1 / 81

การบรรยาย เรื่อง คุณธรรมกับการใช้กฎหมาย

การบรรยาย เรื่อง คุณธรรมกับการใช้กฎหมาย. โดย ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในหลักสูตรการฝึกอบรม “การพัฒนาบุคคลากรทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิประชาชน” กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Download Presentation

การบรรยาย เรื่อง คุณธรรมกับการใช้กฎหมาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยาย เรื่องคุณธรรมกับการใช้กฎหมาย โดย ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในหลักสูตรการฝึกอบรม “การพัฒนาบุคคลากรทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิประชาชน” กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2552 คณิต ณ นคร : วิอาญา

  2. เอกสารประกอบและแนะนำตำรากฎหมายเอกสารประกอบและแนะนำตำรากฎหมาย • บทความ - คณิต ณ นคร “วิธีพิจารณาความอาญาไทย : หลักกฎหมายกับทางปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน - คณิต ณ นคร “นิติธรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย” - คณิต ณ นคร “บทบาทของศาลในคดีอาญา” - คณิต ณ นคร “ทนายความกับลูกความ” - คณิต ณ นคร “การร้องทุกข์ในคดีอาญา” - คณิต ณ นคร “การบังคับคดีอาญากรณีศาลลงโทษปรับ” • ตำรากฎหมาย - คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักพิมพ์วิญญูชน พิมพ์ครั้งที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 คณิต ณ นคร : วิอาญา

  3. ความหมายของ “คุณธรรม” ของนักกฎหมาย • ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้สำเร็จการศึกษากฎหมายมาแล้ว จึงคาดว่าได้ศึกษาวิชา “หลักวิชาชีพของนักกฎหมาย” มาแล้วด้วย • วิชาดังกล่าวนี้เป็นการศึกษา “หลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมาย” • หลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมายมี 2 ความหมาย - ความหมายในทางนามธรรม - ความหมายในทางรูปธรรม คณิต ณ นคร : วิอาญา

  4. หลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมายในทางนามธรรมหลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมายในทางนามธรรม • ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการทำหน้าที่นักกฎหมาย • ความกล้าหาญในการทำหน้าที่ของนักฎหมาย • ความเป็นกลางในการทำหน้าที่ของนักฎหมาย คณิต ณ นคร : วิอาญา

  5. คุณธรรมหรือหลักธรรมของนักกฎหมายในทางรูปธรรมคุณธรรมหรือหลักธรรมของนักกฎหมายในทางรูปธรรม • ความเข้าใจในความเป็น “ศาสตร์” ของกฎหมาย • ความเข้าใจบทบาทของนักกฎหมาย • ความรู้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเป็นศาสตร์ • ความรู้ในการทำงานสัมพันธ์กับเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในกระบวนการยุติธรรม • ความรู้ความเข้าใจบทบาทขององค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม • ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ขอถือว่าเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการบรรยายเรื่อง “คุณธรรมกับการใช้กฎหมาย” คณิต ณ นคร : วิอาญา

  6. หัวข้อการบรรยายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หัวข้อการบรรยายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ • ระบบการดำเนินคดีอาญา - ระบบไต่สวน - ระบบกล่าวหา • หลักการดำเนินคดีอาญา - การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน - การดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน - การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ • หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญา • หลักความตกลง และ หลักการตรวจสอบ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  7. หัวข้อการบรรยาย (ต่อ) • ฐานะของผู้ถูกกล่าวหาและสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา • เครื่องมือในการดำเนินคดีอาญา • โครงสร้างของการดำเนินคดีอาญา - การดำเนินคดีชั้นสอบสวนฟ้องร้อง - การดำเนินคดีชั้นประทับฟ้อง - การดำเนินคดีชั้นพิจารณา - การดำเนินคดีชั้นบังคับคดี • หลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย กับ หลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ • หลักการของการอุทธรณ์ฎีกา คณิต ณ นคร : วิอาญา

  8. ระบบการดำเนินคดีอาญา • ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) • ระบบกล่าวหา (Accusatorial System) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  9. การดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวนการดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน • ไม่มีการแยก “หน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง” กับ “หน้าที่พิจารณาพิพากษา” ออกจากกัน ให้องค์กรที่ต่างหาจากกันเป็นผู้ทำหน้าที่ทั้งสอง กรณีจึงมีแต่ “ผู้ไต่สวน” และ “ผู้ถูกไต่สวน” เท่านั้น • ผู้ถูกกล่าวหาเป็น “กรรมในคดี”(Prozess-objekt) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  10. การดำเนินคดีอาญาระบบกล่าวหาการดำเนินคดีอาญาระบบกล่าวหา • แยกหน้าที่ “สอบสวนฟ้องร้อง” และหน้าที่ “พิจารณาพิพากษา” ออกจากกัน ให้องค์กรที่ต่างหากจากกันเป็นผู้ทำหน้าที่ • ยกฐานะของผู้ถูกกล่าวหาขึ้นเป็น “ประธานในคดี”(Prozess-subjekt) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  11. หลักการดำเนินคดีอาญา • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน (Private Prosecution) • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน (Popular Prosecution) • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (Public Prosecution) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  12. การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชนการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน • เป็นการดำเนินคดีอาญาดั้งเดิม • เป็นการดำเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหายเอง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่มีลักษณะคล้ายกับการดำเนินคดีแพ่ง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่มีคู่ความ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  13. การดำเนินคดีอาญาโดยประชาชนการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่เกิดเคียงข้างการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ประชาชนทุกคนฟ้องคดีอาญาได้ • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่มีคู่ความในลักษณะของการต่อสู้ • เป็นการดำเนินดคีอาญาที่การสืบพยานเป็นไปในรูปแบบ “การถามค้าน”(Cross Examination) • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่สอดคล้องกับ “หลักการต่อรองคำรับสารภาพ” (plea bargaining) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  14. นิติสัมพันธ์ในทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยประชาชนเป็นนิติสัมพันธ์สามฝ่ายนิติสัมพันธ์ในทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยประชาชนเป็นนิติสัมพันธ์สามฝ่าย ศาล โจทก์ จำเลย คณิต ณ นคร : วิอาญา

  15. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ถือว่ารัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ไม่มีคู่ความ เป็นการอำนวยความยุติธรรมโดยรัฐ พนักงานอัยการอัยการจึงไม่เป็นคู่ความในเนื้อหา • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่องค์กรดำเนินคดีฝ่ายรัฐทุกองค์กรต้องร่วมมือกันในการตรวจสอบค้นหาความจริง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ทุกฝ่ายต้องกระตือรือร้นในการตรวจสอบค้นหาความจริง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่องค์กรของรัฐต้องมีความเป็นภาวะวิสัย คณิต ณ นคร : วิอาญา

  16. นิติสัมพันธ์ทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยรัฐเป็นนิติสัมพันธ์สองฝ่ายนิติสัมพันธ์ทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยรัฐเป็นนิติสัมพันธ์สองฝ่าย รัฐผู้ถูกกล่าวหา ศาล(ผู้ต้องหา / จำเลย) อัยการ (ตำรวจ) และอื่น ๆ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  17. การดำเนินคดีโดยรัฐกับผู้เสียหายการดำเนินคดีโดยรัฐกับผู้เสียหาย • ในประเทศส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายดำเนินคดีการดำเนินคดีอาญาในประเทศส่วนใหญ่จึงผูกขาดโดยรัฐ • ประเทศเยอรมันอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีได้ประมาณ10 ความผิดซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความผิดที่มีความเป็นส่วนตัวโดยแท้ • ในประเทศไทยเรารัฐไม่ผูกขาดการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหายเกือบไม่มีขอบเขต • แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีได้และรัฐเป็นใหญ่ แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปในทำนองการดำเนินคดีคู่ขนาน คณิต ณ นคร : วิอาญา

  18. ขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญาขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาแบ่งออกเป็น 2 ชั้น - กำหนดคดีอาญาชั้นกำหนดคดี (Erkenntnisverfahren) - การดำเนินคดีอาญาชั้นบังคับคดี(Vollstreckungsverfahren) • สิ่งเชื่อมโยงของการดำเนินคดีอาญาทั้งสองชั้น คือ คำพิพากษาถึงที่สุด • การเริ่มคดีอาญา • การบังคับคดีอาญากับการบังคับโทษอาญา คณิต ณ นคร : วิอาญา

  19. หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญาหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญา • หลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา • หลักฟังความทุกฝ่าย • หลักวาจา • หลักพยานโดยตรง • หลักเปิดเผย • หลักความเป็นอิสสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน • หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย (in dubiopro reo) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  20. หลักการค้นหาความจริงในเนื้อหาหลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา • เจ้าพนักงาน (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) มีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหา (มาตรา 131, 98, 138, 143) แต่ในทางปฏิบัติตามปกติยังไม่มีความเป็นภาวะวิสัยเท่าที่ควร • ศาลก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหาเช่นเดียวกับการตรวจสอบความจริงในชั้นเจ้าพนักงาน (มาตรา 228, 229, 175) แต่ในทางปฏิบัติศาลไม่กระตือรื้อร้น (active) ในการตรวจสอบความจริงเท่าที่ควร เพราะความเข้าใจของนักกฎหมายในเรื่อง “ความเป็นกลาง” กับ “ความเป็นภาวะวิสัย” ไม่ถูกต้อง คณิต ณ นคร : วิอาญา

  21. หลักฟังความทุกฝ่าย • หัวใจของมาตรา 120 คือ “การสอบสวนปากคำผู้ต้องหา” ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเมื่อจะฟ้องเท่านั้น • เจ้าพนักงานต้องแจ้ง “ข้อหา” แก่ผู้ต้องหา แต่การแจ้งข้อหาก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก การแก้ไขกฎหมายเรื่อง “ข้อหา” สร้างความชัดเจนเพียงบางส่วนเท่านั้น • ต้องแจ้งสิทธิที่จะได้รับการแนะนำและตักเตือน และแจ้งสิทธิที่จะให้ทนายหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำแก่ผู้ต้องหา (มาตรา 134/4) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  22. หลักฟังความทุกฝ่าย (ต่อ) • ต้องแจ้งเรื่องความเป็นมาแห่งชีวิตและความประพฤติอันเป็นอาจิณให้ผู้ต้องหาทราบ (มาตร 138) • ต้องแจ้งผู้ถูกจับเมื่อมีการจับ (มาตรา 83, 84) • ต้องอ่านบันทึกการค้นและต้องให้ลงชื่อรับทราบ (มตรา 103) • ต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี กล่าวคือ ต้องบรรยายการกระทำของจำเลย [มาตรา 158 อนุมาตรา (5)] • ศาล (ในต่างประเทศ “พนักงานอัยการ”) ต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และต่อจากนั้นศาลต้องถามจำเลยเรื่องการกระทำผิด (มาตรา 172 วรรคสอง) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  23. หลักวาจา • ทุกอย่างต้องกระทำด้วยวาจาจึงจะนำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาได้ • การให้การเป็นหนังสือก็ต้องสอบวาจากันอีกครั้ง • หลักวาจาให้เฉพาะกับเรื่องที่เกี่ยวกับความผิด แต่ไม่ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับ “เงื่อนไขให้อำนาจดำเนินดดี” หรือ “เงื่อนไขระงับคดี” คณิต ณ นคร : วิอาญา

  24. หลักพยานโดยตรง • หลักพยานโดยตรงมีหลักอยู่ 2 ประการ คือ (1) การสืบพยานเป็นหน้าที่ของศาล และ (2) ศาลต้องวินิจฉัยตามเหตุผลที่ได้จากการสืบพยาน • ตามกฎหมายการสืบพยานเป็นหน้าที่ของศาล (มาตรา 229) แต่อิทธิพลของอังกฤษทำให้ทางปฏิบัติเปลี่ยนแปลงหรือผิดเผี้ยนไป (นิติธรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย หน้า 9) • ศาลต้องวินิจฉัยตามเหตุผลที่ได้จากการสืบพยาน จะใช้บันทึกที่จดไว้แทนการมาเบิกความไม่ได้ • พยานที่เป็นผู้ชำนาญการพิเศษก็ต้องมาให้การต่อศาล (มาตรา 243) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  25. หลักเปิดเผย • การพิจารณาคดีต้องกระทำโดยเปิดเผย (มาตรา 172) • การพิจารณาลับกระทำได้ภายในกรอบที่จำกัด (มาตรา 177) • การพิจารณาคดีไม่ใช่การแสดง (show business) • การพิจารณาคดีที่ต้องกระทำโดยเปิดเผยก็เพื่อให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก แต่การแสดงเป็นการเรียกร้องผู้ชมผู้ฟัง • การพิจารณาคดีที่เปิดเผยจนเป็นการแสดงย่อมกระทบต่อ - ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา คณิต ณ นคร : วิอาญา

  26. หลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน • ศาลมีความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 227) • การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเป็นเรื่องของศาลโดยเฉพาะ • ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานไม่มีหลักเกณฑ์ผูกมัดศาล แต่อิทธิพลของนักกฎหมายที่จบจากประเทศอังกฤษได้สร้างสิ่งแปลกปลอมขึ้นมา (ฎีกาแผ่นสไลด์ถัดไป) • คำผู้ชำนาญการพิเศษหรือพยานผู้เชี่ยวชาญก็ต้องมีการชั่งน้ำหนัก คณิต ณ นคร : วิอาญา

  27. หลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานฯ (ต่อ) • ฎีกาที่ 353/3530 : เกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่ให้รับฟังคำบอกกล่าวของผู้ตาย คือ ผู้ตายต้องระบุชื่อผู้ทำร้ายในขณะที่ผู้ตายรู้ตัวว่าหมดหวังที่จะมีชีวิตรอดอยู่ ทั้งนี้ เพราะคนที่รู้สึกตัวว่าหมดหลังที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้แล้ว กล่าวถ้อยคำใดนั้นถือว่ากล่าวโดยสาบานตัวแล้ว และไม่ต้องการกล่าวเท็จก่อเวรกรรมอีกต่อไป ส่วนจะถึงแก่ความตายเมื่อใดหาเป็นข้อสำคัญไม่ • วิจารณ์: ตามมาตรา 226 พยานหลักฐานทุกชนิดรับฟังได้ เมื่อคำบอกกล่าวของผู้ตายรับฟังได้ศาลก็มีหน้าที่ต้องชั่งน้ำหนักคำบอกกล่าวของผู้ตาย กฎเกณฑ์ตามนัยแห่งฎีกาดังกล่าวนี้จึงไม่ถูกหลักกฎหมาย คณิต ณ นคร : วิอาญา

  28. หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยหลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย • หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย (มาตรา 227 วรรคสอง) ใช้เฉพาะความสงสัยในข้อเท็จจริงเท่านั้น • ฎีกาที่ 899/2487: คดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานมาสืบให้ปราศจากสงสัย แต่ในคดีแพ่งศาลต้องดูพยานหลักฐานทุก ๆ ฝ่ายแล้วพิจารณาว่า พยานหลักฐานทั้งหมดนั้นเจือสมหนักไปฝ่ายใด แม้ว่าไม่ถึงกับปราศจากข้อสงสัย ศาลก็ยังชี้ขาดให้ฝ่ายนั้นชนะคดีได้ • ดั่งนี้ หลักในการฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาแตกต่างจากหลักการฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง คณิต ณ นคร : วิอาญา

  29. หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย (ต่อ) • ศาลต้องให้เหตุผลในการตัดสินทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย [มาตรา 186 (6)]และต้องให้เหตุผลอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยที่อาจตรวจสอบได้ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และรวมถึงระดับโทษที่ลงนั้นด้วย • การไม่ให้เหตุผลในการตัดสินคดีเป็นการกระทำที่ขัดต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบภายนอก • หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยใช้กับ “เงื่อนไขให้อำนาจดำเนินคดีด้วย (ฎีกาที่ 1875/2530) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  30. หลักความตกลง กับ หลักการตรวจสอบ • การดำเนินคดีแพ่ง ใช้ “หลักความตกลง” • หลักความตกลงนี้ภาษาเยอรมันเรียกว่า Verhandlungsprinzip ซึ่งอาจจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Negotiation Principle • การดำเนินคดีอาญา ใช้ “หลักการตรวจสอบ” • หลักการตรวจสอบนี้ภาษาเยอรมันเรียกว่า Untersuchungsprinzip ซึ่งอาจจะเรียกเป็นภาษาอังกฤตว่า Examination Principle คณิต ณ นคร : วิอาญา

  31. หลักความตกลง • เป็นหลักการดำเนินคดีในคดีแพ่งเท่านั้น • คดีแพ่งเริ่มเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาล ก่อนหน้านั้นยังไม่มีคดี • คดีแพ่งเป็นเรื่องของคู่ความสองฝ่ายที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นคดีที่เอกชนเป็นใหญ่ เป็นคดีที่เป็นเรื่องของการต่อสู้กันโดยศาลเป็นเพียงผู้ชี้ขาดตัดสิน เป็นคดีที่มีเรื่องหน้าที่นำสืบ • คดีแพ่งคู่ความต้องรับผิดชอบในเรื่องพยานหลักฐาน • คดีแพ่งบางประเภทต้องใช้หลักการตรวจสอบ เช่น คดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ป.วิแพ่ง มาตรา 189 ทวิ วรรคสอง) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  32. หลักการตรวจสอบ • คดีอาญาใช้ “หลักการตรวจสอบ” โดยไม่มีข้อยกเว้น • คดีอาญาเริ่มดำเนินการตรวจสอบความจริงเมื่อรู้ ซึ่งอาจเป็นการรู้เองหรือรู้จากคำบอกกล่าว • การตรวจสอบความจริงในคดีอาญาเป็นเรื่องของรัฐ กล่าวคือ เป็นเรื่องของเจ้าพนักงาน (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) และศาล • การตรวจสอบความจริงในคดีอาญาต้องทำอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยในทุกขั้นตอนของการดำเนินคดี คณิต ณ นคร : วิอาญา

  33. การตรวจสอบความจริงในการดำเนินคดีอาญาการตรวจสอบความจริงในการดำเนินคดีอาญา • การตรวจสอบตรวจจริงในคดีอาญามี 2 ชั้น คือ การตรวจสอบชั้นเจ้าพนักงาน และการตรวจสอบชั้นศาล • การตรวจสอบความจริงในชั้นเจ้าพนักงานต้องกระทำอย่างมีความเป็นภาวะวิสัย • การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลก็ต้องกระทำอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยเช่นเดียวกัน • คดีอาญาไม่มีเรื่องหน้าที่นำสืบแต่ในการเรียนการสอนก็ว่ามีหน้าที่นำสืบ ซึ่งก็เป็นผลพวงของนักกฎหมายที่เป็นผู้สอนที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  34. การตรวจสอบความจริงชั้นเจ้าพนักงานการตรวจสอบความจริงชั้นเจ้าพนักงาน • เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องตรวจสอบความจริง คือ พนักงานสอบสวนหรือตำรวจและพนักงานอัยการ • กระบวนการตรวจสอบความจริงในชั้นเจ้าพนักงานเป็นกระบวนการเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีในชั้นเจ้าพนักงานคือพนักงานอัยการ • พนักงานอัยการต้องทราบหรืออยู่ในวิสัยที่จะทราบการดำเนินการของพนักงานสอบสวนหรือตำรวจได้ แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นที่กล่าวมา คณิต ณ นคร : วิอาญา

  35. การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลการตรวจสอบความจริงในชั้นศาล • การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลเป็นเรื่องของความร่วมมือของทุกฝ่าย • การประทับฟ้องเป็นการตรวจสอบที่สำคัญเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีมีความหนักแน่นมั่นคง หรือเป็นการตรวจสอบอำนาจฟ้อง • เครื่องมือของการประทับฟ้อง คือ สำนวนการสอบสวน / ความไว้วางใจ • การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลไม่ใช่เป็นการเริ่มต้นการตรวจสอบกันใหม่ แต่เป็นการตรวจสอบสิ่งที่เจ้าพนักงานได้ดำเนินการอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยมาแล้วนั้นอีกครั้งหนึ่ง • เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความจริงของศาล คือ สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงาน การแถลงเปิดคดีของพนักงานอัยการ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  36. การตรวจสอบความจริงในชั้นศาล (ต่อ) • ศาลเป็นผู้รับผิดชอบในการสืบพยานหรือการตรวจสอบความจริง แต่อิทธิพลของอังกฤษทำให้ทางปฏิบัติผิดเพี้ยนไป • การถอนฟ้องต้องได้รับอนุญาตจากศาลในทุกกรณี และหากการถอนฟ้องกระทำหลังจากจำเลยให้การแล้วและจำเลยคัดค้านการถอนฟ้องศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้ (มาตรา 35) • การยุติคดีโดยการถอนฟ้องจึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงานอัยการและศาล แต่ในทางปฏิบัติพนักงานอัยการรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว คณิต ณ นคร : วิอาญา

  37. สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการสถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ • พนักงานอัยการ กับ ไม่เป็น “คู่ความในเนื้อหา” ในทุกขั้นตอน • คำปรารภให้มีพนักงานอัยการ: “.....จึงได้สร้างวิธีขึ้นเอาอย่างฝรั่งให้มีอัยการไทยฟ้องร้องจำเลยในศาล อัยการนี้แทนแผ่นดิน ถ่อมยศแผ่นดินลงไปเป็นโจทก์เหมือนหนึ่งราษฎรไปเป็นโจทก์ในศาลเขา ทั้งนี้แปลว่ารัฐบาลสมมติตัวเองว่าเป็นราษฎรผู้หนึ่งให้ศาลไทยและศาลกงสุลเป็นกลางชำระ.....” คณิต ณ นคร : วิอาญา

  38. สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ (ต่อ) • ฎีกาที่ 791/2455 :ทำราชการเป็นอัยการว่าความแผ่นดิน ควรเข้าใจว่าต้องรักยุติธรรม ไม่ถือรัดเอาเปรียบคนยาก ไม่พอจะให้ความลำบากก็อย่าแกล้งให้มีขึ้น ไม่ใช่ว่าคาดหมัดตั้งมวยเป็นคู่แพ้ชนะกับราษฎร เขม้นขมักที่จะว่าความให้ได้จริงกระจ่างปรากฏปลดเปลื้องข้อสงสัยในอรรถคดี ทำดังนี้ดอกได้ชื่อว่าตรงต่อหน้าที่ราชการ • สรุป: โดยนัยแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาแสดงว่า พนักงานอัยการไม่ใช่คู่ความในเนื้อหา พนักงานอัยการต้องมีความเป็นกลางและต้องมีความเป็นภาวะวิสัยในการปฏิบัติหน้าที่ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  39. สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ (ต่อ) • คำสั่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าถึงผู้ว่าราชการเมืองในมณฑลกรุงเก่า กล่าวว่า : “บรรดาความในหน้าที่พนักงานอัยการที่ได้ว่ากล่าวในเวลาใด ๆ พนักงานอัยการไม่ควรคิดให้ความชนะอย่างเดียว ถึงความเรื่องนั้นจะชนะเป็นไปตามความประสงค์ได้ แต่เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ความจริงและปราศจากความยุติธรรมแล้ว พนักงานอัยการก็ไม่ควรคิดให้ความชนะที่จะเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่มีความผิดต้องรับโทษเลย” • สรุป: คำสั่งนี้ก็ยืนยันว่า พนักงานอัยการไม่เป็นคู่ความในเนื้อหา และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางและด้วยความเป็นภาวะวิสัย คณิต ณ นคร : วิอาญา

  40. สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ (ต่อ) • พนักงานอัยการไม่ใช่คู่ความในทางเนื้อหาจึงมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่จำเลยได้ • ฎีกาที่ 3436/2524 :พนักงานอัยการฟ้องจำเลยแต่ไม่ได้ขอให้ริบของกลาง เพราะเห็นว่าของกลางนั้นไม่ใช่สิ่งที่พึงริบ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลาง พนักงานอัยการอุทธรณ์ฝ่ายเดียวไม่ให้ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน พนักงานอัยการฎีกาต่อไปขอไม่ให้ริบของกลาง ศาลฎีกาพิพากษากลับไม่ริบของกลาง คณิต ณ นคร : วิอาญา

  41. ความรับผิดชอบในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการความรับผิดชอบในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ • การสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ • ความรับผิดชอบในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการมี 4 ประการ คือ - ความรับผิดชอบในความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน - ความรับผิดชอบในความถูกต้องชอบด้วยระเบียบของการสอบสวน - ความรับผิดชอบในความละเอียดรอบคอบของการสอบสวน - ความรับผิดชอบในความเชื่อถือได้ของการสอบสวน คณิต ณ นคร : วิอาญา

  42. ผู้เสียหายกับความผิดต่อส่วนตัวผู้เสียหายกับความผิดต่อส่วนตัว • ฎีกาที่ 1319/2462 :จำเลยได้ใช้ศัสตราวุธฟันสับประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย อัยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ ปัญหามีว่าอัยการจะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ ตัดสินว่า ถึงแม้จะเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็ดี อัยการก็มีอำนาจฟ้องได้เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง • เป็นคำพิพากษาฎีกาก่อนใช้ป.วิอาญา • สรุป: ตามนัยแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกา กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความผิดฐานทำให้ทรัพย์ของรัฐเสียหายไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวตามความหมายของกฎหมาย คณิต ณ นคร : วิอาญา

  43. ผู้เสียหายกับความผิดต่อส่วนตัว (ต่อ) • ความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด: ทรัพย์สินของนิติบุคคลซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม ฉะนั้น ความผิดฐานฉ้อโกงที่กระทำต่อนิติบุคคลที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ที่จะต้องห้ามตามมาตรา 121 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การดำเนินคดีกับผู้ฉ้อโกงทรัพย์สินขององค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงกระทำได้โดยมิพักต้องมีการร้องทุกข์ (อัการนิเทศ เล่มที่ 61 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2541) • สรุป: ความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดมีนัยเดียวกันกับศาลฎีกา คณิต ณ นคร : วิอาญา

  44. ผู้ถูกกล่าวหา • มนุษย์ต้องเป็น “ประธานแห่งสิทธิ” ไม่อาจเป็น “กรรมแห่งสิทธิ” ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ฉะนั้น มนุษย์จึงต้องเป็นผู้ทรงสิทธิหรือ subject of law • แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐหรือถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางประการ แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็เป็นมนุษย์ ฉะนั้น สภาพความเป็น “ประธานในคดี” ของผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมีอยู่ตลอดเวลา • การใช้อำนาจกับผู้ถูกกล่าวหาจะกระทำได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจ ไม่ใช่ใช้หลักว่าไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้ (ฎีกาที่ 1368/2500) • การเป็น “ประธานในคดี” คือ การมีสิทธิต่าง ๆ ในคดี คณิต ณ นคร : วิอาญา

  45. สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา • สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ - สิทธิในทางกระทำ (active right) - สิทธิในทางที่อยู่เฉยหรือไม่กระทำ (passive right) • สิทธิในทางกระทำตามกฎหมายของเรา เช่น - สิทธิที่จะอยู่ร่วมด้วยในการดำเนินคดี (มาตรา 165, 172) - สิทธิที่จะมีทนายแก้ต่าง (มาตรา 7 ทวิ, 134/4 (2)) - สิทธิที่จะให้การ (มาตรา 134/4, 172) - มาตรา 138 ก็เป็นเรื่องสิทธิ ในทางกระทำ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  46. สิทธิของผู้ถูกกล่าวหา (ต่อ) • สิทธิที่จะอยู่เฉยหรือสิทธิที่จะไม่กระทำตามกฎหมายของเรา เช่น - สิทธิที่จะไม่ให้การในชั้นสอบสวน [มาตรา 134/4 (1)] - สิทธิในเสรีภาพในการตัดสินใจ (มาตรา 135) - สิทธิที่จะไม่ให้การในชั้นศาล (มาตรา 172) • ผลของการละเมิดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา คือ การใช้ข้อเท็จจริงนั้นยันผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ (มาตรา 134/4วรรคสาม และมาตรา 226) คณิต ณ นคร : วิอาญา

  47. ประธานในคดีกับการใช้อำนาจรัฐประธานในคดีกับการใช้อำนาจรัฐ • การใช้อำนาจรัฐต่อตัวบุคคลไม่ว่าต่อผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาต้องมีกฎหมายให้อำนาจและอยู่ในกรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจ (มาตรา 132) • ตามกฎหมายปัจจุบันการบังคับตรวจ เช่น การบังคับให้เป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอลล์ การบังคับให้ปัจสาวะ การเจาะเลือด ยังกระทำไม่ได้ • ผลของการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือเกินกรอบตามกฎหมาย คือ สิ่งที่ได้มาจะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ (มาตรา 135, 226) • การใช้อำนาจรัฐในหลายกรณียังมีปัญหา คณิต ณ นคร : วิอาญา

  48. ปัญหาการใช้เครื่องจับเท็จในการสอบสวนผู้ต้องหาปัญหาการใช้เครื่องจับเท็จในการสอบสวนผู้ต้องหา • หัวใจของมาตรา 135คือ เสรีภาพในการตัดสินใจของผู้ต้องหา • เครื่องจับเท็จเป็นเครื่องมือวัดความผิดปกติของการเต้นของหัวใจและการหายใจของมนุษย์ แต่ระบบประสาทที่ควบคุมการเต้นของหัวใจและการหายใจเป็นระบบประสาทที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ • ในการใช้เครื่องจับเท็จแม้ผู้ต้องหาจะมีเสรีภาพในการที่จะตอบคำถามหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อผู้ต้องหาไม่อาจควบคุมระบบประสาทที่ควบคุมการเต้นของหัวใจและการหายใจได้ ถือว่าผู้ต้องหาขาดเสรีภาพในการตัดสินใจ ดังนั้น กรณีจึงเป็นการสอบสวนที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติยังกระทำกันอยู่ประปราย ซึ่งไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง คณิต ณ นคร : วิอาญา

  49. ปัญหาความพอดีของการพิจารณาโดยเปิดเผยปัญหาความพอดีของการพิจารณาโดยเปิดเผย • การพิจารณาคดีอาญาไม่ใช่การแสดง • การพิจารณาคดีอาญาที่กระทำโดยเปิดเผยจนเกินความพอดีย่อมกระทบต่อความเป็นประธานในคดี • การพิจารณาคดีอาญาที่กระทำโดยเปิดเผยจนเกินความพอดีกระทบต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษาได้ เพราะแทนที่จะเป็นการควบคุมโดยประชาชน แต่อาจจะกลายเป็นการครอบงำโดยประชาชนไป กล่าวคือ ทำให้สาธารณชนเกิดความเห็นใจจำเลยได้ และสภาพเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้พิพากาษาเกิดความหวั่นไหวได้ คณิต ณ นคร : วิอาญา

  50. ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินคดีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินคดี • คดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่เกิดกับผู้บรรยายขณะอยู่ภูเก็ต • ความสามารถในการดำเนินคดี (มาตรา 14) ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับวิกลจริตอย่างเดียว แต่รวมถึงการป่วยด้วย (ฎีกาที่ 690/2483) • การพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลย หมายความว่า จำเลยต้องอยู่ในสภาพที่ทั้งทางร่างกายและจิตใจสามารถรับรู้กระบวนพิจารณาได้อย่างถูกถ้วนสมบูรณ์ • การพิจารณาคดีจนดึกดื่น (เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525) จึงกระทบต่อความสามารถในการดำเนินคดีของจำเลย เพราะความง่วงเป็นอุปสรรคต่อการรับรู้กระบวนพิจารณาที่ถูกถ้วนสมบูรณ์ คณิต ณ นคร : วิอาญา

More Related