371 likes | 1.39k Views
นาฬิกาชีวิต. นาฬิกาชีวิต. นาฬิกา ชีวิตคือช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ที่มีความสัมพันธ์ กับสุขภาพของ เราโดย ภายในหนึ่ง วันร่างกาย ของเราจะมีการไหลเวียนของพลัง ชีวิต ที่ ผ่านแต่ละอวัยวะภายใน ร่างกาย ซึ่ง บางอวัยวะทำงานได้ดีในเวลากลางวัน และบางอวัยวะทำงานได้ดีในเวลากลางคืน.
E N D
นาฬิกาชีวิต นาฬิกาชีวิตคือช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของเราโดยภายในหนึ่งวันร่างกายของเราจะมีการไหลเวียนของพลังชีวิต ที่ผ่านแต่ละอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งบางอวัยวะทำงานได้ดีในเวลากลางวัน และบางอวัยวะทำงานได้ดีในเวลากลางคืน
คุณรู้หรือไม่ว่าร่างกายคุณทำงานตามชั่วเวลา ? 01.00 น. - 03.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ตับ"ข้อควรปฏิบัติ : นอนหลับพักผ่อนให้สนิทหน้าที่ของ “ตับ” 1. โดยหน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย 2.หน้าที่รอง คือ ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ช่วยไตในการดูแลเส้นผม ขน และ เล็บ
03.00 น. - 05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ปอด"ข้อควรปฏิบัติ : ตื่นนอน สูดอากาศสดชื่น เป็นเวลาที่ควรตื่นนอน ลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำ ปอดและผิวจะดีขึ้น 05.00 น. - 07.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ลำไส้ใหญ่"ข้อควรปฏิบัติ : ขับถ่ายอุจจาระ เวลานี้จึงเหมาะที่จะขับถ่ายอุจจาระ และควรทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว หรือดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว
07.00 น. - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"กระเพาะอาหาร"ข้อควรปฏิบัติ : กินอาหารเช้า กระเพาะอาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าไม่ทานอาหารจะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย 09.00 น. - 11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ม้าม“ ข้อควรปฏิบัติ : พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
09.00 น. - 11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ม้าม“ ข้อควรปฏิบัติ : พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ ม้ามมีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศีรษะบ่อย สาเหตุมาจากม้ามกับตับ ผู้ที่มัก นอนหลับในช่วงเวลา 09.00-11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ- ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย- ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไป จะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย
11.00 น. - 13.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"หัวใจ"ข้อควรปฏิบัติ : หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ต้องทำให้ใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้ 13.00 น. - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ลำไส้เล็ก"ข้อควรปฏิบัติ : งดกินอาหารทุกประเภทควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
15.00 น. - 17.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"กระเพาะปัสสาวะ“ ข้อควรปฏิบัติ : ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกาย หรือ อบตัว)ควรออกกำลังกายเพื่อกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง หากอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 น. - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ไต"ข้อควรปฏิบัติ : ทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงหงาวหาวนอน ผู้ใดมีอาการง่วงนอนช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม การดูแล คือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นให้อาบน้ำอุ่น
17.00 น. - 21.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"เยื่อหุ้มหัวใจ"ข้อควรปฏิบัติ : ทำสมาธิ หรือสวดมนต์ ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว ผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ตกใจ 21.00 น. - 23.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ระบบความร้อนของร่างกาย"ข้อควรปฏิบัติ : ห้ามอาบน้ำเย็น ทำร่างกายให้อบอุ่น
23.00 น. - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ถุงน้ำดี"ข้อควรปฏิบัติ : ดื่มน้ำก่อนเข้านอน ถุงน้ำดีเป็นถุงสำรองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำจะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ