1 / 26

สมาชิก

สมาชิก. ‎. 1 . นางสาวเอมอร บาลี 51010117048 KR. 2. นางสาวพิมยกา รัตนดารา 52010812319 PT. 3 . นายศุภกร สิทธิดา 52010910293 MK. 4. นางสาววนัดดา เหลาทอง 53011710125 ERM. 5. นางสาวดวงสุดา ไชโสดา 53010910116 GM. เสนอ อาจารย์วิชิต.

rufina
Download Presentation

สมาชิก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมาชิก

  2. 1. นางสาวเอมอร บาลี 51010117048 KR

  3. 2. นางสาวพิมยกา รัตนดารา 52010812319 PT

  4. 3. นายศุภกร สิทธิดา 52010910293 MK

  5. 4. นางสาววนัดดา เหลาทอง 53011710125 ERM

  6. 5. นางสาวดวงสุดา ไชโสดา 53010910116 GM

  7. เสนอ อาจารย์วิชิต

  8. เรื่อง

  9. SOPA / PIPA

  10. SOPA มาจาก Stop Online Privacy Actหรือแปลง่าย ๆ ว่า พรบ.ป้องการการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต เป็นกฏหมายของอเมริกา ที่เอาไว้ปราบปรามการละเมิดสิทธิ์ เช่น เอาเพลงไปลงใน 4Shared หรือ Megaupload โดยไม่ได้รับอนุญาติ รวมไปถึงข้อความเนื้อหาบนเว็บอย่าง Wikipedia ก็เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ถ้ากฏหมายนี้ผ่านสภารับรอง เพลงเอย โปรแกรมเอย เกมเอย หนังเอย จะถูกจํากัดสิทธิ์ รับรองไม่มีให้โหลดกันมาดูฟรี ๆ อีกต่อไปแล้ว การค้นหาอะไรใน Google ก็อาจจะหาไม่เจออีกต่อไป เช่น หากต้องการค้นหาข้อมูล บทความ เบา ๆบางอย่างรับรอง งานง่าย ๆ จะไม่มีอีกต่อไปแล้ว

  11. PIPA หรือชื่อเต็ม Protect Intellectual Property Actคือ พรบ.ป้องการละเมิดสิทธิหรือคุ้มครอง IP หรือ สิทธิทางปัญญา นั่นแหละ ซึ่งสิ่งที่ต่างจาก SOPAก็คือ PIPA จะเป็นกฏหมายที่ระบุจำเพาะไม่ครอบคุลมทั้งหมดเท่า SOPA ซึ่งก็มีไว้สนับสนุนกฏหมาย SOPA แล้วก็ป้องกันการละเมิดผลงานหรืองานต่าง ๆ ของเจ้าของผลงานนั่นเอง ผ่านมา ถ้าใครที่ตามข่าวในวงการไอทีก็จะเห็นได้ว่ามีข่าวหนึ่งที่เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาจนทำให้เว็บไซต์ใหญ่ๆต้องออกมาแสดงปฏิกิริยากันไปยกใหญ่ นั่นก็คือเรื่องราวของ SOPA ในสหรัฐฯ ซึ่งหลายๆคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วถ้ามีมันแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงมันกัน

  12. SOPA คืออะไร ?? SOPA นั้นย่อมาจาก Stop Online Privacy Act เนื้อหาใจความหลักของมันก็คือการเพิ่มความสามารถในการปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่ถูกกล่าวหาและมีหลักฐานว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลจนกระทั่งศาลตัดสินความผิดก่อนจึงจะแบนเว็บดังในปัจจุบัน โดยกระบวนการปิดเว็บนั้นก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายมากขึ้น เพียงแค่แจ้งไปยัง ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) พร้อมหลักฐานเท่านั้น ก็สามารถสั่งการให้ ISP บล็อกการเข้าถึงเว็บได้ทันที ทั้งยังมีอำนาจสั่งให้เว็บไซต์อื่นที่มีการลิงค์ไปยังเว็บที่ถูกปิดทำการลบลิงค์ที่เชื่อมต่อออกได้เลย และยังปิดกั้นหนทางทำเงินของเว็บไซต์ที่ถูกปิดไปได้อีกด้วย

  13. ตัวอย่าง ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่นเว็บฝากไฟล์ที่เรานิยมใช้กัน ถ้าพบว่ามีไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อไร ก็มีสิทธิ์ถูกแจ้งให้สั่งปิดการเข้าถึงเว็บฝากไฟล์นั้นๆ ได้เลย นอกจากนี้ตามเว็บต่างๆที่นำลิ้งค์เว็บฝากไฟล์นั้นๆไปเผยแพร่ก็จะต้องลบลิ้งค์ดังกล่าวทันที และเผลอๆอาจจะโดนเล่นงานด้วยเช่นกันเนื่องด้วยมีความผิดฐานให้การสนับสนุนการเผยแพร่เนื้อหาผิดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ถ้าเว็บฝากไฟล์ไหนมีระบบการซื้อ premium account ก็จะถูก SOPA นี้ปิดกั้นหนทางทำเงินด้วยเช่นกัน ก็ไม่ต่างจากถูกปิดเว็บดีๆนี่เอง ส่วนพวกเครื่องมือต่างๆที่อำนวยความสะดวกในการหลบเลี่ยงการเข้าถึงไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มที่จะถูก SOPA จัดการด้วยเช่นกัน อาทิเช่นบรรดาทูลที่ใช้จัดการเรื่อง proxy ทั้งหลาย ก็ส่อแววจะโดนเด้งด้วย ถ้า SOPA ผ่านออกมาเป็นร่างกฎหมายจริงๆ

  14. SOPA จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?? เจ้า SOPA นี้มีที่มาจากในสภาองค์กรของสหรัฐฯประเทศที่เปิดเสรีทางความคิดมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ซึ่งเรียกง่ายๆว่าก็คือสภา สส. นี่ล่ะ ทำหน้าที่พิจารณาและบัญญัติกฏหมายขึ้นมาเหมือนๆของบ้านเรานี่เลย ซึ่งดูเหมือนมีแววว่าจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่อย่าเพิ่งดีใจ เพราะดันมีผู้แทนของสหรัฐฯกลุ่มหนึ่งเสนอร่างกฏหมาย PIPA เข้าไปอีก ซึ่งเนื้อหาหลักๆก็คล้ายกับ SOPA เลยทีเดียว ทำให้ยังเป็นที่ต้องลุ้นกันต่อไปว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

  15. วิเคราะห์กฏหมาย SOPA คืออะไร ทำไมมีแต่คนต่อต้าน? หลายๆคนคงจะได้เห็น Wikipedia, Paypal, Scribd, Firefox, Reddit หรือแม้กระทั้ง Google เองก็ต่างพากัน ปิดเว็บชั่วคราวหรือใช้พื้นหลังสีดำ เหล่าบรรดายักษ์ใหญ่แห่งวงการอินเตอร์เน็ตกำลังทำการประท้วงกฏหมาย SOPA หรือที่เรียกกันว่า SOPA Strike โดย SOPAจะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญา เช่น ค่ายเพลง ค่ายหนัง สามารถฟ้องร้องต่อ การละเมิดลิขสิทธิ์ของตนได้

  16. ถ้าจะเปรียบกับความรุนแรงละก็ คงจะเหมือนการประท้วงของเสื้อสีๆในบ้านเรา เพราะมันเป็นกฏหมายที่มองคนละมุม ดีต่ออีกฝ่ายแต่ไม่ดีต่ออีกฝ่ายซึ่งกระทบวงกว้างกว่าและต้องบอกว่าใช่ซิ แค่ได้ยินชื่อ (SOPA – Stop Online Piracy Act)”ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์” มันก็ถูกต้องในตัวของมันแล้ว เพราะหากมองในมุมของผู้ถือครองลิขสิทธิ์ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา ต้องเห็นด้วยอย่างแน่นอน เราเองก็เห็นด้วยเพราะว่ามันเป็นของของเขา เขาต้องป้องกันก็ถูกของเขา แต่อยากให้ลองมองในตัวบทของกฎหมายฉบับนี้ก่อน

  17. ข้อห้าม SOPA มิให้เว็บไซด์มีการส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์ 1. SOPA สั่งห้ามมิให้ ผู้ให้บริการด้านการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซด์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 2. SOPA สั่งห้ามมิให้ ผู้ให้บริการชำระค่าบริการออนไลน์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซด์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 3. SOPA สั่งห้ามมิให้ Search Engine ทำ link การเชื่อมต่อไปยังเว็บไซด์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

  18. ที่ผ่านมา มีใครอาจจะได้รับผลจาก SOPA บ้าง ?? (และอาจจะไปโดนผลของ PIPA ) ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายเว็บไซต์ที่อาจได้รับผลกระทบจาก SOPA และ PIPA ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านกฏหมายฉบับนี้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Twitter, Wikipedia, Firefox, WordPress และอื่นๆอีกหลายราย โดยท่าทีของเว็บส่วนใหญ่คือเปลี่ยนธีมของเว็บเป็นสีดำ หรือมีการประชดประชันกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นในรายของ Google ที่จัดการปิดแถบดำไว้ที่โลโก้ชื่อเว็บที่แสดงในหน้าแรก เสมือนกับว่าถูกเซ็นเซอร์ (เห็นได้เฉพาะคนที่ใช้ในสหรัฐฯ) รวมไปถึงมีการระดมรายชื่อผู้ต่อต้าน SOPA / PIPA เองเลยด้วย

  19. โดยข่าวที่ฮือฮาที่สุดก็คือการเข้าจับกุมและปิดให้บริการเว็บไซต์ Megaupload ที่ดูเหมือนจะเป็นการเชือดไก้ให้ลิงดูล่วงหน้า ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับ SOPA / PIPA แต่อย่างใด แต่ก็เป็นการข่มขวัญได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ซึ่งก็มีบางเว็บเห็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้า และเริ่มปรับตัวไปบ้างแล้ว อย่างเช่นเว็บไซต์แชร์ไฟล์ Torrent ชื่อดังอย่าง Thepiratebay ที่ไม่เปิดให้โหลดไฟล์ .torrent ไปเพื่อใช้ในการโหลดบิตอีกแล้ว แต่เปลี่ยนไปแชร์ magnet URI แทน เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บตัวไฟล์ .torrent เอาไว้เองตรงๆ ซึ่งอาจส่งผลให้โดนเล่นงานได้ อีกทั้งบรรดาเว็บต่างๆ จะต้องลงทุนเพิ่มในการคัดกรองเนื้อหาภายในเว็บไม่ให้ขัดกับ SOPA / PIPA รวมไปถึงต้องคัดกรองการเชื่อมต่อไปยังเนื้อหาที่ผิดลิขสิทธิ์อีกด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ต้องใช้ต้นทุนในการทำและดูแลจัดการเว็บที่สูงขึ้นอีกมากทีเดียว

  20. แล้วคนไทยจะโดนหางเลขด้วยหรือไม่ ถ้ากฏหมายผ่านสภามาได้ ต้องตอบว่าโดนเต็มๆเลยค่ะ เพราะบรรดาเว็บไซต์ต่างๆทั่วโลก ล้วนต้องไปผ่านทางแม่ข่ายอินเตอร์เน็ตที่สหรัฐฯกันทั้งนั้น ทำให้ไม่ว่าเว็บไซต์ไหนที่ถูกแจ้งว่ามีข้อมูลที่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าเว็บนั้นจะมาจากประเทศใดล้วนแต่สามารถโดนแบนได้แทบทั้งนั้น แถมบรรดาเว็บหลักๆที่เราใช้งาน ก็มีที่มาจากสหรัฐฯโดยตรงกันซะเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราก็ได้ผลกระทบเต็มๆเช่นกัน

  21. ใครได้ใครเสีย? คนที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ สนับสนุนกันน่าดูเพราะกฏหมายนี้จะเพิ่มศักยภาพให้แก่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ผู้ไม่เห็นด้วยก็ออกมาค้านว่า รัฐบัญญัตินี้มีนัยเป็นการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต (Internet Censorship) อันจะส่งผลให้โลกอินเทอร์เน็ตง่อยเปลี้ย และคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย

  22. สรุป ตัวของกฏหมาย SOPA / PIPA นี้ สามารถมองได้ทั้งแง่ดีและแง่ไม่ดี ซึ่งแน่นอนว่าแง่ดีจะต้องเกิดกับผู้ที่เป็นเจ้าของไฟล์นั้นๆตัวจริง ที่จะสามารถกำจัดปัญหาการถูกละเมิดลิขสิทธิ์งานของตนเองไปได้เป็นอย่างมาก แต่กับผู้ใช้อย่างเราอาจจะได้พบกับแง่ไม่ดีเต็มๆ เพราะเราจะไม่มีเว็บฝากไฟล์ให้ใช้งานกันอีกต่อไป (ถ้าเว็บโดนปิดด้วยเรื่องปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์) แม้ว่าเราจะต้องการฝากไฟล์งานให้เพื่อนแบบธรรมดาๆก็ตาม ซึ่งก็ต้องรอให้มีเว็บฝากไฟล์ที่สามารถจัดการไฟล์ได้ดี และมีการคุมเข้มเรื่องไฟล์มาเปิดให้บริการแทน

  23. ขอบคุณมากครับ/ค่ะ

More Related