเพิ่มขึ้น 8. ทำให้ตออ้อยถูกทำลายจากความร้อนที่เกิดจากการเผาอ้อย 9. ทำลายแมลงที่มีประโยชน์เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินรวมไปถึงสุขภาพของคนตัดอ้อยและทำลายสิ่งแวดล้อม 10. ตลาดน้ำตาลอาจถูกกีดกันจากตลาดโลก หรือถูกกดราคาเนื่องจากการเผาอ้อย สำหรับแปลงอ้อยที่ตัดสด จะต้องดำเนินการคือ 1. ระมัดระวังการเผาแปลงอ้อยหลังเก็บเกี่ยว ต้องกำจัดวัชพืชรอบ ๆ แปลงและทำแนวกันไฟ 2. ชุมชนผู้ปลูกอ้อยทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดการเผาใบอ้อยอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง 3. ใช้ผานจักรสับคลุกใบอ้อย ก็จะมีการจัดการเรื่องการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ เรียบเรียงโดย :สมศรี บุญเรือง โทร 02 -940-6124

  12. จัดรูปแบบโดย คณะทำงานประชาสัมพันธ์สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 2143/1 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

More Related