230 likes | 746 Views
สงครามครูเสด. สภาพของเหตุการณ์โดยสรุป วันเวลา ระหว่าง พ.ศ. 1639-1834 กลุ่ม/บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม. เพิ่มเติมเสริมความรู้. ถ้าเราอยากรู้คริสต์ศักราชก็ให้เอา 543 ไปลบออก พ.ศ. 1639-1834 = ค.ศ. 1096 -1291. สาเหตุของเหตุการณ์ที่สำคัญ
E N D
สภาพของเหตุการณ์โดยสรุปสภาพของเหตุการณ์โดยสรุป • วันเวลา ระหว่าง พ.ศ. 1639-1834 • กลุ่ม/บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้ • ถ้าเราอยากรู้คริสต์ศักราชก็ให้เอา 543 ไปลบออก พ.ศ. 1639-1834 = ค.ศ. 1096 -1291
สาเหตุของเหตุการณ์ที่สำคัญสาเหตุของเหตุการณ์ที่สำคัญ • เป็นเรื่องขัดแย้งทางด้านศาสนา แต่สงครามครูเสดยังมีเบื้องหลังอีกหลายประการดังนี้ • การขยายตัวของจักรพรรดิอิสลาม • จักรพรรดิแห่งโรมันตะวันออก • สันตะปาปา
เหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้างเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง • การทำสงครามครูเสดมี 8 ครั้ง • การรบครั้งที่ 4 มีจุดมุ่งหมายมิได้ต่อสู้กับพวกนอกศาสนา แต่เป็นการนำศาสนามาบังหน้าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเพราะขุนนางที่ยกทัพไปแทนที่จะโจมตีกรุงเยรูซาเลม แต่กลับปล้นกรุงคอนสแตนติโนเปิล จนได้รับความเสียหาย และทำให้คริสต์ศาสนิกชนคลายความศรัทธาต่อผู้ทำสงครามครูเสด
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้ กินเวลา 200 ปี • ครั้งที่ 1 ระหว่างปี 1095 - 1101 • ครั้งที่ 2 ระหว่างปี 1147 - 1149 • ครั้งที่ 3 ระหว่างปี 1188 - 1192 • ครั้งที่ 4 ระหว่างปี 1201 - 1204 • ครั้งที่ 5 ระหว่างปี 1217 - 1221 • ครั้งที่ 6 ระหว่างปี 1228 - 1229 • ครั้งที่ 7 ระหว่างปี 1248 - 1254 • ครั้งที่ 8 ระหว่างปี 1270
ผลสรุปของเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้างผลสรุปของเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง • การทำสงครามครูเสดไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก • ชาวตะวันตกไม่มีแม่ทัพที่มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุด • ขาดการลำเลียงอาวุธ • ขาดการลำเลียงอาหาร • ตลอดจนขัดแย้งกันเอง จึงไม่สามารถรวมกำลังยึดครองกรุงเยรูซาเลมได้อย่างถาวร
เกิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ • โบสถ์ • เซนต์โซเฟีย
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้ ในช่วงแรกทัพครูเสดมีชัยตีได้เมืองต่างๆ ตามทาง จนกระทั่งได้ อันติอ๊อก (Antioch)เมืองหลวงของซีเรีย แต่ก็สูญเสียกำลังพลไปมาก เหลือม้าศึกเพียงแค่ 2,000 ตัวเท่านั้น ครั้นแล้วจึงมุ่งตรงไปยังนครเยรูซาเลม ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ในการครอบครองของอียิปต์ ทัพครูเสดตีเยรูซาเลมได้ในเดือนกรกฎาคมปี 1099 จับมุสลิมและยิวฆ่าเสียราว 70,000 คน จากนั้นพวกครูเสดจึงตั้ง กอดเฟรย์แห่ง บุยอินยอง ผู้นำทัพเบลเยียม ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปกครองเยรูซาเลม ส่วนเหล่านักรบครูเสดก็แยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้ vs
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้ สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่ง ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง นักรบฝ่ายคริสเตียนกับนักรบมุสลิม โดยนักรบจากยุโรปมักมีร่างกายใหญ่โตบึกบึน แต่งกายออกศึกในชุดหุ้มเกราะอันหนักอึ้ง แม้กระทั่งม้าศึกก็มีเกราะหุ้มกำบัง อาวุธที่ใช้ก็เป็น ดาบและโล่ที่มีน้ำหนัก ส่วนทางฝ่ายมุสลิมจะมีรูปร่างเล็กกว่า สวมเสื้อหนังและใช้ดาบซาระเซนรูปโค้งดั่งเคียวและ คมกริบ นักรบมุสลิมจะรบอย่างคล่องแคล่วปราดเปรียว ในขณะที่นักรบครูเสดอุ้ยอ้ายเทอะทะ แต่มีอาวุธที่หนักหน่วงกว่า และมีอุปกรณ์ป้องกันตนเหนือกว่า
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้
ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง • ด้านการเมือง • ส่งผลกระทบต่อยุโรป คือ ระบบฟิวดัลถูกทำลายลง • มีผลให้หน่วยปกครองที่เรียกว่า แมเนอร์สลายลง • เจ้าขุนนางได้สูญเสียกำลังคนและกำลังทรัพย์ไปในการรบ • นอกจากนี้ทาสที่ติดดินที่ไปรบและรอดชีวิตกลับมาได้รับอิสระ สามารถประกอบอาชีพได้โดยเสรี • ทำให้อำนาจของเจ้าขุนนางลดลง • สถานบันกษัตริย์จึงเริ่มมีอำนาจขึ้นมาแทน
เพิ่มเติมเสริมความรู้เพิ่มเติมเสริมความรู้ ที่มา : ETV ติวเข้มสังคมศึกษาโดย อ.วราภรณ ตันติวิวัฒน สถาบันกวดวิชา Pinnacle
ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง • ด้านเศรษฐกิจ • การค้าเริ่มฟื้นตัวขึ้น มีการสร้างถนนและสะพาน การค้าทางทะเล - ทางบกเจริญขึ้น • มีการตั้งศูนย์การค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเหนือและทะเลบอลติก • มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ • ความรุ่งเรืองทางการค้าทำให้บรรดาพ่อค้ามั่งคั่งร่ำรวย มีอำนาจในทางเศรษฐกิจและสังคม • ซึ่งสามารถขยายอำนาจของตนสู่การเมืองการปกครองในระยะต่อมา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง • ด้านสังคม • ความเจริญด้านการค้าทำให้สถาบันสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว • เกิดชุมชนเมืองขึ้น • การที่ชาวยุโรปยุคกลางได้เดินทางออกมาจากแมเนอร์ทำให้เห็นคนและวัฒนธรรมที่ต่างกันไป เช่นพบชาวเอเชียที่แต่งกายด้วยผ้าฝ้าย มัสลิน แพรไหม ที่ตัดเย็บ อย่างประณีตใช้เครื่องหอมชโลมกาย ตกแต่งร่างกายด้วยอัญมณีต่างๆ รับประทานอาหารปรุงด้วยเครื่องเทศ ทำให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปกว้างขวางขึ้น • วรรณคดีในยุคนี้แต่งโดยภาษาถิ่น มีเรื่องง่ายๆ หรือโคลงกลอนที่สะท้อนชีวิตประจำวันที่อาจเป็นเรื่องรัก เสียดสีสังคม และบางครั้งเป็นเรื่องหยาบโลน
สังฆนายกเออร์บันที่ 2 นำทัพครูเสดในช่วงแรก เพิ่มเติมเสริมความรู้ เพราะสังฆนายกเออร์บันได้กำหนดให้ทุกคนที่ไปรบ ติดเครื่องหมายกางเขนไว้ที่ตัว กองทัพนี้จึงได้ชื่อว่า ครูเสด (Crusade) คือ มาจากคำว่า Cross ที่หมายถึงไม้กางเขนนั่นเอง รู้ไหมว่าทำไมจึงชื่อสงครามครูเสด ? สังฆนายกเออร์บันที่ 2 (Urban II)
ทบทวนความรู้กันหน่อย ขอให้โชคดีทุกคน
คำถามทบทวน สงครามครูเสด • 1.ความขัดแย้งระหว่างศาสนา...............กับศาสนา...............เป็นเหตุให้เกิดสงครามครูเสด ระหว่าง ค.ศ.....................ถึง ค.ศ. .............. • 2.สงครามครูเสดเกิดขึ้นในสมัยใด(ประวัติศาสตร์ หรือ ก่อนประวัติศาสตร์) และช่วงใด (สมัยโบราณ หรือ สมัยกลาง หรือ สมัยฟื้นฟูวิทยาการ หรือ สมัยใหม่ หรือ สมัยปัจจุบัน) • 3. สงครามครูเสดสิ้นสุดลงตรงกับสมัยใดในประวัติศาสตร์ไทย
นำเสนอโดย ครูขณิฐภรณ์ พรหมปลูก กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง Krutick_ka@yaho.com