991 likes | 3.45k Views
วรรณกรรมสมัยสุโขทัย. วรรณกรรมในสมัยกรุงสุโขทัยมีอยู่หลายประเภท ส่วนใหญ่ออกมาในรูปของ การสดุดีวีรกรรม ศาสนา ปรัชญา โดยมีวรรณกรรม ที่สำคัญ ดังนี้ ศิลาจารึกหลักที่ 1 ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) สุภาษิตพระร่วง ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มัง รายศาสตร์ ( วินิจฉัยมัง ราย). ศิลาจารึกหลักที่ 1.
E N D
วรรณกรรมในสมัยกรุงสุโขทัยมีอยู่หลายประเภท ส่วนใหญ่ออกมาในรูปของ การสดุดีวีรกรรม ศาสนา ปรัชญา โดยมีวรรณกรรม ที่สำคัญ ดังนี้ • ศิลาจารึกหลักที่ 1 • ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) • สุภาษิตพระร่วง • ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ • มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย)
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1 เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส มีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยลักษณะการปกครองชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ผู้แต่ง : สันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจมีมากกว่า 1 คน หนึ่งในนั้นเป็นพ่อขุนรามคำแหงลักษณะการแต่ง : แต่งเป็นร้อยแก้วที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยแท้เป็นประโยคสั้นๆกะทัดรัดบางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจองกันบ้างระหว่างวรรค
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เนื้อหาสาระ ตอนที่ 1 เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชย์ ใช้คำแทนชื่อว่า "กู" เป็นพื้น จึงเป็นทำนองอัตชีวประวัติตอนที่ 2 เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของกรุงสุโขทัย การสร้างพระแทนมนังคศิลา การสร้างวัดมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาลัย และการประดิษฐ์อักษรไทยตอนที่ 3 เนื้อเรื่องเป็นการกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยที่แผ่กว้างออกไป
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา หรือไตรภูมิกถา" ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2455 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง จุดมุ่งหมายของวรรณกรรมเรื่องนี้เพื่อสั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมและช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) ผู้แต่ง : พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ลักษณะการแต่ง : แต่งเป็นร้อยแก้ว
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) เนื้อหาสาระ เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี ต่อไปมีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง บอกชื่อคัมภีร์ บอกความมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง 3 ว่า "อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ 3 อันนี้แล" คำว่า "ไตรภูมิ" แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิรูปภูมิและอรูปภูมิ ทั้ง 3 ภูมิแบ่งออกเป็น 8 กันฑ์ คือ
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) 1. กามภูมิ มี 6 กัณฑ์ คือ1.1. นรกภูมิ เป็นแดนนรก1.2. ดิรัจฉานภูมิ เป็นแดนของสัตว์ที่เจริญตามขวาง1.3. เปตภูมิ เป็นแดนของเปรตที่เคยเป็นมนุษย์และทำความชั่วเกิดเป็นเปรต 1.4. อสุรกายภูมิ เป็นแดนของยักษ์มารหรือผีที่หลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว1.5. มนุสสภูมิ เป็นแดนของมนุษย์1.6. ฉกามาพจร เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิก , ดาวดึงส์ , ยามะ , ดุสิต , นิมมานรดี , ปรนิมมิตวสวดี
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) 2. รูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ รูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมที่มีรูป แบ่งเป็น 16 ชั้น ตามภูมิธรรม เรียกว่า โสฬสพรหม 3. อรูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ อรูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป มีแต่จิต แบ่งเป็น4ชั้น
สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตพระร่วงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บัญญัติพระร่วง" เป็นสุภาษิตที่เก่าแก่ เพิ่งมาบันทึกไว้เป็นหลักฐานครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกวีในสมัยนั้นได้รวบรวมและแต่งเติมเสริมต่อให้ครบถ้วนแล้วจารึกไว้ที่ผนังวิหารด้านในทางทิศเหนือหน้ามหาเจดีย์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราช เมื่อ พ.ศ. 2379 ต่อมาหอพระสมุดได้รวบรวมไว้ในหนังสือประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
สุภาษิตพระร่วง ผู้แต่ง : สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ พระราชนิพนธ์ ลักษณะการแต่ง : แต่งเป็นร่ายสุภาพ ตอนจบเป็นโคลงสี่สุภาพกระทู้ 1 บท เนื้อหาสาระ : เริ่มด้วยพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทรงมุ่งหวังประโยชน์ในภายหน้าจึงทรงบัญญัติสุภาษิตเครื่องเตือนสติประชาชนมีสุภาษิต ทั้งหมด 158 บท
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีชื่อเรียกว่า นางนพมาศ หรือ เรวดีนพมาศ เป็นหนังสือที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสมัยที่แต่ง นักวรรณคดีมีความเห็นตรงกันว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นหนังสือที่แต่งเติมหรือแต่งใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้เค้าเรื่องเดิม ทั้งนี้เพราะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การกล่าวถึงชนชาติ อเมริกัน การกล่าวถึงปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในสมัยนั้น ถ้อยคำสำนวนเป็นถ้อยคำใหม่ มีคำกลอนซึ่งเกิด ขึ้นหลังสมัยกรุงสุโขทัยอยู่ด้วย
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ผู้แต่ง : นางนพมาศ หรือ “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” เป็นธิดาของพระศรีมโหสถและนางเรวดี มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี ถวายตัวเป็นสนมทำหน้าที่ขับร้องถวาย ได้เป็นพระสนมเอกของพระยาลิไท ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ความมุ่งหมาย : เพื่อแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ และจริยธรรมของผู้รับราชการฝ่ายในลักษณะการแต่ง : แต่งเป็นร้อยแก้ว มีกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่ 5 บท
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เนื้อหาสาระ แบ่งออกได้เป็น 5 ตอน คือ1. กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ2. ยอพระเกียรติพระร่วง เล่าชีวิตของชาวสุโขทัยและสถานที่บางแห่ง3. ประวัติของนางนพมาศเอง4. คุณธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ของนางสนม5. พระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (เดือนสิบสอง) , พระราชพิธีวิสาขะและพระราชพิธีจรดพระนังคัล (เดือนหก) , พระราชพิธีอาษาฒมาส (เดือนแปด) , พระราชพิธีอาสวยุช (เดือนสิบเอ็ด) เป็นต้น
มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย) มังรายศาสตร์เป็นหนังสือใบลานที่เก่าแก่ที่สุด ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาไทยเหนือ มังรายศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วินิจฉัยมังราย หมายความว่าเป็นคำพิพากษาของ พระเจ้ามังราย
มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย) ผู้แต่ง : พระเจ้ามังรายหรือพระยามังราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรลานนาไทยพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง เจ้าแห่งวงศ์หิรัญนคร ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อเจริญวัย พระราชบิดามีรับสั่งให้ไปครองนครเชียงราย พระเจ้ามังรายก็ทรงทำหน้าที่ในการปกครองได้อย่างดีเยี่ยม ทรงตีเมืองหริภุญไชยที่อยู่ในการครอบครองของมอญได้สำเร็จ ขณะมีพระชนมายุได้ 43 พรรษา เมื่อขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรลานนา พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลานนาความมุ่งหมาย : เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีความลักษณะการแต่ง :แต่งเป็นร้อยแก้ว
มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย) เนื้อหาสาระ :มังรายศาสตร์เป็นหนังสือกฎหมายที่ได้รวบรวมเรียบเรียงมาจากหนังสือธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์กฎหมายเก่าแก่ของอินเดีย ที่ถูกมอญดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของตนไปบ้างแล้ว ตอนแรก กล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ลานนาการสร้างเมืองเชียงใหม่และวัตถุประสงค์ในการแต่ง คำนำ ใช้คำว่าสิทธิสวัสดี กล่าวถึงกฎหมายที่ได้รู้มาแต่โบราณ เพื่อให้ท้าวพระยาทั้งหลายและเสนาอมาตย์ผู้ปกครองเมืองสืบไปได้รู้จักผิดรู้จักชอบ
มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย) ตอนที่สอง กล่าวถึงเรื่องระเบียบการกครอง ซึ่งสมัยนั้นได้มีการจัดการปกครองออกเป็นหมู่ๆ โดยมีหัวหน้าทำหน้าที่ในการปกครองในแต่ละหมู่ ตอนที่สาม กล่าวถึงเรื่องของตัวบทกฎหมาย ที่มีคำอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ มีจริยธรรมสอดแทรก และมีลักษณะของความยืดหยุ่นเพื่อความเหมาะสมอีกด้วย
ที่มา • http://www.2-teen.com/community/forum.php?mod=viewthread&tid=25226 • http://th.wikipedia.org • http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-6434.html