1 / 174

๕๗ ปี งานอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ

๕๗ ปี งานอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ. หน่วยจัดการต้นน้ำดอยสามหมื่น ปี พ.ศ. ๒๕๑๙. โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ ๑๘ (แม่ตะละ) ตำบลตะละ อำเภอแม่ แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ . พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ณ โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ ๑๘ (แม่ตะละ)

ross
Download Presentation

๕๗ ปี งานอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ๕๗ ปีงานอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ หน่วยจัดการต้นน้ำดอยสามหมื่น ปี พ.ศ. ๒๕๑๙

  2. โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ ๑๘ (แม่ตะละ) ตำบลตะละ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑

  3. พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ณ โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ ๑๘ (แม่ตะละ) ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ “...ทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ ซึ่งเป็นของส่วนรวมและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในงานปลูกป่าทดแทน จะได้มีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก สำหรับพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ก็จะส่งเสริมให้คนปลูกต่อไป ทั้งนี้ทางโครงการฯ จะช่วยเหลือแนะนำในด้านหลักวิชาการเกษตรและระบบชลประทาน...”

  4. หน่วยพัฒนาต้นน้ำม่อนอังเกตุ (พ.ศ. ๒๕๒๐)

  5. หน่วยพัฒนาต้นน้ำม่อนอังเกตุ (พ.ศ. ๒๕๒๐)

  6. หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยน้ำรู(ดอยสามหมื่น)หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยน้ำรู(ดอยสามหมื่น)

  7. ลุ่มน้ำงุม หน่วยจัดการต้นน้ำดอยสามหมื่น ( วันที่ ๑๒กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ )

  8. หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยน้ำรู(ดอยสามหมื่น)หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยน้ำรู(ดอยสามหมื่น)

  9. ๕๗ ปี การอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ระยะบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๕๑๒ กรมป่าไม้นับว่าเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่ให้ความสนใจใน “เรื่องการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้ ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร” โดยการเขียนบทความเผยแพร่ในวารสารต่างๆ และทางวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการแผ้วถางและจุดไฟเผาป่า ที่มีผลกระทบต่อดินและน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานสนามเกี่ยวกับการป้องกันต้นน้ำลำธารขึ้นเป็นครั้งแรกรวม ๔ แห่ง คือ ๑) สถานีวนกรรมป้องกันต้นน้ำลำธารดอยตุง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ๒) สถานีวนกรรมป้องกันต้นน้ำลำธารดอยช้าง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๓) สถานีวนกรรมป้องกันต้นน้ำลำธารดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ๔) สถานีวนกรรมป้องกันต้นน้ำลำธารมวกเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

  10. การดำเนินการของสถานีวนกรรมเหล่านี้ ส่วนใหญ่ทำการทดลองพันธุ์ไม้ป่าและไม้ผลที่ใช้ในการปลูกป่าในบริเวณไร่ร้างจากการทำไร่เลื่อนลอย มากกว่าที่จะดำเนินการจัดการและวิจัยด้านต้นน้ำลำธารอย่างจริงจัง ทั้งนี้ Tangtham(1992) กล่าวว่า เนื่องจากในขณะนั้นยังขาดผู้ที่มีความรู้และความสามารถทางด้านการจัดการและวิจัยด้านต้นน้ำลำธาร ดังนั้นหลักการที่นำมาใช้ในการจัดการต้นน้ำลำธารในขณะนั้น คือการปลูกป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธารภายใต้สมมุติฐานที่ว่า ป่าไม้จะเอื้ออำนวยผลผลิตและระยะเวลาการไหลของน้ำสูงสุด (the forestcan maintain the optimal yields and distribution) และในปีเดียวกันนั้น กรมป่าไม้ได้ตั้งสถานีวนกรรมอีกแห่งหนึ่งที่ดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งทดลองและพักฟื้นพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่จะนำไปปลูกที่สถานีวนกรรมทั้ง ๔ แห่ง ดังกล่าว โดยพันธุ์พืชที่นำมาทดลองปลูก มีทั้งพันธุ์ไม้ป่าและไม้ผล ได้แก่ สน ยูคาลิปตัส ควินิน มะกอกฝรั่ง แอปเปิล แพร์ ท้อ พลับ และพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การทดลองมิได้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดงบประมาณ และนักวิชาการด้านจัดการและวิจัยต้นน้ำลำธาร ดังนั้น จึงไม่ปรากฏรายงานผลการทดลองแต่อย่างใด

  11. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมป่าไม้ได้จัดตั้งสถานีทดลองเกี่ยวกับการวิจัยด้านอนุรักษ์ดินและน้ำขึ้นที่เขานกยูงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับความช่วยเหลือจาก United State Operation Mission (USOM) สถานีทดลองแห่งนี้ได้ทำการวิจัยด้านต้นน้ำลำธาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งทำไร่เลื่อนลอยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดิน จากการทำเกษตรในรูปแบต่างๆ (Samapuddhi and Suvanakorn, 1962 อ้างใน Tangtham, 1992) โดยสถานีได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสูญเสียดินและน้ำจากป่าธรรมชาติและพื้นที่ไร่เลื่อนลอย จากแปลงทดลอง แต่น่าเสียดายที่การทดลองสิ้นสุดลงและเปลี่ยนเป็นงานสวนป่าในที่สุด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มเปิดสอนวิชาการเกี่ยวกับ “การจัดการลุ่มน้ำ” ขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการสูญเสียดินและน้ำจากป่าธรรมชาติ และสวนสักที่ได้รับการป้องกันไฟและที่ถูกไฟไหม้ ณ ป่าห้วยทาก อำเภองาว จังหวัดลำปาง และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ก็ได้จัดตั้ง“สถานีวิจัยลุ่มน้ำห้วยคอกม้า” ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการจัดตั้ง

  12. เขื่อนวัดน้ำและตะกอน รวมทั้งจัดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์การวิจัยต่างๆ แต่มาเริ่มต้นเก็บข้อมูลวิจัยกันอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๐๘ (นิวัติ, ๒๕๔๗) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื่องจากมีความยุ่งยากในการชักจูงให้เกษตรกรเชื่อมั่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน และน้ำ และเปลี่ยนกิจกรรมไปเป็นการปลูกสร้างสวนป่า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สำหรับสถานีวนกรรมทั้ง ๔ แห่ง ที่ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีค้นคว้าเพื่อรักษาต้นน้ำ ส่วนสถานีวนกรรมมวกเหล็ก ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีปลูกป่า เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการปลูกสร้างสวนป่ามากกว่าการวิจัยเกี่ยวกับต้นน้ำลำธาร และในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้มีการจัดตั้งสถานีค้นคว้าเพื่อรักษาต้นน้ำผานกเค้า จังหวัดขอนแก่น ขึ้นอีกสถานีหนึ่ง มีหน้าที่เหมือนกับ ๓ สถานีเดิม โดยให้ความสำคัญด้านการปลูกป่าด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ มากกว่าการวิจัยและการดำเนินการในกิจกรรมการจัดการต้นน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ นับว่าเป็นปีที่มีความสำคัญยิ่งเกี่ยวกับการจัดการต้นน้ำในประเทศไทย เมื่อรัฐบาลตระหนักถึงความเสียหายอันเกิดจากการตกตะกอนอย่างรุนแรงในเขื่อนภูมิพล และเห็นว่าประเทศไทยควรได้มีการจัดการเกี่ยวกับลุ่มน้ำอย่างจริงจัง จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ “คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำ” ประกอบด้วย

  13. กรรมการ ๑๘ ท่านจาก ๙ หน่วยงาน โดยมีปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ประกอบด้วย กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมกสิกรรม กรมประชาสงเคราะห์ กรมตำรวจ กรมอนามัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมทางหลวง และหัวหน้ากองบริรักษ์ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน เป็นเลขานุการ มีหน้าที่ดังนี้ ๑) กำหนดแผนการจัดการลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขาทั้งประเทศ ๒) กำหนดงบประมาณรายปีและบุคลากรสำหรับการดำเนินงานตามแผน ตลอดจน ความสำคัญก่อนหลังของลุ่มน้ำในการดำเนินการ ๓) กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔) พัฒนาหลักเกณฑ์ (criteria) ในการดำเนินการจัดการลุ่มน้ำ เพื่อป้องกันการ ตกตะกอนในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล การดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิผล เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควร และไม่ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการอย่างเพียงพอ จึงได้สลายตัวไปในที่สุด (Thangtham, 1992) อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้น ในฐานะกรรมการผู้แทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  14. ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำ ฝ่ายวิจัย ได้พิจารณาคัดเลือกให้ลุ่มน้ำแม่ใน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลุ่มน้ำตัวอย่าง (pilot watershed) พร้อมทั้งมอบให้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้แทนการสำรวจและวิเคราะห์ลุ่มน้ำแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (นิวัติ, ๒๕๔๗ ) สรุป การดำเนินงานในระยะนี้จะเป็นการศึกษาการปลูกพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ งานศึกษาวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำ และการปลูกป่าในพื้นที่ถูกบุกรุกเพื่อทำไร่เลื่อนลอย โดยมีสมมุติฐานว่า “การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารจะเอื้ออำนวยผลผลิตน้ำที่ดี มีคุณภาพ มีปริมาณที่เพียงพอ และระยะเวลาไหลที่เหมาะสม”

  15. การบุกรุกพื้นที่ป่าในอดีตการบุกรุกพื้นที่ป่าในอดีต

  16. การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ต้นน้ำลำธารในอดีตการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ต้นน้ำลำธารในอดีต

  17. ระยะพัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๗ จากการที่รัฐบาลได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำ มีผลทำให้กรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยให้ชื่อว่า “งานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร”สังกัดกองบำรุง กรมป่าไม้ และได้เริ่มสร้างเขื่อนวัดน้ำและตะกอน รวมทั้งติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์การวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยต้นน้ำลำธารโดยแท้จริง ที่ “สถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำดอยเชียงดาว” จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้จัดตั้ง “สถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำลำตะคอง” ขึ้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ติดตั้งเครื่องมือการวิจัยอื่นๆ เช่นเดียวกับที่สถานีวิจัย เพื่อรักษาต้นน้ำลำธารดอยเชียงดาว โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำแห่งนี้เป็นตัวแทนของลุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่สถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำดอยเชียงดาว เป็นตัวแทนของลุ่มน้ำภาคเหนือ

  18. การดำเนินงานของ งานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร กองบำรุง กรมป่าไม้ นอกจากจะทำการวิจัยแล้ว ยังได้เริ่มปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำที่ถูกทำลายบริเวณไร่ร้าง ที่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา โดยเริ่มทำการปลูกป่าในปี ๒๕๐๘ ที่หน่วยปรับปรุงต้นน้ำขุนคอง แม่งาย และแม่ปาม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และได้ขยายงานทางด้านการวิจัยและปลูกป่าเพิ่มมากขึ้น ต่อมา งานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำ กองบำรุง กรมป่าไม้ พิจารณาแล้วเห็นว่าการปรับปรุงต้นน้ำลำธาร โดยการปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ไร่ร้างที่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอย ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ หากไม่สามารถหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า เพื่อการทำไร่เลื่อนลอยของราษฎรในพื้นที่ต้นน้ำลำธารและจะส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน จึงหันมาให้ความสำคัญกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และริเริ่มจัดทำแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของราษฎร ในรูปแบบการทำการเกษตรที่ถาวรแทนการทำการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยในพื้นที่ต้นน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการเพื่อขอความช่วยเหลือจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNDP/FAO) เพื่อจัดตั้งโครงการทดลองจัดการลุ่มน้ำขึ้นที่ลุ่มน้ำแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

  19. ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ กรมป่าไม้ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ/องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations DevelopmenProgramme/Food and Agricultural Organization : UNDP/FAO) ในการดำเนินงานจัดการลุ่มน้ำ โดยจัดตั้ง“โครงการทดลองจัดการลุ่มน้ำแม่สา” ( Mae Sa Integrated Watershed and Forest Land-use Project )โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน ๙ ปี ตั้งแต่ เมษายน ๒๕๑๕ ถึง ธันวาคม ๒๕๒๔ เพื่อทดลองหารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ต้นน้ำลำธาร (rehabilitation of upland watershed) และเป็นโครงการสาธิตการจัดการต้นน้ำสมบูรณ์แบบในภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยการเปลี่ยนแปลงการทำไร่เลื่อนลอยมาทำการเกษตรแบบถาวร (replacement of present slash and burn economy by settled) ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งการอนุรักษ์และปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ ตลอดจนส่งเสริมการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยดำเนินการในลุ่มน้ำแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีระยะเวลาดำเนินงาน

  20. ระยะแรกตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๑๕ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๒๐ พื้นที่รับผิดชอบ ๑๔๐ ตารางกิโลเมตร และขยายระยะเวลาในระยะที่ ๒ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๒๔ และขยายพื้นที่เป็น ๓๙๐ ตารางกิโลเมตร รวมระยะเวลา ๘ ปี ๘ เดือน การบริหารงานโครงการ มีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้บริหารงาน ๒ คน ประกอบด้วย ผู้จัดการโครงการฝ่าย UNDP และผู้จัดการโครงการฝ่ายไทย สำหรับการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เป็นผู้ปฏิบัติงานร่วม (counterpart) กับผู้เชี่ยวชาญ (expert) จาก FAO ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาปฏิบัติงานตามช่วงเวลาต่างๆ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการลุ่มน้ำ (Watershed Management) ด้านการจัดการป่าไม้(Forest Management) ด้านการควบคุมไฟป่า (Forest Fire Control) ด้านไม้ผล (Horticulture) ด้านถนนป่าไม้ (Road Construction) ด้านการจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ (Range Management) ด้านการเกษตรโดยวิธีอนุรักษ์ (Conservation Farming) การปฏิบัติงานร่วมกันของข้าราชการกับผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (on the job training) นอกจากนั้น ทางโครงการยังได้สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานโครงการได้รับทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และศึกษาดูงานในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก สำหรับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้แก่

  21. อุทกวิทยาลุ่มน้ำ (Watershed Hydrology) การจัดการลุ่มน้ำ (Watershed Management) การจัดการป่าไม้ (Forest Management) อุทกวิทยาป่าไม้ (Forest Hydrology) วิศวกรรมป่าไม้ (Forest Engineering) การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use Planning) และพัฒนาชุมชน (Community Development) การดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่ งานจัดการป่าไม้ ได้ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าและปลูกป่าเพื่อรักษาต้นน้ำ งานควบคุมไฟป่า ได้ดำเนินการศึกษารูปแบบการป้องกันไฟป่า โดยมีหอดูไฟ เพื่อสังเกตและหาพิกัดการเกิดไฟป่าด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Alidade fire finder วัดหน่วยลาดตระเวนไฟป่าและหน่วยเคลื่อนที่เร็ว และทำแนวป้องกันไฟป่า งานวิศวกรรมป่าไม้ ทำการสร้างและบำรุงถนนป่าไม้ตามหลักวิชาการ งานอุตุอุทกวิทยาป่าไม้ และการจัดการลุ่มน้ำ ดำเนินการสร้างสถานีตรวจวัดอากาศและปริมาณน้ำไหลในลำธาร สร้างแปลงทดลองการชะล้างพังทลายของดิน งานจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และทดลองหาชนิดพันธุ์หญ้าเลี้ยงสัตว์ งานไม้ผลและงานทำไร่นาโดยวิธีอนุรักษ์ดินและน้ำ ดำเนินการทดลองและสาธิตการปลูกไม้ผลเมืองหนาวและแจกจ่ายพันธุ์ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ ทำแปลงสาธิตและส่งเสริมการปลูกพืชโดยวิธีอนุรักษ์ เช่น การทำขั้นบันไดแบบ bench terraces

  22. และ hillside terraces และการปลูกพืชขวางแนวลาดชัน เป็นต้น รวมทั้งได้จัดตั้งหน่วยสาธิตเพื่อรวบรวมผลการดำเนินงาน ณ หน่วยจัดการต้นน้ำโป่งไคร้ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกอบรมของหน่วยงานในสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ต่อมาโครงการทดลองจัดการลุ่มน้ำแม่สา ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์จัดการต้นน้ำ ปัจจุบันเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาและหน่วยจัดการต้นน้ำโป่งไคร้ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้จัดให้มีการศึกษาในพื้นที่ปลูกป่า“โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำ”สืบเนื่องจากกรมป่าไม้ได้ตั้งหน่วยงานปลูกป่าขึ้นในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลชุมชน และโรงเรียนรัฐบาล หน่วยงานเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้เกิดผลกระทบต่อบุตรหลานของคนงานที่รับจ้างปลูกป่า และได้มีการดำเนินโครงการจัดหมู่บ้านชาวเขาด้วย ไม่มีสถานที่ศึกษาเล่าเรียน หัวหน้าหน่วยงานปลูกป่าจึงได้แก้ปัญหา โดยการจัดการเรียนการสอนและได้จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมาและจ้างครูมาสอนพร้อมกับจัดให้มีการเรียนการสอนขึ้นสำหรับลูกหลานของคนงานที่เป็นคนงานชั่วคราวซึ่งปฏิบัติงานปลูกป่าและรับลูกหลานของราษฎรชาวเขาที่มีถิ่นฐานในบริเวณใกล้เคียงเข้ามาศึกษาเล่าเรียนด้วย

  23. ต่อมาได้มีโครงการจัดหมู่บ้านชาวเขาโดยอยู่ในความรับผิดชอบของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ ในขณะนั้น โครงการดังกล่าวได้ตั้งงบประมาณสำหรับก่อสร้างอาคารเรียนพร้อมโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน แต่ไม่มีงบประมาณสำหรับครู โรงเรียนที่จัดขึ้นดังกล่าวนั้นไม่ได้ขออนุญาตต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด และเกิดปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับการจ้างคนงานชั่วคราวมาทำหน้าที่ครูและการสอบวัดผลในชั้นต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถออกประกาศนียบัตรรับรองได้ ทำให้นักเรียนไม่สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการประถมศึกษาของประเทศได้แสดงความจำนงที่จะรับโอนโรงเรียนประถมศึกษาของกรมป่าไม้ดังกล่าว เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนของทางราชการที่ใกล้เคียงที่สุด (โรงเรียนแม่) ทั้งกิจการและทรัพย์สินต่างๆ ยกเว้นที่ดิน เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้นพร้อมกับรับครูที่กรมป่าไม้จ้างอยู่ไปบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ได้มีพิธีรับมอบโรงเรียนของกรมป่าไม้จำนวน ๓๑ โรงเรียน และครู จำนวน ๘๙ คน ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

  24. โรงเรียนร่วมกรุณา โรงเรียนห้วยน้ำดัง โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำม่อนอังเกตุ โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำขุนวาง โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำแม่โถ(๑) โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำแม่โถ(๒) โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำแม่จรหลวง โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำบ่อแก้ว โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำห้วยน้ำรู โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำแม่ตะละ โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำ ที่ ๑๗ โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำแม่แดดหลวง โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำขุนคอง โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำแม่ยาว โรงเรียนปางหินฝน โรงเรียนบ้านห้วยมอญ โรงเรียนห้วยหมากเลี่ยม โรงเรียนห้วยแม่แสะ โรงเรียนกองอนุรักษ์ต้นน้ำ โรงเรียนพัฒนาป่าไม้ โรงเรียนโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงหน่วยที่ ๒ โรงเรียนโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่๔ โรงเรียนโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงแม่แมะ โรงเรียนโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงแม่ขะนิง โรงเรียนโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงแม่ซ้าย โรงเรียนบ้านหนองห้า โรงเรียนปรับปรุงต้นน้ำกกแม่สลอง โรงเรียนปรับปรุงต้นน้ำกกแม่คำ โรงเรียนศูนย์พัฒนาลุ่มน้ำปิงตอนล่าง

  25. สรุป การดำเนินงานในระยะที่สองยังคงเน้น การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูต้นนํ้าลำธาร ในขณะเดียวกันจะเริ่มหาแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมการทำ การเกษตรกรรมที่ถาวร ทำการเกษตรโดยวิธีอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งงานพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อลดการทำไร่เลื่อนลอย การปลูกพืชเสพติด และแก้ไขความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาอาชีพชาวเขา ในการจัดตั้งหมู่บ้านชาวเขา การศึกษา และการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน

  26. การปลูกป่าเพื่อรักษาต้นน้ำการปลูกป่าเพื่อรักษาต้นน้ำ

  27. ระยะก่อตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒ ในระยะต่อมา งานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร ได้ดำเนินการวิจัยทางวิชาการมากขึ้น โดยมีการตรวจวัดและวิเคราะห์เกี่ยวกับปริมาณน้ำฝน สภาพลมฟ้าอากาศ การสูญเสียน้ำจากการคายระเหย และมีการวิจัยเกี่ยวกับอุทกวิทยาของลุ่มน้ำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนกับลักษณะการไหลของน้ำในลำธาร การสูญเสียดินและน้ำจากการใช้ประโยชน์ดินประเภทต่างๆ รวมทั้งได้มีการขยายงานปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำลำธารมากขึ้น ทำให้กรมป่าไม้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร ประกอบกับมีปริมาณงานมากขึ้น จึงได้ยกระดับ “งานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร” สังกัดกองบำรุง ขึ้นเป็น “กองอนุรักษ์ต้นน้ำ” ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กองอนุรักษ์ต้นน้ำ มีหน้าที่ในการปรับปรุงและพัฒนาต้นน้ำลำธารของประเทศเพื่อให้ต้นน้ำลำธารสามารถเอื้ออำนวยน้ำที่ดี มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอแก่ลำห้วยลำธารตลอดปี รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ในการส่งเสริมกิจกรรมด้านอื่นๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของราษฎรในเขตต้นน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้

  28. โดยแบ่งการบริหารออกเป็น ๗ ฝ่าย ประกอบด้วย ๑) งานธุรการ ๒) ฝ่ายสำรวจและวางแผน ๓) ฝ่ายวิจัย ๔) ฝ่ายทดลองจัดการต้นน้ำ ๕) ฝ่ายวิศวกรรมป่าไม้ ๖) ฝ่ายปรับปรุงต้นน้ำ และ ๗) ฝ่ายพัฒนาต้นน้ำ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ๑) งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและการเงินของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ ๒) ฝ่ายสำรวจและวางแผน มีหน้าที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้นในด้านต่างๆ เพื่อหาข้อมูลสนับสนุนงานปรับปรุงและพัฒนาต้นน้ำลำธาร เช่น การสำรวจพื้นที่ที่จะตั้งหน่วยงานสนาม การสำรวจวิเคราะห์ลุ่มน้ำ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของลุ่มน้ำ ในการวางแผนเพื่อพัฒนาต่อไป รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกองอนุรักษ์ต้นน้ำ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ๓) ฝ่ายวิจัย มีหน้าที่ ๓.๑) ทำการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับต้นน้ำลำธารของประเทศ เช่น ข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา ดิน หิน ป่าไม้ ฯลฯ และได้ทำการคัดเลือกลุ่มน้ำขนาดเล็ก (ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร) ในลุ่มน้ำสำคัญๆ ขึ้นเป็นลุ่มน้ำตัวแทน เพื่อทำการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของลุ่มน้ำ ผลผลิตและพฤติกรรมการไหลของน้ำ

  29. การตกตะกอน ฯลฯ รวมทั้งทำการวิจัยทางด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำนั้นๆ ๓.๒) ทำการวิจัยขั้นพื้นฐานต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลการวิจัยขั้นประยุกต์ โดยทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของพืช พันธุ์ไม้ ดิน หิน น้ำ ตลอดจนความสัมพันธ์ของทรัพยากรดังกล่าวในเชิงต้นน้ำลำธาร ๓.๓) ทำการวิจัยขั้นประยุกต์ เพื่อนำผลการวิจัยไปแก้ไขปัญหาหรือใช้ในการพัฒนาต้นน้ำลำธาร เช่น การวิจัยเพื่อคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร การวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งการวิจัยด้านวนเกษตร เป็นต้น ๓.๔) จัดทำเอกสารรายงานผลการวิจัยและเอกสารทางวิชาการอื่นๆ เป็นคู่มือในการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาต้นน้ำ ๔) ฝ่ายทดลองจัดการต้นน้ำ มีหน้าที่ทำการทดลองด้านเทคนิคและเศรษฐกิจสังคม ในการจัดการต้นน้ำลำธาร โดยการนำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็น ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ มาดำเนินการผสมผสานกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของ

  30. ราษฎรในท้องถิ่น เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาต้นน้ำลำธารในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อจะได้นำผลการทดลองไปใช้ในการพัฒนาต้นน้ำลำธารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป ๕) ฝ่ายวิศวกรรมป่าไม้ มีหน้าที่ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้างและซ่อมแซมเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมทั้งหมดของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ เช่น ถนนป่าไม้ ทางลำลอง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งสิ่งก่อสร้างเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำต่างๆ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลต่างๆ ๖) ฝ่ายปรับปรุงต้นน้ำ มีหน้าที่ทำการปรับปรุงสภาพพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกทำลาย ให้คืนสภาพป่าธรรมชาติโดยการปลูกป่าทดแทน อันจะทำให้ต้นน้ำลำธารสามารถอำนวยน้ำที่ดีแก่ลำห้วยลำธารได้เพียงพอตลอดปี ๗) ฝ่ายพัฒนาต้นน้ำมีหน้าที่ ๗.๑) ทำการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกทำลายในเขตซึ่งชาวเขาอาศัยอยู่ให้คืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยน้ำ และการกัดชะพังทลายของดิน โดยมาตรการปลูกป่าทดแทน

  31. ๗.๒) จัดการชาวเขาในเขตต้นน้ำลำธารให้อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่เคลื่อนย้ายทำลายป่าต่อไป โดยการจัดตั้งหมู่บ้านชาวเขาในพื้นที่ที่เหมาะสม จัดที่ทำกินที่ถาวรให้ ส่งเสริมการเกษตรกรรมแบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น รวมทั้งให้การบริการด้านรัฐสวัสดิการอื่นๆ เช่น ถนน โรงเรียน การอนามัย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อทำให้ชาวเขามีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และไม่ทำลายทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ ต่อไป ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้จัดตั้งฝ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เพื่อการเผยแพร่ผลงานในการจัดการลุ่มน้ำเป็น ๘ ฝ่าย คือ ๘) ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ เป็นฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ มีหน้าที่ ๘.๑) เผยแพร่ผลงานต่างๆ ของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ โดยการจัดทำเอกสารทางวิชาการ เอกสารเผยแพร่ โปสเตอร์ และบทความเผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่างๆ ๘.๒) จัดนิทรรศการร่วมกับสำนักงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การป่าไม้ กรมป่าไม้ในงานต่างๆ

  32. ๘.๓) เป็นวิทยากรในโครงการฝึกอบรม เช่น อสป. และ ยชป. ๘.๔) ผลิตสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ เช่น เทปโทรทัศน์ สไลด์ และภาพชุด ที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์ต้นน้ำ สรุป หน่วยงาน เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ตะวันออก ใต้ รวม ฝ่ายวิจัย ๑๓ ๔ ๑ ๑ ๓ ๒๒ ฝ่ายวิศวกรรมป่าไม้ ๓ ๑ - - - ๔ ฝ่ายปรับปรุงต้นน้ำ ๓๖ ๙ ๒ ๑ - ๔๘ ฝ่ายทดลองจัดการต้นน้ำ ๒๕ ๔ ๖ ๔ - ๓๙ ฝ่ายพัฒนาต้นน้ำ ๗๑ - - - - ๗๑ รวม ๑๔๘ ๑๘ ๙ ๖ ๓ ๑๘๔

  33. จากการดำเนินงานของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ ในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารได้ผลทำให้ป่ากลับฟื้นตัวขึ้น และการที่สถานที่หน่วยสวยงามทำให้มีบุคคลภายนอกมาพักแรมเพื่อชื่นชมธรรมชาติ กรมป่าไม้ได้ จัดตั้งหน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำบางหน่วย เป็น อุทยานแห่งชาติ เช่น หน่วยพัฒนาต้นน้ำน้ำดัง เป็น อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หน่วยพัฒนาต้นน้ำแม่โถ เป็น อุทยานแห่งชาติแม่โถ(เตรียมการ) เป็นต้น

  34. ระยะขยายงาน พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ดำเนิน โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง (Highland Forestry Development Project) เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรภาคเหนือ(Northern Agricultural Project) เป็นโครงการซึ่งทางรัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจเบื้องต้น และเจ้าหน้าที่ประเมินโครงการเข้ามาสำรวจ และพิจารณา ซึ่งเจ้าหน้าที่ประเมินโครงการเห็นว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยทั้งด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ ที่ดิน และการเกษตรกรรมในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ จึงได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือในรูปเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ย (IDD Credit) โดยเซ็นสัญญาเงินกู้ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ มีระยะเวลาดำเนินการ ๖ ปี (๒๕๒๓-๒๕๒๘) โครงการพัฒนาเกษตรภาคเหนือ ประกอบด้วย ๓ โครงการย่อย คือ ๑) โครงการพัฒนาที่ดิน(Upland Rainfed AgriculturalDevelopment)ดำเนินการโดยกรมพัฒนาที่ดิน

  35. ๒) โครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม (Highland Social and Economic Development ) ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์ ๓) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง (Highland Forestry Development ) ดำเนินการโดยกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ การดำเนินงานของโครงการย่อยที่ 2 โครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมและโครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง จะดำเนินการในพื้นที่เดียวกันรวม 8 แห่ง ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยกรมประชาสงเคราะห์เข้าไปจัดการเกี่ยวกับชาวเขาในด้านการเกษตร เพื่อส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรในพื้นที่อย่างถาวรไม่เคลื่อนย้ายต่อไป รวมทั้งพัฒนาทางด้านสังคมและสุขอนามัย ในขณะเดียวกัน กรมป่าไม้โดยกองอนุรักษ์ต้นน้ำ จะได้เข้าไปดำเนินการปลูกป่าฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งชาวเขาเหล่านั้นทำลายลง ให้คืนสู่สภาพเดิม เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งจะทำให้พื้นที่ต้นน้ำ สามารถอำนวยน้ำ ในการทำการเกษตรบริเวณนั้น และเป็นการป้องกันอุทกภัย อันอาจเกิดขึ้นได้ต่อไป นอกจากนั้น กิจกรรมการปลูกป่าดังกล่าว จะทำให้ราษฎรชาวเขามีงานทำ ซึ่งจะมีรายได้ประจำ โดยการเข้าเป็นคนงานในการปลูกป่าจะทำให้เศรษฐกิจของชาวเขาได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้ กรมป่าไม้

  36. โดยกองอนุรักษ์ต้นน้ำยังมีหน้าที่ในการปลูกป่าไม้ฟืน และไม้ใช้สอย ให้พอเพียงสำหรับชาวเขาเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าไปบุกรุก ลักลอบตัดไม้เพื่อทำฟืน อันจะเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่เหลืออยู่ต่อไปได้ โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง ดำเนินงานในพื้นที่ ๘ โครงการ ดังนี้ (๑) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๑ (แม่ตะมาน) มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๓๓๒ ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตงประมาณ ๒๒๑ ตารางกิโลเมตร และลุ่มน้ำปิงส่วนที่ ๑ ประมาณ ๑๑๑ ตารางกิโลเมตร ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำจำนวน ๗,๔๒๐ ไร่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยพัฒนาต้นน้ำแม่ตะมาน (พ.ศ. ๒๕๓๕) และเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน (พ.ศ. ๒๕๓๕) มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๓,๔๕๖ คน ใน ๗ หมู่บ้าน ประกอบด้วย ๑๙ หย่อมบ้าน (หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน, ๒๕๕๐) (๒) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๒ (โล๊ะป่าไคร้) ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำแม่น้ำฝาง มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๔๒๕ ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่อำเภอฝางและอำเภอแม่อาย

  37. จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๗,๑๘๐ ไร่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำโล๊ะป่าไคร้ (พ.ศ. ๒๕๓๖) มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๒,๗๒๓ คน ใน ๓๕ หมู่บ้าน (หน่วยจัดการต้นน้ำโล๊ะป่าไคร้, ๒๕๕๐) (๓) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๓ (แม่จ๊าง) มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๓๖๖ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ลอบ และลุ่มน้ำแม่ฮ่อง ดำเนินการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๘,๖๙๕ ไร่ (เฉพาะที่ดำเนินการภายใต้โครงการฯ) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำแม่จ๊าง (พ.ศ. ๒๕๓๕) มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๗,๐๒๘ คน ใน ๒๑ หมู่บ้าน ประกอบด้วย ๕๓ หย่อมบ้าน (หน่วยจัดการต้นน้ำแม่จ๊าง, ๒๕๕๐) (๔) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๔ (หัวปอน) มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๖๒๗ ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สุรินทร์ และลุ่มน้ำแม่สะมาด ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๙,๑๘๐ ไร่ (๒๕๒๓-๒๕๓๘) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำหัวปอน (พ.ศ. ๒๕๓๕) จนถึง ปี๒๕๔๒ ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ได้โอนพื้นที่ไปอยู่ในการดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะมาด

  38. ปัจจุบันชื่อหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแม่สะมาด อำเภอเมือง และอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๕,๔๕๘ คน ใน ๑๙ หมู่บ้าน (หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแม่สะมาด, ๒๕๕๐) (๕) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๕ (แม่จัน) ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จัน มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๒๓๕ ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่อำเภอแม่จันและแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๑๘,๑๖๔ ไร่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแม่จัน จนถึงปัจจุบันมีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๑๓,๙๐๘ คน ใน ๓๗ หมู่บ้าน (หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแม่จัน, ๒๕๕๐) (๖) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๖ (แม่ซ้าย) มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๒๘๙ ตารางกิโลเมตร อยู่ในตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๖,๔๓๐ ไร่ ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ซ้าย (พ.ศ. ๒๕๒๗) มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๘,๕๑๔ คน ใน ๓๓ หมู่บ้าน (หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ซ้าย, ๒๕๕๐)

  39. (๗) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๗ (แม่แมะ) มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๓๙๖ ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม อำเภองาว จังหวัดลำปาง ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๑๑,๑๒๐ ไร่ (เฉพาะที่ดำเนินการภายใต้โครงการฯ) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำแม่แมะ (พ.ศ. ๒๕๓๖) และเป็นหน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยโล่ง (พ.ศ. ๒๕๔๖) มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๑,๙๐๒ คน ใน ๕ หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านแม่ฮ่าวใต้ บ้านสามเหลี่ยม บ้านสันติสุข บ้านห้วยน้ำตื้น และบ้านขุนอ้อนพัฒนา (หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยโล่ง, ๒๕๕๐) (๘) โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ ๘ (แม่ขะนิง) มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๓๒๕ ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ จำนวน ๖,๘๖๕ ไร่ (เฉพาะที่ดำเนินการภายใต้โครงการฯ) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยขาม (พ.ศ. ๒๕๓๖) และในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ยุบรวมกับ หน่วยจัดการต้นน้ำสะเนียน-ไสล ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ปรับปรุงพื้นที่ และเปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำสมุนตอนล่าง มีประชากรอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๒๙,๙๕๙ คน ใน ๕๒ หมู่บ้าน (หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำสมุนตอนล่าง, ๒๕๕๐)

  40. ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ดำเนิน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่มเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดย United States Agency for International Development (USAID) เริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๒๔ ถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ และขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๓๒ รวมระยะเวลาดำเนินงาน 9 ปี มีพื้นที่ดำเนินงานประมาณ ๓,๒๑๒ ตารางกิโลเมตร ในลุ่มน้ำแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรประมาณ ๓๔,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๒๗) ประกอบด้วยคนไทยพื้นเมืองประมาณร้อยละ ๔๕ ของประชากรทั้งหมด นอกนั้นเป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ม้งลั๊วะ และลีซอ จุดมุ่งหมายที่สำคัญของโครงการคือการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติด ลดการปลูกพืชที่ผิดกฎหมาย (ฝิ่น) เพิ่มรายได้ของประชากรด้วยการเข้าไปแก้ไขสาเหตุของความยากจน โดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของที่ดินที่มีอยู่ จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการชลประทาน และมีกิจกรรมสินเชื่อทางการเกษตร ซ่อมแซมและรักษาส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในเขตลุ่มน้ำ ให้คงสภาพอยู่ต่อไป โดยการควบคุมการกัดเซาะพังทลายของดิน การปลูกสวนป่า วางมาตรการป้องกันไฟป่า รวมทั้งสนับสนุนด้านบริการต่างๆ เพื่อขจัดเงื่อนไขที่จะทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นสีชมพูให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้ในที่สุด

  41. การดำเนินงานโครงการ ทาง USAID ได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในวงเงิน ๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐ และรัฐบาลไทยสมทบอีก ๑๑.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้งสิ้น ๒๑.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกรมต่างๆในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวม ๕ กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดำเนินงาน ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมการฝึกหัดครู กรมวิเทศสหการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้อำนวยการโครงการ สำหรับการปฏิบัติงานโครงการในพื้นที่มีรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานภาคสนาม มีสำนักงานบริหารโครงการอยู่ในท้องที่ อำเภอแม่แจ่ม นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่ประสานสัมพันธ์ (interface teams) เข้าไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและมีความรู้สึกเสมือนญาติ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยราชการและประชากรในหมู่บ้าน จัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ค้นหาความต้องการที่แท้จริงและปัญหาต่างๆของชาวบ้าน และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ปัญหา รวมทั้งค้นหาผู้นำโดยธรรมชาติในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อสนับสนุนให้เป็นหัวหน้ากลุ่มอาชีพต่างๆ

  42. การดำเนินงานโครงการที่สำคัญจากหน่วยงานต่างๆได้แก่ งานพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ มีเป้าหมายที่จะดำเนินการทำขั้นบันไดดิน ๒๒,๐๐๐ ไร่ พัฒนาแหล่งน้ำ ๑๘๒ แห่ง ทำการวิจัยและทดสอบการเกษตรโดยจัดทำแปลงทดสอบพืชในพื้นที่ ๕ ตำบล การส่งเสริมการเกษตรโดยการเพิ่มผลผลิตข้าวให้พอเพียงแก่การบริโภคและเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และฝึกอบรมให้ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมงานด้านสินเชื่อและการตลาดโดยจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกิจการสหกรณ์ในที่สูงและขยายกิจกรรมสหกรณ์ไปสู่ชาวเขา ส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด การวางแผนครอบครัวและงานอนามัยพื้นฐาน รวมทั้งจัดการศึกษาเพื่อชนบทที่สูง โดยโครงการจัดทำศูนย์วิชาการหมู่บ้าน สนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน และปรับปรุงคณะกรรมการสภาตำบลในพื้นที่สูง สำหรับกรมป่าไม้รับผิดชอบงานบำรุงรักษาสภาวะแวดล้อม การดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ งานป้องกันไฟป่าโดยจัดชุดประชาสัมพันธ์และป้องกันไฟป่า รวมทั้งสร้างหอดูไฟ ๘ แห่งดำเนินการปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำจำนวน ๑,๘๒๐ ไร่ ก่อสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน จำนวน ๑๗๕ กิโลเมตร งานจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำการปลูกทุ่งหญ้าลี้ยงสัตว์กระจายไปในพื้นที่โครงการจำนวน ๓,๐๐๐ ไร่ นอกจากนั้นยังดำเนินงานป้องกันการกัดชะพังทลายของดิน งานจัดเก็บข้อมูล

  43. ด้านอุตุ-อุทกวิทยาเพื่อสนับสนุนงานวิจัยลุ่มน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่โครงการฯ ได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือน มิถุนายน ๒๕๓๒ ได้เกิดภาวะช่องว่างขึ้นในพื้นที่ เพราะหน่วยงานต่างๆ ได้ถอนตัวออกจากพื้นที่ เหลือแต่เพียงหน่วยงานของกรมป่าไม้กรมเดียวที่ยังเป็นหลักอยู่ แต่ก็ได้ลดกิจกรรมต่างๆ ลงมาสู่สภาวะปกติ ซึ่งในเวลานี้ราษฎรในพื้นที่ได้หันกลับมาใช้แนวทางในการดำรงชีวิตแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง คือ การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเกษตรต่อไป ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หน่วยงานกรมป่าไม้ที่ร่วมในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่มเดิมได้เปลี่ยนมาเป็นศูนย์จัดการต้นน้ำแม่แจ่มในปัจจุบัน ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ประกอบกับเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๖ สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการฯ และได้มีพระราชดำริถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้น้อมรับพระราชกระแส นำมาปฏิบัติ โดยยึดตามแนวนโยบายที่พระราชทานไว้ คือ การปลูกจิตสำนึกให้ราษฎรในพื้นที่มีความรักหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่หมู่บ้านของตัวเอง ขณะเดียวกันศูนย์ก็จะดำเนินการขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือราษฎรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พ้นจากสภาพความยากจนและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ

  44. และราษฎรเพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มแบบยั่งยืน และอำนวยประโยชน์แก่กันและกันได้ตลอดไป ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ดำเนิน โครงการพัฒนาชนบทลุ่มน้ำพอง หรือโครงการจัดการลุ่มน้ำภูเวียง เป็นโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme/Food and Agriculture Organization of the United Nations : UNDP/FAO) เพื่อหาแนวทางในการจัดการลุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและนำไปปฏิบัติได้ โดยใช้พื้นที่ลุ่มน้ำภูเวียง ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำพอง ในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ประมาณ ๓๐๑ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน(ปี พ.ศ. ๒๕๒๕) เป็นพื้นที่ทดลองจัดการลุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาชนบทโดยอาศัยมาตรการการจัดการลุ่มน้ำแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของราษฎร โดยการพัฒนาการใช้ทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ และ

  45. สร้างแหล่งเพิ่มพูนรายได้ใหม่ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการทำไร่เลื่อนลอย อนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ ตลอดจนเสริมสร้างสมรรถนะและประสบการณ์ของ เจ้าหน้าที่ ในการวางแผน การจัดการลุ่มน้ำแบบผสมผสาน การดำเนินงานขั้นเตรียมการโครงการ (preparatory phase) เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ มีระยะเวลา ๑ ปี ทำการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม ของประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ สำรวจทรัพยากรป่าไม้ สำรวจและจำแนกสมรรถนะของดินและที่ดิน เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานระยะยาว ในขณะเดียวกันก็เริ่มดำเนินงานในกิจกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำ เริ่มการปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำลำธาร การส่งเสริมการเกษตร และงานทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยใช้งบประมาณจากกรมป่าไม้ ต่อมา UNDP/FAO และรัฐบาลไทยโดยกรมป่าไม้ ได้ลงนามให้มีการดำเนินงาน โครงการจัดการลุ่มน้ำ ภูเวียง (Integrated Development of the PhuWiang Watershed) เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๗ มีระยะเวลาดำเนินงาน ๔ ปี และได้ขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการถึงเดือนธันวาคม ๒๕๓๒ โดยทาง UNDP ให้ความช่วยเหลือ เป็นเงิน ๙๕๗,๘๘๓ เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลไทย สนับสนุนเป็นค่าดำเนินงาน และสิ่งก่อสร้าง เป็นเงิน ๓๔,๑๗๒,๑๕๐ บาท

  46. การบริหารงานโครงการ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ต้นน้ำ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการฯ สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่มีเจ้าหน้าที่จากกองอนุรักษ์ต้นน้ำ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการฝ่ายสนาม (Project Field Director) และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ มีเจ้าหน้าที่ FAO ทำหน้าที่หัวหน้าที่ปรึกษา (Team Leader) และที่ปรึกษาระยะสั้นจากต่างประเทศ และภายในประเทศ (National Consultants) เนื่องจากโครงการจัดการลุ่มน้ำภูเวียง ดำเนินการโดยกรมป่าไม้เพียงกรมเดียว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและประสานงานที่ดีในการปฏิบัติงาน จึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาระดับท้องถิ่น (Local Advisory Committee) มีนายอำเภอภูเวียง เป็นประธาน ส่วนกรรมการประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอที่เกี่ยวข้อง กำนันในท้องที่ ผู้แทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนสำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้แทนป่าไม้เขตขอนแก่น โดยมีผู้อำนวยการโครงการฝ่ายสนามเป็นกรรมการและเลขานุการ นอกจากนั้น ยังมีอาสาสมัครชาวบ้านช่วยชาวบ้าน (Village Contact Volunteer : VCV) ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านหรือพื้นที่โครงการเข้าไปปฏิบัติงานในหมู่บ้าน ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างชุมชนกับโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจข้อมูลพื้นฐาน ทัศนคติ ความต้องการของชุมชน รวมทั้งติดตามการดำเนินงานในกิจกรรมที่โครงการให้การสนับสนุนแก่ชุมชน

  47. ผลการดำเนินงานโครงการ (๑) จัดสัมมนาชาวบ้าน (village workshop) เพื่อค้นหาความต้องการในหมู่บ้านเป้าหมาย และจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานแก่เกษตรกร ผู้นำชุมชน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และ พระสงฆ์ รวม ๑๘ ครั้ง รวมผู้เข้ารับการฝึกอบรม ๘๕๑ คน (๒) จัดทำแปลงสาธิตการทำการเกษตรเชิงอนุรักษ์และปลูกพืชหมุนเวียน จำนวน ๒๒๕ ไร่ แปลงสาธิตไม้ผลยืนต้น ๒๐๐ ไร่ แปลงสาธิตการจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ๒๖๐ ไร่ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกหม่อนพันธุ์ดี แก่เกษตรกร ๑๓๔ ราย พื้นที่ปลูกหม่อน ๒๕๐ ไร่ รวมทั้ง สนับสนุนระบบเงินทุนหมุนเวียน (๔) สนับสนุนการขุดบ่อเลี้ยงปลา รวมทั้งการปลูกไม้ผลและปลูกผักรอบบ่อในลักษณะการเกษตรแบบผสมผสาน (integrated farming) ๑๑๙บ่อ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงปลาในนาข้าว (๕) สาธิตการปลูกป่าในระบบวนเกษตร ในรูปแบบเกษตรป่าไม้ จำนวน ๑๒๕ ไร่ และรูปแบบทุ่งหญ้าป่าไม้ จำนวน ๑๐๐ ไร่

  48. (๖) ปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำลำธาร ๗,๒๖๐ ไร่ โดยการอนุญาตให้เกษตรกรปลูกพืชควบในช่วง ๓ ปีแรกของการปลูกป่า เพื่อลดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งปลูกป่าฟืน จำนวน ๔๐๐ ไร่ (๗) ป้องกันและควบคุมไฟป่า โดยจัดทำแนวป้องกันไฟ การชิงเผา จัดหน่วยลาดตระเวนไฟป่าและหน่วยดับไฟป่า (๘) สร้างถนนป่าไม้ ระยะทาง ๓๖.๕ กิโลเมตร เพื่อสะดวกในการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน (๙) การเสริมสร้างสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ของโครงการ โดยสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโทในต่างประเทศ ๒ ทุน ทางด้านการส่งเสริมป่าไม้ (Forestry Extension) และการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Integrated Land Use and Land Capability) และทุนศึกษาดูงานในต่างประเทศ ระยะเวลา ๖ เดือน จำนวน ๔ ทุน นอกจากนั้นจัดให้มีการฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงานภายในประเทศ และการปฏิบัติงานร่วมกับที่ปรึกษาโครงการในลักษณะ on the job training

  49. (๑๐) เก็บข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา เพื่อนำข้อมูลมาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์และการจัดการลุ่มน้ำต่อไป (๑๑) ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำ และผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งทางด้านนิเวศวิทยาและด้านผลผลิต เช่น การสูญเสียดินและน้ำจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ แตกต่างกัน ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ที่มาศึกษาดูงานทั้งจากภายในและต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้นำเสนอข้อมูลในการสัมมนานานาชาติ ได้แก่Hawii, Taiwan และ Fiji เป็นต้น (๑๒) เป็นสถานที่ศึกษาดูงานทางด้านการจัดการลุ่มน้ำจากส่วนราชการ มหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำภูเวียง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติภูเวียง อย่างไรก็ตาม ยังมีหน่วยจัดการต้นน้ำภูเวียง ดำเนินกิจกรรมทางด้านการจัดการต้นน้ำต่อไป

  50. ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้ดำเนิน โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมันด้านป่าไม้ เป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐเยอรมันตะวันตกเพื่อพัฒนาชุมชนในที่สูงโดยเฉพาะชาวเขาเพื่อลดพื้นที่การปลูกฝิ่น ลดการทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด และป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า อันจะมีผลต่อเนื่องให้ชาวเขามีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นดำเนินงานในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ระหว่างปี ๒๕๒๖-๒๕๓๐ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลาว กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี ๒๕๒๗-๒๕๓๒ และพื้นที่ ห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี ๒๕๓๕-๒๕๓๙ กิจกรรมการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ งานปลูกป่า ได้แก่ งานปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำ สาธิตการปลูกป่าฟืน อบรมอาสาสมัครอนุรักษ์และป้องกันไฟป่า เพาะชำกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกร ชาวบ้าน ป่าไม้ใช้สอย ทำแนวรั้ว และทำแนวอนุรักษ์ดินและน้ำ ทำแปลงทดลองหาความเหมาะสมในการปลูกและบำรุงรักษาไม้นานาพันธุ์

More Related