1 / 105

แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Download Presentation

แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

  2. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยในปี ค.ศ. 1996(พ.ศ. 2539) British Standard Institute (BSI) ได้กำหนดมาตรฐานขึ้นภายใต้ชื่อว่า BS 8800 Guide to Occupational Health and Safety Management Systems มีพื้นฐานมาจาก HSE Guidance Successful Health and Safety Management HS (G) 65 เรียกว่า ระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

  3. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้จัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย คือ มอก. 18000: 2540 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 18000:2540) ในปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (InternationalLabor Office หรือ ILO) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คือ ILO-OSHMS 2001 (International Labor Office Occupational Safety and Health Management Systems 2001)

  4. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ในปี พ.ศ. 2542 กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำมาตรฐานBS 8800 (British Standard 8800) มาเป็นต้นแบบในการกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและประกาศเป็นมาตรฐาน มอก. 18001 2542 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 18001: 2542) ให้สถานประกอบกิจการดำเนินการโดยสมัครใจ

  5. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ต่อมากระทรวงแรงงานได้ดำเนินการยกร่างกฏกระทรวงระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยนำแนวทางของ ILO-OSHMS 2001 มาเป็นต้นแบบ เพื่อให้สถานประกอบกิจการนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะสามารถนำระบบการจัดการไปใช้ในการลดความเสี่ยงต่ออันตรายและอุบัติเหตุต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีการปรับปรุงดำเนินงานของธุรกิจให้เกิดความปลอดภัย และช่วยสร้างภาพพจน์ความรับผิดชอบขององค์กรต่อพนักงานภายในองค์กร ต่อองค์กรเองและต่อสังคม

  6. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีใช้ในปัจจุบันทั้งในประเทศ และต่างประเทศมีหลายระบบ ทั้งนี้การนำระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาใช้นั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินธุรกิจ และความพร้อมของแต่ละสถานประกอบกิจการ

  7. แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แต่ละระบบมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น - มอก. 18001: 2542 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 18001:2542) - JISHA OSHMS Standards 2003 - มรท.8001-2546 ในปีพ.ศ. 2546

  8. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน

  9. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงานได้ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ILO-OSHMS 2001 เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ยั่งยืนโดยมุ่งหวังให้สถานประกอบกิจการได้นำไปใช้ในองค์กรอันจะช่วยในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การแก้ไขปัญหาการประสบอันตรายและความสูญเสีย และมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย

  10. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 1. นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.1 นายจ้างต้องให้ผู้แทนลูกจ้างมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.2 นโยบายดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือพร้อมทั้งลงนามรับรองนโยบายนั้น และให้เผยแพร่โดยปิดประกายในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง 1.3 นายจ้างต้องให้การสนับสนุนโดยจัดสรรเวลาและทรัพยากรเพื่อให้สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

  11. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 2. การจัดการองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.1 นายจ้างต้องเป็นผู้นำในการจัดทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดด้อมในการทำงาน และต้องแต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหารอาวุโส 2.2 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ลูกจ้าง

  12. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 2.3 นายจ้างต้องจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและเอกสารแสดงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เกิดความปลอดภัย และมีการควบคุมลูกจ้างให้มีการปฏิบัติงานตามคู่มือและเอกสารนั้น 2.4 นายจ้างต้องจัดให้มีการจัดทำเอกสาร การบันทึกเอกสารซึ่งอาจอยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดเก็บ การค้นหา การทบทวนและการปรับปรุงเอกสารในระบบฯ และลูกจ้างต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพอนามัยได้ รวมทั้งต้องมีระบบการรักษาความลับส่วนบุคคลที่จำเป็นด้วย

  13. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 3. แผนการดำเนินงานและการนำไปปฏิบัติ 3.1 นายจ้างจะต้องจัดให้มีการชี้บ่ง ประเมินอันตรายและความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยวิธีการที่เหมาะสมและต้องจัดทำมาตรการในการป้องกันอันตรายและควบคุมความเสี่ยงตามสภาพของงาน 3.2 นายจ้างต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและการเฝ้าระวังสุขภาพของลูกจ้างโดยผู้ที่มีความสามารถเฉพาะจากภายในหรือภายนอกสถานประกอบกิจการ

  14. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 3.3 นายจ้างต้องจัดทำแผนป้องกัน และเตรียมความพร้อมสำหรับตอบโต้เหตุฉุกเฉินตามความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการ 3.4 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนป้องกัน และเตรียมความพร้อมสำหรับตอบโต้เหตุฉุกเฉินอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

  15. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 3.5 กรณีที่สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องมีผู้รับเหมาเข้ามาทำงานให้นายจ้างจัดทำข้อกำหนดด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ผู้รับเหมาปฏิบัติและใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือกผู้รับเหมา 3.6 นายจ้างต้องจัดให้มีระบบการสอบสวนหาสาเหตุของการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรค อุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของลูกจ้าง และต้องกำหนดมาตรการป้องกัน เพื่อมิให้เกิดเหตุซ้ำอีก

  16. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 4. การประเมินผลและการทบทวนการจัดการ 4.1 นายจ้างต้องจัดทำเกณฑ์การชี้วัดผลการปฏิบัติงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพและจัดทำขั้นตอนการประเมินผล รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนนั้น 4.2 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยผู้มีความสามารถเฉพาะจากภายในหรือภายนอกสถานประกอบกิจการซึ่งเป็นอิสระจากกิจกรรมที่ถูกตรวจสอบและแจ้งผลการตรวจประเมินเพื่อการพัฒนาระบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  17. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 4.3 นายจ้างต้องจัดให้มีการทบทวนการจัดการ โดยบุคคลที่นายจ้างแต่งตั้งร่วมกับคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 4.4 นายจ้างต้องเก็บบันทึกผลการตรวจประเมินระบบและบันทึกการทบทวนการจัดการไว้ ณ สถานประกอบกิจการ

  18. ระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามแนวทางของกระทรวงแรงงาน 5. การดำเนินการปรับปรุง นายจ้างต้องจัดให้มีแผนงาน และการดำเนินการสำหรับการปรับปรุงทุกองค์ประกอบในระบบ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

  19. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

  20. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 1.หลักการ 1.1 ลดและควบคุมความเสี่ยงต่ออันตราย ของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้อง 1.2 เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร 1.3 แสดงถึงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม 2.วัตถุประสงค์ ของการดำเนินการระบบ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปพร้อมกับการจัดการที่ดีเกี่ยวกับความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานพร้อมกับพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุตามนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  21. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 3.ขอบเขต 3.1 กำหนดข้อกำหนดของระบบการจัดการความปลอดภัยและ อาชีวอนามัย 3.2 กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์กรอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงข้อกำหนดตามกฎหมาย และความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง 3.3 เป็นเกณฑ์พิจารณาให้การรับรอง

  22. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 4.การนำไปใช้ 4.1 องค์ประกอบในมาตรฐานนี้มีความสำคัญต่อระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 4.2 ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านบุคคล วัฒนธรรม ระเบียบ กฎเกณฑ์และปัจจัยอื่นๆ ภายในองค์กร เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ขั้นตอนในการนำไปใช้ พร้อมชี้ให้เห็นความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  23. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 5.บทนิยาม 5.1 การชี้บ่งอันตราย หมายถึง กระบวนการในการค้นหาอันตรายที่มีอยู่และการระบุลักษณะของอันตราย 5.2 การทบทวนสถานะ หมายถึง การประเมินระบบการจัดการความปลอดภัย และ อาชีวอนามัยอย่างมีแบบแผน 5.3 การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการการจัดระดับความเสี่ยงของอันตราย และการตัดสินว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่

  24. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 5.4 การตรวจประเมิน หมายถึง การตรวจสอบโดยบุคคลภายในหรือภายนอกอย่างเป็นระบบและเป็นไปโดยอิสระ เพื่อตัดสินว่ากิจกรรมต่างๆ และผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามระบบที่องค์กรกำหนดไว้ และมีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามนโยบายและวัตถุประสงค์

  25. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.ข้อกำหนดของระบบการจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัย 6.1 ข้อกำหนดทั่วไป 6.1.1 ต้องจัดทำและปฏิบัติตามระบบการจัดการความปลอดภัย และ อาชีวอนามัยตามข้อ กำหนดซึ่งระบุในข้อ 6 นี้ 6.2 ทบทวนสถานะเบื้องต้น 6.2.1 ต้องทบทวน - ข้อกำหนดตามกฎหมาย - ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของทรัพยากรที่มีอยู่ 6.2.3. ต้องเก็บบันทึก

  26. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.3 นโยบายความปลอดภัย และอาชีวอนามัย 6.3.1. ต้องกำหนดโดยพนักงานมีส่วนร่วม และจัดทำเป็นเอกสารพร้อมลงนามรับรองโดยผู้บริหารระดับสูง 6.3.2. ต้องมีเนื้อหา ดังนี้ - เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ - เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยง - แสดงเจตจำนงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ - แสดงเจตจำนงที่จะปรับปรุงและ ป้องกันอันตรายอย่างต่อเนื่อง - แสดงเจตจำนงที่จะจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอเหมาะสม

  27. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.4 การวางแผน 6.4.1. การชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยง 1). ต้องจัดทำ Procedure - การชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยง - ทุกกิจกรรม และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยง

  28. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 2) ต้องทบทวนการประเมินความเสี่ยง - กิจกรรมใหม่ - การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม 3) ต้องเก็บบันทึก 6.4.2. กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ 6.4.3. การเตรียมการจัดการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย

  29. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.4.4. การนำไปใช้ และการปฏิบัติการ 1). โครงสร้างและความรับผิดชอบ 2). การฝึกอบรม การสร้างจิตสำนึก และความรู้ความสามารถ 3). การสื่อสาร 4). เอกสารและการควบคุมเอกสารในระบบการจัดการฯ 5). การจัดซื้อจัดจ้าง 6). การควบคุมการปฏิบัติ 7). การเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน 8). การเตือนอันตราย

  30. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.4.5. การตรวจสอบและแก้ไข 1) การติดตามตรวจสอบ และการวัดผลการปฏิบัติ 2) การตรวจประเมิน 3) การแก้ไขและการป้องกัน 4) การจัดทำและเก็บบันทึก

  31. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.4.6. การทบทวนการจัดการ 1). ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องทบทวนระบบการจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการจัดการมีความเหมาะสม เพียงพอ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 2).โดยต้องพิจารณาถึง (1) ผลการดำเนินงานของระบบทั้งหมด (2) ผลการดำเนินการเฉพาะแต่ละข้อกำหนดของระบบการจัดการ

  32. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.5 เอกสารในระบบ 6.5.1. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างน้อยต้องประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ขอบเขต ผังขั้นตอนการปฏิบัติ งาน รายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติและแบบบันทึกที่เกี่ยวข้อง เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ควรจัดทำ ได้แก่ 1). ขั้นตอนการกำหนดนโยบายความปลอดภัย และอาชีวอนามัย 2). ขั้นตอนการจัดองค์กรด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย

  33. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 3). ขั้นตอนการดำเนินงานและการนำไปปฏิบัติ มีดังต่อไปนี้ (1) การชี้บ่งอันตราย และการประเมินความเสี่ยง (2) การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3) การเฝ้าระวังสุขภาพของลูกจ้าง (4) การจัดทำแผนป้องกันและเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน (5) การฝึกซ้อมแผนป้องกันและเตรียมความพร้อมสำหรับโต้ตอบ เหตุฉุกเฉิน (6) การประเมินและการคัดเลือกผู้รับเหมา (7) การสอบสวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ

  34. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 4).ขั้นตอนการประเมินผลและการทบทวนการจัดการ ประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การติดตามตรวจสอบ และการวัดผลการปฏิบัติ (2) การตรวจประเมินระบบการจัดการ (3) การแก้ไขและการป้องกัน (4) การทบทวนการจัดการ 5). ขั้นตอนการดำเนินการปรับปรุง ซึ่งระบุขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อพบปัญหาและข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ แล้วมิการแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้เสนอแผนการแก้ไขและปรับปรุง กำหนดเวลาแล้วเสร็จและการรายงานผล

  35. การจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยการจัดทำคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 6.5.2. เอกสารวิธีการปฏิบัติงาน เป็นเอกสารที่ระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงานในแต่ละเรื่องให้เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการปฏิบัติงานที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดให้จัดทำ เละเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ควบคุมและป้องกันอันตราย 6.5.3 เอกสารสนับสนุน เป็นเอกสารอื่นๆ นอกเหนือจากเอกสารที่กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งสถานประกอบกิจการจะต้องมีไว้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเช่น แบบบันทึกต่างๆกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

  36. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน

  37. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยเจตนารมย์ของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 หมวด 1ข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ โดยข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานนั้น อย่างน้อยต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เพื่อควบคุมมิให้มีการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน

  38. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อ 4 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงเข้ามาปฏิบัติการในสถานประกอบกิจการจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 สำหรับผู้รับเหมาดังกล่าว เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้รับเหมา ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

  39. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อ 25(4)ได้กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่ในการพิจารณาข้อบังคับ และคู่มือรวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง ข้อ 34 (3) กำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัย มีหน้าที่จัดทำคู่มือและมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์

  40. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานจะประกอบด้วย ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ซึ่งจะมีหมายความในลักษณะเดียวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยที่รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานและวิธีการปฏิบัติงานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน จะเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

  41. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน เช่น นโยบาย เป้าหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ซึ่งรวมถึงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อแนะหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน และมาตรการต่างๆในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่นการควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน การปฏิบัติงาน การฝึกอบรม การสอนงาน การแจกจ่ายเป็นคู่มือ เป็นต้น

  42. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน การจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน คู่มือความปลอดภัยในการทำงานหมายถึงแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย เป็นเอกสารที่อธิบายภาพรวมของงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ และใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

  43. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1. ขั้นตอนในการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน (1) กำหนดผู้รับผิดชอบในการเตรียมร่างคู่มือ โดยกรณีที่สถานประกอบกิจการมีหน่วยงานความปลอดภัยให้หน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อจัดทำคู่มือตามขั้นตอน ดังนี้ - กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา และรูปแบบของคู่มือ - จัดทำร่างคู่มือตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาและรูปแบบที่กำหนด - นำเสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณาในรายละเอียด

  44. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน (2) คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พิจารณาทบทวนร่างคู่มือ เพื่อแก้ไขปรับปรุง (3) คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงมติ แล้วนำเสนอนายจ้างเพื่อให้ความเห็นชอบ (4) ดำเนินการจัดพิมพ์คู่มือฉบับจริง (5) แจกจ่ายคู่มือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการ (6) แก้ไขปรับปรุงคู่มือให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  45. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2. เนื้อหาของคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน ควรประกอบด้วย (1) บทนำ สารบัญ (2) วัตถุประสงค์ของคู่มือ (3) สาส์นจากนายจ้าง หรือผู้บริหารระดับสูง (4) นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ และเป้าหมาย (5) การจัดหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการในแผนผังองค์กรและหน้าที่ความรับผิดชอบ

  46. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน (6) คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการและหน้าที่ความรับผิดชอบ (7) ข้อมูล และความรู้เบื้องต้นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น สาเหตุการประสบอันตรายจากการทำงาน อันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน อันตรายจากเครื่องจักร ไฟฟ้า เป็นต้น (8) กฏระเบียบความปลอดภัยในการทำงานทั่วไป (General Safety Rule) (9) กฎระเบียบ หรือมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะเรื่อง เช่น มาตรฐานการทำงานกับเครื่องปั๊มโลหะ กฎระเบียบการทำงานสำหรับผู้รับเหมา กฏระเบียบการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า เป็นต้น

  47. การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน หมายเหตุ:ถ้าจะเรียกว่ามาตรฐาน ควรเป็นการนำข้อความมาจากมาตรฐานต้นแบบที่ผู้กำหนดได้ทำการศึกษา วิจัย หรือทดลอง และได้มีการเผยแพร่จนเป็นที่รับรองกันโดยทั่วไป แต่ถ้ามีการนำมาตรฐานมาดัดแปลง แก้ไข หรือคิดขึ้นเอง ควรเรียก เป็นอย่างอื่น เช่น กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด หรือ ข้อบังคับ เป็นต้น

  48. การจัดทำข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานหมายถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากอันตรายที่ค้นพบในการทำงาน ควรได้มาจากการชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยง ซึ่งปัจจุบันที่นิยมใช้มีหลายเทคนิค ได้แก่ เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis : JSA) เทคนิค WHAT - IF Analysis เทคนิค Hazard and Operability Studied (HAZOP) เทคนิค Fault - Tree Analysis (FTA) เทคนิค Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) เป็นต้น แต่เทคนิคที่เหมาะสมและสามารถสร้างข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานได้มากที่สุด คือ เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis: JSA)

  49. การจัดทำข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job SafetyAnalysis: JSA) เป็นวิธีการค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนของการทำงานแล้วกำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายเหล่านั้น จะเห็นว่าการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยนี้เป็นวิธีการหนึ่งในการที่จะกำหนดมาตรการในการป้องกันอันตราย หรือป้องกันการบาดเจ็บของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งวิธีการหรือแผนการปรับปรุงงานให้ปลอดภัยมีขั้นตอน ดังนี้

  50. การจัดทำข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน 1) ศึกษาและบันทึกขั้นตอนของงานเพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่มีอยู่หรือแฝงอยู่ของงานนั้นๆ ทั้งด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย 2) กำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน เพื่อที่จะลดหรือขจัดและป้องกันและควบคุมอันตรายเหล่านั้น โดยการพิจารณามาตรการที่จะไปควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดสาเหตุของอันตรายนั้น ถ้าไม่สามารถกระทำได้จึงพิจารณามาตรการลดความรุนแรง สามารถนำผลการวิเคราะห์ ซึ่งก็คือการปรับปรุงวิธีการทำงาน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดทำเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย (Safe Work Instruction) และสามารถนำมาจัดทำเป็นข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานได้

More Related